วันที่
๑๖ กันยายน ๒๔๙๗เป็นวันที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ.
๒๔๙๗ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๑ ตอนที่ ๖๑) ถือเป็นวันยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นวันที่ตรงกับ วันเกิดของศาสตราจารย์
ดร.สาโรช บัวศรีด้วย เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช
บัวศรี จึงเรียกวันที่ ๑๖ กันยายน เป็นวันสาโรช บัวศรี
ประวัติโดยย่อของ
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
ศาสตราจารย์
ดร.สาโรช บัวศรี เกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่
๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นบุตรคนโตของขุนประทุมสิริพันธ์ (เจริญ
บัวศรี) และนางเปล่ง บัวศรี มีพี่น้อง ๕ คน คือ สาโรช สารี สว่าง
จำนง จงดี เป็นชาย ๒ คน คือ สาโรช และ จำนง
ศาสตราจารย์
ดร.สาโรช บัวศรี สมรสกับ อาจารย์ศิรี ศิริจรรยา ในวันจันทร์ที่
๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
การศึกษา.-
ท่านเรียนหนังสือที่จังหวัดภูเก็ตทั้งชั้นประถมและมัธยมจนจบมัธยมปีที่
๖ เมื่ออายุเพียง ๑๓ ปี เพราะได้เรียนข้ามขั้นบ่อย ๆ สมัยโน้นการเดินทางจากเกาะภูเก็ตมากรุงเทพฯ
ลำบากมาก บิดาจึงส่งไปเรียนที่ปีนังซึ่งอยู่ใกล้กว่า เดินทางโดยเรือคืนหนึ่งก็ถึงโรงเรียนที่ป
ีนัง ชื่อ The Anglo-Chinese Boys School หรือ Anglo-Chinese
School ปัจจุบันได้ชื่อว่า Methodist Boys School ไปเรียนอยู่
๓ ปี การเรียนที่ปีนังระยะนั้นเป็นการเรียนระบบโบราณของอังกฤษ
เรียนได้ถึงชั้นปีที่ ๗ เรียกว่า Form Seven สอบได้ที่ ๑ ของชั้น
ต่อจากนั้น ได้มาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ณ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร
ได้ทุนจังหวัดภูเก็ต เรียน ๒ ปี ได้ ป.ป. ระหว่างเรียนมีพระมาสอนธรรมศึกษา
อันเป็นรากฐานความคิดอย่างดีที่สุดและสอบได้ธรรมศึกษาของสนามหลวงคณะสงฆ์
พ.ศ.
๒๔๗๘ สอบเข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่
๑ สำเร็จปริญญาตรี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)
และเรียนวิชาครูต่อ ได้ ป.ม. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒
ขณะที่เรียนอยู่ปีที่
๒ คณะอักษรศาสตร์ สอบได้ที่ ๑ ของคณะฯ ได้รางวัล ๑๐๐ บาท เรียนอยู่ชั้นปีที่
๓ ได้ทุนจุลจักรพงษ์เพราะสอบได้ที่ ๑ อีก เรียนอยู่ชั้นปีที่
๔ ได้รางวัลยอดเยี่ยมภาษาอังกฤษจาก British Council และเป็นผู้แทนคณะอักษรศาสตร์
กีฬาที่เล่นขณะศึกษา อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ ทั้ง ๔ ปี คือ ฟุตบอล
กีฬาที่ชอบมาก คือ เทนนิส กิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยก็ได้ช่วยเหลือเต็มที่
เมื่อเรียนจบอายุได้
๒๓ ปี เข้าสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สอนอยู่ได้ปีเศษ กรมวิสามัญศึกษาส่งไปเป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ที่
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ประมาณ ๖ ปี ย้ายมาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนครได้ประมาณ ๓-๔ เดือน ได้รับทุนจากกระทรวงก
ารต่างประเทศอเมริกาไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอเมริกาที่ The Ohio
State University ใช้เวลาศึกษาปีเศษ ได้รับปริญญาโท (Master
of Arts) ศึกษาต่ออีก ๓ ปีเศษ ได้รับปริญญาเอก (Doctor of Philosophy)
ได้ศึกษาและสำเร็จการศึกษา
ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) รุ่นที่ ๕ ในปี พ.ศ.
