เหตุการณ์ในอดีตประจำเดือน กรกฎาคม
รวมเรื่องราวที่เกิดในอดีตทุกเดือนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า
โดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

เกร็ดน่ารู้ในเดือน กรกฎาคม.-

ดอกไม้ประจำเดือนกรกฎาคม คือ ดอกบัว
อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนกรกฎาคม คือ ทับทิม
วันอาสาฬหบูชา – วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (เดือน ๘ หลัง ในปีที่มีอธิกมาส) ตามปฏิทินจันทรคติไทย
วันเข้าพรรษา – วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังวันอาสาฬหบูชา ๑ วัน

๑ กรกฎาคม - วันลูกเสือแห่งชาติ/วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ,วันหยุดครึ่งปีของธนาคาร,วันพื้นที่ปราศจากนิวเคลียร์โลก

๑ กรกฎาคม ๒๓๘๘

หมอคาสเวล มิชชั่นนารีอเมริกัน เริ่มถวายการสอนภาษาอังกฤษให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงเป็นพระภิกษุ

๑ กรกฎาคม ๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จถึงกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ตามระยะทางเสด็จทรีปยุโรป ออกจากกรุงวอร์ซอ เมื่อ ๒ กรกฎาคม และเสด็จต่อไปยังประเทศรัสเซีย

๑ กรกฎาคม ๒๔๕๑ ย้ายกองสรรพวุธทหารเรือ ไปตั้งที่บางนา (ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กทม.) และปัจจุบัน ได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ ๑๔๓ หมู่ ๘ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ๒๐๑๘๐ โทร.๐-๒๔๖๖-๑๑๘๐ต่อ ๖๓๐๐๙, ๖๓๐๑๐ e-mail : ordndept@navy.mi.th

๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองลูกเสือขึ้น หลังจากตั้งกองเสือป่าเพียง ๒ เดือน (ทรงจัดตั้งกองเสือป่าเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๕๔) และเป็นประเทศที่ ๓ ที่ตั้งกองลูกเสือขึ้นในโลก มีความมุ่งหมายโดยสรุป ๓ ประการ คือ ความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ การนับถือพระศาสนาและความสามัคคีไม่ทำลายกันและกัน

โดยมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกฝนเด็กชายให้มีความรู้ทางเสือป่า ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง โดยต้องตามนิติธรรมประเพณี ๓ ประการได้แก่ ความรักชาติบ้านเมืองและนับถือศาสนา ความสามัคคีในคณะ และไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ทั้งสามประการนี้เป็นรากฐานแห่งความมั่นคง จะทำให้ชาติเราดำรงอยู่เป็นไทยได้สมนาม และได้พระราชทานคติพจน์แก่คณะลูกเสือไทยว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ลูกเสือกองแรกจัดตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธปัจจุบัน) ลูกเสือไทยคนแรกคือ นายชัพน์ บุนนาค อายุ ๑๖ ปี ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง” นับว่าประเทศไทยได้จัดตั้งกองลูกเสือเป็นลำดับที่ ๓ ในโลก หลังจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๐๙

นอสตราดามุส (Nostradamus) แพทย์และนักพยากรณ์ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับการขนานนามใหเป็น “ราชาโหรโลก” เสียชีวิต เดิมชื่อว่า มิเชล เดอ นอสเตรอดัม (Michel de Nostredame) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เกิดวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๔๖ ที่เมืองแซงต์ เรมี เดอ โปรวองซ์ (Saint-Remy-de-Provence) ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวพ่อค้าชาวยิว จึงได้รับการศึกษาอย่างดี มีความรอบรู้ในแขนงต่าง ๆ ทั้งวรรณคดี ประวัติศาสตร์ การแพทย์ สมุนไพร ฯลฯ

นอสตราดามุสจบการศึกษาด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมงต์เปลลีเยร์ (University of Montpellier) ในสมัยที่โรคกาฬโรคกำลังระบาด โดยที่ยังไม่มีรู้สาเหตุ นอสตราดามุสจึงศึกษาและพัฒนายาจนในที่สุดต้องเสียภรรยาและลูกไป จากนั้นเขาจึงออกเดินทางไปทั่วฝรั่งเศสและอิตาลี ค้นคว้าเรื่องยาจนตั้งหลักอีกครั้งที่เมืองซาลอง (Salon) แต่งงานใหม่และเริ่มการทำนายอนาคต ด้วยตระกูลของเขาสืบเชื้อสายมาจากยิวโบราณเผ่าอิสซาการ์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์มาก สามารถตีความปรากฏการณ์ ธรรมชาติต่าง ๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้าได้

นอสตราดามุสใช้วิธีการพยากรณ์โดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ และทำนายจากนิมิต เขาได้บันทึกไว้เป็นโคลงเรียกว่า “Centuries” ผลงานที่มีชื่อเสียงเล่มอื่นได้แก่ “Almanac” และ “Prophecies” คำทำนายของนอสตราดามุสมักจะมีความคลุมเครือและยากที่จะตีความหมาย เพราะเขานิยมใช้ชื่อย่อและรหัสแทนชื่อคนและสถานที่จริง ตัวอย่างคำทำนายของนอสตราดามุสเช่น ฮิตเลอร์จะแพ้สงคราม เหตุการณ์โจมตีตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ สงครามโลกครั้งที่ ๓ ฯลฯ เขาเสียชีวิตด้วยโรคเกาต์

๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗

หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อแผ่นดินสยาม ออกเดินทางจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา พร้อมกับคณะมิชชันนารี A.B.C.F.M. (American Board of Commissioners of Foreign Missions) มุ่งหน้าสู่สยาม โดยเรือ “แคชเมียร์” (Cashmere) ใช้เวลารอนแรมในทะเลเป็นเวลา ๖ เดือน ก็มาถึงประเทศสิงคโปร์ในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๓๗๘ และแวะพักอยู่ที่สิงค์โปร์อีก ๖ เดือน ก่อนจะเดินทางเข้าสู่สยามในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๓๗๘ เป็นวันเกิดปีที่ ๓๑ ปีพอดี

๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๙

แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Elizabeth Beecher Stowe) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน สโตว์เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๓๕๔ ในครอบครัวเคร่งศาสนาที่รัฐคอนเน็คติคัต ได้รับการศึกษาอย่างครบถ้วนเช่นเดียวกับผู้ชายในสมัยนั้น เมื่อเรียนจบเธอย้ายไปเป็นครูอยู่ที่รัฐโอไฮโอพักใหญ่ เมื่ออายุได้ ๒๔ ปีก็แต่งงานกับพ่อม่ายซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านเทววิทยา และครองรักกันอย่างยากไร้ ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการเขียนนวนิยายเรื่องแรกที่โด่งดังและอื้อฉาว เรื่อง กระท่อมน้อยของลุงทอม (Uncle Tom's Cabin) ซึ่งตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ระหว่างปี ๒๓๙๔-๒๓๙๕ ก่อนจะรวมเล่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๓๙๕

นิยายเรื่องนี้ว่าด้วยชีวิตของ ลุงทอม ทาสชรานิสัยอ่อนโยนผู้ถูกขายและซื้อต่อถึงสามทอด ก่อนจะถูกนายคนสุดท้ายทุบตีจนตาย นวนิยายเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันใหญ่โต จนกลายเป็นแรงกระตุ้นให้สังคมอเมริกันหันมาสนใจปัญหาการค้าทาสอย่างจริงจัง เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเลิกทาสในยุคประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น และเกิดเป็นสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา

นิยายเล่มนี้ขายได้ถึง ๓๐๐,๐๐๐ เล่มภาย ๓ เดือน ส่งผลให้สโตว์สามารถใช้ชีวิตหรูหรา เดินทางไปยุโรปถึง ๓ ครั้ง สโตว์ได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่ม อาทิ Dred: A Tall Of Dismal Swamp, The Minister’s Wooing และ Old Town Folks บั้นปลายชีวิตเธอป่วยเป็นโรคชราและมีอาการเลอะเลือน และเสียชีวิตในที่สุด เธอมีนวนิยายตีพิมพ์ ๑๐ เรื่อง นอกจากนั้นยังมีเรื่องสำหรับเด็ก ความเรียง และงานศึกษา งานเขียนของเธอได้รับคำชมว่าเป็นการบุกเบิกงานเขียนแนวสมจริงของวงการวรรณกรรมอเมริกัน ลินคอล์นเคยกล่าวกับเธอว่า “คุณเป็นเพียงสุภาพสตรีตัวเล็ก ๆ ทว่างานเขียนของคุณได้ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่”

๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๔

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งกิจการรถไฟเป็นเอกเทศ จึงได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อรัฐสภา และได้มีพระบรมราชโองการให้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นไว้ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๔

กรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทสาธารณูปการภายใต้ชื่อว่า “การรถไฟแห่งประเทศไทย” (รฟท.) ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๔ เป็นต้นมา โดยมี พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก

๒ กรกฎาคม ๒๔๒๖

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้น โดยรับช่วงการโทรเลขจากกรมกลาโหม

๒ กรกฎาคม ๒๔๕๕

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เริ่มการฝึกบินเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส สมัยเมื่อเป็น พันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) กระทรวงกลาโหม ได้ส่งไปฝึกการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ พร้อมกับทหารบกอีก ๒ นาย

๒ กรกฎาคม ๒๔๗๖

เปิดโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์ปรับอากาศแห่งแรกของเมืองไทยและเป็นแห่งที่ ๒ ในภาคตะวันออก

๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑

ประเทศไทยได้จัดงานพระราชพิธี รัชมังคลาภิเศกขึ้น ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัติได้ ๔๒ ปี ๒๓ วัน นับว่ายาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

๓ กรกฎาคม ๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จถึงประเทศรัสเซีย ประทับที่พระราชวังปิเตอร์ฮอพ

๔ กรกฎาคม ๒๓๘๗

วันแรกจำหน่าย นสพ. ฉบับแรกของไทย ชื่อบางกอกรีคอร์ดอร์ ของหมอบรัดเลย์ออกเป็นรายปักษ์ ออกจำหน่ายได้ ๑ ปี ก็เลิกกิจการ

๔ กรกฎาคม ๒๔๓๙

นาย จี.เอช. แวนสัชเตเลน แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี และบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เมืองจอร์กจากาต้า ประเทศอินโดนีเซีย

๔ กรกฎาคม วันชาติของอเมริกา

๔ กรกฎาคม - วันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

นับย้อนไปในปีพ.ศ.๒๕๐๐ วันที่ ๔ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้นชาวไทยทั้งแผ่นดินได้รับทราบข่าวอันเป็นมหามงคลว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาลเจ้าฟ้าหญิงองค์น้อย พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ในกาลต่อ ๆ มา พสกนิกรชาวไทยต่างชื่นชมใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Mahidol) หรือ ทูลกระหม่อมเล็ก และประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์จวบจนเติบใหญ่ ยังความปีติแก่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า

พระประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี.-

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงเริ่มการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนจิตรลดา จนทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกวิทยาศาสตร์ แล้วทรงเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยทรงเลือก เคมีเป็นวิชาเอก เน้นหนักทางอินทรีย์เคมี ทั้งนี้เนื่องจากทรงตั้งพระปณิธานว่า จะทรงนำความรู้ในทางนี้มาใช้ในงานทดลองของโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินตามพระราชดำริ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ชาวไร่ชาวนาผู้ยากไร้ มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นและทรงได้รับพระราชทาน ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตทางเคมีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑

หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้วสมเด็จพระนางเจ้าลูกเธอเจ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ในสาขาอินทรีย์เคมี โดยทรงศึกษาและทำการวิจัยที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และทรงได้รับพระราชทาน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ( อินทรีย์เคมี ) จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘

ในระหว่างที่ทรงศึกษาเป็นที่ประจักษ์ว่าทรงมีพระปรีชาสามารถสูง ทรงได้รับพระราชทานเหรียญรางวัลเรียนดีเป็นประจำทุกปีและทรงได้รับคะแนนเป็นเยี่ยม ในสาขาวิชาเคมี ชีววิทยาทรงร่วมและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ และของมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงได้รับการยกย่องในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ ในนานาประเทศที่ได้รับการต้อนรับอย่างกระตือรือร้นและอบอุ่น ทรงได้รับการเชิดชูพระเกียรติยศโดยที่มหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียงหลายแห่งในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกได้กราบทูลอัญเชิญบรรยายในทางวิชาการเกี่ยวกับงานวิจัย ที่ทรงกระทำอยู่ให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำฟังและซักถามและได้รับการถวาย เหรียญทอง “ ไอส์ไตน์ “ จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( ยูเนสโก ) เพื่อเทอดทูนพระปรีชาสามารถในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยกย่องและยอมรับในวงการวิชาการนับแต่ได้ตราเหรียญ “ ไอส์ไตน์ “ ขึ้น องค์การนี้ได้มอบเหรียญดังกล่าวให้นักฟิสิกส์ระดับโลกมาก่อนกราบทูลถวายเพียง ๒ ท่านเท่านั้น ซึ่งทั้งสองท่านนั้น ก็มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับรางวัลโนเบลมาแล้ว นอกจากนั้นราชบัณฑิตยสถานสาขาเคมีแห่งประเทศอังกฤษได้ถวายพระเกียรติยศให้ทรงเป็นสมาชิกชั้นสูงสุดของสมาคมเคมีอันทรงเกียรติยิ่งแห่งนี้ด้วย

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ทรงรับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (ภาพจากคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ม.ก.)

เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์.-

ด้วยความสนพระทัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์จึงได้ทรงเข้าศึกษาเพิ่มเติมในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่สนพระทัย อาทิ การเข้าอบรมระดับหลังปริญญาเอก(Post Doctoral Training) เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering จากมหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน ศึกษาด้านพิษวิทยา ระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห ประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เหรียญเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไป

ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๘

และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับรางวัล EMS Hollaender International Award ประจำ ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ และในปีพ.ศ. ๒๕๔๗ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกอีกด้วย

พระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม.-

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ฯ ทรงนำศิลปวัฒนธรรม และการแสดงมาเป็นเรื่องกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและจีน ประทานชื่องานที่มีความหมายลึกซึ้งว่า “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ ทรงบรรเลงกู่เจิ้งเป็นองค์นำร่วมกับวงออเคสตร้าถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ อีกปีอต่อมาทรงใช้เครื่องดนตรีเป็นสื่อกระชับสัมพันธ์อีกครั้ง ในปี ๒๕๔๕ ได้เส็ดจประเทศจีนเพื่อร่วมแสดงดนตรีและการแสดงครั้งประวัติศาสตร์ “สายสัมพันธ์สองแผ่นดินครั้งที่ ๒” หรือ “จง ไท อิ เจีย ชิง” ณ สามนครใหญ่ คือ ปักกิ่ง ซีอาน และเซี่ยงไฮ้ ประกาศความเป็นไทยด้วยบทเพลงไพเราะ “ไทรโยค คอนแชร์โต้” ในปลายปี ๒๕๔๘ สายสัมพันธ์สองแผ่นดินครั้งที่ ๓ จะจัดขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง

พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะนั้น ทรงฝึกหัดเขียนภาพสีน้ำมันด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ทรงออกแบบเครื่องประดับได้อย่างงดงาม โดยทรงนำมุกชนิดต่าง ๆ พลอยสี ลูกปัด จากประเทศจีนมาสลับกับเครื่องเงินของไทยร้อยเป็นสายสร้อยด้วยจินตนาการของพระองค์เอง ที่งดงามไม่ซ้ำแบบกันนับเป็นร้อยเส้น แสดงใน “งานถักร้อยสร้อยรัก” โดยนำรายได้จากการจำหน่ายไปใช้ในการสร้างศูนย์ศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง

ค่ายจุฬาภรณ์.-

ในการที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ฯ ท่านทรงเป็นนายทหารเรือหญิง พรรคนาวิกโยธิน พระองค์แรก จากความคิดนี้ นาวาเอก สงบ ศรลัมพ์ จึงได้มีหนังสือถึงกรมนาวิกโยธิน เพื่อพิจารณาขอ พระราชทานชื่อค่ายดังกล่าวซึ่งท่านผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน พลเรือโท ยุธยา เชิดบุญเมือง เห็นชอบด้วย และได้มีหนังสือถึงกองทัพเรือ เพื่อพิจารณาขอพระราชทานชื่อ “ ค่ายจุฬาภรณ์ “ ซึ่งกองทัพเรือและหน่วยเหนือคือกองบัญชาการทหารสูงสุด และกระทรวงกลาโหมได้เห็นชอบ ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๔ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อนำกราบบังคม ทูลพระกรุณาขอพระราชทานชื่อค่ายทหารของกองบังคับการ กรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน และกองพันทหารราบที่ ๙ รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๓ กรมนาวิกโยธิน ว่า”ค่ายจุฬาภรณ์”เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “ CHULABHORN CAMP”

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๒๕ ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหม ความว่า “สำนักเลขาธิการรัฐมนตรีได้นำเสนอท่านนายกรัฐมนตรีทราบและได้ขอให้สำนักราช เลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลพระบาท แล้วพระราชทานชื่อ ค่ายตามที่ขอพระมหากรุณา” เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เรือเอกหญิงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเปิด “ค่ายจุฬาภรณ์” ที่กรมทหารราบที่ ๓ กรมนาวิกโยธิน บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งในบริเวณพิธีมี พลเรือเอก สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก โสภณ สุญาณเศรษฐกร ผู้ช่วยผู้บัญชาการ ทหารเรือ พลเรือโท ยุธยา เชิดบุญเมือง ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน และนายทหารผู้ใหญ่ ของกองทัพเรือ และ พลเรือตรี ประเสริฐ น้อยคำศิริ รองผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก สง่า แดงดีเลิศผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และแขกผู้มีเกียรติ คอยเฝ้าฯ รับเสด็จหลังพระราชพิธีเปิด “ค่ายจุฬาภรณ์”

พระกรณียกิจด้านศาสนา.-

แม้พระภารกิจมากมาย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ฯ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี และทรงปฏิบัติธรรมอย่างเข้มแข็งและสม่ำเสมอตลอดมา ทรงเจริญภาวนาอยู่เป็นนิจ ณ พระตำหนักไร้นิวรณ์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่สัพปายะและอยู่ใกล้วัด บ่อยครั้งเมื่อประทับภาวนา ณ พระตำหนักไร้นิวรณ์ พระองค์จะเสด็จทรงบาตร ณ วัดถ้ำพุทธาจาโร หรือวัดห้วยเกษียรใหญ่ และถวายภัตตาหารทั้งคาวหวานแก่พระสงฆ์ ซึ่งทรงประกอบอาหารด้วยพระองค์เอง ครั้นถึงวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา ทรงเสด็จเวียนเทียนอย่างเรียบง่าย เป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี

ความพากเพียรในการปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลา ๖ ปี ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ฯ เป็นแรงศรัทธาในคณะสงฆ์และประชาชนทุกหมู่เหล่า ร่วมมือร่วมใจกันสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสทรงมีพระชันษาครบ ๔ รอบ พระองค์ทรงมอบปัจจัยจำนวนหนึ่งร่วมกับชาวบ้านในการซื้อที่ดินและสร้างวัด พร้อมพระราชทานนามของวัดอันเป็นมงคลนี้ว่า “วัดธรรมานุสรณ์ญาณวิสุทธิ์” มีกำหนดสร้างเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๔๙ พร้อมกับจะมีการบรรพชาอุปสมบทพระสงฆ์ จำนวน ๔๙ องค์ในอุโบสถของวัดแห่งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เจ้าฟ้าทรงธรรมพระกรรมฐาน ในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติครบ ๔ รอบของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ขอถวายพระพร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

๔ กรกฎาคม ๒๔๘๖

พลเอก โตโจ (ญี่ปุ่น) ได้มาพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่กรุงเทพ ฯ มอบดินแดนเดิมของไทยที่กองทหารญี่ปุ่นตีได้ ลงนามในสัญญา เมื่อ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๘๖ คือ รัฐเชียงตุง รัฐเมืองพาน และรัฐมาลัย(กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส) ดินแดนเหล่านี้ต้องคืนไปเมื่อสงครามสงบเพราะไทยแพ้สงครามญี่ปุ่นไปด้วย

๕ กรกฎาคม วันสหกรณ์สากล, วันโรคจากสัตว์สู่คนโลก

๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕

กองทัพเรือได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยบิน กองทัพเรืออีกครั้ง หลังจากที่ยุบไปเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๑ เรีบกว่า ฝูงบินกองทัพเรือ

๖ กรกฎาคม ๒๓๙๐

เรือรบฝรั่งเศส ๓ ลำ เดินทางจากสมุทรปราการมาถึงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยานำราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาขอเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘

ประกาศให้เปิดโรงเรียนทั่วราชอาณาจักร ตามวัดทั่วประเทศ มีพระและคฤหัสถ์เป็นครูอย่างน้อย๕ คน เงินเดือน ๆ ละ ๖ บาท สมัยนั้นไม่ทราบจำนวนวัด เมื่อ

พ.ศ. ๒๔๕๓ มี ๑๓,๐๖๕ วัด

พ.ศ. ๒๔๘๐ มี ๑๗,๖๕๐ วัด

พ.ศ. ๒๕๒๔ มี ๓๑,๑๘๗ วัด

พ.ศ. ๒๕๒๗ มีโรงเรียนประถม ๓๐,๗๒๔ โรงเรียน

เมืองไทยเริ่มการศึกษาทั่วประเทศหลังญี่ปุ่น ๓ ปีเท่านั้น ญี่ปุ่นจัดการศึกษาทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕

๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐

ฝรั่งเศสยอมคืนจังหวัดตราด ซึ่งยึดไป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ให้ไทย อันเป็นผลจากสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) โดยฝรั่งเศสยอมคืนจังหวัดตราดและเกาะต่าง ๆ ใต้แหลมสิงห์ลงไปถึงเกาะกูด

๖ กรกฎาคม ๒๔๖๓

กำหนดให้ วันที่ ๖ เมษายน เป็นวันชาติไทย เข้าใจว่าจะใช้สำหรับชาวต่างประเทศคือ ถือเอาวันจักรีเป็นวันชาติไทย

๖ กรกฎาคม ๒๔๗๕

พระเจนดุริยางค์ ได้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติขึ้นใหม่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะราษฎรทำนองเพลงชาตินี้ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

๗ กรกฎาคม ๒๓๖๗

เจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดมหาธาตุ ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สวรรคต ๗ วัน แล้วไปประทับอยู่ที่วัดสมอราย (ราชาธิวาส)

๗ กรกฎาคม ๒๔๐๒

สร้างพระนครคีรีบนเขาวัง ที่เมืองเพชรบุรี ปัจจุบันเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕

ทำนองเพลงชาติ ได้บรรเลงครั้งแรก ณ บริเวณสวนดุสิต โดยพระเจนดุริยางค์

๘ กรกฎาคม ๒๔๒๒

สมโภชพระที่นั่งวโรภาสพิมาน ที่บางปะอิน พระราชวังบางปะอิน เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เคยเป็นที่รับรองแกรนด์ดุ๊ก ซาร์วิตส์ แห่งรัสเซีย เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๓๓ เป็นเวลา ๔ วัน

๙ กรกฎาคม ๒๔๗๖

เริ่มมีพระธรรมเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก คืนละหนึ่งกัณฑ์ ตลอดพรรษา

๘ กรกฎาคม ๒๕๓๔

มูลนิธืแมกไซไซ แห่งฟิลิปปินส์ ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๔ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร

๙ กรกฎาคม ๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเมืองมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย

๙ กรกฎาคม ๒๔๘๖

กระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งแบ่งเขตอำเภอในรัฐไทยใหญ่ (เชียงตุง) เป็น ๑๒ อำเภอคือ อำเภอเชียงตุง เมืองเลน เมืองโก เมืองสาด เมืองพยาค เมืองยอง เมืองปิง เมืองมะ เมืองยาง เมืองหาง เมืองขาก เมืองยู้ เป็นดินแดนที่ได้จากการเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่น แต่แล้วก็ต้องคืนให้อังกฤษไป

๑๐ กรกฎาคม ๒๔๒๖

อนุญาตให้ห้าง บี กริม แอนด์โก ปักเสาโทรศัพท์ในถนนเจริญกรุง เครื่องโทรศัพท์ได้นำเข้ามาในเมืองไทย ได้ถวายพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๔๒๐ ปรากฎว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ มีสายโทรศัพท์ระหว่างกรุงเทพ ฯ กับบางปะอิน ส่วนกรุงโตเกียว เริ่มมีโทรศัพท์ใช้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ กรุงปักกิ่งมีโทรศัพท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓

๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

๑๑ กรกฎาคม - วันประชากรโลก

วันประชากรโลก (World Population Day)

วันประชากรโลก มีการคาดกันว่าวันที่มีประชากรโลกครบ ๕,๐๐๐ ล้านคน คือ วันที่ ๑๑ ก.ค. พ.ศ.๒๕๓๐ ต่อมาจึงถือว่าวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เป็นวันประชากรโลก (World Population Day) กำหนดโดยคณะกรรมการของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และกองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ(UNFPA)ในการประชุมครั้งที่ ๓๖ ในเดือน มิถุนายน ๒๕๓๒ เพื่อให้ความสนใจในความเร่งด่วนและความสำคัญของปัญหาประชากรต่อแผนและโครงการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และความต้องการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ มีการเฉลิมฉลองวันประชากรโลกใน ปี ๒๕๓๓ หลังจากนั้นมีการฉลองทุกปีเรื่อยมา

สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบให้กำหนดนโยบายของประเทศ เมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๓ ความว่า “รัฐบาลมีนโยบายที่สนับสนุนการวางแผนครับครัวด้วยระบบใจสมัคร เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับอัตราการเพิ่มของประชากรสูงมากที่จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ”

ในวันฉลองครบรอบวันประชากรโลกห้าพันล้านคนปีที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมาณจำนวนประชากรของโลกได้ ๖,๗๒๗,๕๕๑,๒๖๓ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ บรรดาผู้นำของโลกประกาศร่วมกันว่า บุคคลมีสิทธิ์พื้นฐานในการกำหนดจำนวนบุตรและระยะเวลาที่เหมาะสมในการมีบุตรได้อย่างเสรี ๔๐ ปีต่อมา วิทยาการการคุมกำเนิดสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถกระจายให้บริการได้ทั่วถึงผู้คนทั้งหญิง ชายและเยาวชนได้ทั่วถึง

ใน วันประชากรโลก ปีนี้ ยังคงยืนยันสิทธิ์ในการมีบุตรในครอบครัวของประชาชน มีการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ จัดงานและการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่จะให้สิทธิ์พื้นฐานดังกล่าวบรรลุความเป็นจริง – เพิ่มโอกาสให้ประชาชนที่เข้าถึงข้อมูลยากได้รับข้อมูลข่าวสารและการให้บริการที่จำเป็นในการวางแผนครอบครัว ผู้โดยเฉพาะประชาชนผู้ด้อยโอกาส และรวมไปถึงเด็กวัยรุ่น

เมื่อประชาชนรู้จักการวางแผนครอบครัว พวกเขาย่อมสามารถวางแผนชีวิตของตนได้ด้วย ครอบครัวย่อมรู้วิธีขจัดความยากจนได้มากขึ้น รู้จักวางแผนให้มารดาและเด็กมีสุขภาพและอนามัยดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

มีประชากรมากกว่า ๑,๕๐๐ ล้านคนที่มีอายุอยู่ระหว่าง ๒๐ และ ๒๕ ปี กลุ่มชั่วคนรุ่นนี้นับว่าเป็นรุ่นเยาวชนที่มีจำนวนมากที่สุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนและกำลังจะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่คนสูงอายุในรุ่นของพวกเขานึกไม่ถึง โลกาภิวัตน์ การระบาดของโรคเอดส์ การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจแก้กลับคืนเหมือนเดิมได้

ฉากจำลองเหตุการณ์ขณะนี้มีสภาพของการผสมผสาน เมื่อกลุ่มเยาวชนแลกเปลี่ยนความคิด คุณค่า ดนตรีและสัญญลักษณ์ผ่านสื่อและเทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์กันอย่างสะดวกรวดเร็ว วัฒนธรรมของโลกเยาวชนก็เกิดขึ้น หลายวัฒนธรรมรวมตัวเป็นองค์กรสร้างเครือข่ายของตนขึ้นทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรในกลุ่มนี้ยากจน มีรายได้น้อยกว่าวันละ ๒ เหรียญสหรัฐหรือ ๖๘ บาท ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี และยังอาจมีความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ได้เข้าโรงเรียนหรืออยู่โรงเรียนที่ไม่ดี ถูกลำเอียงทางเพศ ไม่มีงานทำ ไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัย ประชาชนกลุ่มนี้มีสิทธิ์ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การลงทุนยกระดับชีวิตความเป็นอยู้ของชนกลุ่มนี้จึงถือเป็นการลงทุนเพื่อสร้างผู้นำให้แก่ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติในอนาคต

กองทุนประชากรโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA)[๒] ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนและปกป้องสิทธิ์ของเยาวชน มีวิสัยทัศน์ที่มองเห็นโลกที่เอื้อให้ทั้งหนุ่มและสาวมีโอกาสที่เหมาะสมได้รับการพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนมี ให้สามารถแสดงออกในความคิดเห็นของตน และความคิดความเห็นนั้นได้รับความเคารพจากผู้อื่น ได้มีชีวิตที่ปราศจากความยากจน จากการถูกเอาเปรียบ จากการถูกเหยียดหยามและการปราศจากความรุนแรง

เงินกองทุนนี้ มีการดำเนินการร่วมกับองค์การหล่ายฝ่ายเพื่อหาวิธีที่จะเอื้อให้:

ให้อำนาจแก่วัยรุ่นและเยาวชนด้วยการฝึกให้ทักษะเพื่อการบรรลุถึงความฝันของแต่ละคน เพื่อการคิดเชิงวิจารณ์อย่างมีเหตุมีผล และเพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้โดยเสรี

เสริมสร้างสุขภาพ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์ เข้าถึงการศึกษา เข้าถึงสินค้าและบริการที่พึงได้รับ

หาทางให้เยาวชนเหล่านี้รู้วิธีทำมาหากินและเข้าถึงแหล่งการจ้างงาน

ให้และปกป้องสิทธิ์ของเยาวชน โดยเฉพาะสตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเจริญเติบโตด้วยสุขภาพที่ดีและปลอดภัย ได้รับส่วนแบ่งที่ยุติธรรมในบริการสังคม

สนับสนุนเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อตนเองและกลุ่ม รวมทั้งการมีส่วนในแผนพัฒนาแผนสังคมของตนเอง

๑๑ กรกฎาคม ๒๐๐๘

พระบรมไตรโลกนาถ ออกบรรพชาที่เมืองพิษณุโลก มีผู้บวชตาม ๒๓๔๘ คน พระองค์เป็นโอรสพระเจ้าสามพระยา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองนั้นเป็นน้องของนางเสือง ชายาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระบรมไตรโลกนาถสมภพ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๔

๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคตที่ลพบุรี พระราชสมภพ พ.ศ. ๒๑๗๕ เปิดอนุสาวรีย์ที่ลพบุรี ๒๕๐๙ พระองค์เป็นโอรสพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์อยู่ ๓๑ ปี ๙ เดือน ๒ วัน

๑๒ กรกฎาคม ๒๔๕๐

พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จที่แหลมเหนือของประเทศนอรเวย์ ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร.

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒

เริ่มการทำฝนเทียมครั้งแรก ที่อำเภอปากช่อง

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๗

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารถในสถาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเรื่องการเลิกทาส ซึ่งเป็นต้นกำเนิดในการตรากฎหมาย และการดำเนินการต่าง ๆ ในการเลิกทาส การเลิกทาสนี้ใช้เวลานานถึง ๓๐ ปี

๑๓ กรกฎาคม - วันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖

เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ไทย - ฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒ ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ๒ ลำ ตีฝ่าป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทย ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้ ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของไทย

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๔๙

บริษัทสยามกัมมาจลทุนจำกัด ได้รับพระบรมราชานุญาติให้จดทะเบียนอ และตั้งเป็นบริษัทได้ นับเป็นธนาคารแห่งแรกที่คนไทยได้จัดตั้งขึ้น ต่อมาเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๕๒

ประกาศตั้งการประปา

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๗๑

จดทะเบียนบริษัทเดินอากาศจำกัด ทุนจดทะเบียน ๖๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินการขนส่งทางอากาศในประเทศ

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๗๔

รัฐบาลไทยได้จัดตั้งบริษัทเดินอากาศจำกัด (บ.ด.อ.) ขึ้นเพื่อบริการขนส่งทางอากาศด้านสินค้าและผู้โดยสารทั้งภายในและต่างประเทศ ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นบริษัทเดินอากาศไทยจำกัด(บ.ด.ท.)

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๑๓

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ เจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อมา

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๓๔

เรือปืนรัสเซีย เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ กัปตันเรืออัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของรัสเซียชื่อเซนต์ แอนดรูว์ จากพระเจ้านิโคลัสที่ ๑ แห่งรัสเซีย เข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๖๘

อังกฤษกับไทยทำสัญญาค้าขาย ๕ ข้อ ทำให้ไทยเก็บภาษีสูงกว่าเดิม การได้อำนาจศาล แต่ยังยอมให้ฝรั่งเปิดสถานศึกษาและการศาสนาได้อย่างคนพื้นเมือง นอกจากนั้นยังกำหนดเงื่อนไขอื่น ๆ ด้วยการกำหนดข้อปลีกย่อยต่าง ๆ สัญญานี้เป็นการเลิกภาษี ร้อยชักสาม ซึ่งทำมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๓๙๘ ทั้งนี้เนื่องจากการส่งทหารไทยไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๕

มีการทดลองออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่กรมประชาสัมพันธ์

๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐

ไทยเสียแคว้นเขมรและเกาะใกล้เคียงแก่ฝรั่งเศส ด้วยเห็นว่าการดำเนินนโยบายประนีประนอมกับฝรั่งเศสเป็นหนทางที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ได้

๑๕ กรกฎาคม ๒๔๓๖

นายปาวี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ได้แจ้งมายังเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศไทยมีใจความว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งเรือสงครามคอมเมต และแองคองสตอง เข้ามาถึงสันดอนอ่าวไทย เพื่อป้องกันชนชาวฝรั่งเศสเช่นเดียวกับที่อังกฤษคิดจะทำ

๑๕ กรกฎาคม ๒๔๔๗

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสต้นนครชัยศรี

๑๕ กรกฎาคม ๒๔๗๗

พิธีเปิดอนุสาวรีย์ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) ที่นครราชสีมา ท้าวสุรนารีสมภพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ เมษายน ๒๓๙๕

คุณหญิงโม มีวีรกรรมร่วมกับกรมการเมืองโคราช ๒ ครั้ง เมื่อ ๑๗ มีนาคม และ ๒๐ มีนาคม ๒๓๖๙ ครั้งหลังคุณหญิงโมเป็น “แม่กองกองหนุน” ออกรบกลางแปลงกับฝ่ายทหารเวียงจันทน์ ๓,๖๐๐ คน ที่ทุ่งสัมริด

๑๖ กรกฎาคม ๒๔๓๔

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ทรงขุดดินวางฤกษ์สร้างทางรถไฟสายปากน้ำรถไฟสายแรกของเมืองไทย ซึ่งเป็นของเอกชน มีสัญญาสัมปทาน ๕๐ ปี เปิดเดินรถเมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๓๔๖ หมดสัญญา เมื่อ ๑๓ กันยายน ๒๔๗๙ เป็นของรัฐบาล และเลิกเดินรถ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓

๑๗ กรกฎาคม ๒๔๘๔

เกิดยุทธนาวีที่เกาะช้างจังหวัดตราด โดยกำลังทางเรือของกองทัพเรือไทยได้ ปะทะกับกำลังทางเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส บริเวณเกาะช้าง ทำให้กองกำลังทางเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ต้องล่าถอยออกไปจาก เขตน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าว

๑๘ กรกฎาคม วันงดดื่มสุราแห่งชาติ, วันศรีนครินทร์

วันงดดื่มสุราแห่งชาติ (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ) ในวันเข้าพรรษา ซึ่งกับวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ของปี ๒๕๔๖ กระทรวงสาธารณสุข ได้ผลักดันให้เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ พร้อมกับเปิดตัวโครงการงดเหล้าพรรษา รณรงค์ให้คนไทยหันมา ลด ละ เลิกบริโภคของมึนเมาในช่วงเทศกาลนี้ โดยก่อนหน้านี้สมาคมป้องกันปัญหาจากสุราแห่งประเทศไทย ได้เริ่มรณรงค์เรื่องนี้มาบ้างแล้ว แต่กระแสการตอบรับยังไม่มาก

การดื่มสุรามีผลเสียต่อสุขภาพมากมาย ทำให้มึนเมา ขาดสติ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ สุรามีพิษต่อตับทำให้เกิดโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ โรคตับแข็ง ยอกจากนั้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ละลายในไขมันได้ดี และผ่านทำนบที่กันระหวางกระแสโลหิตและเซลล์สมอง จะไปกดการทำงานของสมอง โดยเพาะสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ส่งผลให้ผู้ดื่มขาดความยับยั้งชั่งใจจนสามารถก่อความรุนแรง และก่อความเดือดร้อน ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่นอีกด้วย

