เหตุการณ์ในอดีตประจำเดือน สิงหาคม
รวมเรื่องราวที่เกิดในอดีตทุกเดือนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า
โดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

เกร็ดน่ารู้ในเดือน สิงหาคม.-

-วันในสัปดาห์ ของวันแรกในเดือนสิงหาคม ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทิน
-ดอกไม้ประจำเดือนสิงหาคม คือ ดอกฝิ่น
-อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนสิงหาคม คือ เพริโดต

๑ สิงหาคม วันสตรีไทย

ความเป็นมาของวันสตรีไทยก่อเกิดจากแนวความคิดที่ว่า ในเดือนสิงหาคมเป็นเดือน แห่ง มหามงคลสมัย ที่ปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม ประดุจแม่ของแผ่นดิน และทางราชการได้กำหนด เป็นวันแม่แห่งชาติ องค์กรสตรีไทยทั่วประเทศได้หารือกันทั้งภาครัฐและเอกชน มีความประสงค์

ร่วมกันกำหนดให้มีวันสตรีไทยขึ้น ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่สตรีไทย ได้มีโอกาสร่วมกัน กำหนด วันของตนเอง เป็นการผลักดันกระบวนทัศน์ ความคิด ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสตรีไทย และภูมิปัญญา ที่เป็นของตนเองให้ผนึกกันก้าวไปในแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เพื่อยกระดับ สถานภาพชีวิตของสตรีไทย และร่วมกันพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้า ของประเทศ ทุกองค์กร จึงกำหนดวันสตรีไทยขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้า จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ พระราชทานกำหนดให้วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสตรีไทย ตั้งแต่พุทธศักราช 2546 เป็นต้นไป

สำหรับแนวทางการจัดกิจกรรมในส่วนกลาง กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน จัดงานวันสตรีไทย ผนวกรวมกับการจัดงานสุดยอดหมู่บ้านอุตสาหกรรมและทอผ้าไทย ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2547 ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ อิมเพ็ค เมืองทองธานี กิจกรรมสำคัญก์คือ การมอบรางวัลสตรีดีเด่น สื่อโฆษณาดีเด่น ส่งเสริมบทบาทแม่ การสัมมนาทางวิชาการ การจัดนิทรรศการ มหกรรมอาหารไทย ศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค เป็นต้น

ในส่วนภูมิภาค จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติสตรีไทยหัวใจแกร่ง ขอความร่วมมือทุกจังหวัด โดยสำนักงานพัฒนาสังคม และ สวัสดิการจังหวัด ร่วมกับองค์กรสตรีระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล องค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมกันคัดเลือกสตรีที่เป็นผู้นำครอบครัว เนื่องจากสามีเสียชีวิต หย่าร้าง หรือถูกทอดทิ้ง ให้ดูแลครอบครัวตามลำพัง ประกอบอาชีพสุจริต ครอบครัวยากจน มีความอดทน มีมานะอุตสาหะ จังหวัดละ 5 ราย มอบเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่สตรีผู้นำ ครอบครัวที่ยากจน โดยขอรับเงิน สนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคม และสวัสดิการจังหวัด หรือเหล่ากาชาดจังหวัด ฯลฯ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส พระชนมายุครบ 72 พรรษา

พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดงานโครงการรวมพลังสตรีไทย เทิดไท้องค์ราชินี และพระราชทานวันสตรีไทย ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2546

"สตรีไทยในยุคปัจจุบัน มีความคิดที่ก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น จึงมีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ การสั่งสม ภูมิปัญญาของสตรีไทย ที่สืบเนื่องกันมานับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็น ความ ภาคภูมิใจยิ่งของชาวไทย และการที่จะธำรงความภาคภูมิใจนี้ไว้ให้ยั่งยืน ย่อมเป็นหน้าที่ของสตรีไทยทุกคน ที่จะต้องช่วยกันรักษา และเชิดชูเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไปโดยไม่ขาดสาย

เนื่องในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสตรีไทย ข้าพเจ้าจึงของฝากความคิดเห็นว่า สตรีไทยมีหน้าที่สำคัญเบื้องต้น 4 ประการ คือ

ประการแรก พึงทำหน้าที่ "แม่" ให้สมบูรณ์ โดยทำให้ครอบครัวบังเกิดความรัก และความอบอุ่น มีความเข้าใจและไว้วางใจ ซึ่กงันและกัน แม่ควรเป็นที่ยึดมั่นของลูก เมื่อลูกเกิดปัญหาก็ช่วยแก้ไขด้วยความเมตตา และสอนให้รู้จักดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ถ้าสตรีไทยทำเช่นนี้ได้ เด็กไทยก็จะเติบโตเป็นพลเมืองดี และช่วยป้องกันปัญหาร้ายแรงต่าง ๆ ในสังคมไทย

ประการที่สอง พึงทำหน้าที่ของ "แม่บ้าน" ให้ดีโดยทำให้บ้านมีความน่าอยู่ เป็นที่พักพิงอันอบอุ่น ของสมาชิกในครอบครัว ช่วยเก็บออมและเพิ่มพูนทรัพย์สินให้ครอบครัว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนรอบข้างตามสมควร

ประการที่สาม พึง "รักษาเอกลักษณ์ของความเป็นสตรีไทย" ผู้มีความนุ่มนวล อ่อนโยน สุภาพ เมตตา และยิ้มแย้มแจ่มใส รวมทั้งธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยอันละเอียดประณีตให้เป็นที่ชื่นชมของนานาชาติตลอดไป

ประการที่สี่ พึง "ฝึกฝนตนเอง" ให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น ขยัน และอดทน มีความประยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย และรักษา ความสามัคคี ในหมู่คณะไว้ให้มั่นคง

หากสตรีไทยทุกคนตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ทั้ง 4 ประการ นี้ได้ ก็จะส่งผลให้ครอบครัวไทย สังคมไทย และประเทศชาติมีความสุข ความเจริญ นำไปสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง และสตรีไทยจักเป็นที่ยกย่อง ชื่นชมของสังคมโลกตลอดไป"

๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกกำลังไปปราบเงี้ยวที่กบฎ จนเป็นผลสำเร็จ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกกำลังไปปราบ กบฎเงี้ยว ที่เมืองแพร่ ในมณฑลพายัพ ทั้งนี้ในปี 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นเทศาภิบาล ยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราช แล้วรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) เป็นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก เจ้าเมืองแพร่องค์เดิมคือ พระยาพิริยวิไชย จึงสูญเสียอำนาจไปเพราะอำนาจสิทธิ์ขาดตกเป็นของข้าหลวงซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง อีกทั้งยังถูกตัดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานทั้งหลายรวมไปถึงชาวเมืองแพร่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมืองแพร่นั้น เมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองในปี 2442 พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ได้จัดการอย่างรุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่น ๆ วันที่ 24 กรกฎาคม 2445 ชาว "เงี้ยว" (หรือชาวไทใหญ่ ชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในมณฑลพายัพมาช้านาน) ในเมืองแพร่นำโดย พะกาหม่อง และ สลาโปไชย พร้อมกำลังราว 40-50 นาย ได้ก่อความวุ่นวายขึ้น โดยบุกยึดสถานที่ราชการและปล้นเงินคลังของจังหวัด ตลอดจนปล่อยนักโทษในเรือนจำ ต่อมากำลังเพิ่มเป็นราว 300 นายเพราะชาวเมืองแพร่เข้ามาสนับสนุน สามารถยึดเมืองแพร่ได้ในวันที่ 25 กรกฎาคม จากนั้นก็ไปเชิญเจ้าเมืองแพร่องค์เดิมให้ปกครองบ้านเมืองต่อ และออกตามล่าข้าราชการคนนอกที่เข้ามาปกครองเมืองแพร่ สามารถจับตัวพระยาไชยบูรณ์ได้ในวันที่ 27 กรกฎาคม และบังคับให้คืนเมืองแพร่ แต่พระยาไชยบูรณ์ปฏิเสธจึงถูกสำเร็จโทษพร้อมกับข้าราชการอีกหลายคน

ความทราบถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงและกองทัพจากเมืองใกล้เคียงทำการปราบปรามพวกเงี้ยวได้อย่างราบคาบ โดยตั้งค่ายทัพที่บริเวณ "บ้านเด่นทัพชัย" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ตำบลเด่นชัย" ใน "อำเภอเด่นชัย" ปัจจุบัน เริ่มสอบสวนเอาความในวันที่ 20 สิงหาคม 2445 พบว่าเจ้าเมืองแพร่ เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฎขึ้น แต่ครั้นจะจับกุมตัวสั่งประหารชีวิต ท่านก็เกรงว่าจะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือซึ่งถือเป็นเครือญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน จึงปล่อยข่าวลือว่าจะจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่