๒๕๐๖
การทำงาน
.-
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
ได้ทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ ๓ เดือน หลังจากนั้นได้รับตำแหน่งต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
- ๑ มีนาคม
๒๔๙๖ - ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๖ เป็นอาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
ถนนประสานมิตร
- ๑ เมษายน
๒๔๙๖ - ๓๐ กันยายน ๒๔๙๖ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูสูง
ถนนประสานมิตร และได้เสนอให้ยกมาตรฐานวิชาชีพครู คือให้สอนถึงระดับปริญญา
ตรี โท เอก ซึ่งท่านทำได้สำเร็จ กล่าวคือ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
ถนนประสานมิตร ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการ ในวันที่
๑ ตุลาคม ๒๔๙๖ และมีพระราช บัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่
๑๖ กันยายน ๒๔๙๗
- ๑ ตุลาคม
๒๔๙๖ - ๒๙ กันยายน ๒๔๙๗ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยวิชาการ
- ๓๐
กันยายน ๒๔๙๗ - ๖ มีนาคม ๒๔๙๙ เป็นรองอธิการและหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ม.ล.ปิ่น มาลากุล รักษาการอธิการ
- ๒๕
มกราคม ๒๔๙๘ ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยคนแรก
และได้เป็นนายกสมาคมสองสมัยติดต่อกัน สมาคมนี้ท่านและนักการศึกษาไทยได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนอาชีพครูและเผยแพร่แนวความคิดทางการศึกษา
- ๗ มีนาคม
๒๔๙๙ - ๑ มกราคม ๒๕๑๒ เป็นอธิการคนแรกของวิทยาลัยวิชาการ
- ๒ มกราคม
๒๕๑๒ - ๑ ตุลาคม ๒๕๑๓ เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ครั้งที่
๑)
- ๒ ตุลาคม
๒๕๑๓ - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖ เป็นอธิบดีกรมการฝึกหัดครู
- ๑ มกราคม
๒๕๑๗ - ๓๐ กันยายน ๒๕๑๙ เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ครั้งที่
๒)
เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว
ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย เช่น
- เป็นที่ปรึกษากรมวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
- เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือน
- ประชุมที่ราชบัณฑิตยสถาน
ณ สำนักธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อบัญญัติศัพท์เรื่อง ปรัชญา
- ประชุมทบวงมหาวิทยาลัย
เพื่อบัญญัติศัพท์อุดมศึกษา
- ประชุมที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เพื่อทำสารานุกรมศึกษาศาสตร์
- ประชุมที่กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อจัดทำหนังสือแปล
ฯลฯ
หน้าที่การงานในด้านเป็นประธานกรรมการและกรรมการต่าง
ๆ ท่านได้ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ประธานกรรมการฝ่ายการศึกษาของกรรมการแห่งชาติฯ
ประธานกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของกรรมการแห่งชาติฯ กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
และท่านยังเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (๒๕๑ ๖) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(๒๓ ธันวาคม ๒๕๑๖ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๘)
การไปประชุมและดูงานในต่างประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้ไปหลายแห่ง เช่นใน พ.ศ. ๒๕๐๙
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปประชุม International Conference on
Education ณ กรุง Geneva ประเทศ Switzerland แล้วแวะดูงานที่ฝรั่งเศสและอังกฤษ
(ได้รับเลือกเป็น รองประธานที่ประชุม)
ใน พ.ศ.
๒๕๑๙ เป็นรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (ประธานฝ่ายวัฒนธรรม) ไปประชุม
UNESCO General Conferece ครั้งที่ ๑๙ ที่กรุง Nairobi ประเทศ
Kenya ในครั้งนี้สามารถทำให้ UNESCO ถือว่าโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัยเป็นโบราณสถานที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง
และจะมาช่วยทำนุบ ำรุง และเผยแพร่โบราณสถานแห่งนี้ให้ทราบกันทั่วโลก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้รับ.-
๕ ธันวาคม
๒๕๓๔ มหาปรมภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
๕ ธันวาคม
๒๕๑๗ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม)
๕ พฤษภาคม
๒๕๑๓ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
บทบาทของศาสตราจารย์
ดร.สาโรช บัวศรี.-
๑. ทำให้มีการสอนจนถึงระดับปริญญาตรี
โท เอก แก่ผู้เรียนสายครูและศึกษาธิการ
๒. จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา
(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เพื่อยกระดับวิชาชีพ
ด้านการศึกษาให้มีปริญญา
๓. จัดตั้งสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
๔. เผยแพร่แนวความคิดทางการศึกษาแผนใหม่อย่างต่อเนื่องและจริงจัง
๕. นำการศึกษาแผนใหม่มาใช้
คือ แบบพิพัฒนาการ (Progressive Education)
๖. คิดตราและสีของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ซึ่งปัจจุบันเป็นตราและสีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ตรา เป็นสัญลักษณ์เชิงปรัชญาการศึกษาแผนใหม่