“งดเหล้าเข้าพรรษา วันนี้คุณงดดื่มสุราหรือยัง”

วันศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “วันศรีนครินทร์” เพื่อน้อมเกล้าฯ

รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนีให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนสืบไป และทรงมีพระบรมราชานุญาติให้จัดตั้งกองทุนวันศรีนครินทร์โดยทรงพระราชทานเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคจัดตั้งเป็นกองทุนเริ่มแรกจำนวน ๒,๑๑๑,๐๐๐ บาท เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๐ จึงมีการรณรงค์เพื่อจัดหากองทุนเพิ่มเติมเป็นประจำทุกปี

กิจกรรม อาจจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

- การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

- การตรวจสุขภาพ

- การรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพ

๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗

เปิดตึกอาคารกรมทหารหน้า คือที่ตั้งกระทรวงกลาโหมในขณะนี้ สร้างในเนื้อที่๑๗ ไร่ สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๗๐,๐๐๐ บาท

๑๘ กรกฎาคม ๒๓๗๘

หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ เป็นหมอฝรั่งคนแรกที่นำหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในไทย แต่คนไทยรู้จักในฐานะเป็นผู้สร้างงานพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย

๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘

เวลา ๒๑ นาฬิกา ๑๗ นาที สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) เสด็จสวรรคต ที่ ที่ตึก ๘๔ ปี โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร

๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๔

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

๒๐ กรกฎาคม ๒๔๓๖

นายโอกุส ปาวี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำไทย ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ยื่นคำขาดต่อรัฐบบาลไทยรวม ๖ ข้อ ให้ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ไปถึงเกาะกูดแก่ฝรั่งเศส ให้ไทยลงโทษเจ้าหน้าที่ไทยผู้มีส่วนรับผิดชอบในการยิงเรือฝรั่งเศสที่ปากน้ำ

๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๓

คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ ตามมติสภาป้องกันราชอาณาจักร ให้ส่งกำลังทหารไทยไปร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือสาธารณรัฐเกาหลี จากการรุกรานของกองทัพเกาหลีเหนือ

๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต พระชนมายุ ๕๘ พรรษา

พระราชประวัติโดยสังเขป

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะนั้นพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ต่อมาพระราชบิดาได้เข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณในสมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี จึงได้ย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ ณ บริเวณด้านใต้ของวัดระฆังโฆษิตาราม บ้านเดิมที่อัมพวาจึงว่างลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อุทิศที่ดินบริเวณบ้านเดิมนั้น สร้างเป็นวัด ชื่อ วัดอัมพวันเจดิยาร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม พระคุณเจ้าพระราชสมุทรเมธี ได้อุทิศที่ดินบริเวณวัดจำนวน 10 ไร่ ให้กับมูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้ดำเนินการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมีพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นองค์ประธานมูลนิธิฯ เมื่อพระราชบิดาย้ายเข้ามารับราชการ ทรงได้เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆษิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อครั้งพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้โดยเสด็จพระราชบิดา ไปราชการสงครามด้วย เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระราชบิดาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระนาว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เมื่อประชนมายุครบ 22 พรรษา ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทรงจำพรรษาอยู่นาน 3 เดือน (1 พรรษา) จึงทรงลาผนวช

ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2349 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา จึงได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักร ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดีศรีสุนทรบรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณิณทราธิราช วัฒนากาศวราชวงศ์สมุทัยโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ธาดาธิบดีศรีสุวิบูลย์คุณอกนิฐฤทธิราเมศวรหันต์ บรมธรามิกราชาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิรัตนมกุฎ ประเทศคตามหาพุทยางกูรบรมบพิตร” หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 7 กันยาน พ.ศ. 2352

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัครมเหสีพระนามว่า “สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี” ทรงพระนามเดิมว่า บุญรอด พระธิดาในพระเจ้าพี่นางเธอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชโอรสและพระธิดารวม 73 พระองค์ โดยประสูติในพระมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่

1. เจ้าฟ้าชายราชกุมาร สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ

2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4

3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราชาใน รัชกาลที่ 4 และได้ประสูติในเจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก 3 พระองค์ ได้แก่

1.พระองค์เจ้าชายทับ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

2.พระองค์เจ้าชายป้อม สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

3.พระองค์เจ้าชายหนูดำ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเสด็จครองราชสมบัติอยู่จน พ.ศ. 2367 รวมครองอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 15 ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์จึงไม่ได้ทรงพระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่ 3 วัน ก็เสด็จสวรรคต

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

การทำนุบำรุงประเทศ

ด้วยในระยะแรกของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่ายังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางทะเล ที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมืองปากลัดโดยทรงมีพระราชบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองสร้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด (ปัจจุบัน คือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ) พร้อมป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อมศัตรูพินาศ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนี้ยังทรงให้กรมหมื่นมหาเจษฏาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้าง ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ไปคุมงานก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติม ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองหน้าด่านและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ด้วยการที่จะป้องกันมิให้ข้าศึกเข้ามาถึงพระนครได้โดยง่าย ถือว่าทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล

ด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยหลายครั้งเริ่มตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จเสวยราชย์ได้เพียง 2 เดือน ในขณะนั้นกาตริย์พม่าพระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพพม่า 2 นาย คือ แม่ทัพเรืออะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีประเทศไทยทางหัวเมืองชายทะเลทางด้านตะวันตก และสามารถตีได้เมืองตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่า และได้ล้อมเมืองถลางไว้ก่อนที่กองทัพไทยจะยกลงไปช่วย แต่เมื่อกองทัพไทยได้ยกลงไปช่วยก็สามารถพม่าแตกพ่ายไป ส่วนทางด้านทัพบก พระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพสุเรียงสาระยอ ยกกำลังมาทางบก เพื่อเข้าตีหัวเมืองทางด้านทิศใต้ของไทยและสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนองและกระบี่ พระบาทสมเด้จพระพุทะเลิศหล้านภาลัยได้ส่งกองทัพและเกิดปะทะกับกองทัพที่ยกลงไปช่วย ทหารพม่าสู้กำลังฝ่ายไทยไม่ได้ก็แตกถอยหนีกลับไป

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2363 พระเจ้าปดุงกษัตริย์ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง ก็คิดจะยกทัพมาตีไทยอีกโดยสมคบกับพระยาไทรบุรี ซึ่งเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายพม่า แต่เมี่อทราบว่าฝ่ายไทยจัดกำลังทัพไปเตรียมรับศึกอย่างแข็งขันตามช่องทางที่พม่ายกเข้ามาพม่าเกิดกลัวว่าจะรบแพ้ไทย จึงยุติไม่ยกทัพเข้ามา พอดีกับพม่าติดการสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสที่จะมาตีไทยอีก

ด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบริหารบ้านเมือง โดยการให้เจ้านายรับหน้าที่ในการบริหารงานราชการในกรมกองต่าง ๆ เท่ากับเป็นการให้เสนาบดีได้มีการปรึกษาข้อราชการก่อนที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผ่อนผันการเข้ารับราชการของพลเมืองชาย เหลือเพียงปีละ 3 เดือน (เข้ารับราชการ 1 เดือน แล้วไปพักประกอบอาชีพส่วนตัวอีก 3 เดือน สลับกันไป) นอกจากนี้ยังทรงรวบรวมพลเมืองให้เป็นปึกแผ่นมีหน่วยราชการสังกัดแน่นอก โดยพระราชทานโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกหน่วยราชการที่สังกัดได้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่มีความรูความสามารถได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ตนถนัด ในรัชกาลนี้จึงปรากฎพระนามและนามข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย ณ นคร) ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นต้น

และด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้พลเรือนของพระองค์เป็นคนดี มีคุณภาพ จึงได้ทรงออกพระราชบัญญัติ เรื่อง ห้างเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชนและกัดเพื่อการพนัน กับออกพระราชกำหนดห้าใสุบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ

ในช่วงที่ทรงขึ้นครองราชสมบัติใหม่ ๆ นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต ราชโอรสในพระเจ้าตากสินมหาราชกับพวก ซึ่งได้แก่ เจ้าพระยาพนเทพ บุนนาค) โอรสทั้ง 6 พระองค์ของกรมขุนกษัตรานุชิต รวมทั้งพระราชโอรส กับพระราชธิดาอีกหลายพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คิดกบฎชิงราชสมบัติ ทรงโปรดให้ทำการสอบสวนเมื่อปรากฎว่ามีความผิดจริง จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตเสียทั้งหมด

ด้านการบำรุงพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนาสถาน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดชัยพฤกษ์มาลา วัดโมฬีโลก วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่สระบุรี ที่สร้างค้างไว้ ตั้งแต่เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถ พระปรางค์ พร้อมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล

ในปี พ.ศ. 2353 ได้ทรงจัดสมณทูตจำนวน 8 รูป ออกไปยังประเทศลังกาเพื่อค้นหาพระไตรปิฏกซึ่งชำรุดเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยามาเพิ่มเติมและตรวจสอบกับพระไตรปิฎกฉบับที่มีการสังคายนาใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจุฬาดลก พร้อมกับดูความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา เม่อคณะสมณฑูตกลัยมาได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งถือกันว่าเป็นเชื้อสายของต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่พระพุทธคยาในอินเดียและได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นำไปปลูกที่เมืองนครศรีธรรมราช 2 ต้น ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม 1 ต้น ที่วัดสระเกศ 1 ต้น และที่เมืองกลันตันอีก 1 ต้น

การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ในรัชกาลนี้ทรงรุ่งเรืองเป็นอันมาก โดยทรงโปรดให้แก้ไขหลักสูตรจากปริญญาตรี โท เอก มาเป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค ถึง 9 ประโยค ทำให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานยิ่งขึ้น กับได้ทรงออกพระราชกำหนดให้พลเมืองทำวิสาขบูชา ห้ามล่าสัตว์ 3 วัน และตั้งโคมแขวนตั้งเครื่องสักการะบูชา รักษาอุโบสถศีล ถวายอาหารบิณฑบาต ทำทาน ปล่อยสัตว์ สดับพระธรรมเทศนาเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

ด้านศิลปวัฒนธรรม

ในด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์ นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมเนื่องด้วยภาพที่ทรงแกะสลักนั้น ทั้งสัตว์ต่ าง ๆ เช่น เสือ หมี ช้าง นกและพืชพรรณไม้ ดูเหมือนจะสามารถเคลื่อนไหวได้จริง ๆ ได้ทรงแกะสลักศรีษะหุ่นด้วยไม้สัก 1 คู่ เรียกว่า พระยารักน้อยและพระยารักใหญ่ ในปัจจุบันงานศิลปะทั้ง 2 ชิ้นนี้ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ได้ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระประธานวัดอรุณราชวรารามด้วยพระองค์เองอีกด้วย

ด้านดนตรี

ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การดนตรีทั้งในการสร้งเครื่องดนตรีและการเล่นพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในการสีซอสามสาย ได้พระราชทานซอคู่พระหัตถ์ว่า ซอสายฟ้าฟาด และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือ เรียกว่าเพลงพระสุบินนิมิต ซึ่งเป็นที่ไพเราะและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านวรรณคดี

อาจกล่าวได้ว่า รัชสมัยของพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงกวีเอก ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่ม เป็นต้นว่า รามเกียรติ์ ตอนลักสีดา จนถึงวานรถวายพล ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ ตอนนางลีดาลุยไฟ ได้ทรงปรับปรุงจากบทความเดิมให้มีความไดเราะเหมาะสำหรับการแสดงดขน และได้ทรงพระราชนิพนบทพากย์โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย ตอนศึกอินทรชิตหักคอช้างเอราวัณ เป็นบทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วพบนางพิมพ์ ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง

ส่วนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อิเหนา นั้นทรงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีใสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป้นยอกของกลอนบทละครรำ ด้วยเป็นเนื้อเรื่องที่ดีทั้งเนื้อความและทำนองกลอน

ส่วนบทละครนอก พระสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาด้วยกัน 1เรื่อง ได้แก่

1.ไชยเชษฐ์ เป็นเรื่องราวเสียดสีในราชสำนัก

2. สังข์ทอง เค้าเรื่องเกี่ยวกับการเสียดสี่เรื่องราวในพระราชสำนัก

3. มณี

4. ไกรทอง เดิมเป็นนิทานพื้น

5. คาวี มีเนื้อเรื่องเหมือนกับเสือโคคำฉันท์

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่อง กาพย์เห่เรือขมเครื่องคาวหวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลงใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 58 ตอน คือเห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็นบทเห่นี้เข้าในกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ในเรื่องการทำอาหาร

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมาก และรวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

และเนื่องด้วยในรัชกาลนี้ มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีถึง 3 เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทยจากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้ทำเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง ซึ่งใช้เป็นธงชาติสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลที่ 6

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดำเนินนโยบายการบริหารประเทศแบบผ่อนสั้นผ่อนยาว เป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ ทำให้ในรัชสมัยของพรองค์ปราศจากสงครามประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างสุขสงบ และในรัชสมัยนี้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นมีความมั่นคงและเจริญขึ้นเป็นอย่างดี

ในปี พ.ศ. 2352 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราช ทรงเสด็จสวรรคตพระเจ้าเยียลอง พระเจ้าแผ่นดินญวน ได้ส่งทูตเข้ามาถวายบังคมพระบรมศพ พร้อมกับมีพระราชสาสน์มาขอเมืองพุทไธมาศคืน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่าไทยมิได้ส่งทหารไปดูแลเลยจึงทรงตกลงคืนให้ ทำให้สัมพันธภาพกับญวนเป็นไปได้ด้วยดี

สมเด็จพระอุทัยราชาเจ้าเขมร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้การอุปถัมภ์นั้น เกิดผูกใจเจ็บกับไทยตั้งแต่ถูกติเตียนเรื่อง ที่อุกอาจเข้าเฟ้าโดยพลการ จึงมีความคิดที่จะกระด้างกระเดื่องต่อประเทศไทย โดยเริ่มจากการไม่เข้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราชด้วยตนเอง และเมื่อคราวกรุงเทพฯ มีศึกกับพม่าก็ไม่ยอมยกทัพมาช่วยเหลือ แลละสมเด็จพระอุทัยราชาก็หันไปพึ่งอำนาจจากญวนแทน โดยแม้จะส่งเครื่องราชบรรณาการมายังไทย แต่อำนาจของไทยในเขมรก็เสื่อถอยลงตามลำดับเป็นต้นมา

เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช ได้แสดงความจงรักภักดีตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วยดี โดยช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลหัวเมืองของไทยในแถบนั้นจนสิ้นรัชกาลที่ 2

เพื่อให้การติดต่อค้าขายกับประเทศจีนเป็นไปได้โดยสะดวก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงแต่งตั้งทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าเจี่ยเข่ง พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์เซ็ง ณ กรุงปักกิ่ง ต่อมาพระเจ้าเจี่ยเข่งสิ้นพระชนม์ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งราชทูตไทยไปเคารพพระบรมศพ และเจริญพระราชไมตรีต่อพระเจ้าตากวางได้สืบราชสมบัติแทน

โปรตุเกสกับไทยได้เคยมีการติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อบ้านเมืองเกิดสงครามกับพม่า โปรตุเกสก็พากันออกไปค้าขายที่เมืองอื่น ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2363 พระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสก็ได้ส่งทูตเข้ามาขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขาย

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เนื่องในมหามงคลสมัยครบรอบ 200 ปีแห่งการเสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 2310 มูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ขึ้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจุดเด่นของอุทยานแห่งนี้ คือ เรือนไทยภาคกลางขนาดกลาง 5 หลัง เป็นแบบเรือนไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์และหอสมุด เรือนไทยที่เป็นพิพิธภัณฑ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรือนไทยแฝดหลังกลางเป็นเรือนประธานจัดแสดงศิลปวัตถุที่นิยมกันในสมัยนั้น โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 2 เช่น เครื่องเบญจรงค์ หัวโขน ตัวหุ่นกระบอกนางผีเสื้อสมุทร เป็นต้น เครื่องใช้ประจำวัน เช่น โม่หินใช้สำหรับโม่แป้ง หินบดยา ขันสาคร เป็นต้น

เรือนต่อไมาได้จัดแสดงตู้หุ่นวรรณคดีตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ละตู้มีความสวยงามและประณีต บทละครที่นำมาจัดแสดง ได้แก่ สังข์ทอง ตอนพระสังข์เที่ยวชมปราสาทนางพันธุรัตน์ ในขณะที่นางยักษ์ไม่อยู่ได้พบบ่อเงินบ่อทองจึงลองเอกนิ้วจุ่มดู ตู้บทละครนอก เรื่องมณีพิชัย จัดทำตอน พระอินทร์แปลงนางยอพระกลิ่นให้เป็นพราหมณ์ พระมณีพิชัยต้องตามนางยอพระกลิ่นเข้าไปอยู่ในป่า เพื่อลองในพระสวามี พราหมณ์จึงแปลงร่างเป็นผู้หญิงสาวออกมาเดินให้พระมณีพิชัยเห็น

ส่วนเรือนไทย 2 หลัง ทางปีกขวาจัดเป็นห้องผู้ชายไทย มีเตียงนอน อุปกรณ์เขียนอ่าน พระพุทธรูปบูชา ฉากลายจีน อาวุธ เช่น โล่ เขน เป็นต้น ปีกซ้ายจัดเป็นห้องผู้หญิงไทย มีเตียงนอนเครื่องเย็บปักถักร้อย เครื่องอัดกลีบผ้า คันฉ่อง เป็นต้น ที่ชานเรือนจัดไม้กระถางไม้ดอก อ่างบัว แบบเรือนไทยในเรื่องขุนช้างขุนแผน เรือนไทยอีกหลังหนึ่งจัดเป็นหอสมุด สร้างในน้ำตามแบบหอไตรสมัยโบราณตามวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการป้องกันปลวก แมลงและอัศคีภัย และเพื่อให้ความเย็นรักษาหนังสือหอสมุดแห่งนี้ได้รวบรวมหนังสือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและผลงานของกวีร่วมสมัย เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร นายรินทร์ธิเบศร์ สุนทรภู่ เป็นต้น อุทยานแห่งนี้จึงนับว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของไทยอย่างยิ่ง

บทสรุป

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นแผ่นดินทองแห่งวรรณกรรมด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรรม รวมถึงนาฎกรรม ดังจะเห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พระองค์เป็นผู้สร้างไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง อุทยานพระบรมราชานุสาวรียืเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้อย่างชัดเจนที่สุด และในอุทยานพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นที่ตั้งของ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้นด้วย

๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓

คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ ตามมติสภาป้องกันราชอาณาจักร ให้ส่งกำลังทหารไทยไปร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือสาธารณรัฐเกาหลี จากการรุกรานของกองทัพเกาหลีเหนือ

๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๗

รัฐบาลไทยรับหลักการที่จะช่วยเหลือเวียดนามใต้ เมืองญวน หรือ เวียดนาม แบ่งเป็น ๒ ประเทศ เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๗

๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐

ตราพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๔๖๐ ประเทศไทยเปลี่ยนธงชาติจากพื้นแดงมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็นธงไตรรงค์ที่ใช้มาถึงปัจจุบัน

๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐

ไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมัน และออสเตรเลีย - ฮังการี ในสงคราโลกครั้งที่๑ และประกาศรับทหารอาสาไปช่วยพันธมิตรรบในยุโรป

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๐๕

เรือรบสหรัฐ ฯ เดินทางถึงกรุงเทพ ฯ นำสาสน์ของประธานาธิบดี แอนดรูว์จอห์นสัน ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๔๔

ประกาศใช้ ทุ่ม โมง ยาม

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๕๗

ตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อเป็นการอุดหนุนวิชาแต่งหนังสือภาษาไทยให้ดีขึ้น

๒๔ กรกฏาคม ๒๔๘๗

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากพระราชกำหนดจัดระเบียบราชการบริหาร นครบาลเพชรบูรณ์ และพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑลที่จังหวัดสระบุรี ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ต่อมารัฐบาลชุดใหม่โดยมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดและแปรสภาพกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นกองทัพใหญ่

๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔

ฮิแรม บิงแฮม (Hiram BingHam III) นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ค้นพบ “มาชู ปิกชู” (Machu Picchu) นครโบราณของชาวอินคา (Inca) ที่หายสาบสูญไปนับศตวรรษ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดีส ในระดับความสูง ๒,๓๕๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่ห่างจากเมืองคุสโซไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเปรู มีพื้นที่ประมาณ ๓๒๕.๙๕ ตารางเมตร มีการออกแบบภูมิทัศน์ และภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงามและลงตัว มีสิ่งก่อสร้าง ปราสาท โบสถ์ วิหาร อ่างเก็บน้ำ ถนน และพื้นที่เพาะปลูก ลดหลั่นกันไปเป็นขั้นบันได แสดงให้เห็นความสามารถในเชิงช่างและสถาปัตยกรรมของชาวอินคาเมื่อหลายศตวรรษก่อนได้เป็นอย่างดี มาชู ปิกชูก่อสร้างในช่วงปี ๑๙๙๓ โดยชาวอินคา ชนเผ่าโบราณที่เคยก่อตั้ง จักรวรรดิอินคา (Inca Empire) ครองอำนาจคลอบคลุมดินแดนแถบอเมริกาใต้ เคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในช่วงศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ภายหลังได้ถูกกองทัพสเปนเข้ามารุกราน และยึดครองได้ มาชู ปิกชูจึงถูกทิ้งไว้นานกว่าศตวรรษ กลายเป็นนครสาบสูญ

จนกระทั่งบิงแฮมมาค้นพบในปี ๒๔๕๔ อีกสองปีต่อมาสมาคมภูมิศาสตร์นานาชาติ (National Geographic Society) ได้มาสำรวจและนำเสนอในนิตยสาร “เนชันแนล จีโอกราฟิก” (National Geographic) นครที่สาบสูญแห่งนี้จึงเริ่มรู้จักในวงกว้าง ต่อมาปี ๒๔๙๑ บิงแฮมก็เขียนหนังสือชื่อ “Lost City of the Incas” กลายเป็นหนังสือขายดีทันทีที่วางแผง ปี ๒๕๒๖ องค์การยูเนสโก (UNESCO) ก็ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่มรดกโลก ล่าสุดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ มาชู ปิกชูก็ได้รับการโหวดจากคนทั่วโลกให้เป็นหนึ่งใน “เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่” (New Seven Wonders of The World) ปัจจุบันมาชู ปิกชูเป็นโบราณสถานที่สำคัญและเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวของทวีปอเมริกาใต้ มีนักท่องเที่ยวกว่า ๔ แสนคนต่อปี (สถิติในปี ๒๕๔๖)

๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐

วันเกิด เอมิเลีย เอียร์ฮาร์ท (Amelia Mary Earhart) นิกบินเดี่ยวชาวอเมริกัน ผู้หญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคได้สำเร็จ เกิดที่เมืองแอทชิซัน มลรัฐแคนซัส ครอบครัวของเธอมีปัญหาเนื่องจากพ่อกับปู่ของเธอไม่ลงรอยกัน เธออยู่ในความดูแลของปู่มาตั้งแต่เด็ก เธอเรียนพยาบาลและได้เข้าเป็นพยาบาลอาสาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก่อนที่จะหันมาสนใจการบินอย่างจริงจังหลังจากได้เห็น แฟรงค์ ฮอว์คส์ (Frank Hawks) โชว์ขับเครื่องบินผาดโผน เอียร์ฮาร์ตเริ่มเรียนการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๖๔ ที่สนามบินคินเนอร์ (Kinner Field) เมืองลองบีชโดยครูการบินชื่อ แอนิตา สนุค (Anita “Neta” Snook) นักบินสตรีรุ่นบุกเบิก อีกหกเดือนต่อมา เธอก็ซื้อเครื่องบินปีกสองสีเหลืองมือสองและตั้งชื่อว่า “แคนารี” (The Canary) หรือเจ้านกขมิ้น จากนั้นวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๖๕ เธอบินสูงได้ถึงระดับ ๑๔,๐๐๐ ฟุต (๔,๒๐๐ เมตร) ทำลายสถิติโลกสำหรับนักบินสตรี ก่อนจะได้รับใบอนุญาตการบินนานาชาติในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๖๖ โดยเป็นผู้หญิงคนที่ ๑๖ จากนั้นเธอได้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมการบินแห่งชาติ สาขาบอสตัน และได้สร้างสนามบินเล็กของตัวเองพร้อมทั้งเป็นตัวแทนขายเครื่องบินไปด้วย

ในขณะเดียวกันก็เขียนบทความเกี่ยวกับการบินลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในท้องถิ่น อเมเลียได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ว่าเป็นนักบินสตรีที่ดีที่สุดในสหรัฐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๗๕ เธอก็ได้เป็นนักบินผู้หญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคได้สำเร็จ โดยออกบินจากท่าเรือเกรซ เมืองนิวฟาวด์แลนด์ ประเทศแคนนาดา มุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยเครื่องบินเครื่องยนต์เดี่ยว Lockheed Vega ๕b ย้อนรอยเส้นทางที่ ชาร์ลส ลินด์เบิร์ก (Charles Lindbergh) ได้เคยทำสำเร็จก่อนหน้าในวันเดียวกันนี้เมื่อปี ๒๔๗๐ หลังจากที่บินมาได้ ๑๔ ชั่วโมง ๕๖ นาที เธอต้องพบกับสภาวะอากาศไม่ดีจึงต้องลงจอดกลางทุ่งหญ้าในเมือง Culmore ตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์ หลังจากนั้นเธอก็ได้แสดงฝีมือการบินเดี่ยวระยะไกลอีกหลายครั้ง พร้อมกับทำกิจกรรมรณรงค์ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ความฝันของเธอคือการบินเดี่ยวรอบโลก เอียร์อาร์ตพร้อมกับ เฟรด นูแนน (Frederick Joseph Noonan) ต้นหน (navigator) ออกบินด้วยเครื่องบิน Lockheed L-๑๐E Electra จากแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๐ ก่อนจะหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยพร้อมเครื่องบิน Lockheed L-๑๐E Electra บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๘๐ สหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินถึง ๔ ล้านเหรียญในการค้นหาอเมเลียทั้งทางน้ำและทางอากาศ นับเป็นการค้นหาที่มีราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งยุคนั้น แต่ด้วยเทคนิคในการค้นหาในยุคนั้นยังค่อนข้างโบราณ การค้นหาจึงไม่บรรลุผล ได้มีการตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการหายตัวของอเมเลียและนูแนนมากมาย บ้างก็ว่าถูกเครื่องบินญี่ปุ่นดักบังคับให้ลงบนเกาะไซปันหรือถูกยิงตก ปัจจุบันเอกสารหลักฐานเกี่ยวการหายและการค้นหายที่เป็นทางการยังถูกปกปิดเป็นความลับ

๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

เรือหลวงแม่กลอง ได้รับการทำพิธีวางกระดูกงูเมื่อเวลา ๑๐.๔๕ น. ณ อู่ต่อเรืออูรางา เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกองทัพเรือได้ว่าจ้างให้บริษัทมิตซุยบุชซันไกชาเป็นผู้ก่อสร้าง ปล่อยลงน้ำ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๙ มีพิธีรับมอบเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๘๐ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๔๘๐ กระทรวงกลาโหมได้จัดพิธีต้อนรับเจิมเรือ และขึ้นระวางประจำการเรือในวันนั้น และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “เรือหลวงแม่กลอง” ตามชื่อของแม่น้ำแม่กลอง ที่เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม เรือรบลำนี้มีระวางขับน้ำ ๑,๔๐๐ ตัน ยาว ๘๕ เมตร กว้าง ๑๐.๕ เมตร กินน้ำลึก ๓.๗ เมตร ใช้เครื่องจักรไอน้ำ ๒ เครื่อง มีกำลัง ๒,๕๐๐ แรงม้า ทำความเร็วสูงสุดได้ ๑๗ นอต (ไมล์ทะเล/ชั่วโมง) สามารถปฏิบัติการได้ไกล ๕,๗๐๐ ไมล์ อาวุธประจำเรือมีปืนขนาด ๑๒๐ มม. จำนวน ๔ กระบอก ปืนกล ๒๐ มม. ๒ กระบอก ตอร์ปิโด ๔๕ ซม. ๒ แท่น ๆ ละ ๒ ท่อ เครื่องบินทะเล จำนวน ๑ เครื่อง ทหารประจำเรือรวม ๑๗๓ คน ประจำการรับใช้ประเทศชาติในการป้องกันอาณาเขตทางทะเลอย่างเข้มแข็งมาตลอด ทั้งยังเคยจัดถวายเป็นเรือพระที่นั่ง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายครั้ง ปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๘

ปีต่อมากองทัพเรือได้จัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์เรือรบไทย” ขึ้นบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติปีกาญจนาภิเษก โดยกำหนดที่จะนำเรือหลวงแม่กลองมาอนุรักษ์ให้ประชาชาทั่วไปได้เข้าชม ปัจจุบันเรือหลวงแม่กลองเป็นเรือรบที่เก่าแก่ที่สุดของไทย และมีเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๒ ของโลก รองจากเรือรบ GOANA JUATA ของประเทศเม็กซิโก

๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๗

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากพระราชกำหนดจัดระเบียบราชการบริหาร นครบาลเพชรบูรณ์ และพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑลที่จังหวัดสระบุรี ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ต่อมารัฐบาลชุดใหม่โดยมี พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และแปรสภาพกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นกองทัพใหญ่

๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘

อาภัสรา หงสกุล (Apasra Hongsakula) นางสาวไทยคนที่ ๑๔ ประจำปี ๒๕๐๗ ได้รับเลือกเป็น “นางงามจักรวาล” หรือ “Miss Universe” ในเวทีประกวดที่ชายหาดไมอามี มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา นับเป็นนางงามจักรวาลคนที่ ๑๔ เป็นนางงามจักรวาลคนแรกของไทย และเป็นคนที่ ๒ จากเอเชีย (หลังจาก อากิโกะ โคจิมะ นางงามจากประเทศญี่ปุ่นในปี ๒๕๐๒) ในขณะนั้นอาภัสรามีส่วนสูง ๑๖๔ ซม. (๕ ฟุต ๗ นิ้ว) สัดส่วน ๓๕-๒๓-๓๕ ซม. ในปีนั้นรองนางงามจัรวาลอันดับที่ ๑ คือนางงามจากประเทสฟินแลนด์ รองฯ อันดับที่ ๒ จากสหรัฐอเมริกาเจ้าบ้าน รองฯ อันดับที่ ๓ จากประเทศสวีเดน และรองฯ อันดับที่ ๔ จากประเทศฮอลแลนด์ ปัจจุบันอาภัสราทำธุรกิจด้านความงามที่กรุงเทพฯ

๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

แลนซ์ อาร์มสตรอง (Lance Armstrong) นักปั่นจักรยานชาวอเมริกัน พาจักรยานคู่ชีพเข้าเส้นชัยในรายการแข่งขัน ตูร์ เดอร์ ฟรองซ์ ประจำปี ๒๕๔๘ (๒๐๐๕ Tour de France) เป็นแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองว์ ติดกัน ๗ สมัยซ้อน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๘ เป็นคนแรกและคนเดียวในโลก ก่อนหน้านี้นักปั่นบ้าพลังจากเท็กซัสเคยเป็นแชมป์ไตรกีฬารุ่นผู้ใหญ่ตั้งแต่ ๑๒ ขวบ ก่อนจะเริ่มเป็นนักไตรกีฬาอาชีพตอนอายุ ๑๖ ปี ออกล่ารางวัลไปทั่วเท็กซัส ได้เป็นนักกรีฑาทีมชาติตอนอายุ ๑๘ ปี จากนั้นก็หันมาเอาดีบนหลังอานซึ่งเป็นกีฬาที่เขาถนัดที่สุด ในปี ๒๕๓๕ เขาเข้าอันดับที่ ๑๔ ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน และเริ่มไต่เต้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ปีต่อมาก็ได้แชมป์โลก (UCI Road World Championships)

หลังจากนั้นจึงลองดี สมัครเข้าแข่งในรายการที่ถือว่า “หิน” ที่สุดในโลกคือ “ตูร์ เดอ ฟรองซ์” แต่ด้วยความ “บ้าพลัง” ในระยะแรกเขาสามารถเอาชนะในรายการแข่งขันประเภทจับเวลา และช่วงขึ้นเขา แต่เวลารวมของทีมยังไม่ดี เพราะคาวบอยหนุ่มจากเท็กซัสยังไม่รู้จักศาสตร์และศิลป์ของจักรยาน เขาฝึกหนักและออกล่ารางวัลไปทั่วยุโรป จนรู้ตัวว่าป่วยเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ เขาต้องเขาทำการบำบัดด้วยคีโม จนผมร่วงหมดหัว ร่างกายและกล้ามเนื้ออ่อนแอร์ ไม่มีใครคิดว่าแลนซ์จะกลับมาขึ้นหลังเสือได้อีก ถูกแฟนทิ้ง ทีมและสปอนเซอร์ของเขาต่างยกเลิกสัญญาไปหมด แต่ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น เข้มเข็ง และกำลังใจจากคนที่รักเขามากที่สุดคือ “แม่” เขาสามารถเอาชนะโรคร้ายมาได้และกลับมาปั่นจักรยานอีกครั้ง ค่อย ๆ ฝึกวันละนิด หลักจากนั้นอีก ๔ ปีเขาก็ได้พิสูจน์ให้โลกเห็น เมื่อเป็นแชมป์ “ตูร์ เดอ ฟรองซ์” ในปี ๒๕๔๒ เป็นครั้งแรก และทำให้ทั้งโลกตาค้างเมื่อเขาเป็นแชมป์ติดต่อกันถึง ๗ สมัยซ้อน

หลังจากนั้นเขาก็ประกาศแขวนรองเท้าคลิปเลส ตั้ง “มูลนิธิแลนซ์ อาร์มสตรอง” (Lance Armstrong Foundation) โดยได้รับการสนับสนุนจากไนกี้ เพื่อรณรงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เขาเป็นผู้ริเริ่มสวม “สายรัดข้อมือ” (Wristband) ที่สลักคำว่า “Livestrong” (“มีชีวิตอยู่อย่างเข้มแข็ง”) เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ปัจจุบันยังคงรณรงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นพรีเซนเตอร์ของไนกี้และจักรยานเทรค (Trek)

๒๕ กรกฎาคม ๒๔๔๕

โจรเงี้ยว มีผกาหม่องเป็นหัวหน้า เข้าปล้นศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจภูธรและบ้านพักข้าราชการ จังหวัดแพร่ ตัดศีรษะข้าหลวงคนแรกของจังหวัดแพร่คือพระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) ต่อมาได้ถูกทางราชการปราบจนราบคาบ

๒๖ กรกฎาคม ๒๓๘๑

ตั้งกรมเสนาธิการทหาร เป็นหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม

๒๖ กรกฎาคม ๒๔๒๖

ไทยได้เปิดสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ เริ่มจากกรุงเทพ ฯ ผ่านปราจีนบุรีกบินทร์บุรี อรัญประเทศ จนถึงคลองกำปงปลัก ในพระตะบอง และติดต่อกับสายโทรเลขอินโดจีนเชื่อมโยงกับไซ่ง่อน

๒๖ กรกฎาคม ๒๔๓๖

หลังจากฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลไทย เมื่อ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอใจจึงได้ส่งกองเรือขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเรือลาดตะเวน ๒ ลำ เรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน๕ ลำ และเรือตอร์ปิโด ๑ ลำ เข้ายึดเกาะสีชัง ประกาศปิดอ่าวไทย ให้ไทยทำสัญญาสงบศึกและให้รับข้อประกันในการยึดปากน้ำจันทบุรี และเมืองจันทบุรี จนกว่าไทยจะถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหมดฝรั่งเศสยกเลิกการปิดล้อมอ่าวไทย เมื่อ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖

๒๗ กรกฎาคม ๒๔๗๐

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงสภาป้องกันพระราชอาณาจักร สภาดังกล่าวประกอบด้วยฝ่ายทหารและกระทรวงทบวงการเมืองฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ร่วมกันพิจารณาและวางนโยบายในการป้องกันพระราชอาณาจักร กับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องขอให้ทรงพระราชทานคำปรึกษา

๒๘ กรกฎาคม ๒๓๖๗ วันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

พระราชประวัติโดยสังเขป

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในเจ้าจอมมารดาเรียม ภายหลังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระศรีสุราลัย พระบรมราชินี พันปีหลวง ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม

เมื่อปี พ.ศ.2349 พระราชบิดาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระมหาอุปราชกรมบวรสถานมงคล จึงได้รับเลื่อนพระยศตามพระราชบิดาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ต่อมาเมื่อพระชนมายุครบผนวชตามพระราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระอัยยิกาธิราชโปรดเกล้าฯ จัดพิธีผนวชให้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จออกในพิธีผนวชครั้งนี้ด้วยแม้จะมีอายุถึง 72 พรรษาแล้วก็ตาม ด้วยทรงเป็นหลานปู่พระองค์ใหญ่ในตอนนั้น เมื่อผนวชแล้วทรงเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม

ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงสถาปนาขึ้นดำรงพระยศเจ้ากรมมีพระนามกรมว่า “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” ในปี พ.ศ. 2356 ด้วยพระปรีชาสามารถในหลายแขนงวิชาไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา อักษรศาสตร์ รัฐประสาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ทำให้เป็นที่วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้กำกับราชการโดยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และยังทรงนับหน้าที่พิจารณาพิพากษาความฎีกาแทนพระองค์อยู่เสมอ ทำให้ทรงรอบรู้ราชการต่าง ๆ ของแผ่นดินเป็นอย่างดี

ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต ทรงมิได้มอบพระราชสมบัติให้กับพระราชโอรสพระองค์ใด เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ประชุมปรึกษาหารือแล้วลงมติว่า ควรถวายพระราชสมบัติให้แก่ พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สืบราชสมบัติแทนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระนาว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความรู้ความชำนาญทางด้านการปกครองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยสนองพระเดชพระคุณในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาเป็นเวลานาน ครั้นเมื่อทรงขึ้นครองราชสมบัติ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านพ่าง ๆ ที่นำความเจริญมาสู่ประเทศชาติเป็นเอนกอนันต์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมิได้สถาปนาผู้ใดขึ้นเป็นพระบรมราชินี คงมีแต่เพียงเจ้าจอมมารดา และสนมเอกเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระธิดารวมทั้งสิ้น 51 พระองค์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิมาน องค์ข้างตะวันตก เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุได้ 63 พรรษา 2 วัน รวมเวลาที่ทรงครองอยู่ในสิริราชสมบัติเป็นเวลา 26 ปี 8 เดือน

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้านเศรษฐกิจ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชสมบัตินั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะยากจนเป็นอันมาก เนื่องจากเมื่อตันกรุงรัตนโกสินทร์ประเทศไทยได้ใช้เงินจำนวนมากมายมหาศาลเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยกรุงศรีอยุธยาสูญเสียทรัพย์สินจากการพ่ายแพ้สงครามพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นมาหลายอย่างเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง ในรัชกาลของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัฐมีรายได้เข้าประเทศหลายอย่าง คือ จังกอบ อากรฤชา ส่วย ภาษี เงินค่าราชการจากพวกไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นต้นรายได้ของรับมีเพิ่มมากขึ้นกว่ารัชกาลก่อนทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเก็บภาษีอากรจากรูปของสินค้าและแรงงานเป็นชำระด้วยเงินตรา และที่สำคัญ คือ ภาษีที่ตั้งขึ้นมาใหม่ถึง 38 อย่าง ได้แก่

อากรบ่อนเบี้ย คือ ตั้งโรงไว้ให้คนไปเล่นกัน นายอากรเป็นผู้เก็บค่าต๋งหัวเบี้ยส่งหลวงส่วนที่เรียกบ่อนเบี้ยส่งหลวงส่วนที่เรียกว่า บ่อนเบี้ยจีนนั้น สำหรับคนจีนเล่นกันตามประเพณีคนจีน

อากรหวย ก.ข. เป็นอากรแบบใหม่ แต่คล้ายกับอากรบ่อนเบี้ยของเดิม จึงยังเรียก อากรแต่ก็ยกมาไว้ ในการเก็บภาษี

ภาษีเบ็ดเสร็จ เรียกเก็บจากของลงสำเภา ภาษีของต้องห้าม 6 อย่าง

ภาษีพริกไทย เรียกเก็บจากผู้ซื้อของลงสำเภา ภาษีพริกไทย เรียกเก็บสิบลดจากผู้ขาย

ภาษีฝาง ภาษีไม้แดง เรียกเก็บจากผู้ซื้อของลงสำเภา

ภาษีไม้แดง เรียกเก็บสิบลดจากผู้ขาย ภาษีเกลือ

ภาษีน้ำมันมะพร้าว ภาษีน้ำมันต่าง ๆ

ภาษีกระทะ ภาษีต้นยาง

ภาษีไม้ชัน ภาษีฟืน

ภาษีจาก ภาษีกระแซง

ภาษีไม้ไผ่ป่า ภาษีไม้รวก

ภาษีไม้สีสุก ภาษีไม้ค้างพลู

ภาษีไม้ต่อเรือ ได้แก่กง กระดาน จังกูด สมอ พังงา ภาษีไม้ซุง

ภาษีฝ้าย ภาษียาสูบ

ภาษีปอ ภาษีคราม

ภาษีเนื้อ ปลาแห้ง ภาษีเยื่อเคย

ภาษีน้ำตาลทราย ภาษีน้ำตาลหม้อ

ภาษีน้ำตาลอ้อย ภาษีสำรวจ

ภาษีเตาตาล ภาษีจันอับ ไพ่ เทียนไข เนื้อ และขนมต่าง ๆ

ภาษีปูน ภาษีเกวียนต่าง เรือจ้างทางโยง

การเก็บภาษีอากรภายในประเทศนี้ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งระบบการเก็บภาษีโดยให้เอกชนประมุลรับเหมาผู้ขาดไปเรียกเก็ยภาษีจากราษฏรเอง เรียกว่า เจ้าภาษีหรือนายอากร ซึ่งส่วนใหญ่ชาวจีนจะเป็นผู้ประมูลได้ การเก็บภาษีด้วยวิธีการนี้ ทำให้เกิดผลดีหลายประการในด้านเศรษฐกิจ ทั้งสามารถเก็บเงินเข้า พระคลังมหาสมบัติได้สูงแล้ว ยังส่งผลดีทางด้านการเมืองอีกด้วย คือ ทำให้เจ้าภาษีนายอากรที่ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนนั้น มีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ และมีความผูกพันกับแผ่นดินไทยแนบแน่นขึ้น

นอกจากนี้รายได้ของรัฐอีกส่วนหนึ่ง ยังได้มาจากการค้าขายกับชาวต่างประเทศได้ผลประโยชน์จากภาษีหลายชั้น คือ ภาษีเบิกร่อง ภาษีขาออก และการค้าแบบผูกขาดของพระคลัง นอกจากนี้ไทยยังส่งเรือสินค้าเข้าไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ เนื่องจากพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญการส่งเรือสินค้ามาตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ จนสมเด็จพระชนกนาถตรัสเรียกพระองค์ท่านว่า “เจ้าสัว” เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงทรงสนับสนุนการค้า ขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ทรงมีเรือกำปั่นพาณิชย์ประมาณ 11-13 ลำ เรือกำปั่นของขุนนางที่สำคัญอีก 6 ลำ

รายได้จากการค้าสำเภานี้นับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงและรัฐมีรายได้มากขึ้น รายได้นี้จึงได้นำมาใช้ในการทำนุบำรุงบ้านเมือง การป้องกันประเทศ การศาสนา และด้านอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งในรัชสมัยของพระองค์เองและในรัชสมัยต่อมา กล่าวคือ

รายได้ของแผ่นดินในรัชกาลนี้ปรากฏว่าสูงขึ้นมาก บางปีมีจำนวนมากถึง 25 ล้านบาท เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต เงินในท้องพระคลังหลวงซึ่งหมายรวมถึงเงินค่าสำเภาด้วย เหลือจากการจับจ่ายของแผ่นดินมี 40,000 ชั่ง และด้วยทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยในด้านการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคตทรงมีพระราชปรารภให้แบ่งเงินส่วนนี้ไปทำนุบำรุงรักษาวัดที่ชำรุดเสียหายและวัดที่สร้างค้างอยู่ 10,000 ชั่ง ส่วนที่เหลืออีก 30,000 ชั่ง โปรดให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการแผ่นดินต่อไป เงินจำนวนดังกล่าวนี้กล่าวกันว่าโปรดให้ใส่ถุงแดงเอาไว้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) จะเห็นได้ว่า แม้สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ยังมีส่วนช่วยเหลือประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็ด้วยเงินถุงแดงที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้

ด้านการปกครอง

ลักษณะการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงเป็นแบบอย่างที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี คือ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของการปกรองประเทศ ทรงเป็นประมุขผู้พระราชทานความพิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้ปลอดภัยตำแหน่งรองลงมา คือพระมหาอุปราช ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำแหน่งบังคับบัญชาในด้านการปกครองแยกต่อมา คืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร คือ พระสมุหพระกลาโหม และฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายก ตำแหน่งรองลงมา เรียก เสนาบดีจตุสดมภ์ คือ เสนาบดีเมืองหรือเวียง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา

ในรัชสมัยของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้เลือกสรรเจ้านายที่ทรงวางพระราชหฤทัยเป็นผู้กำกับราชการ ควบคุมดูแลและเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ในหน้าที่ต่าง ๆ กัน เหนืออัครเสนาบดี และเสนาบดีทั้ง 4 ตำแหน่ง เช่น พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการกรมพระคลังหรือกรมท่า

ส่วนการบริหารราชการแผ่นดิน ยังคงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองประเทศราช ดังที่เคยปกครองกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการแบ่งการปกครองในลักษณะนี้ก่อให้เกิดปัญหาในการปกครองหัวเมืองประเทศราช เช่น ลาว เขมร และมลายู เพราะหัวเมืองเหล่านี้พยายามหาทางเป็นเอกราช หลุดจากอำนาจของอาณาจักรไทย

ด้านการทำนุบำรุงประเทศ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ เน้นหลักไปในด้านการก่อสร้างบ้านเมือง ตลอดจนการขุดลอกคูคลองสร้างป้อม สร้างเมือง ฯลฯ เพราะอยู่ในระยะการสร้างราชธานีใหม่ และพระมหากษัตริย์ในสามรัชกาลแรกทรงยึดถือนโยบายร่วมกันในอันที่จะสร้างบ้านเมืองให้ใหญ่โตสง่างามเทียบเท่ากับกรุงศรีอยุธยา นับตั้งแต่การสร้างพระบรมมหาราชวัง วัดวาอารามต่าง ๆ เป็นต้น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัตถุสถานต่าง ๆ ที่สร้างมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ทรุดโทรมลงเป็นอันมาก พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ อาทิด พระบรมมหาราชวัง และวัดวาอารามต่าง ๆ และยังทรงเป็นพระธุระในการขุดแต่งคลองเพิ่มเติม คือ คลองสุนัขหอน คลองบางขุนเทียนคลองพระโขนง และคลองแสนแสบ (คลองบางขนาก)

ในรัชกาลนี้บ้านเมืองขยายตัวมีการตั้งเมืองใหญ่ ๆ ขึ้นมาก เช่น เรณูนคร อำนาจเจริญ อาจสามารถอากาศอำนวย หนองคาย เป็นต้น พระองค์ทรงประกาศว่า หัวเมืองทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรไทย และพระราชทานการทำนุบำรุงด้วยประการต่าง ๆ ให้มีความเจริญขึ้นทัดเทียมส่วนกลาง เป็นผลให้ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงยังคงเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรไทยตราบเท่าทุกวันนี้

ด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระองค์แม้ว่าการสงครามทางด้านทิศตะวันตกระหว่างไทยกับพม่าจะเบาบางและสิ้นสุดในรัชกาลที่ 3 เพราะพม่ารบกับอังกฤษ แต่บ้านเมืองก็ไม่ได้ว่างเว้นจากศึกสงครามตลอดรัชกาต้องยกทัพไปสู้รบป้องกันพระราชอาณาเขตส่วนทางด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศใต้

ในรัชสมัยนี้มีเหตุการณ์ทำสงครามที่สำคัญ คือ เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฎโปรดให้สมเด็จพระบวราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์เป็นแม่ทัพไปปราบปรามและยึดเมืองเวียงจันทน์ได้ในปี พ.ศ. 2370

พ.ศ. 2376-2391 การทำสงครามกับญวนที่พยายามชิงเขมรไปจากไทย 4 ครั้ง และญวนสามารถสู้รบกันในแผ่นดินเขมรส่วนนอก เป็นเวลานานถึง 15 ปี จนเลิกรบกัน ผลของสงครามทำให้ไทยได้เขมรมาอยู่ในปกครองอีก

นอกจากนั้นทรงเตรียมรบอยู่พร้อมสรรพมีการสร้างป้อมป้องกันศัตรูทางน้ำ เช่น ที่ เมืองสมุทรสาครเป็นต้น ในปลายรัชกาลโปรดให้สร้างเรือกำปั้นรบ กำปั่นลาดตระเวน ไว้รักษาพระนครและค้าขายนอกจากนี้ยังทรงสร้างสมอาวุธยุทธปกรณ์ไว้เป็นอันมาก คลองต่าง ๆ ที่ขุดขึ้นในรัชสมัย นอกจากตั้งพระราชหฤทัยจะให้ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมแล้ว ยังใช้เป็นทางลัดไปมาระหว่างสงครามอีกด้วย

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ราชอาณาจักรไทยมีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเซียและยุโรปมานาน ทั้งด้านการทูตและด้านการค้า ชาติที่สำคัญในทวีปเอเซีย ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนชาติในทวีปยุโรป ได้แก่ อังกฤษ โปรตุเกส เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับจีน ญวน เขมร ลาวและมลายู แต่มีปรเทศโปรตุเกสเป็นชาติเดียวในยุโรปที่เข้ามาติดต่อในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมามีชาวยุโรปอื่นเข้ามาเจรจาเปิดสัมพันธไมตรี คือ อังกฤษ และสหรัฐอเมริการ

ในบรรดาประเทศต่าง ๆ ในเอเซียนั้น ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ็อันดีกับไทยทั้งทางด้านการทูตและการค้า ในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยจัดส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีน ใน พ.ศ. 2368 และการค้าระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินไปได้ด่วยดีตลอดรัชสมัย

ในขณะนั้นประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีและตกลงทำสัญญาการค้า ซึ่งเจรจาตกลงเรื่องการค้าไม่ประสบผลสำเร็จนัก ด้วยในตอนต้นทรงมีนโยบายไม่ยอมอ่อนข้อให้กับประเทศตะวันตกด้วยระมัดระวังในเกียรติของชาติ รวมถึงประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญการทำสัญญาการค้าในประเภทที่ไทยจะต้องเสียเปรียบก็ไม่ทรงยินยอม ทรงพยายามที่จะรักษาประโยชน์ของชาติให้มากที่สุด ที่ทรงกระทำเช่นนั้นไม่ใช่ว่าจะไม่ทรงตระหนักถึงภัยจากการรุกรานของมหาอำนาจตะวันตกที่มีต่อประเทศใกล้เคียง ทรงเข้าพระทัยดี จึงได้พระราชทานกระแสเกี่ยวกับการต่างประเทศไว้ในอนาคตก่อนหน้าที่จะเสด็จสวรรคตว่า “การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีก็อยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียท่าแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสกันทีเดียว” อย่างไรก็ดีการติดต่อกับชาวตะวันตกเช่น มิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต็นิกายโปรเตสแตนท์ ได้นำวิทยาการสมัยใหม่ทั้งทางการแพทย์ การทหาร การช่าง ดาราศาสตร์เข้ามาเผยแพร่ ทำให้ชาวไทยได้เรียนรู้วิทยาการที่ก้าวหน้าและทันสมัยนั้น ก็ทรงเห็นชอบและทรงสนับสนุนอยู่ไม่น้อย

ด้านการศึกษา

การศึกษาของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดมีบทบาทเป็นสถาบันทางการศึกษาตามอย่างที่เป็นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา การศึกษาที่วัดส่วนใหญ่ยังเป็นไปในลักษณะเดิม และเป็นการเรียนแบบสามัญศึกษา มีพระสงฆ์เป็นครูผู้สอนหนังสือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนการเล่าเรียนเขียนอ่านสำหรับเด็ก เนื่องจากแบบเรียนเดิมนั้นยากไปกำหนับเด็ก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชแต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นมาใหม่ ในชื่อเก่า คือ หนังสือจินดามณี

นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้มีความรู้นำตำราต่าง ๆ จารึกลงบนศิลา ประดับไว้ตามฝาผนังอาคารต่าง ๆ ของวัดราชโอรสาราม วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยเฉพาะที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอันเป็นวัดที่สำคัญที่ทรงโปรดให้บูรณะในรัชกาลของพระองค์ ความรู้และตำราต่าง ๆ ที่โปรดให้จารึกไว้นั้นมีทั้งวิชาอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์และโบราณคดี เช่น ตำราโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ พร้อมกันนั้นก็ทรงโปรดให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนแสดงท่าบำบัดโรคลม กับคำโคลงบอกชนิดของลม ตั้งไว้ในศาลารายรอบเขตพุทธาวาสทำให้ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างแพร่หลาย จนคนไทยทั้งหลายในยุคนั้นกล่าวว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

จากการที่คณะบาทหลวงและมิชชั่นนารีมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย คณะบุคคลดังกล่าวยังเป็นผู้เผยแพร่วิชาการแบบใหม่ของตะวันตกให้แก่บุคคลสำคัญของไทยในยุคนั้น เช่นภาษีอังกฤษ ประวัติศาสตร์ การเมือง วิทยาการทางทหาร แพทยศาสตร์ วิชาการต่อเรือ เป็นต้น การดำเนินงานด้านการศึกษาของคณะระบบโรงเรียนในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ตามมา

ด้านพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณีแต่ โดยส่วนพระองค์แล้ว ทรงมีพระราชศรัทธาแก่กล้าในบวรพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์พระศาสนา ตลอดรัชสมัย ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล สดับพระธรรมเทศนาและปฎิบัติธรรมอยู่เป็นเนืองนิจ ทรงพระเมตตาให้ทานแก่ยาจกและวณิพกอยู่เสมอโปรดให้สร้างเก๋งโรงทานสำหรับแจกทานแก่บุคคลทั่วไป

แม้ในฤดูสำเภาออก ก็พระราชทานข้าวกล้องมอบให้จุ้นจูลำละ 50 ถัง บ้าง 1 เกวียนบ้าง ออกไปให้ทานคนยากจนที่เมืองจีน ในส่วนคณะสงฆ์ ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์เป็นอย่างดี พระราชทานเงินเดือนให้อาจารย์บอกคัมภีร์พุทธวจนะแก่พระภิกษุสามเณร แม้บิดามารดาของพระภิกษุสงฆ์ที่สอบไล่ได้เปรียญก็ทรงอุดหนุนเลี้ยงดู

พระองค์บำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านศาสนาที่สำคัญ คือ

1. ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นจำนวนมากทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองวัดที่ทรงสร้างใหม่ 3 วัด บูรณะปฏิสังขรณ์อีกถึง 35 วัด วัดที่ทรงสร้างคือ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม ส่วนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนฯ วัดสุทัศน์เทพวราราม ก็ทรงปฏิสังขรณ์เสริมสร้างดุจดังว่าสร้างขึ้นมาใหม่

นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระธาตุเจดีย์ คือ พระปรางค์และพระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระปราค์วัดอรุณราชวราราม พระเจดีย์ 2 องค์ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ส่วนอุทเทสิกเจดีย์ เช่น พระพุทธรูปก็ทรงสร้างไว้มากมาย

2. ทรงสร้างพระไตรปิฏกไว้ไม่น้อยกว่า 7 ฉบับ คือ ฉบับรดน้ำเอก ฉบับรดน้ำโท ฉบับทองน้อย ฉบับซุบย่อ ฉบับอักษรรามัญ ฉบับเทพชุมนุม และฉบับลายกำมะลอ เป็นต้น

3. ทรงบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อสางเสริมความรู้ของพระภิกษุ จนการศึกษาพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนาแพร่หลายรุ่งเรืองเป็น อย่างยิ่ง

ด้านศิลปวัฒนธรรม

ศิลปกรรม

การทำนุบำรุงศิลปกรรมในรัชสมัยนี้แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ และศิลปะแบบพระราชนิยม โดยศิลปกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เฉพาะด้านสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทย จีน และตะวันตก ด้วยติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศทำให้อิทธิพลทางด้านศิลปะเข้ามาผสมผสาน ส่วนศิลปะแบบพระราชนิยม เป็นศิลปกรรมไทยที่มีลักษณะโดดเด่นมากเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์อย่างแท้จริง ซึ่งยังหลงเหลือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนทุกวันนี้ ก่อนที่ศิลปะทางตะวันตกจะเข้ามาอิทธิพลในงานศิลปะไทยในยุคต่อมา

วรรณคดี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกวีที่สามารถพระรองค์หนึ่ง ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงสนพระราชหฤทัยในการประพันธ์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมหลายเรื่อง คือ โคลงปราบดาภิเษกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเพลงยาวสังวาส และบทเสภาบางตอนในเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อทรงครองราชทรงมีพระพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการพระราชนิพนธ์วรรณกรรมด้วยพระองค์เอง แต่ถึงกระนั้นก็ทรงทำนุบำรุงวรรณกรรมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาในรัชสมัยนี้ยังมีกวีที่สำคัญ ๆ เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และสุนทรภู่ ซึ่งมีชื่อเสียงมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แล้ว วรรณคดีที่แต่งขึ้นมาในรัชสมัยนี้ ได้แก่ ลิลิตตะเลงพ่าย ปฐมสมโพธิกถา กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ระเด่นลันได โคลงสุภาษิตโลกนิติ เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่าง ๆ หลายแขนงหลายสาขา เช่น อักษรศาสตร์ รัฐประสาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พาณิชยศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เนื่องเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ที่ทรงพระปรีชาสามารถฉลาดหลักแหลม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเข้ารับราชการต่างพระเนตรพระกรรณมาตั้งแต่ยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงกำกับราชการทั้งกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจ และยังทรงรับหน้าที่พิจารณาพิพากษาความฎีกาแทนพระองค์อยู่เสมอ จึงทรงรอบรู้กิจการของแผ่นดิน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การบริหาร การปกครอง อย่างเชี่ยวชาญ ครั้นเสด็จขึ้นครองราชสมบัติจึงได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นำความมั่นคงความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ศิลปวิทยาการมาสู่ประเทศเป็นเอนกประการ

บทสรุป

พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศอย่างเอนกอนันต์ ด้วยเมื่อทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จนฐานะของประเทศดีขึ้นอย่างมาก ทรงติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้มีรายได้เข้าประเทศอย่างมาก ทำให้มีเงินในการปฏิสังขรณ์อารามต่าง ๆ ในส่วนการป้องกันประเทศ ทรงทุ่มเทพระวรกายปกป้องอิทธิพลที่เข้ามารุกรานประเทศทรงขึ้นครองราชสมบัติ ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นำความเจริญมาสู่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปวงชนชาวไทยจึงรวมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในบริเวณลานเจษฎาบดินทร์ ถ.ราชดำเนิน

๒๘ กรกฎาคม - วันประสูติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

พระราชสมภพ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพระสถาน ในพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฏคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดมา นับตั่งแต่พระราชสมภพตราบจนปัจจุบัน

ขณะเมื่อทรงพระราชสมภพนั้น ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศที่เฝ้ารอคอยพระประสูติกาลต่างปลาบปลื่มปิติ ชื่นชมโสมนัส แซซ้องในพระบุญญาธิการ ดังที่ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติสวัสดิกุล ได้บรรยายถึงบรรยากาศก่อนเวลาพระราชสมภพ ตราบจนถึงนาทีอันเป็นมงคลฤกษ์เสด็จพระราชสมภพว่า

“...วันนี้ ครึ้มฟ้าครึ้มฝนตั้งแต่เช้า ฝนไม่ได้ตกมานาน นายแพทย์ผู้ถวายการประสูติเข้าประจำที่สักครู่ก็ประสูติพระราชกุมาร เวลา ๑๗ นาฬิกา กับ ๔๕ นาที ในนาทีเดียวกันนั้นเอง ฝนที่แล้งมาตลอดฤดูก็เริ่มโปรยปรายละอองลงมา ดูคล้าย ๆ ฟ้าก็รู้เห็นเป็นใจกับการประสูติครั้งนี้ อารามดีใจสมประสงค์ของดวงใจทุก ๆ ดวง นายแพทย์ ที่ถวายการประสูติ ซึ่งพร้อมที่จะบอกแก่ที่ประชุม ณ พระที่นั่งอัมพรสถานว่า พระราชโอรส หรือ พระราชธิดา กล่าวออกมาด้วยเสียงอันตื่นเต้นกังวานว่า ผู้ชาย แทนที่จะว่า พระราชโอรส ฝนโปรยอยู่ตลอดเวลา แตรสังข์ดุริยางค์เริ่มประโคม ทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีปืนใหญ่ทั้งบกและเรือยิงสะเทือนเลื่อนลั่น เสียงไชโยโฮ่ร้องก็ดังอยู่สนั่นหวั่นไหว สมใจประชาชนแล้ว...ดวงใจทุกดวงมีความสุข...”

นับแต่นั้นมา ประชาชนชาวไทยต่างเฝ้าติดตามข่าวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ด้วยความจงรักภักดี และต่างปลาบปลื้มปิติ ชื่นชมโสมนัสยิ่งขึ้นเมื่อพระองค์ทรงเจริญวัย มีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เพียบพร้อมด้วยพระราชจริยวัตรและพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ตลอดมา

การศึกษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๙ –๒๕๐๕ ที่ประเทศอังกฤษระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๙ – ๒๕๑๓ หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย แล้วเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต (การศึกษาด้านทหาร)คณะการศึกษาด้านทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาเวลล์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรประจำชุดที่ ๕-๖ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑ และทรงได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ครั้งถึง พ.ศ.๒๕๓๓ ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักรด้วย

เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ปวงชนชาวไทยต่างมีความปลาบปลื่มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฎว่า

“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒฯ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”

ในมงคลวาระนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ถวายสัตย์ปฎิญาณในการพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นจะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อชาติบ้านเมือง และประชาชนชาวไทย เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจพสกนิกรอย่างยิ่ง ดังความว่า

“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฎิญาณสาบานต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงค์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรท่ามกลางสันนิบาตรนี้ว่า

ข้าพเจ้าผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานไว้ด้วยชีวิต จะภัคดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่าง โดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุขและความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่”

บัดนี้กาลเวลาผ่านไป ได้เป็นที่ประจักษ์ว่า ตลอดระยะเวลานับแต่ยังทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงยึดมั่นในพระปฎิญญาทรงพระวิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่นปฎิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย โดยมิได้ย่อท้อ

ดังปรากฎว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี ไปในการเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศตลอดมา จึงทรงสามารถสั่งสมพระประสบการณ์เกี่ยวกับบ้านเมืองและราษฎร ดังนั้น จึงทรงปฏิบัติพระภารกิจได้เป็นผลสำเร็จลุล่วง นับตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เช่น เมื่อพระชนมายุ ๑๑ พรรษา ได้ทรงนำกองลูกเสือสำรองโรงเรียนจิตลดาเข้าร่วมพิธีสวนสนาม ลูกเสือไทย ณ สนามกีฬาแห่งชาติ

พระราชกรณียกิจ

เมื่อทรงพระเจริญวัยได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นานัปการ ทั้งที่ทรงปฏิบัติแทนพระองค์ และทรงปฏิบัติในส่วนพระองค์เอง พระราชกรณียกิจทั้งปวงล้วนมีการสร้างสรรค์ความผา สุขสงบแก่ประชาชน นำความเจริญไพบูลย์และความมั่นคงมาสู่ประเทศ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข การศึกษา การศาล การสังคมสงเคราะห์ การพระศาสนา การต่างประเทศ และการศึกษา ฯลฯ

ในด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขนั้น ทรงตระหนักว่า สุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจุยสัมคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลอันมีคุณภาพไว้เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชดรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรสจำนวน ๒๑ แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลสม่ำเสมอ พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยเพื่อสามารถให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ทรงรับเป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

ในด้านการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบดีว่าเยาวชนในถิ่นธุรกันดารยังด้อยโอกาสในการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นธุรกันดาร ๖ โรงเรียนได้แก่โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และ ฉะเชิงเทรา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ สิดีทัศน์ พระราชทานคำแนะนำ และทรงส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชนใช้ความรู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้เมื่อจบการศึกษา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตามผลการศึกษา และโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และหม่อมเจ้าสิริวัณวรี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่าง ๆ เสมอทั้งนี้ด้วยน้ำพระหฤทัยที่ทรงพระเมตตาห่วงใยเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และในด้านอุดมศึกษา พระองค์ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ปีละเป็นจำนวนมากทุกปี

ในด้านสังคมสงเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดในกรุงเทพฯหลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดเขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา เป็นต้น ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง โปรดเกล้าฯให้กรมทหารในบังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพย์ติดในหมู่เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย เพื่อให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเติบโตเป็นพลเมืองดีและเป็นทรัพยากรบุคคลทีมีคุณค่าในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

ในด้านการต่างประเทศนั้น การมีสัมพันธไมตรีอันดีกับมิตรประเทศ เป็นรากฐานสำคัญของความสงบสุขและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ สมเด็จพระบรมโอรสาธราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญ ๆ ในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เสมอมา ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจำทุกปีปีละหลายครั้งเช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี และทรงพบพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ทรงพบนายเติ้ง เสี่ยวผิง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง เสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ทรงพบ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐

ประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจริญสัมพันธไมตรีในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เอง มีอีกเป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศเนปาล สาธารณรัฐสังคมนิยมศรีลังกา สหพันธ์เอกวาดอร์ สาธารณรัฐเฮอลนิก(กรีซ)ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อวันที่ ๒-๔ กรกฏคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ไป ทรงเยือนประเทศสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทุกครั้ง ต้องทรงเตรียมพระองค์ด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศที่จะทรงเสด็จไปทรงเยือน และระหว่างประทับอยู่ในประเทศนั้น ๆ นอกจากทรงมุ่งมั่นที่จะทรงเจริญสัมพันธไมตรีแล้ว ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการทอดพระเนตและศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทรงนำมาเป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาบ้านเมืองไทยด้วย เช่น เสด็จไปทรงเยี่ยมชมกิจการทหาร การจราจรทางอากาศ เมือทรงเยือนประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ทอดพระเนตรสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมด้านอุตสาหกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เมื่อทรงเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมศรีลังกา ทอดพระเนตรการดำเนินงานด้านการป้องกันสาธารณภัยที่ประเทศเกาหลี เป็นต้น

ในด้านการเกษตรกรรม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ และ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักเป็นปฐมฤกษ์จากผักตลชวาและพืชอื่น ๆ ณ บ้านแหลมสะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอ บางนางบวช และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง เมื่อพระราชทานอุปกรณ์ การทำนา พันธ์ข้าวปลูก และปุ๋ยหมักให้ข้าราชการ ผู้ใหญ่ไปดำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลสะอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ในด้านการพระศาสนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และมีพระราชศรัทธาทรงออกผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ระหว่างทรงผนวช ทรงศึกษา และปฎิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปปฏิบัติพระราชกิจทางศาสนาเป็นประจำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น

ในด้านการศึกษา ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เองนานัปการ เช่น การพระราชทานไฟพระฤกษ์ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้นัดกีฬาไทยผู้นำความสำเร็จนำเกียรติยศมาสู่ประเทศชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดี ซึ่งนักกีฬาของไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีความปลาบปลื่มในสิริมงคลและมีขวัญกำลังใจที่จะนำความสำเร็จและนำเกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติต่อไป และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจในการแข่งขัน ประสบชัยชนะนำเหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

พระราชกรณียกิจทางด้านการทหาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการด้านการทหาร มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาทางด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงพระวิริยะอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้และพระประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในด้านวิทยาการการบิน กล่าวคือ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และทรงศึกษางานทางการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนกระทรวงกลาโหม ทรงประจำการ ณ กองปฎิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ – มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอช – ๑ เอช และหลักสูตรการฝึกบิน เฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบ เอ เอช – ๑ เอส คอบรา ของบริษัทเบบล์ นอกจากนั้นยังทรงเข้าการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ทางด้านการบินอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทรงเห็นได้ว่า พระองค์ท่านมีพระประสบการณ์และทรงเชี่ยวชาญการบินในระดับสูงมาก

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด นับแต่เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ทรงเข้าเป็นนายทหารประจำกรมข่าว ทหารบก กระทรวงกลาโหม วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗ ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ ๓๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเนื่องด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาชาญในวิทยาการด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ พระองค์ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูงมาก และถือว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักบินทั่วโลกจะทำได้ พระองค์ทรงพระกรุณาปฎิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ – ๕ อี/เอฟ ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นต้นมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของกองทัพไทย และปวงชนชาวไทย

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตระวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย ซึ้งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกร และเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชกำลัง

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

๒๘ กรกฎาคม ๒๔๕๗ วันที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้เกิดขึ้น สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดย ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย จากนั้นจึงลุกลามขึ้นเป็นสงครามใหญ่ในยุโรป แบ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (อักษะ) นับว่าเป็นวันที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้เกิดขึ้น (World War I หรือ First World War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. ๑๙๑๔ - ๑๙๑๘ ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า ๔๐ ล้านคน

สาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม

สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (Triple Entente) หรือสัมพันธมิตร ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่ อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน ๑๙๑๕ และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน ๑๙๑๗

และฝ่ายมหาอำนาจกลาง หรือฝ่ายอักษะ ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมาน ได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม ๑๙๑๔ และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง

ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลาง ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน และประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม

ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางหรืออักษะเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ ๕ ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบ และสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด

ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๘ สงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน ๔ ปี ๕ เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๔ ตราพระราชบัญญัติโรคไข้จับสั่น

โรคติดต่อในประเทศไทย โดย นายแพทย์สุวิทย์ อารีกุล และคนอื่น ๆ

ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อ นับแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีการตราพระราชบัญญัติโรคติดต่อขึ้น และมีการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๔๗๙ และ พ.ศ. ๒๔๘๒ ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ ประกาศใช้พระราชบัญญัติไข้จับสั่น และ พ.ศ. ๒๔๘๖ มีพระราชบัญญัติโรคเรื้อน

ใน พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ยกเลิกกฎหมายทั้ง ๕ ฉบับ และประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓

ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีประกาศรัฐมนตรีเรื่องโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ เรียงตามลำดับดังนี้

๑. โรคติดต่ออันตราย มีอยู่ ๔ โรค ได้แก่อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค

๒. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ มีอยู่ ๔๔ โรค คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลืองไข้กาฬหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน โรคบาดทะยักโปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูมไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า โรคตับอักเสบ โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ สครับไทฟัส (scrub typhus) มูรีนไทฟัส (murine typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทร็กซ์ (antrax) โรคทริคิโนซิส (trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซิส ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง

๓. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีอยู่ ๑๕โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ โรคบาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ ไข้พิษสุนัขบ้า ไข้รากสาดใหญ่ แอนแทร็กซ์ โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น โรคคุดทะราด ระยะติดต่อ โรคเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม

ดังนั้นจะเห็นว่า ประเทศไทยมีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรงบางชนิด ได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว เช่นไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคอีกเลย นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ และไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ. ๒๕๐๕ (ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๑) โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้าง ก็ได้ลดความรุนแรงลงไป เช่น อหิวาตกโรคอย่างไรก็ตาม โรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฏอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่ ฉะนั้น โดยทั่วไปแล้ว โรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป

๒๙ กรกฎาคม - วันภาษาไทยแห่งชาติ ,

ความเป็นมา

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

เหตุผล

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป

ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ

ทำไมจึงได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อ ๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.๒๕๓๕ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้น ๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒.เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมี “ วันภาษาไทยแห่งชาติ ”

คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ

๑.การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

๒.บุคคลในวงวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

๓.ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

กิจกรรม

เชิญชวนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดกิจกรรมเนื่องใน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยจัด ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดนิทรรศการ, การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน ฯลฯ,

๒๙ กรกฎาคม ๒๑๓๓ วันขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

จอมคน ยอดนักรบ แห่งแผ่นดิน

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพัน

ในการกอบกู้เอกราชให้แผ่นดิน "สงครามยุทธหัตถี"

เดิมพันอันยิ่งใหญ่ หมายถึงชีวิต หมายถึงแผ่นดิน

ที่พระองค์ไม่อาจปราชัย พระราชประวัติของพระองค์

สมควรค่ายิ่งแก่การเทิดพระเกียรติ

พระราชประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้นเรียกว่า " พระองค์ดำ " สมเด็จพระนเรศวรทรงพระราชสมภพที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ราชวงศ์สุโขทัย และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชนนี ราชวงศ์สุวรรณภูมิทรงมีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยาณี และสมเด็จพระเอกาทศรถ ตามลำดับ

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมีพระชนมายุ ๕๐ พรรษาทรงประชวรเป็นหัวละลอกขึ้นที่แสกพระพักตร์ ขณะเสด็จไปตีกรุงอังวะและประทับแรมอยู่ที่ตำบลทุ่งแก้ว แขวงเมืองหาง และเสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะเส็ง พ.ศ.๒๑๔๘

พระราชกรณียกิจและเหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.๒๑๐๗ พระชนมายุ ๙ พรรษา สมเด็จพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พม่ายกมาตีกรุงศรีอยุธยา ทรงถูกนำไปเป็นตัวประกัน ณ กรุงหงสาวดี ประทับ ๖ ปี

พ.ศ.๒๑๑๓ พระชนมายุ ๑๕ พรรษา เสด็จฯ กลับจากกรุงหงสาวดี

พ.ศ.๒๑๑๔ พระชนมายุ ๑๖ พรรษา เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง

พ.ศ.๒๑๑๗ พระชนมายุ ๑๙ พรรษา ทรงยกทัพไปพร้อมกับสมเด็จพระราชบิดา เพื่อสมทบกับทัพหลวงตีเมืองเวียงจันทน์

พ.ศ.๒๑๒๑ พระชนมายุ ๒๓ พรรษา ทรงเรือพระที่นั่งไล่กวดจับพระยาจีนจันตุที่ลงเรือหนีไปปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในการสู้รบครั้งนั้น พระองค์ทรงแสดงความกล้าหาญอย่างยอดเยี่ยม

พ.ศ.๒๑๒๒ พระชนมายุ ๒๔ พรรษา ทรงเป็นแม่ทัพต่อสู้กับพระทศราชาซึ่งคุมกองทัพเขมรเข้ามาตีโคราชและหัวเมืองชั้นใน และทรงได้รับชัยชนะทั้งที่ทรงมีกำลังทหารน้อยกว่า

พ.ศ.๒๑๒๔ พระชนมายุ ๒๖ พรรษา พระเจ้ากรุงหงสาวดีสวรรคตได้เสด็จฯ ไปกรุงหงสาวดีในพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ องค์ใหม่แทนพระราชบิดา

พ.ศ.๒๑๒๖ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา ได้เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองหงสาวดีไปตีเมืองลุม เมืองคัง ในรัฐไทยใหญ่ ตามคำสั่งของพม่า

พ.ศ.๒๑๒๗ พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพของไทย ณ เมืองแครง พระเจ้ากรุงหงสาวดีให้สุระกำมายกกองทัพตามมาไล่จับสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุระกำมา แม่ทัพพม่าตายและทรงได้รับมอบอำนาจให้บัญชาการบ้านเมืองสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียว

สงครามไทยกับพม่า พระยาพะสิมยกกำลัง ๑๓๐,๐๐๐ คนมาทางเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้าเชียงใหม่มาทางเหนือตีพม่าแตกกลับไป

พ.ศ.๒๑๒๘ สงครามไทยกับพม่า ทรงสู้รบกับพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ พม่า ๑๕๐,๐๐๐ คน ไทย ๘๐,๐๐๐ คน ไทยตีทัพพม่าแตกกลับไป

พ.ศ.๒๑๒๙ สงครามไทยกับพม่า พระเจ้าหงสาวดียกกำลังทหาร ๒๕๐,๐๐๐ คน มาล้อมกรุงอยู่ ๖ เดือน ไทยมีกำลัง ๘๐,๐๐๐ คน ตีขับไล่พม่าจนต้องถอยทัพกลับไป ไม่สามารถเข้าถึงกำแพงพระนครได้

พ.ศ.๒๑๓๓ พระชนมายุ ๓๕ พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดาสวรรคต พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถ เป็นพระมหาอุปราชา และมีพระเกียรติยศสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

สงครามไทยกับพม่า พระมหาอุปราชายกมาครั้งแรกที่สุพรรณบุรี พม่า ๓๐๐,๐๐๐ คน ไทยมีกำลัง ๘๐,๐๐๐ คน ตีพม่าแตกพ่ายไป จับพระยาพะสิมแม่ทับพม่าที่จระเข้สามพันธุ์

พ.ศ.๒๑๓๕ พระชนมายุ ๓๗ พรรษา สงครามยุทธหัตถี พม่า ๒๔๐,๐๐๐ คน ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน รบกันที่เมืองสุพรรณบุรี ทรงมีชัยชนะฟันพระมหาอุปราชามังกะยอชวาแห่งกรุงหงสาวดี ด้วยพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕

สงครามเมืองทะวาย ตะนาวศรี ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน ตีได้เมือง

พ.ศ.๒๑๓๖ สงครามเมืองเขมร ไทย ๑๓๐,๐๐๐ คน เขมร ๗๕,๐๐๐ คน ไทยตีได้เมืองเขมร

พ.ศ.๒๑๓๗ สมครามไทยกับพม่า ไทยตีได้หัวเมืองมอญ

พ.ศ.๒๑๓๘ สงครามไทยกับพม่า ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ ๑ ไม่สำเร็จ ไทยมีกำลัง ๑๒๐,๐๐๐ คน

พ.ศ.๒๑๔๒ สงครามไทยกับพม่า ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีได้สำเร็จ ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วไปล้อมเมืองตองอูอยู่ ๒ เดือน เสบียงอาหารหมดต้องยกทัพกลับ

พ.ศ.๒๑๔๖ สงครามเมืองเขมร ได้เมือง

พ.ศ.๒๑๔๗ สงครามครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยกทัพไปตีกรุงอังวะ ไทย จำนวน ๒๐๐,๐๐ คน แต่ทรงประชวร และเสด็จสวรรคตเสียก่อน

สงครามยุทธหัตถี

สมเด็จพระนเรศวรทรงก้าวขึ้นครองราชบัลลังค์ได้เพียงไม่นาน ๔ เดือนเท่านั้น ก็เผชิญศึกใหญ่ พม่ายกเข้ามารุกรานอีก ในช่วงที่ผลัดแผ่นดินใหม่ ด้วยความเข้าใจว่าอาจเกิดความยุ่งยากขึ้นมาตามธรรมเนียมของบ้านเมือง พม่าได้ยกไพร่พลมาครั้งนี้เป็นทัพใหญ่มีไพร่พลถึง ๓ แสน จัดเป็น ๒ ทัพ มุ่งเข้ามาทางด่านพระเจดีย์ สามองค์ เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอย่างเร็วพลันไม่ให้ตั้งตัวได้

สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับกระบวนวิธีการรบใหม่ทันที โดยทรงใช้วิธียาตราทัพไปซุ่มรับอยู่ที่สุพรรณบุรี แล้วส่งกองทัพน้อยไปเมืองกาญจนบุรีทำทีเหมือนจะไปรักษาเมือง พม่าหลงกลรุกไล่กองทัพน้อยของไทย ซึ่งถอยหนีหลอกล่อมาทางที่ทัพหลวงซุ่มอยู่

พอได้จังหวะ ก็พร้อมกันออกตะลุมบอน ตีพม่าแตกยับถูกทหารไทยฆ่าฟันล้มตายนับไม่ถ้วน ส่วนแม่ทัพคือ พระมหาอุปราชาทรงหนีรอดเงื้อมือไปได้

นับเป็นชัยชนะศึกใหญ่ต้อนรับการขึ้นสู่ราชบังลังค์ของสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของชาวไทย ที่ทำให้ขวัญของชาวไทยในเวลานั้นพลันฮึกเหิมขึ้นมาอย่างน่าประหลาด ซึ่งทำให้พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรเกริกไกรกึกก้องขจรขจาย ไปทั่วทุกทิศานุทิศ ทำให้ไทยก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในย่านคาบสมุทรอินโดจีนแหลมทองของไทยนับ แต่บัดนั้นเป็นต้นมา

โดยการทำสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้น เกิดขึ้นเมื่อ วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๙๔๕ ( พ.ศ. ๒๑๓๕) ก่อนที่จะได้ทำสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินว่าได้ต่อสู้กับจระเข้ใหญ่

**********************************

บรรณานุกรม :

สะเทื้อน ศุภโสภณ.สมเด็จพระนเรศวร มหาวีรราชเจ้า. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ One World, ๒๕๔๗.
ประเทือง แก้วสุข.ใครนำไทย ไป... กรุงเทพฯ : กกกก ก่อกิจการพิมพ์, ๒๕๔๔.

๒๙ กรกฎาคม ๒๔๕๘ วันพระราชทานนาม เมืองว่า “สุราษฎร์ธานี” และ “แม่น้ำตาปี” แก่ชาวเมืองคนดี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาประทับ แรม บริเวณควนท่าข้าม เมืองไชยา เมื่อครั้งเสด็จเลียบ มณฑลปักษ์ใต้ และได้พระราชทานชื่อเมืองว่า “สุราษฎร์ธานี” และ “แม่น้ำตาปี” แก่ชาวเมืองคนดี ตราบเท่าทุกวันนี้.

พระราชประวัติโดยสังเขป พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรส พระองค์ที่ ๒๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงได้รับพระราชทานนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ” ขณะทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ระหว่างที่ประทับอยู่ใน ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา วชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้สวรรคต พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ ราชกุมาร แทน พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารบก ที่ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮริสต์ ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ และกฎหมาย ที่ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลราช สมบัติสืบแทน ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ทรง อภิเษกสมรสกับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้ ประสูติพระราชธิดา คือ “สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” ต่อมาพระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคทางเดินอาหาร ขัดข้อง และสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ เวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาที พระชนม พรรษาเป็นปีที่ ๔๖ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา

ถึงแม้ในรัชสมัยของพระองค์จะมีระยะเวลาเพียง ๑๕ ปี แต่พระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ประกอบเป็นคุณประโยชน์ ต่อประเทศชาติอเนกอนันต์ ทั้งด้านการศึกษา ได้จัดตั้ง โรงเรียนมหาดเล็กหลวง คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ใน ปัจจุบัน ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์, พระราช บัญญัติประถมศึกษา ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การ ศึกษาไทย ที่มีกฎหมายค้ำประกันความมั่นคงในการจัดการ ศึกษา และโปรดเกล้ายกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพ.ศ. ๒๔๕๙ นับเป็นมหาวิทยาลัย แห่งแรกของไทย นอกจากนี้ พระองค์ได้โปรดเกล้าจัดตั้งคลังออมสิน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ ซึ่ง ในปัจจุบันได้พัฒนาเป็น ธนาคารออมสิน, เริ่มก่อตั้งบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย, ทรงก่อตั้งกรมอากาศยานทหารบก, วชิรพยาบาล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, เนติบัณฑิตยสภา, กรมมหรสพ, เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการ เป็นกระทรวงศึกษาธิการ, สถาปนากองเสือป่า ได้พระราชทานคติพจน์แก่ลูกเสือว่า เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ และทรงก่อตั้ง ดุสิตธานี เพื่อเป็น เมืองจำลองการบริหารงานปกครองแบบประชาธิปไตย

นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตรา พระราชบัญญัตินามสกุล เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๖ นับเป็นการเริ่ม ต้นที่คนไทยได้มีนามสกุลใช้ ทางด้านวรรณศิลป์ ทรงมีพระ ปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระราชนิพนธ์ของพระองค์ มีเป็นจำนวนนับพันเล่ม และมีทุกประเภทวรรณศิลป์ ได้แก่ โขน ละคร พระราชดำรัส เทศนาเสือป่า นิทาน สารคดี บทความ ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

และที่สำคัญซึ่งชาวเมืองคนดีจดจำไม่มีวันลืม และต่างก็สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ก็คือ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๕๘ พระองค์ได้เสด็จมาประทับ แรม บริเวณควนท่าข้าม เมืองไชยา เมื่อครั้งเสด็จเลียบ มณฑลปักษ์ใต้ และได้พระราชทานชื่อเมืองว่า “สุราษฎร์ธานี” และ “แม่น้ำตาปี” แก่ชาวเมืองคนดี ตราบเท่าทุกวันนี้.

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๘ (ค.ศ. 1825)

ผู้บัญชาการเรือรบอังกฤษค้นพบเกาะมัลเดน

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๘ (ค.ศ. 1945)

สงครามโลกครั้งที่สอง: เรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงตอร์ปิโด 2 ลูก ถล่ม เรือรบอินเดียแนโพลิส (ในภาพ) ของสหรัฐอเมริกา ขณะมุ่งหน้าไปยังฟิลิปปินส์ ทำให้ลูกเรือ 883 คน เสียชีวิต นับเป็นการสูญเสียลูกเรือคราวเดียวกันครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๐๖

วันเกิด เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) นักอุตสาหกรรมชาวอเมริกันผู้บุกเบิกการผลิตรถยนต์ เกิดในครอบครัวชาวไร่ ที่เมืองดีทรอยท์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมกริกา ด้วยความสนใจในเครื่องยนต์กลไก พ่อของเขามอบนาฬิกาพกให้เป็นของขวัญตอนเข้าสู่วัยรุ่น ทำเขาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาขึ้นชื่อตั้งแต่อายุเพียง 15 ปี ก่อนหน้านั้นในปี 2419 แม่ของเขาเสียชีวิต พ่อจึงอยากให้เขาเป็นผู้ดูแลฟาร์มต่อ แต่เขาปฏิเสธ ปี 2423 เขาเข้าเป็นเด็กฝึกหัดงานด้านเครื่องยนต์กลไกที่เมืองดีทรอยท์ จากนั้นก็ได้เป็นช่างซ่อมเครื่องจักรไอน้ำ วิศวกรและเป็นหัวหน้าวิศวกรของบริษัท Edison Illuminating Company เขาได้รับมอบหมายให้ศึกษาและพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน กระทั่งสามารถพัฒนารถยนต์สี่ล้อคันแรกสำเร็จในปี 2412 เขาตั้งชื่อว่า "ฟอร์ด ควอดริไซเคิล" (Ford Quadricycle) ต่อมาเขารวมตัวกับเพื่อน ๆ นักประดิษฐ์ก่อตั้ง "บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์" (Ford Motor Company) ในปี 2446 ในสมัยที่สังคมอเมริกันยังนิยมรถม้า และมองว่ารถยนต์ยังเป็นสิ่งไร้สาระ ไว้ใจไม่ได้ และมีราคาสูงเกินจะไขว่คว้า แต่ด้วยความสามารถของฟอร์ด เขาริเริ่มใช้กระบวนการผลิต "ระบบสายพาน" (assembly lines) ในการผลิตรถยนตร์เป็นครั้งแรก ทำให้การผลิตรถยนต์รวดเร็วและได้จำนวนมาก ๆ ในปี 2451 รถยนต์ "ฟอร์ด โมเดล ที" (Ford Model T) ของเขาก็ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากอเมริกันชนเป็นอย่างดี เพราะเป็นรถยนต์ที่สวยงาม มีความแข็งแรงทนทาน และมีราคาถูกกว่ารถยนต์ญี่ห้ออื่นในตลาดเกือบครึ่ง รถยนต์รุ่นนี้ผลิตจนถึงปี 2470 จำหน่ายได้ทั้งหมดราว 15 ล้านคัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 บริษัทฟอร์ดก็ยังประสบความสำเร็จในการผลิตเครื่องบิน "ฟอร์ด 4เอที ไตรมอเตอร์" (Ford 4AT Trimotor) ฟอร์ดมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนตร์ให้ก้าวหน้าขึ้นกลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฟอร์ดถึงแก่กรรม 7 เมษายน 2490 ฟอร์ดได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน" ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก นับเป็นการปฏิวัติการผลิตสินค้าจำนวนมากในเชิงอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ได้ขยายกิจการธุรกิจรถยนต์ไปทั่วโลก โดยเป็นเจ้าของธุรกิจรถยนต์แบรนด์อเมริกันคือ "ฟอร์ด" (Ford) "ลินคอล์น" (Lincoln) และ "เมอร์คิวรี" (Mercury) แบรนด์อังกฤษคือ "จากัวร์" (Jaguar) "แลนด์ โรเวอร์" (Land Rover) แบรนด์สวีเดนคือ "วอลโว" (Volvo) และร่วมลงทุนกับบริษัทผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นคือ "มาสดา" (Mazda) ฟอร์ด มอเตอร์ทำรายได้ต่อปีประมาณ 12.6 พันล้านบาท (ปี 2549) มีคนพนักงานทั่วโลกราว 280,000 คน (ปี 2549)

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๙

"สนุกนิ์นึก" เรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย พระนิพนธ์ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก (ตอนแรก) ในหนังสือ "วชิรญาณวิเศษ" (แผ่น 28 วันที่ 6 เดือน 8 ปีจอ อัฐศก 1248) ทั้งนี้ "สนุกนิ์นึก" แรกเริ่มกรมหลวงพิชิตปรีชกรทรงตั้งพระทัยจะทดลองแต่งเป็นเรื่องยาวแบบนวนิยาย โดยแต่งเลียนแบบสำนวนหนังสือภาษาอังกฤษ ใช้วิธีสนทนาถกของพระในวัดบวรนิเวศ 4 รูป ถกเถียงถึงการที่พระรูปหนึ่งจะสึกออกไปแต่งงาน แต่ปรากฎว่าตีพิมพ์ได้เพียงตอนแรกเพียงตอนเดียวก็จำเป็นต้องยุติลง เพราะการเขียนแบบนี้เป็นแนวใหม่ที่คนในยุคนั้นยังไม่รู้จักดีพอ โดยเฉพาะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงปกครองวัดบวรนิเวศ ทรงเข้าพระทัยว่า กรมหลวงพิชิตปรีชากรเอาเรื่องจริงมาเขียนประจานให้ร้ายวัดบวรนิเวศ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นจึงทรงน้อยพระทัยโทมนัสเดือดร้อนมากมาย จนถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต้องทรงไกล่เกลี่ยแก้ไขด้วยพระองค์ เรื่องจึงระงับลงได้ กรมหลวงพิชิตปรีชากรก็ไม่กล้าทรงแต่งเรื่องสนุกนิ์นึกต่อไป คงทรงค้างอยู่เพียงเท่านั้น เรื่อง "สนุกนิ์นึก" นี้นักวรรณคดีในปัจจุบันให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องสั้นไทยเรื่องแรก แต่บางท่านเห็นว่าน่าจะเป็นนวนิยาย ข้อสันนิษฐานนี้ไม่อาจยืนยันได้ เพราะเรื่องที่แต่งนั้นไม่จบบริบูรณ์ด้วยเกิดเหตุ การทักท้วงเรื่องความ "สมควร" ของเนื้อเรื่อง ผู้ประพันธ์จึงทรงระงับการแต่งไป