พระยาพิริยวิไชยจึงหลบหนีออกไป หลังหลบหนีไปได้ 15 วัน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงออกคำสั่งถอดเจ้าเมืองแพร่ออกจากตำแหน่งทันที ด้วยถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฎก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก เจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้ายต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง จนถึงแก่พิราลัย

๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๖๗

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์

๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากดินแดนพระตระบอง จำปาสัก ดินแดนที่มอบให้ไทยตามสัญญาสันติภาพ

๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นวันที่พี่น้องประชาชนคนไทยชักธงชาติประกาศว่า เราใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หมดก่อนครบกำหนด 2 ปี เงินซึ่งเรากู้มา เมื่อตอนมีวิกฤติ พ.ศ.2540 เราเบิกเงินมาใช้จริงๆ 5.1 แสนล้านบาท รัฐบาลประชาธิปัตย์ใช้หนี้ได้ 1 หมื่นล้าน รัฐบาลไทยรักไทยได้ใช้จนครบ 5 แสนล้าน

๒ สิงหาคม ๒๔๐๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตกโดยทางเรือกลไฟ

พระราชประวัติโดยสังเขป

พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหามกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ( พ.ศ. 2394-2411 )

ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทวาวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

--------------------------------------------------------------------------------

เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสู่สวรรคาลัยนั้น พระองค์ยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ในระหว่างที่ทรงผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านวิชาภาษาต่างประเทศอย่างแตกฉาน ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่ากันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี เท่ากับการเตรียมพระองค์สำหรับเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทันสมัย สามารถนำประเทศชาติผ่านพ้นจากภัยของลัทธิล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกได้

ในรัชกาลของพระองค์ การดำเนินวิเทโศบายอย่างชาญฉลาด เพราะทรงทราบผลจากการที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอมประนีประนอมในการติดต่อกับประเทศมหาอำนาจ ทำให้ถูกบังคับจนถึงกับเสียเอกราชไป สำหรับประเทศไทยหากไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้รอบรู้ชั้นเชิงทางการเมืองและเท่าทันในรัฐประศาสโนบาย ก็คงจะต้องตกเป็นเมืองขึ้นแก่ประเทศนักล่าอาณานิคมเช่นกันโดยแน่แท้ พระองค์ทรงยินยอมทำสนธิสัญญาการค้าแม้จะเสียเปรียบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตบ้างก็ตาม คือ สถานกงสุลต่างประเทศ มีอำนาจฯศาลพิจารณาคดีคนในบังคับของตนได้และถูกจำกัดอัตราภาษีศุลกากร ทั้งนี้เพื่อความคงอยู่เอกราชของชาติ และทรงมองการณ์ไกล โดยส่งเสริมการค้า เศรษฐกิจที่จะเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายหน้าได้อย่างถูกต้อง เช่น การยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดของทางราชการ เปิดการค้าเสรี มีการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศดีขึ้น

นอกจากนั้น การติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตก ทำให้เกิดผลพลอยได้ด้านอารยธรรม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคนิคใหม่ๆ พระองค์ทรงยอมรับอารยธรรมต่างๆมาใช้เป็นครั้งแรก เช่น การสำรวจทำแผนที่พระราชอาณาจักร การฝึกหัดทหารแบบยุโรป การต่อเรือกลไฟ การนำเครื่องจักรกลมาใช้เป็นประโยชน์ทุ่นแรง ตั้งโรงงานทำเหรียญกษาปณ์ โรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้ด้วยเครื่องจักรและตั้งโรงพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่นอกจากทรงแตกฉานในวิชาภาษอังกฤษแล้ว ยังมีพระวิญญาณเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกด้วย โดยเฉพาะทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดาราศาสตร์ ถึงขั้นสามารถพยากรณ์การเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้าเป็นปีได้อย่างแม่นยำและละเอียดถูกต้อง จนสมาคมนักวิทยาศาสตร์ไทยถือว่าวันมีสุริยุปราคาที่ตำบาลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ครั้งนั้นเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมได้อย่างบริบูรณ์ ทรงสอดส่องการปฏิบัติงานของข้าราชการอย่างใกล้ชิด มิให้เบียดเบียนประชาชน ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนอย่างใด ก็สามารถเขียนฎีกามาร้องทุกข์ถวายต่อพระองค์ได้ พระราชทานเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ด้วยการยินยอมให้ออกหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

ในรัชกาลนี้ มีการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นปึกแผ่น เช่น การให้สิทธิแก่ประชาชนทั้งด้านแสวงหาความบันเทิงทุกชนิด พระราชทานอนุญาตให้ประชาชนเล่นดนตรีไทยและละครผู้หญิงได้ ดังปรากฏในหมายประกาศเมื่อปี พ.ศ.2398 ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน การแสดงละครชายจริงหญิงแท้เริ่มมีเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลของพระองค์นี้เอง จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วพระราชอาณาจักร มีนักดนตรีเอก ปรากฏชื่อเสียงหลายท่าน ซึ่งบางท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางด้วยความสามารถทางดนตรีโดยเฉพาะ เช่น ท่านครูมีแขกได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงถึงชั้นพระประดิษฐ์ไพเราะเจ้าของเพลง แขกมอญ ทยอยนอก ทยอยเขมร การระเวก แขกบรเทศ กำศรวลสุรางค์ เทพรัญจวน ทะแยแป๊ะ พญาโศก พระอาทิตย์ชิงดวง พญาครวญ สี่บท ภิรมย์สุรางค์ ฯลฯ นอกจากนั้น ก็มีครูทั่ง และครูช้อย สุนทรวาทิน เจ้าของเพลง แขกลพบุรี ใบ้คลั่ง เขมรโพธิสัตว์ แขกโอด เขมรราชบุรี เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายกรุงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อมระยะห่างประมาณ 500 เมตร 8 ป้อม คือ

1. ป้อมปัจจามิตร 2. ป้อมปิดปัจจนึก

3. ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ 4. ป้อมผลาญไพรี (ที่ตลาดหัวลำโพง)

5. ป้อมปราบศัตรูพ่าย 6. ป้อมทำลายแรงปรปักษ์

7. ป้อมหักดัสกร 8. ป้อมพระนครรักษา

สรุปเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ.2394 เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ , เริ่มให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า, มีพระราชดำริให้ขุดคูคลองพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)

พ.ศ. 2395 งานพระเมรุรัชกาลที่ 3, แต่งราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเมืองจีน, โปรดฯ ให้สร้างป้อม สร้างกำแพงเมือง พระราชทานชื่อป้อมต่างๆไว้ก่อนสร้างเสร็จ, บรรจุดวงพระชะตาพระนครใหม่ เพราะหลักเมืองเดิมชำรุด, สมณทูตไทยไปลังกาทวีป, คณะมิชชันนารีอเมริกันตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้น

พ.ศ. 2396 โปรดฯ ให้สร้างเรือกระทงลอยพระประทีป สร้างพระเจดีย์และถวายพระนาม, พระประธานในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม, กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงตุงของพม่า แต่ไม่สำเร็จ นับเป็นสงครามระหว่าง, ไทยกับพม่าครั้งสุดท้าย, ออกหมายหรือ “เงินกระดาษ” หลายราคา นำออกใช้แทนเงินตราเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2397 เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้รับแต่งตั้งเป็นราชทูตจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย, พระบรมราชินีแห่งบริเตนใหญ่เข้ามาเจริญพระราชไมตรี โปรดเกล้าฯ ให้เตรียมการต้อนรับ, โปรดฯให้สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ และฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก

พ.ศ. 2398 เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ถวายเครื่องราชบรรณาการ และทำหนังสือสนธิสัญญากันใหม่, โปรดฯ ให้ฉลองวัดเขมาภิรตาราม, มิสเตอร์ฮัมริปัก ซึ่งเคยเข้ามากับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ได้กลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง , เพื่อถวายพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการอันสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ขบวนรถไฟ, พร้อมรางจำลอง (เป็นต้นเหตุกำเนิดกิจการ “รถไฟ”ในสมัยรัชกาลต่อมา) พร้อมกับ, มีการแก้ไขสนธิสัญญากันใหม่อีกครั้งด้วย)

พ.ศ. 2399 ทำสนธิสัญญาใหม่กับสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส,

พ.ศ.2400 โปรดฯ ให้ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ, สร้างสวนนันทอุทยาน (สวนอนันตอุทยาน), ผลิตเหรียญกษาปณ์ใช้แทนเหรียญพดด้วงเป็นครั้งแรก, ขุดคลองมหาสวัสดิ์ พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้าง, กำเนิดเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุ่นแรกของไทย, เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก และเริ่มสร้างกำปั่นรบกลไฟ

พ.ศ. 2401 โปรดฯ ให้ตั้งกรมอรสุมพล ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดกองทัพเรือไทย, ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นครั้งแรก, ปรากฏการณ์ดาวหางขึ้นประมาณ 15 วัน, ฝรั่งเศสทำสงครามกับญวน