การศึกษา คือ การงอกงาม งอกงามไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันจบสิ้น ถ้าเป็นทางการกระทำ
แปลว่าเราจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อว่าผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นอย่างไม่มีสิ้นสุดเหมือนกัน
สีเทาแดง
สีเทาเป็นสีของสมอง แสดงถึงความคิด ความฉลาดเฉลียว สีแดงเป็นสีของเลือด
แสดงถึงความกล้าหาญ รวมกันแล้วมีความหมายว่า (ให้นิสิต) เป็นคนกล้าคิด
กล้าหาญ และฉลาดเฉลียว
๗. ริเริ่มสร้างและเผยแพร่ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์
วิธีสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
ฯลฯ
๘. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านจริยธรรมศึกษาและวัฒนธรรม
ด้วยการเขียนและบรรยายเรื่องจริยธรรมศึกษา การศึกษาและวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นแนวความคิดของท่านเอง
๙. เขียนหนังสือ
บทความ งานแปล และบรรยายจำนวนมาก เช่น
แนวคิดในการบริหารการศึกษา
(หนังสือ) ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยในแง่ของการศึกษา (บทความ)
ปัญหาการศึกษาของโลก World Problems in Education (แปลจากหนังสือเล่มสำคัญขององค์การ
International Bureau of Education, UNESCO เขียนโดย Jean Thomas)
คุณลักษณะเด่น.-
- มุ่งมั่นในการเรียนมาก
ตั้งแต่เด็ก ๆ อยู่บ้าน บิดาก็กวดวิชาพิเศษ กวดด้วยตัวเอง เพื่อนเขาไปเล่นก็อดไปเล่น
ซึ่งกลายเป็นการสร้างนิสัยทางการเรียนตั้งแต่เด็ก ไปอยู่คนเดียวที่ปีนังก็มุตลอดเวลา
กลับมาเมืองไทยแล้วมาเข้ามหาวิทยาลัย ไปจุฬาลงกรณ์ก็มุถึงต ีหนึ่งตีสอง
ฉะนั้นจึงมีนิสัยที่มุเรียน และมีวิริยะมาตลอด
- มีจิตวิญญาณครูอยู่เต็มเปี่ยม
พร้อมที่จะชี้ทางสว่างด้านปัญญาแก่ศิษย์
- ชี้แนะจุดมุ่งหมายของชีวิตนักเรียนฝึกหัดครู
นิสิต นักศึกษาว่าควรให้มีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. พยายามขวนขวายสะสมวิทยาการทั้งปวง
ทั้งทางด้านทฤษฎี และด้านปฏิบัติให้เกิดแก่ตัวเองให้มากที่สุดที่จะทำได้
๒. พยายามขวนขวายสร้างสมให้เกิดมี
คุณธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรมขึ้นในใจของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๓. พยายามขวนขวายสร้าง
สมรรถภาพ ในการเป็นครูให้เกิดแก่ตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทั้งในด้านการสอน อบรม แนะแนว ปกครอง ทำกิจกรรม สร้างสัมพันธภาพ
ฯลฯ
- ซื่อสัตย์
สุจริต ยุติธรรม
- มองเห็นคุณค่าของบุคคลอื่น
- บุคลิกภาพและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี
สอนคนอื่นอย่างไรท่านก็ปฏิบัติอย่างนั้น
- ไม่เคยท้อแท้และเบื่อหน่ายที่จะอบรมพร่ำสอนสิ่งที่ดีงาม
- จิตใจเปี่ยมล้นด้วยเมตตากรุณา
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- มีสง่า
แต่งกายสะอาด พูดภาษาอังกฤษดีมาก
- มีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ตลอดเวลา
- หนักแน่น
ไม่เชื่อง่าย มีเหตุผล
- ไม่ทำอะไรให้กระทบกระเทือนใจผู้อื่น
- มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น
ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ไม่เข้าไปใกล้ชิดกับอบายมุขใด ๆ
- มีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ในหลาย ๆ ด้าน
- มีคำพูด
ข้อเขียนที่ประทับใจผู้อื่นหลายประการ
- แม้เกษียณอายุราชการไปแล้วก็ยังติดตามความคิดใหม่
ๆ ทางการศึกษา เพื่อนำมาถ่ายทอดและทำให้ท่านมีความรู้ทันสมัยเสมอ
ฯลฯ
เกียรติที่ได้รับ.-มีหลายอย่างเช่น.-
-ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วิทยาลัยวิชาการศึกษา
-วุฒิบัตรกิตติมศักดิ์และเข็มแสนยาธิปัตย์
วิทยาลัยการทัพบก กระทรวงกลาโหม
-ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาชาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
-ได้รับเชิญเป็นสมาชิกของสมาคมฟาย
เด็ลตา - แคปปา (Phi-Delta Kappa) The Honorary - Fraternity
For Men in Education แห่งสหรัฐอเมริกา (เป็นคนแรกของประเทศไทย)
-ได้รับเกียรติคุณบัตรจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา
สหรัฐอเมริกา เนื่องจากได้ดำเนินการศึกษาได้ผลดีร่วมกับมหาวิทยาลัยอินเดียนา
-ได้รับเชิญไปเป็น
Senior Specialist ณ East-West Center, มหาวิทยาลัย Hawaii สหรัฐอเมริกา
ในด้านปรัชญาการศึกษา
-เป็นคนหนึ่งที่ปรากฏชื่อในหนังสือ
ครูไทย ๒๐๐ ปี เพื่อร่วมสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปีของกระทรวงศึกษาธิการ
-เป็นราชบัณฑิต
-ได้รับโล่เกียรติยศจากสมาคมนักเรียนเก่าภูเก็ตวิทยาลัย
ในฐานที่เป็นผู้เสียสละเวลา กำลังกายและกำลังทรัพย์ช่วยเหลือกิจการของสมาคม
-ได้รับโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติคุณในฐาน
ผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ
๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ (ทายาทรับมอบโล่ เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๗ หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรมแล้ว)