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๐

"โชคสองชั้น" ภาพยนตร์ฝีมือของคนไทยเรื่องแรก ออกฉายสู่สาธารณชนที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร กรุงเทพฯ ปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังเงียบ ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำขนาด 35 มม. ผลิตโดยกลุ่ม "กรุงเทพฯ ภาพยนตร์บริษัท” ของพี่น้องตระกูล "วสุวัต" อำนวยการสร้างโดย นายมานิต วสุวัต บทภาพยนตร์โดย หลวงบุณยมานพพานิช ถ่ายภาพโดย หลวงกลการเจนจิต ตัดต่อโดย นายกระเศียร กำกับโดย หลวงอนุรักษ์รัถการ นอกจากนี้ยังได้จ้างทีมงานบางส่วน และอุปกรณ์การถ่ายทำ จากกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการ ผลิตภาพยนตร์ที่มีศักยภาพที่สุด ในขณะนั้นมาช่วยถ่ายทำด้วย เรื่องราวของ 'โชคสองชั้น' เป็นเรื่องราวของ กมล นายอำเภอหนุ่มที่ได้รับมอบหมายให้มาจับโจรร้ายที่หลบหนีมาซ่อนตัวในกรุงเทพฯ ในระหว่างนี้ กมลได้พบรักกับ วลี นางเอกที่มีหนุ่มหมายปองอยู่แล้ว คือ วิง ซึ่งเป็นคนร้ายที่พระเอกตามหาอยู่ ในที่สุดพระเอกก็ตามจับคนร้ายได้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง 'โชคสองชั้น' คือได้ทั้งจับคนร้ายและได้พบรักกับนางเอก หอสมุดแห่งชาติได้ค้นพบฟิล์มและพิมพ์สำเนาใหม่เอาไว้ได้เพียง 42 ฟุต คิดเป็นภาพนิ่งทั้งหมด 1,319 ภาพ รวมความยาวประมาณ 1 นาที แต่ก็นับว่าเป็นนาทีที่มีคุณค่า เพราะเป็นประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยในยุคเริ่มต้น

๓๐ กรกฎาคม ๒๔๘๙

วันเกิด ณรงค์ จันทร์เรือง นักเขียนเรื่องขนหัวลุก เจ้าของนามปากกา "ใบหนาด" เกิดที่กรุงเทพฯ เริ่มเรียนชั้นประถม-มัธยมที่ จ. สระบุรี ณรงค์เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่อายุ 15 ปี เริ่มส่งบทกลอนไปลงหนังสือ "ศรีสัปดาห์” ส่งนิทานไปลง "ดรุณสาร" และได้ตีพิมพ์เรื่องสั้นเรื่องแรก "วิวาห์ในอากาศ" ในนิตยสาร "แสนสุข" และ "แม่ศรีเรือน" นับเป็นก้าวแรกสู่วงการน้ำหมึก พออายุ 18-19 ปีก็เริ่มเขียนเรื่องยาว ทำให้เขาได้ค่าเรื่องมากกว่า 3 เท่าของเงินเดือบบัณฑิตในสมัยนั้น เขาจึงตัดสินใจเลิกเรียนหนังสือตั้งแต่ยังไม่ทันจบชั้น ม. 8 ด้วยหลงใหลการประพันธ์ จากนั้นก็ได้ทำงานในตำแหน่งพิสูจน์อักษรที่นิตยสาร "แสนสุข" แล้วเขียนนิยายบู๊เรื่อง "กริชมหาราช" ให้กับสำนักพิมพ์เพลินจิต ณรงค์มีความใฝ่ฝันว่าเรื่องสั้นของตนจะต้องได้ลงตีพิมพ์ใน "สยามรัฐสัปดาวิจารณ์” ซึ่งเป็นสนามเรื่องสั้นที่ "หิน มากในสมัยนั้นให้ได้ ในที่สุดเรื่องสั้นของเขาเรื่อง "โรงนา” ก็ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์โดยบรรณาธิการ ประมูล อุณหธูป วันหนึ่งเขาต้องมารับหน้าที่เขียนเรื่องสั้นผีลงในคอลัมน์ "ขวัญหาย" ในหนังสือ "ขวัญจิต" เขาจึงรีบเขียนเรื่อง "วิญญาณห่วง" ในเวลาที่จำกัดและใช้นามปากกา "ใบหนาด" เป็นครั้งแรกที่นี่ ตลอด 40 ปีในชีวิตนักประพันธ์ "ใบหนาด" เขียนเรื่องผีนับพันเรื่อง เขียนเรื่องผีทุกประเภท ทั้งผีในป่าช้า บ้านร้าง ผีตายโหง ผีตายทั้งกลม ผีอาฆาตพยาบาท นางไม้ พราย ฯลฯ หยิบเอาความน่ากลัวมาให้ผู้อ่านขนหัวลุกกันอย่างบันเทิงเริงใจ เรื่องผีของ "ใบหนาด" จึงไม่ใช่แค่ทำให้คนจิตอ่อนขนหัวลุกเท่านั้น แต่สัปเหร่อยังขนพองสยองเกล้า หรือแม้แต่ผีเองยังกลัว นอกจากเรื่องผีแล้ว ณรงค์ยังมีผลงานอีกหลายประเภท ทั้งนวนิยาย เช่น มัสยาวังเย็น, เทพธิดาวารี, เทพธิดาคาเฟ่ ฯลฯ เรื่องสั้น เช่น สวะชีวิต, เสน่ห์สลัม, น้ำรักไม่รา, ตายแล้วมาทางนี้ ฯลฯ สาคดี เช่น ไอ้มืดนิวยอร์ก, คึกฤทธิ์ ปราโมช-สิบเศียรยี่สิบกร, อรวรรณ อกสามศอก, นักเขียนในอดีต ฯลฯ นอกจากนี้ เขายังเขียนเรื่องขบขัน เรื่องท่องเที่ยว บทความ คอลัมน์ตอบปัญหาชีวิต เขียนบทภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกาหลากหลาย อาทิ "ใบหนาด", "บุญเสมอ", "แดงสังวาลย์", "คริส สารคาม", "รบ จันทร์แรม" เป็นต้น ปัจจุบันณรงค์ยังคงเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" และเขียนเรื่องผีในนามปากกา "ใบหนาด" ทั้งนี้ใบหนาดเป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่งสูง 4-5 ม. ใบสากเหมือนใบข่อย เชื่อกันว่าผีกลัวใบหนาดเพราะความสากและคัน หมอผีภาคเหนือจะใช้ใบหนาดในกรรมวิธีไล่ผี และความอัปมงคล

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๙ (ค.ศ. 1966)

ทีมชาติอังกฤษชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลโลก ด้วยการเอาชนะทีมชาติเยอรมนี ๔-๒ ประตู

๓๑ กรกฎาคม ๒๔๑๐ : วันถึงถึงแก่อสัญกรรม ของหม่องราโชทัย (กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา) กวีผู้แต่งนิราศลอนดอน

หม่อมราโชทัย หรือ ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา บุคคลสำคัญของไทย ถึงแก่อสัญกรรม หม่อมราโชทัยเป็นโอรสของกรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชะอุ่ม) ประสูติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2363 เมื่อเจริญวัยบิดาได้นำไปถวายตัวอยู่กับ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ขัตติยราชกุมาร เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวช หม่อมราชวงค์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปอยู่รับใช้โดยตลอด ครั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงค์กระต่ายก็ได้ศึกษากับมิชชันนารีจนมีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างดี เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หม่อมราชวงค์กระต่ายก็ได้ติดตามสมัครเข้ารับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณและด้วยความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษ จึงได้เลื่อนยศเป็น "หม่อมราโชทัย" ในปี 2400 รัชกาลที่ 4 ได้มีพระราชดำริให้จัดส่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีกับอังกฤษ ในสมัยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย โดยให้หม่อมราโชทัยเป็นล่าม เมื่อกลับมาแล้วก็ทรงโปรดเกล้าให้เป็นอธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรก ในระหว่างเดินทางไปอังกฤษหม่อมราโชทัยได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางไว้ตลอด เมื่อกลับมาแล้วก็ได้แต่งเป็น "นิราศลอนดอน" นับเป็นนิราศเรื่องแรกที่กล่าวถึงบ้านเมืองในประเทศตะวันตก นิราศลอนดอนเป็นทั้งวรรณคดี และจดหมายเหตุพงศวดารชิ้นสำคัญ ภายหลังหม่อมราโชทัยขายลิขสิทธิ์ให้แก่หมอบรัดเลย์ในราคา 400 ซึ่งนับเป็นการขายกรรมสิทธิหนังสือครั้งแรกในเมืองไทย ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2404 หม่อมราโชทัยถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุได้ 43 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้จัดการรับพระราชทานเพลิง ณ เมรุวัดอรุณราชวราราม เมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2410

 

๓๑ กรกฎาคม ๒๔๖๖ : เริ่มมีรถแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย

รถแท็กซี่ (Taxi) เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย โดย พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อช่วยทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มีอาชีพหลังจากปลดจากราชการ โดยนำเอารถเก๋งออสติน (Austin) ขนาดเล็กออกวิ่งรับจ้าง โดยติดป้ายรับจ้างไว้ข้างหน้า-หลังของตัวรถ คิดค่าโดยสารเป็นไมล์ โดยตกไมล์ละ 15 สตางค์ ซึ่งนับว่าแพงมากเมื่อเทียบราคากับค่าโดยสารในปัจจุบัน ในสมัยนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า "รถไมล์" เพราะเก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง ในสมัยบุกเบิกใหม่ ๆ นั้นมีรถแท็กซี่อยู่เพียง 14 คัน แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเลิกกิจการในที่สุด เนื่องจากค่าโดยสารแพง ผู้ใช้บริการยังไม่คุ้นเคยจึงไม่ยอมนั่ง ประกอบกับเมืองกรุงเทพฯ ยังมีขนาดเล็ก และมีรถรับจ้างอื่น ๆ อยู่มากและราคาถูกกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2490 ก็มีผู้นำรถยนต์นั่งมาให้บริการในลักษณะรถแท็กซี่อีกครั้ง รถที่นำมาบริการในช่วงนั้นเป็นรถยี่ห้อ เรโนลต์ (Renault) สมัยนั้นจึงเรียกแท็กซี่ว่า "เรโนลต์" ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากสะดวกรวดเร็วกว่ารถจักรยานสามล้อถีบ ซึ่งมีชุกชุมในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้อาชีพขับรถแท็กซี่เป็นที่ฮือฮา มีผู้นำรถเก๋งไปทำเป็นรถแท็กซี่กันมากขึ้น จนระบาดไปต่างจังหวัด จนต้องมีการควบคุมกำหนดจำนวนรถมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันแท็กซี่ในเมืองไทยเป็นรถปรับอากาศ ติดมิเตอร์คิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางและเวลา โดยเริ่มต้นที่ 35 บาท พร้อมทั้งมีมีวิทยุสื่อสาร บางคันอาจมีทีวีให้ดูในระหว่างการเดินทางด้วย

๓๑ กรกฎาคม ๒๔๘๗ : อังตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี ผู้แต่ง เจ้าชายน้อย หายสาบสูญ

อังตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี (Antoine de Saint-Exupery) นักบินและนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ผู้แต่ง "เจ้าชายน้อย" (The Little Prince) หายสาบสูญไปขณะบินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้าแอฟริกา แซง-เตกซูเปรีเกิดที่เมืองลียอง (Lyon) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2443 เรียนสถาปัตย์ที่ Ecole des Beaux-Arts กรุงปารีส เข้ารับราชการทหารในปี 2464 ถูกส่งไปฝึกขับเครื่องบินที่เมืองสตราส์บรูก ประเทศเยอรมนี ก่อนจะได้ใบอนุญาติเป็นนักบินอาชีพ ต่อมาก็เริ่มบุกเบิกการบินไปรษณีย์ ในปี 2469 เป็นนักบินประจำเส้นทางสาย ตูลูส-คาซาบลังกา แล้วต่อมาถูกส่งไปเป็นหัวหน้าหน่วยประจำสถานีที่กางจูบีในแอฟริกา เขาได้อาศัยประสบการครั้งนี้เขียนนิยายเรื่องแรกคือ "ไปรษณีย์ใต้" (Courrier sud) ในปี 2472 หลังจากการไปฝึกฝนเพิ่มเติม จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการบริษัทขนส่งทางอากาศบริษัทหนึ่งที่กรุงบัวโนสไอเรสในอเมริกาใต้ อีกสองปีต่อมาก็ออกผลงานเล่มที่ 2 คือ "เที่ยวบินกลางคืน" (Vol de nuit) ระหว่างที่เขาพยายามบินทำสถิติระหว่างปารีส-ไซ่ง่อน เครื่องบินเกิดขัดข้อง ต้องร่อนลงกลางทะเลทรายที่แอฟริกา เขาจึงได้นิยายอีกเรื่องคือ "แผ่นดินของเรา" (Terre des Hommes) ตีพิมพ์ในปี 2482 นอกจากนี้ก็ยังผลงานเล่มเล็กแต่ยิ่งใหญ่คือ "เจ้าชายน้อย" (Le Petit Prince) ตีพิมพ์ในปี 2486 วรรณกรรมเยาชนคลาสสิกตลอดกาล ซึ่งเขาวาดภาพประกอบด้วยตนเอง เป็นเรื่องของเจ้าชายตัวน้อยองค์หนึ่งที่หลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อบอกเล่าความจริงบางอย่างให้แก่เพื่อนมนุษย์ นับเป็นผลงานที่งดงามและแสนเศร้า ด้วยว่าในที่สุดเจ้าชายน้อยจะต้องหายตัวไป เช่นเดียวกับแซง-เตกซูเปรี ที่หายสาบสูญไป ขณะบินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้าแอฟริกาเมื่อคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2487 ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคาดว่าเครื่องบินของเขาจะถูกฝ่ายเยอรมันยิงตก รถแท็กซี่ (Tax

 

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๘ : วันเกิด โจแอนน์ โรลลิง ผู้เขียนวรรณกรรม แฮรี พอตเตอร์

โจแอนน์ โรลลิง (Joanne Kathleen Rowling) นักเขียนชาวอังกฤษ เจ้าของนามปากกา "เจ. เค. โรลลิง" (J. K. Rowling) ผู้ให้กำเนิดวรรณกรรมชื่อดัง "แฮรี พอตเตอร์" (Harry Potter) เกิดที่เมืองเยต มลฑลกลอสเตอร์ไชร์ (Gloucestershire) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ เธอเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรกตั้งแต่ห้าขวบคือ "Rabbit" จากนั้นพ่อแม่ก็ส่งเสริมด้านการอ่านการเขียนมาตลอด เธอเรียนจบสาขาภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรมคลาสสิกจากมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ (University of Exeter) เริ่มต้นทำงานที่ฝรั่งเศสพักหนึ่งก่อนจะกลับมาทำงานเป็นเลขานุการองค์การนิรโทษกรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงลอนดอน วันหนึ่งในปี 2533 ในตู้รถไฟระหว่างเมืองแมนเชสเตอร์-ลอนดอน ซึ่งเสียเวลา 4 ชั่วโมง ความคิดของเธอก็เถลไหลไปถึงเด็กชายในโรงเรียนพ่อมด เมื่อไปถึงสถานีแช็พแฮม จังค์ชัน (Clapham Junction) เธอก็เริ่มลงมือเขียนเรื่องในจินตนาการออกมาทันที ก่อนจะกลายเป็นวรรณกรรมแฟนตาซีของเหล่าพ่อมด ที่เด็ก ๆ ทั่วโลกหลงไหลในอีก 6 ปีต่อมา จากนั้นเธอย้ายไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ประเทศโปรตุเกส และแต่งงานกับนักข่าวหนังสือพิมพ์ มีลูกสาวด้วยกันคนหนึ่ง ก่อนที่ทั้งคู่จะแยกทางกันในปี 2536 จากนั้นเธอกับลูกสาวก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเอดินเบิร์ก ประเทศสกอตแลนด์ ทำงานตามร้านกาแฟและรอรับเงินเลี้ยงชีพจากรัฐบาล เธอต้องพักอยู่ในห้องเช่าราคาถูก ในระหว่างนี้ก็เขียนเรื่องแฮรีพอร์ทเตอร์ตอนแรก เสร็จสมบูรณ์ในปี 2538 เธอนำต้นฉบับที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดไปเสนอตามสำนักพิมพ์กว่าสิบแห่งแต่ก็ถูกปฏิเสธ ในที่สุดแฮรีพอตเตอร์ตอนแรกที่ชื่อว่า "Harry Potter and the Philosopher's Stone" ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ "บลูมส์เบอรี" (Bloomsbury Publishing Plc) ในปี 2540 ด้วยยอดพิมพ์ที่ต่ำกว่า 1,000 เล่ม เจ้าของสำนักพิมพ์แนะนำให้เธอใช้นามปากกาเป็นชื่อย่อว่า "J. K. Rowling" เพราะกลัวว่าถ้าใช้ชื่อจริงซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นหญิงแล้ว แฟน ๆ เด็กผู้ชายจะไม่ยอมเปิดหนังสืออ่าน ห้าเดือนหลังจากนั้นนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับรางวัล "Nestle Smarties Book Prize" ต่อด้วย "British Book Award" ปีต่อมาแฮร์รี พอตเตอร์ก็ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในอเมริกา พ่อมดน้อยแฮร์รี พอร์ตเตอร์ก็กลายเป็นขวัญใจเด็ก ๆ ที่นั่นทันที ก่อนจะกลายเป็น "แฮร์รีฟีเวอร์" ไปทั่วโลก หลังจากที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก ตามมาด้วยแฮร์รี พอตเตอร์ตอนอื่น ๆ รวมทั้งหมดเป็น 6 ตอน ตอนล่าสุดคือ "Harry Potter and the Deathly Hallows" วางแผงในอเมริกาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 ปัจจุบันหนังสือนิยายเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 64 ภาษา ตีพิมพ์ทั่วโลกรวมกันกว่า 325 ล้านเล่ม นอกจากนี้ยังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แฮร์รี พอตเตอร์ตอนแรกออกฉายในเดือนพฤศจิกายน 2544 ตามมาด้วยภาคต่อ ๆ มาทุกภาค อีกทั้งแฮร์รี พอตเตอร์ยังถูกนำไปสร้างเป็นวีดิโอเกม และเป็นสินค้าอื่น ๆ อีกหลายชนิด ทั้งหมดนี้ส่งผลให้โรลลิงจากคนตกงาน กลายเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์สินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการจัดอันดับของนิตยสาร Sunday Time (2007 Sunday Times Rich List) ได้จัดสถิติบุคลลที่รวยที่สุดในโลก โรลลิงขึ้นทำเนียบบุคคลรวยที่สุดอันดับ 136 และเป็นเศรษฐินีอันดับที่ 13 ของอังกฤษ

 

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๙

วันก่อตั้งสมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIA - ASA) มีสมาชิก ๓ ประเทศคือ ไทย สหพันธรัฐมาลายา และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพ ฯ วัตถุประสงค์เพื่อเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ต่อมาได้ยุบรวมเข้ากับสมาคมอาเซี่ยน เมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐

 

โปรดเลือก "คลิ๊ก" เพื่ออ่านเหตุการณ์ใน ๑๒ เดือน

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

 

นำเสนอโดย
วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่
อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84290