พ.ศ.2402 โปรดฯ ให้จัดงานเฉลิมพระมหามณเฑียรพระที่นั่งอนันตสมาคม, สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์, สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก, เสด็จประพาสหัวเมืองทะเลตะวันตก, ญวนเริ่มเสียเมืองแก่ฝรั่งเศส

พ.ศ.2403 ตั้งโรงกษาปณ์สิทธิการ, สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้, ทูตฮอลันดาเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี, ราชทูตไทยไปฝรั่งเศส, สมโภชพระสมุทรเจดีย์, เสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี

พ.ศ.2404 สุลต่านมะหมุด เจ้าเมืองลิยาเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร, ทูตรัสเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี, โปรดฯ ให้ตัดถนนใหม่ 3 สาย ขุดคลองและสร้างสะพานข้ามคลอง, ครั้งแรกมีตำรวจพระนครบาล, โปรดฯ ให้ส่งสิ่งของไปร่วมแสดงในงานพิพิธภัณฑ์นานาชาติที่ลอนดอน

พ.ศ.2405 เจ้าเมืองปัตตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา, นางแอนนา เลียวโนเวนส์ เข้ามารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก

พ.ศ.2406 พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิสริยยศ, เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้, สร้างถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร, สร้างพระบรมบรรพต

พ.ศ.2407 สร้างวัดราชประดิษฐ์,น้ำป่าหลากมาจากเหนือเข้ากรุงเทพฯ มีสีแดงเหมือนน้ำปูน, เสด็จประพาสเมืองราชบุรี และกาญจนบุรี

พ.ศ.2408 สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต,

พ.ศ.2409 ทำแผนที่อาณาเขตทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง, สร้างพระราชวังสราญรมย์, เสด็จเมืองพิษณุโลก,

พ.ศ.2410 จำลองนครวัด ไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม, ทูตโปรตุเกส เจริญสัมพันธไมตรี

พ.ศ.2411 เสด็จฯ สวรรคต 1 ตุลาคม ขณะพระชนมายุ 63 พรรษา รวมเวลาเสวยราชย์ 17 ปี 5 เดือน 29 วัน

๓ สิงหาคม ๒๓๕๔

ตราพระราชกำหนดห้ามสูบและขายฝิ่น ในสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ฝ่าฝืนมีโทษเฆี่ยนหลัง ๙๐ ที ให้ตระเวนบก ๓ วัน ตระเวนเรือ ๓ วัน ริบราชบาตรทรัพย์สินบุตรภรรยาเป็นของหลวง แล้วส่งตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างผู้รู้เห็นเป็นใจมินำเอาความมาแจ้ง ให้เฆี่ยนหลัง ๖๐ ที

๓ สิงหาคม ๒๔๓๖

ไทยยอมรับคำขาดของฝรังเศส ทำให้ฝรั่งเศสประกาศยกเลิกปิดอ่าว รวมเวลาที่ฝรั่งเศสปิดอ่าวเป็นเวลา ๘ วัน

๔ สิงหาคม - วันสื่อสารแห่งชาติ

"การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง กับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิด และสอดคล้อง สำคัญที่สุด ควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยี อันทันสมัยให้ลึงและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดีมีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะพอสมกับฐานะและสภาพบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง"

ข้อความข้างต้น เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ได้ทรงพระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื่องในโอกาสการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยจัดร่วมกับงานครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการสถาปนากรมไปรษณีย์โทรเลข และการเฉลิมฉลองปีการสื่อสารโลก การสื่อสารในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข" ขึ้น เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ และได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นพระองค์แรกต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทั้ง ๒ กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กิจการสื่อสารของไทยได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นสำดับ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของทางราชการขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชนก็มีบริษัทห้างร้านที่ดำเนินกิจการด้านการ สื่อสารเพิ่มมากขึ้น หน่วยงานเหล่านี้ได้ร่วมกันสนองพระราชปณิธานในอันที่จะพัฒนากิจการสื่อสารของประเทศให้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนบัดนี้

ปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และบทบาทของภาคเอกชนมีมากขึ้นรวมทั้งการแข่งขัน ในกิจการสื่อสารทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้ทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ความได้เปรียบในเรื่องเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ขึ้นอยู่กับการมีระบบการสื่อสารให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่น คณะรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของการสื่อสารดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้วันที่ ๔ สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ" นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา ได้มีการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี (ยกเว้นปี พ.ศ. ๒๕๓๓ คณะกรรมการจัดงานวันสื่อสาร แห่งชาติได้มีมติให้งดการจัดแสดงนิทรรศการ คงมีแต่เฉพาะงานพิธีและการประชุมทางวิชาการเรื่องเทคโนโลยีพื้นฐานและการวางแผนระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม) และในการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติแต่ละปี จะเน้นหัวข้อการจัดงานแตกต่างกันไปทุกปี เช่น

พ.ศ. ๒๕๒๘ หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับเยาวชนแห่งชาติ

พ.ศ.๒๕๓๐ หัวข้อการจัดงาน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร

พ.ศ. ๒๕๓๕ หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารเพื่อทศวรรษหน้า

พ.ศ.๒๕๓๘ หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสนเทศ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย

ในวันสื่อสารแห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

๑.พิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

๒.การกล่าวคำปราศรัยของพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

๓.การจัดทำดวงตาไปรษณียากรที่ระลึกวันสื่อสารแห่งประเทศไทย

๔.การจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

บรรณานุกรม
-
ชลิยา ศรีสุกใส. วันสำคัญ ประเพณี การละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พีบีซี, มปป.
-ธนากิต เรียบเรียง.วันสำคัญไทย.พิมพ์ครั้งที่๑ กรุงเทพฯ : ปิรามิด, ๒๕๔๑.

๔ สิงหาคม ๒๔๒๔

ดวงตราไปรษณียากร ได้นำออกจำหน่ายครั้งแรก มีอยู่ ๕ ชนิด ตั้งแต่ราคา๑ โสฬส จนถึง ๑ สลึง และยังมีไปรษณียบัต ราคา ๑ อัฐ อีกด้วย

๔ สิงหาคม ๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข

ประวัติไปรษณีย์ไทย

ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"

ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก

ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์ กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์

ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472

ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย

ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดย พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด

ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิม และได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"

ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก

ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์ กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์

ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472

ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย

ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดย พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด

ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิม และได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ประวัติไปรษณีย์

การส่งเอกสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยใช้คนส่งสาร มีมานานพอ ๆ กับการคิดค้นการเขียน มีการจัดตั้งระบบส่งสารในประเทศจีนรวม 4000 ปีก่อนคริสตกาล ในอียิปต์ และ ดินแดนอัสซิเรีย (Assyria) 3000 ปีก่อนคริสตกาล จดหมายที่เก่าแก่เท่าที่ยังเหลือให้เห็นในปัจจุบันเป็นแผ่นดินเหนียวจารึกอักษรรูปลิ่มของอียิปต์และสอดอยู่ในซองดินเหนียวอีกที

แต่ระบบส่งสารที่จัดตั้งเป็นระบบเกิดขึ้นหลังจากนั้นมาก เท่าที่มีการบันทึกไว้ ในสมัยฟาโรห์ของอียิปต์ตั้งแต่ 2400 ปีก่อนคริสตกาลมีการส่งราชโองการจากฟาโรห์ไปยังท้องที่ต่าง ๆ ที่ปกครองอยู่ ต่อจึงพัฒนาระบบไปรษณีย์ที่ให้บริการกับประชาชน โดยระบบเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐาน คือที่อัสซิเรีย ริเริ่มตั้งแต่ 500 ปีก่อนคริสตกาลเป็นอย่างน้อย อีกตัวอย่างหนึ่งคือ จีน มีการวางระบบในสมัยราชวงศ์จิ๋น ประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งระบบไปรษณีย์ของจีนนี้ นับว่าเป็นระบบเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงให้บริการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ประวัติไปรษณีย์ในไทย

ภาพบุรุษไปรษณีย์ในสมัยรัชกาลที่ 5ของไทยเองก็มีประวัติย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นเส้นทางจดหมายจากสวรรคโลกผ่านสุโขทัยไปยังกำแพงเพชรใช้สำหรับการปกครอง ส่วนบริการไปรษณีย์สำหรับประชาชนทั่วไป มีหลายหน่วยงานเคยที่เปิดให้บริการทางด้านไปรษณีย์ ก่อนที่ไปรษณีย์ไทยของรัฐจะเปิดให้บริการ เช่น บริษัทเอกชน บริษัทเดินเรือ สถานกงสุลของอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกาในไทย เป็นต้น โดยเป็นจดหมายส่งไปต่างประเทศ และมีการติดแสตมป์ของประเทศในแถบนี้ เช่น ฮ่องกง อังกฤษ อาณานิคมช่องแคบ (Strait Settlements, ปัจจุบันคือมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาะคริสต์มาส และหมู่เกาะโคโคส์) และ อินดีส์ตะวันออก (East Indies หรือ East India ปัจจุบันได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เมียนมาร์ ศรีลังกา และ มัลดีฟส์) เป็นต้น ก่อนที่จะส่งทางเรือเดินสมุทรไปยังไปรษณีย์เจ้าของแสตมป์นั้น ๆ เพื่อส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง

แสตมป์สำหรับใช้ที่ไปรษณีย์กงสุลอังกฤษที่ทำการไปรษณีย์ของกงสุลอังกฤษ ถือเป็นไปรษณีย์ที่สำคัญที่สุดก่อนที่มีการให้บริการไปรษณีย์ของไทย สามารถฝากส่งจดหมายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา โดยทางเรือไปส่งยังที่ไปรษณีย์สิงคโปร์เพื่อคัดแยกและนำจดหมายส่งต่อจนถึงปลายทาง (กรณีจดหมายไปอเมริกา มีการส่งไปฝากที่ทำการไปรษณีย์ฮ่องกงด้วย)

ไปรษณีย์นี้ตั้งอยู่ภายในกงสุลอังกฤษซึ่งเริ่มให้บริการเพียงหนึ่งปีหลังจากที่ก่อตั้งกงสุลเมื่อ พ.ศ. 2400 ต่อมาในปี พ.ศ. 2425 มีการนำแสตมป์จาก อินดีส์ตะวันออก และ อาณานิคมช่องแคบ มาประทับเครื่องหมาย "B" เพื่อใช้ติดบนซองที่ส่งจากกรุงเทพ ไปรษณีย์นี้ได้ปิดทำการเมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังไทยได้เข้าร่วมสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union, UPU) และเริ่มให้บริการไปรษณีย์ไปต่างประเทศ

กงสุลอังกฤษแห่งนี้ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก ส่วนสถานกงสุลย้ายไปตั้งที่ใหม่อยู่บนถนนเพลินจิต

ไปรษณีย์ของรัฐ

ไปรษณียาคารสร้างขึ้นใหม่

ที่ทำการไปรษณีย์กลางระบบไปรษณีย์ของรัฐ เกิดขึ้นในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 กรมไปรษณีย์ในสมัยนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วงเดช มีตำแหน่งเป็น ผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ปัจจุบันรื้อทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า (แต่มีการสร้างใหม่ที่ตำแหน่งใกล้เคียงเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในอนาคต)

ในระยะแรกที่ให้บริการ ครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพเท่านั้น เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 จึงเริ่มขยายไปต่างจังหวัดโดยเปิดที่ทำการไปรษณีย์ที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง ในปัจจุบัน) และขยายต่อจนถึงเชียงใหม่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ส่วนบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์

ในปี พ.ศ. 2441 กรมไปรษณีย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากมีการควบรวมเอา กรมไปรษณีย์ และ กรมโทรเลข ซึ่งดูแลงานด้านโทรเลข เข้าด้วยกัน เมื่อ พ.ศ. 2483 ได้มีการเปิด ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ขึ้นบนถนนเจริญกรุง เขตบางรัก และใช้เป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลข

ปี พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนโครงสร้างมาเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ดูแล บริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด มีสำนักงานใหญ่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ

๕ สิงหาคม ๒๔๘๗

ประกาศให้ประชาชนทำการปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก

๕ สิงหาคม ๒๔๓๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายร้อยที่ข้างวังสราญรมย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมแผนที่ทหาร เป็นการรวมโรงเรียนคาเดททหารมหาดเล็ก และโรงเรียนคาเดททหารหน้าเข้าด้วยกันถือเป็นกำเนิดของสถาบัน

๖ สิงหาคม วันการบินสากล

๖ สิงหาคม ๒๔๔๕

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพไปปราบเงี้ยว ได้ยกทัพออกจากกรุงเทพ ฯ ในวันนี้

๗ สิงหาคม - วันรพี (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประสูติจากเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2417 ทรงสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย ณ สำนักไครสต เซิร์ซ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมทางด้านกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ.2439 หลังจากนั้นทรงเข้ารับราชการในกรมราชเลขานุการ ทรงปฏิบัติงานเป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ เป็นอย่างยิ่ง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ นับได้ว่าทรง เป็นนักกฎหมายที่ยึดหลักนิติธรรมในการใช้กฎหมายเป็นวิชาชีพ ทรงมีส่วนสำคัญมากที่สุดพระองค์หนึ่งในการพัฒนางานด้านกฎหมายในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าอีกทั้งทรงเป็นผู้วางรากฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทรงมีผลงานทางกฎหมายมากมายหลายประการ เช่น

1. ทรงเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ปรับปรุงศาลต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง พร้อมทั้งแก้บทกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญาขึ้นใหม่ ทำให้ระบบของศาลยุติธรรมของประเทศไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศ

2. ทรงเป็นประธานกรรมการ ยกร่างกฎหมายลักษณะอาญาพุทธศักราช 2451 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ต่อมาใน วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2500 ได้มีประกาศให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499 แทน กฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2451 นี้นับได้ว่าเป็นพื้นฐานที่มาของประมวลกฎหมายอาญาในปัจจุบัน

3. ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยพระองค์ทรงเป็นครูสอนร่วมกับพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) กรมหลวงพิชิตปรีชากรและพระองค์เจ้าวัชรีวงษ์ โดยมีผู้สนใจเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก

4. ทรงนิพนธ์ตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทรงรวบรวมพระราชบัญญัติบางฉบับ คำพิพากษาบางเรื่อง โดยจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบาญไว้อย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังทรงรวบรวมกฎหมายตราสามดวง โดยให้ชื่อว่า "กฎหมายราชบุรี"

5. ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา ซึ่งกรรมการชุดนี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลกรรมการฎีกา" ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของประเทศแต่มิได้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ต่อมาศาลกรรมการฎีกาได้เปลี่ยนมาเป็นศาลฎีกาในปัจจุบัน

6. ทรงตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้นที่กองลหุโทษ เมื่อ พ.ศ. 2443 สำหรับตรวจพิมพ์ลายมือผู้ต้องหาในคดีอาญา โดยได้เสด็จไปสอนวิชาตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บเส้นลายมือด้วยพระองค์เอง ซึ่งงานชิ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพิสูจน์ลายมือที่กรมตำรวจทำอยู่ทุกวันนี้

7. ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดินให้ก้าวหน้า เช่น การแก้ปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ ในเรื่องการ ทะเบียนที่ดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินฉบับที่ 2 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2459 และฉบับที่ 3 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2462.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา

ในวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี บรรดานักกฎหมายไทย อาทิเช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย นิติกร ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในทางนิติศาสตร์ทั้งหมด ได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และเรียกวันนี้ว่า "วันรพี"

๗ สิงหาคม ๒๕๐๘

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้กำหนดเป็นวันเสียงปืนแตก อันหมายถึงวันแห่งการใช้อาวุธปืน เพื่อการปฏิวัติจากป่าล้อมเมือง โดยได้ยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากนั้นได้ขยายตัวไปสู่ภาคต่าง ๆ และได้ประกาศจัดตั้ง กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๑๒

วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๒๙

ฌาคส์ บัลมาต์ (Jacques Balmat) และ มิเชล แพ็คการ์ด (Michel-Gabriel Paccard) พรานล่าชามัวส์ (chamois) และนายแพทย์ชาวอิตาเลียน สามารถเดินทางขึ้นไปพิชิตยอดเขา มงต์บลังค์ (Mont Blanc) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ ฮอเรซ เบเนดิกต์ (Horace-Benedict de Saussure) ผู้บุกเบิกกีฬาปีนเขา (Mountaineering) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้พยายามพิชิตยอดเขามงต์บลังค์มาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ประกาศให้รางวัลแก่นักปืนเขาที่สามารถพิชิตมงต์บลังค์ได้ จากนั้นในปี ๒๓๕๑ มารี พาราดิส (Marie Paradis) ก็ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่พิชิตยอดเขามงต์บลังค์ ยอดเขามงต์บลังค์ มีชื่อในภาษาอิตาเลียนว่า “มองเต เบียงโก” (Monte Bianco) ทั้งสองชื่อนี้แปลว่า “ภูเขาสีขาว” และยังมีคำเรียกในภาษาฝรั่งเศสอีกคำหนึ่งว่า “ลา ดาม บลองเชอ” (La Dame Blanche) แปลว่า “หญิงสาวสีขาว” มงค์บลังค์เป็นยอดสูงสุดของเทือกเขา แอลป์ (Alps) และสูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูงประมาณ ๔,๘๐๘ เมตร ตั้งอยู่บริเวณพรหมแดนฝรั่งเศส-อิตาลี ปัจจุบันได้มีนักปืนเขาและนักท่องเที่ยวปีละกว่าสองหมื่นคนที่เดินทางไปที่เทือกเขาเอลป์และพยายามพิชิตยอดมงต์บลังค์

วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๑๙

โทมัส เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตร เครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไข หรือ เครื่องพิมพ์ปรุไข (mimeograph machine) ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์อัดสำเนาจากต้นฉบับที่เป็นรูปภาพและลายเส้น ช่วยให้สามารถทำสำเนาจากต้นฉบับได้จำนวนมากไม่จำกัด รวดเร็วและและประหยัดยิ่งขึ้น กว่าการใช้ฝีมือคนเป็นผู้ลอกเหมือนแต่เดิม โดยเอดิสันเรียกว่า “Autographic Printing” จากนั้นในปี ๒๔๒๗ อัลเบิร์ต ดิ๊ก (Albert Blake Dick) ได้รับอณุญาติในสิทธิบัตรชิ้นนี้แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “mimeograph” พร้อมกับก่อตั้งบริษัท A.B. Dick company เพื่อผลิตเครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไขออกจำหน่าย กลายเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในสำนักงาน ในโรงเรียน และตามบ้านเรือนทั่วไป ในขณะเดียวกันที่อังกฤษและเยอรมนีก็ได้มีนักประดิษฐ์คิดค้นเครื่องอัดสำเนาในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นมาด้วยเช่นกัน โดยเรียกชื่อต่างกันออกไป เช่น “Automatic Cyclostyle” และ “Stencil duplicators” ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙๖๐ เป็นต้นมา เครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไขก็ถูกแทนที่ด้วย “เครื่องถ่ายเอกสาร” (Photocopy หรือ Xerox) แต่เครื่องเครื่องอัดสำเนาด้วยกระดาษไขก็ถูกพัฒนาจนเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถสร้างแม่พิมพ์และสั่งพิมพ์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งนิยมใช้ในบางพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

๘ สิงหาคม ๒๔๕๓

ประกาศยกเว้นภาษีอากร แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ไม่ต้องเสียเงินรัชชูประการ ปีละ ๖ บาท

๘ สิงหาคม ๒๔๙๔

พระราชทานชื่อค่ายทหารขึ้นใหม่ จำนวน ๕ ค่าย คือ

ค่ายวชิราวุธ ที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๔ นครศรีธรรมราช

ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๓ พิษณุโลก

ค่ายพิชัยดาบหัก ที่ตั้งจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์

ค่ายสุรนารี ที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๒ นครราชสีมา

ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ที่ตั้งจังหวัดทหารบกอุดรธานี

๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐

วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “สมาคมอาเซียน” (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) โดยมีสมาชิกเริ่มต้น ๕ ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันลงนามใน “คำประกาศอาเซียน” (ASEAN Declaration) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก

ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น ๑๐ ประเทศ ทั้งนี้อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจาก สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาสา” (Association of Southest Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๐๙ แต่ดำเนินมาได้ไม่นานก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ในที่สุดก็ยุบรวมเข้าเป็นสมาคมอาเซียน และดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้ประตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการของสมาคม ล่าสุดอาเซียนได้แต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑

๘ สิงหาคม ๒๕๓๑

เกิด “เหตุการณ์ ๘๘๘๘” (“๘๘๘๘ Uprising” ชื่อมาจากวันที่เกิดเหตุคือ ๑๘/๘/๑๙๘๘) ในประเทศ เมียนมาร์ (พม่า) โดยนักศึกษา ประชาชนและพระสงฆ์รวมกันนับล้านคนได้ออกมาชุมนุมอย่างสันติที่กรุงย่างกุ้งและตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการทหารของ นายพล เน วิน (Ne Win) ที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง ๒๖ ปี ทั้งนี้เมียนมาร์ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๑ โดยมี นายพล อู นุ (U Nu) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก จากนั้นก็ถูกนายพล เน วินทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๐๕ ตลอดเวลา ๒๖ ปีที่นายพลเนวินยึดอำนาจปกครองประเทศพม่า ภายใต้นาม พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) หรือที่เรียกขานกันว่า “ระบอบเนวิน” นำพาประเทศพม่ามาสู่ภาวะที่สภาพการเมือง เศรษฐกิจและสังคมตกต่ำอย่างถึงที่สุด จากครั้งหนึ่งเมียนมาร์เคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ ในขณะที่ตัวเองสะสมความมั่งคั่งจนมีเงินฝากไว้ในธนาคารต่างประเทศถึง ๔๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของโลก ในที่สุดประชาชนก็ไม่อาจทนได้อีกต่อไป พร้อมใจกันออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยพร้อมกันในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๑ (๑๙๘๘) ตกดึกฝ่ายรัฐบาลจึงส่งทหารพร้อมอาวุธครบมือออกมามาปราบปรามผู้ชุมนุม และปฏิบัติการสังหารโหดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง ๔ วัน ทางการออกมาให้ข่าวว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ ๕๐๐ คน แต่เจ้าหน้าที่ทางการทูตและผู้อยู่ในเหตุการณ์กล่าวว่าตัวเลขที่แท้จริงอยู่ราว ๆ เกือบ ๑๐,๐๐๐ คน ทหารที่ยิงประชาชนต่างถูกผู้บัญชาการกล่อมให้เชื่อว่านักศึกษาเป็น “กบฏคอมมิวนิสต์” จากนั้นในวันที่ ๑๕ สิงหาคม หลังจาก นางออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) กลับมาถึงพม่า ก็ได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จากนั้น นายพล ซอว์ หม่อง (Saw Maung) ก็ทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองและประกาศตั้ง “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ” หรือรัฐบาล “สล็อร์ค” (The State Law and Order Restoration Council- SLORC) และประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในพม่า ซึ่งในครั้งนั้น พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy-NLD) ของ นางออง ซาน ซู จีได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ๓๙๒ ที่นั่งจาก ๔๕๕ ที่นั่ง โดยที่พรรค National Unity Party ของรัฐบาลทหารได้เพียง ๑๐ ที่นั่ง แต่รัฐบาลทหารกลับบิดพลิ้ว ไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้ผู้ชนะ และจับกุมตัวออง ซาน ซูจี คุมขังไว้จนถึงวันนี้ แม้ระยะเวลาจะผ่านไปเกือบยี่สิบปีแต่สถานการณ์ทางการเมือง และประชาธิปไตยของพม่าก็ยังคงอยู่ในวังวนของอำนาจเผด็จการทหารอยู่เช่นเดิม ยังมีการควบคุมตัวและจับกุมคุมขังนักการเมือง นักกิจกรรม และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย รวมทั้งยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยมาโดยตลอด

สถานการณ์หลังเกิดเหตุการณ์ ๘๘๘๘

๑๒ สิงหาคม ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) เส่ง ลวิน ลาออกจากการเป็นผู้นำรัฐบาล และ ด.ร.หม่อง หม่อง อดีตผู้พิพากษาที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายพลเนวิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าแทนเส่ง ลวิน ผู้นำคนใหม่ได้พยายามลดความร้อนแรงของสถานการณ์ โดยการตั้งคณะกรรมการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่า ต้องการวิถีทางการเมืองอย่างไร? หลังจากประกาศตั้งคณะกรรมการได้ ๓ วัน คณะกรรมการประกาศให้ความสนใจเรื่องการเมืองแบบหลายพรรค แต่ไม่ได้ระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการจัดการเลือกตั้งขึ้น สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนจนเกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้มีการทำประชามติเรื่องการเมืองแบบหลายพรรคขึ้น และสถานการณ์ได้ลุกลามไปเรื่อย ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอัดอั้น ความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองแบบเผด็จทหาร

๑๕ สิงหาคม ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) ออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ยึดอำนาจในการปกครองพม่า เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป. ออง ซาน ซูจี เดินทางกลับมาจากประเทศอังกฤษ เพื่อมาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยหนัก ตั้งแต่ปลายเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๑ จดหมายฉบับนี้คือการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองครั้งแรกของเธอ

๒๖ สิงหาคม ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) ออง ซาน ซูจี ขึ้นกล่าวปราศรัยครั้งแรกกับประชาชนหลายแสนที่มาชุมนุมกันอยู่บริเวณด้านหน้าของเจดีย์ชเวดากอง เธอเรียกร้องประชาธิปไตย ความสมานฉันท์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติเท่าเทียมกันระหว่างชนชาติพม่า และกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ในประเทศพม่า

๒๘ สิงหาคม ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) มิงโกนาย (Ming Ko Naing) นักศึกษาปี ๓ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยร่างกุ้ง จัดการประชุมครั้งแรกของ สหภาพนักศึกษาแห่งสหพันธ์พม่า (All Burma Federation of Students Union - ABFSU) และจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชุมนุมใหญ่ ซึ่งมีผู้แทนนักศึกษามหาวิทยาลัยและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นสูง จำนวน ๑๑๙ คน

เดือนกันยายน ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) นักศึกษาอดข้าวประท้วง เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว เพื่อจัดเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป

๑๗ กันยายน ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) ทหารยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ ในเมืองร่างกุ้ง ฝูงชนประมาณ ๕,๐๐๐ คนโกรธแค้น ฮือเข้าแย่งอาวุธจากทหาร มิงโกนาย และผู้นำนักศึกษาจำนวนหนึ่งเข้าเจรจาเพื่อแก้ไขสถานการณ์

๑๘ กันยายน ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) กลุ่มทหารนำโดยนายพล ซอว์ หม่อง (Saw Maung) เข้ายึดอำนาจการปกครอง และประกาศตั้งสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) สมาชิกของคณะปฏิวัติ ประกอบด้วยนายทหารระดับนำจำนวน ๒๑ นายซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารผู้ใกล้ชิดกับนายพลเนวิน

๒๓ กันยายน ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) นายพลซอว์ หม่อง ประกาศว่า “กองทัพไม่อาจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของรัฐ เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ในประเทศตกอยู่ในภาวะที่จะเป็นอันตรายต่ออนาคต”. เขายังได้ให้คำมั่นสัญญาว่า “กองทัพของเราจะสานต่อหน้าที่ดั้งเดิมในการปกป้องและรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ และการรักษากฎหมายและระเบียบหลังจากการส่งผ่านอำนาจให้กับรัฐบาล ที่ได้มาจากการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งประชาชนได้ใช้สิทธิประชาธิปไตยอย่างเต็มเปี่ยม”

หลังคำประกาศของนายพลซอว์ หม่อง นักศึกษาบางส่วนทยอยเดินทางออกจากเมืองหลวงร่างกุ้ง สู่ชายแดนในเขตพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ฝึกอาวุธเพื่อตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร

๒๔ กันยายน ๑๙๘๘ (๒๕๓๑) ออง ซาน ซูจี ร่วมจัดตั้งพรรคแนวร่วมแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League of Democracy - NLD) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค

เดือน มีนาคม ๑๙๘๙ (๒๕๓๒) มิงโกนายผู้นำนักศึกษาถูกจับ และถูกพิพากษาโทษจำคุก ๒๐ ปี ตามมาด้วยการสั่งกักบริเวณออง ซาน ซูจี ในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลเผด็จการของนายพลซอว์ หม่อง สั่งกักบริเวณดอว์ ซูจี โดยไม่มีความผิดใด พร้อมทั้งจับกุมสมาชิกพรรคเอ็น แอล ดี ไปควบคุมตัวไว้ที่คุกอินเส่ง

๒๗ พฤษภาคม ๑๙๙๐ (๒๕๓๓) พรรคเอ็น แอล ดี ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย ได้ ๓๙๒ ที่นั่งจาก ๔๕๕ ที่นั่ง โดยที่พรรค National Unity Party ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลทหาร ได้เพียง ๑๐ ที่นั่ง แต่ไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้ผู้ชนะ

๒๓ เมษายน ๑๙๙๒ (๒๕๓๕) นายพลซอว์ หม่อง อ้างปัญหาสุขภาพเพื่อลาออกจากตำแหน่งประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC) อย่างกะทันหัน โดยมีนายพลตาน ฉ่วย (Than Shwe) ขึ้นรับตำแหน่งแทน. ตาน ฉ่วย เป็น ๑ ใน ๒๑ สมาชิกของคณะปฏิวัติ และเป็นนายทหารมือขวาของ ซอว์ หม่อง เมื่อรับตำแหน่งช่วงแรก ตาน ฉ่วย ปล่อยตัวนักโทษการเมืองจำนวนหนึ่ง

ปี พ.ศ.๒๕๓๖ (๑๙๙๓) เขาเปลี่ยนชื่อประเทศจากพม่า (Burma) เป็นเมียนมาร์ (Myanmar) ดำเนินนโยบายเปิดประเทศ สั่งให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพยายามผลักดันให้พม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอาเชียน (Association of South East Asian Nations-ASEAN)

แต่ขณะเดียวกัน นายพล ตาน ฉ่วย ยังคงดำเนินนโยบายปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๒ (๑๙๘๙) จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๗ (๑๙๙๔) รัฐบาลทหารจะสามารถเจรจา”หยุดยิง” (ceasefire) กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้ถึง ๑๓ กลุ่ม. ปี ๑๙๙๔ (๒๕๓๗) มีผู้อพยพลี้ภัยจากสถานการณ์การเมืองและการสู้รบในประเทศพม่า มาอาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทยประมาณ ๗๑,๐๐๐ คน

เดือน มีนาคม ๑๙๙๔ (๒๕๓๗) สมาคมอาเชียนเชิญพม่าเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์

๑๐ กรกฎาคม ๑๙๙๕ (๒๕๓๘) ออง ซาน ซูจี ได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักของตัวเองมานานถึง ๖ ปี

ปี ๑๙๙๗ (๒๕๔๐) นายพล ตาน ฉ่วย สั่งปลดรัฐมนตรีหลายตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหาพัวพันกับการคอรัปชั่น เขายังอนุญาตให้ผู้แทนจากคณะกรรมการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross) และ องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) เข้าพม่า

๙ สิงหาคม วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมือง, วันภูมิปัญญาพื้นบ้านโลก

วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก" (International Day Of the World’s Indigenous People) เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดย สมัชชาแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nation General Assembly) ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2537 ให้กำหนดให้ทศวรรษที่ 1994-2004 (พ.ศ. 2537-2547) เป็น "ทศวรรษสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก” (International Decade of the Worlds’ Indigenous Peoples) และได้กำหนดให้วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก" โดยถือเอาวันที่กลุ่มแรงงานชนพื้นเมืองเดิมของอนุสัญญาว่าด้วยการส่งเสริมและการปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการแก้ปัญหาที่ชนพื้นเมืองต้องเผชิญในขอบเขตของสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การพัฒนา การศึกษา และสาธารณสุข อีกทั้งยังมีเป้าหมายเพื่อช่วยปกป้องสิทธิชนพื้นเมือง เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ได้กำลังทำลายจิตวิญญาณ ประเพณีและวิถีชีวิตของชนดั้งเดิมของโลกเหล่านี้ ซึ่งเคยดำรงอยู่แนบชิดกับธรรมชาติให้อ่อนแอลง กลายเป็นเหยื่อของระบอบทุนนิยมเสรีในปัจจุบัน ทำให้ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ ท้าทายประชาคมโลกในยุคต้นศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมในโลกนี้กว่า 350 ล้านคน ใช้ภาษาพูดมากกว่า 5,000 ภาษา และศาสนาความเชื่ออีกนับหมื่น อาศัยอยู่ใน 70 ประเทศในทุกทวีปทั่วโลก

วันภูมิปัญญาพื้นบ้านโลก

ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรความรู้ก็ได้

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะสากลที่หลายๆ ท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น

การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น การลงแขกสร้างบ้าน สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับ มีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ

นอกจากมนุษย์จะใช้ภูมิปัญญาเพื่อประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแล้ว มนุษย์ยังสังเกตลักษณะที่เป็นคุณและโทษของธรรมชาติแล้วนำมาเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต กระบวนการทางสังคม คือ การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว เป็นหมู่บ้าน เป็นเมืองและประเทศชาติ ชาวอีสานมีทัศนะในการใช้ชีวิตว่า อยู่เป็นหมู่ดีกว่าอยู่โดดเดี่ยว เพราะขีดจำกัดทางกายภาพและภูมิปัญญา การช่วยกันคิด ช่วยกันทำ การพึ่งตนเองและการพึ่งกันเองน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ทำอย่างไรการอยู่ร่วมกันจึงจะเกิดประโยชน์สุข ผู้ฉลาดจึงร่วมกันกำหนดกฎหมายท้องถิ่น วรรณกรรมคำสอน นิทาน บทเพลงและคติธรรม ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง แม้บางส่วนอาจไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่กระบวนการทางสังคมหลายส่วนยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน

กระแสทุนนิยมกับการดูหมิ่นภูมิปัญญาชาวบ้าน

การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เป็นไปตามกระแสทุนนิยม รัฐใช้อำนาจในการจัดการเปลี่ยนแปลงวิถีชาวบ้านด้วยการส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อค้าขาย เช่น ปลูกยางพารา ปลูกเงาะ ปลูกทุเรียน ฯลฯ การผลิตเพื่อขายทำให้ขยายพื้นที่การเกษตร เกิดการทำลายสภาพป่าไม้และแหล่งน้ำ การผลิตเพื่อขายทำให้มีการโยกย้ายผลผลิตออกจากหมู่บ้าน ชาวบ้านได้รับผลตอบแทนที่ไม่สมดุลย์ ถูกเอารัดเอาเปรียบในตลาดการค้า กำไรตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลางมากกว่าตกอยู่ในมือชาวบ้านผู้ผลิต พ่อค้าซื้อราคาถูกแต่ขายราคาแพง ชาวบ้านในกระแสทุนนิยมจึงประสบปัญหาหนี้สิน เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืช ค่าแรงงาน ฯลฯ

ปัญหานี้ทำให้เกิดการแสวงหาแนวทางที่เป็นทางรอดและทางเลือกของท้องถิ่น จึงมีการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรความรู้เพื่อเลือกตัวแบบ หรือแนวทางที่เหมาะสมแก่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่นาสวนผสม การดำรงชีวิตความเป็นอยู่แบบเศรฐกิจพอเพียง ล้วนแต่เป็นต้นแบบที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน

การใช้ธรรมชาติเป็นแม่แบบของวิถีชีวิต

การศึกษาอย่างเข้าใจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสม ล้วนแต่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ การผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการอยู่การกินในครอบครัว เหลือแล้วขายหรือนำไปแลกกับสิ่งอื่นๆ ที่ต้องการ จะช่วยลดปัญหาหนี้สิน ชีวิตมีความสุขมากกว่าการที่จะมุ่งผลิตเพื่อขายนำเงินไปซื้อสิ่งฟุ่มเฟือยมากมายนัก และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพ่อหลวงของเราที่ทรงย้ำเตือนให้คนไทยได้รู้จักกับเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้หลายๆ ฝ่ายได้หันมามองถึงความผิดพลาดในนโยบายเศรษฐกิจที่ผ่านมา และกลับไปศึกษาภูมิปัญญาดั้งเดิมอีกครั้งหนึ่ง วันนี้เราจึงได้ยินคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น กันมากขึ้น

๙ สิงหาคม ๒๔๙๘

แยกการรถไฟเป็นองค์การอิสระ เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร สนับสนุนเศรษฐกิจและการทหารในยามสงคราม

๙ สิงหาคม ๒๕๑๔ เริ่มกิจการ “ลูกเสือชาวบ้าน”

ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มของชาวบ้าน ที่มาทำประโยชน์ให้แก่สังคม ผ่านทางกิจการลูกเสือ โดยที่มีการทำงานหรือการเข้าค่ายต่างๆ คล้ายกับลูกเสือที่มีการเรียนการสอนตามโรงเรียนทั่วๆไปนั่นเอง เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2512 โดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันจนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น (เพื่อป้องกันการคุกคามของพรรคคอมมินิสต์แห่งประเทศไทย) โดยการฝึกได้นำเอาหลักในการฝึกวิชาลูกเสือมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายหลังได้รับการขยายไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคและทุกจังหวัดของพื้นที่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นองค์กรที่สามารถเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีความผูกพัน เสริมสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้มีผู้ใช้ชื่อของลูกเลือชาวบ้านเข้าไปร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมอยู่บ่อยครั้ง เฃน กรณีของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือกรณี 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น

ปัจจุบันแม้ว่ากิจการลูกเสือชาวบ้านจะได้ลดบทบาทและความสำคัญลงไป แต่ก็๋ยังมีการจัดฝึกอบรมบ้างตามจังหวัดต่างๆ อยู่ตามสมควร

๑๐ สิงหาคม วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน

วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๓๕ เป็นวันที่ได้มีการจัดตั้งสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก) ทดลองจัดระเบียบการปกครองระดับตำบล หมู่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและเป็นการเน้นให้เห็น ความสำคัญของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการปฏิบัติภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ให้แก่ประชาชน ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๑๐ สิงหาคม ของทุกปี เป็น "วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน"

ในอดีตที่ผ่านมา ระบบการปกครองบ้านเมืองของประเทศไทย มีลักษณะค่อนข้างกระจายอำนาจ กล่าวคือ มีการแบ่งเขตการปกครอง และกำหนดวิธีปกครองหัวเมืองต่างๆ ไว้ชัดเจนเพื่อควบคุมเจ้าเมืองโดยมีศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางแต่ในทางปฎิบัติ ส่วนกลางหรือพระมหากษัตริย์กลับมีอำนาจจำกัด ในขณะที่เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจมากขึ้น นอกจากนี้แล้วระบบการปกครองเช่นนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อีก เช่นปัญหาทางด้านการคมนาคมสื่อสาร การรั่วไหลในการเก็บภาษีอากร อิทธิพลของผู้เป็นใหญ่ในท้องถิ่น ตลอดจนความทุกข์ยากของประชาชน และยังต้องเผชิญกับอิทธิพลของต่างประเทศในยุคล่าอาณานิคม ทำให้การบริหารประเทศขาดประสิทธิภาพ และขาดความเป็นเอกภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชดำริที่จะปฎิรูประบบการบริหารราชการจากรูปแบบการปกครองที่มีเมืองแม่และเมืองประเทศราชอยู่ในปกครอง ซึ่งนับว่ามีจุดอ่อนตรงที่ขาดความเป็นเอกราช อันอาจนำไปสู่ความแตกแยก ขาดความสามัคคีและขาดความจงรักภักดีได้โดยง่าย มาเป็นรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการ ที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

การปฎิรูประบบการบริหารราชการส่วนกลาง พระองค์ได้ทรงประกาศพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น ๑๒ กระทรวง โดยทรงเลียนแบบมาจากประเทศทางตะวันตก มีการแบ่งสรรอำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบ แยกตามลักษณะความชำนาญเฉพาะอย่าง และพระมหากษัตริย์สามารถควบคุมบังคับบัญชาเหล่าเสนาบดีได้อย่างทั่วถึง การปฎิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญๆ รวมเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า" มณฑล "โดยมุ่งมั่นที่จะปกป้องประเทศจากการคุกคามจากภายนอกโดยจัด ระบบที่เรียกว่า ระบบเทศาภิบาล มีหัวเมืองต่างๆ มารวมกันเป็นมณฑลและมีจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ลดหลั่นกันไป โดยมีข้าหลวงมณฑลเป็นผู้รับผิดชอบ และปกครองโดย รับคำสั่งและนโยบายจากส่วนกลาง

ในการปฎิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการโดยเริ่มจากโครงการเล็กก่อน เมื่อสำเร็จและจัดระบบดีแล้วจึงค่อยขยายผล และมีการทดลองเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่แขวงบางปะอินเมืองกรุงเก่า หรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มแรกของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย ลักษณะการปกครองเช่นนี้ปรากฎเด่นชัดขึ้น เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ขึ้นใช้ ซึ่งมีการแบ่งการบริหารราชการของอำเภอออกเป็นตำบลและหมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ ให้วันที่ ๑๐ สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันกำนันผู้ใหญ่บ้าน

บรรณานุกรม

ชลิยา ศรีสุกใส. วันสำคัญ ประเพณี การละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พีบีซี, มปป.

ธนากิต เรียบเรียง.วันสำคัญไทย.พิมพ์ครั้งที่๑ กรุงเทพฯ : ปิรามิด, ๒๕๔๑.

๑๐ สิงหาคม ๒๓๙๓

เซอร์ เจมส์ บรุค ฑูตอังกฤษเดินทางมาไทย เพื่อขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาฯ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การค้า ของอังกฤษมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

๑๐ สิงหาคม ๒๔๓๑

ให้ทหารเลิกจัดสายตรวจรักษาการตามถนนในพระนคร โดยมอบหน้าที่ให้ตำรวจ

๑๑ สิงหาคม ๒๑๑๒ เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งแรก เนื่องจากพระยาจักรีเป็นไส้ศึก

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ถึง 417 ปี เป็นเมืองหลวงที่อายุยาวที่สุดของไทย โดยมีกษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง[1] เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านการทหาร ด้านการทูตและด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น มีการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าถึงสองครั้ง ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 โดยพระเจ้าบุเรงนอง และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยพระเจ้ามังระ

เหตุการณ์ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1

ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์พระองค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยา (องค์ที่ 12 ของราชวงศ์สุพรรณภูมิ) ได้ทำสงครามกับพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าสิบทิศแห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า คือสงครามช้างเผือก ผลปรากฏว่าอยุธยาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อยุธยาจึงต้องเสียช้างเผือกไปถึง 4ช้าง , พระราเมศวร (คนละพระองค์กับกษัตริย์องค์ที่ 2 ของกรุงศรีอยุธยา) พระราชโอรสองค์โต ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระสุริโยทัย ทั้งยังได้พระสุนทรสงครามและพระยาจักรีไป ต่อมาสมเด็จพระไชยเชษฐาแห่งล้านช้างได้ส่งสาส์นมาสู่ขอพระเทพกษัตรี พระธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไปเป็นพระมเหสีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงเห็นว่าการพระราชทานพระธิดาไปนั้นเป็นการสร้างพันธมิตรแก่อยุธยาจึงพระราชทานไป[2] แต่ถูกพม่าชิงตัวไป เพราะการแจ้งข่าวนี้ของพระมหาธรรมราชาแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2111 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคต ในช่วงของสงครามครั้งนี้ สมเด็จพระมหินทราธิราชจึงเสด็จขึ้นครองบ้านเมืองในปกครองของกรุงศรีอยุธยาแม้กระทั่งเมืองพิษณุโลกสองแคว แต่ก็ยังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้โดยเร็ว สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ได้เสด็จยกมาช่วยแต่ก็ถูกพม่าตีแตกพ่ายที่สระบุรี พระยาจักรีหนึ่งในเสนาที่ถูกกุมตัวไปยังกรุงหงสาวดี เมื่อครั้งแพ้สงครามช้างเผือก ก็เห็นแก่ทรัพย์ที่พระเจ้าบุเรงนองประทานให้ผู้ที่คิดแผนตีกรุงศรีอยุธยาลงได้ จึงเสนอตัวเป็นหนอนบ่อนไส้ในกรุงศรีอยุธยา โดยเข้าไปในกรุงศรีอยุธยาทำทีเป็นว่าลอบหนีมาจากกรุงหงสาวดีได้ ประกอบด้วยความไว้พระทัยที่พระมหินทราธิราชมีต่อพระยาจักรีผู้นี้ จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาจักรีจึงวางอุบายให้ทหารที่มีความสามารถไปประจำกองที่ไม่มีความสำคัญ และให้ทหารที่ไร้ฝีมือมาเป็นทัพหน้าประจัญบานกับกองทัพของพระเจ้าบุเรงนอง แม่ทัพนายกองที่พอจะมีฝีมือก็หาเรื่องใส่ความให้ต้องโทษขังหรือเฆี่ยน เพียงข้ามคืนกรุงศรีอยุธยาก็พ่ายแพ้ เสียกรุงให้กับพม่าเป็นครั้งแรก

พระยาจักรีเมื่อกลับไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง ก็ผิดคาด ด้วย พระเจ้าบุเรงนองมีพระราชโองการให้ประหารชีวิตพระยาจักรีเนื่องจากการเป็นกบฎ กล่าวคือ พระยาจักรีนั้นทำได้แม้กระทั่งการทรยศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง แล้วต่อไปในภายภาคหน้าก็คงจะสามารถทรยศกรุงหงสาวดีได้เช่นกัน โดยตอกมือไว้กับหีบทองของรางวัลที่บุเรงนองประทานให้แล้วจับถ่วงน้ำ

เหตุการณ์หลังเสียกรุงครั้งที่ 1

สมเด็จพระมหินทราธิราช ถูกพาตัวไปที่กรุงหงสาวดีแต่ประชวรสวรรคตระหว่างทางไปกรุงหงสาวดี โดยพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของอยุธยา ซึ่งมาจากราชวงศ์สุโขทัย แล้วนำพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาไปเลี้ยงดู ซึ่งพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาคนนั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งต่อมาในภายหลังเป็นผู้นำที่ทำสงครามกับพม่านำอิสรภาพมาสู่สยาม

การประกาศอิสรภาพ

ในปี พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ้นจากการเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่บัดนั้น (รวมเวลาที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า 15 ปี) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น3ปีหลังจากพระเจ้าบุเรงนองประชวรและสวรรคตลงในปีพ.ศ. 2124และมังไชยสิงห์ ราชบุตรองค์โตของพระเจ้าบุเรงนองที่รัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านันทบุเรงแต่พระเจ้าอังวะพระญาติประกาศแข็งเมืองพระเจ้านันทบุเรงจึงบัญชาให้ พระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู(พระสังกทัต)พระเจ้าเชียงใหม่(อโนรธามังสอพระราชอนุชาของพระเจ้านันทบุเรง)พระเจ้า[[กรุงศรีสัตนา คนหุต]](พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช)และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยกกองทัพไปตีกรุงอังวะพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชา ที่ทรงโปรดให้รักษากรุงฯว่าถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพมาถึงหงสาวดีให้ฆ่าเสีย(สาเหตุที่ทรงยกทัพมาแทนเนื่องจากพระมหาธรรมราชาทรงพระชราและพระนเรศวรทรงทูลขอ ออกรบเอง)ทุกเมืองยกกองทัพไปหมดแล้วแต่พระนเรศวรทรงเห็นว่าอยุธยาถึงเวลาที่จะเป็นเอกราชเสียทีจึงทรงยาตราทัพออกจากเมืองพิษณุโลกไปอย่างช้า ๆ ถึงเมืองแครง โดยพระองค์ทรงหวังว่าถ้าพระเจ้าหงสาวดีแพ้ก็จะโจมตีกรุงหงสาวดีซำเติมหากทัพหงสาฯชนะก็จะกวาดต้อนครัวไทยที่อยู่ที่ชายแดนพม่ามาไว้เป็นกำลังของพระองค์สืบไปส่วนพระมหาอุปราชา ทรงทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพมาจึงโปรดให้ขุนนางมอญ2คนคือพระยาเกียรติ์และพระยารามศิษย์พระอาจารย์เดียวกันกับพระนเรศวรคือพระมหาเถรคันฉ่องออกมา ต้อนรับโดยทรงสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงหงสาวดีพระองค์(พระมหาอุปราชา)จะเข้าโจมตีจากข้างหน้าและให้พระยา�อย่างเปิดเผยพระองค์จึงเรียกประชุม แม่ทัพนายกองทั้งหมดและนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆืในวัดนั้นมาเป็นประธานและทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดปองร้ายพระองค์แล้วพระองค์จึงหลั่งนำจากสุวรรณ ภิงคาร(นำเต้าทอง)ลงสู่พื้นพสุธาและประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินและผู้คนในที่นั้นว่า "ตั้งแต่วันนี้กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรดังแต่ก่อนสืบไป"เมื่อวันที่ 15พฤษภาคมพ.ศ.2127หลังประกาศเสร็จแล้วทรงตรัสถามชาวเมืองมอญว่าจะมาเข้ากับฝ่ายไทยไหมชาวมอญทั้งหลายก็พร้อมใจกันเข้ากับฝ่ายไทย และทรงจัดทัพบุกตรงไปกรุงหงสาวดีแต่พอข้ามแม่นำสะโตงไปม้าเร็วก็มารายงานพระองค์ว่าพระเจ้าหงสาวดีได้ชัยชนะเหนือพระเจ้าอังวะและยกทัพกลับจวนถึงหงสาวดีอยู่แล้วเห็นไม่ สมควรจึงทรงกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญกลับอยุธยาพร้อมพระองค์พระมหาอุปราชาเมื่อทรงทราบว่าพระยามอญทั้ง2ไปสวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงพิโรธและทราบว่าพระนเรศวรทรง ถอยทัพกลับจึงทรงบัญชาให้สุรกรรมาคุมทัพมาสกัดแต่พระนเรศวรทรงข้ามแม่นำสะโตงไปแล้วทั้ง2ทัพเผชิญหน้ากันแต่แม่นำสะโตงกว้างทั้งสองจึงยิงไม่ถึงกันพระนเรศวร ทรงมีพระแสงปืนอยู่กระบอกหนึ่งมีความยาว9คืบยิงถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่าตายคาคอช้างทหารเห็นแม่ทัพตายก็เสียขวัญถอยทัพกลับไปรายงานพระมหาอุปราชาให้ทรงทราบ ส่วนพระนเรศวรทรงเดินทัพกลับกรุงศรีอยุธยาโดยสวัสดิภาพพระแสงปืนกระบอกนั้นมีชื่อว่า"พระแสงปืนข้ามแม่นำสะโตง"เมื่อทรงถึงอยุธยาก็ทรงเข้าเฝ้าพระราชบิดารายงานเรื่อง ทั้งหมดให้ทรงทราบสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงปูนบำเหน็จมอญที่สวามิภักดิ์และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นที่สังฆราชส่วนพระยาเกียรติและพระยารามให้มีตำแหน่งได้ พระราชทานพานทองคุมกองทัพมอญที่สวามิภักดิ์พระราชทานบ้านทีอยู่อาศัยในพระนคร พร้อมกันนั้นได้ทรงมอบพระราชอาญาสิทธิ์แก่สมเด็จพระนเรศวรในการบัญชาการรบเพื่อที่ จะตระเตรียมกำลังคนและอาวุธไว้รับมือพม่า

๑๑ สิงหาคม ๒๒๓๐ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงประกาศสงครามกับบริษัทอินเดีย ของอังกฤษ

พระราชประวัติ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวี (พระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ ) ประสูตรเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พุทธศักราช 2175 พระองค์ทรงได้รับการศึกษาจากพระโหราธิบดีพระอาจารย์พรหมพระพิมลธรรม และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำเดือน 12 ปี วอก พุทธศักราช 2199 เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์ประทับอยู่ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล

ต่อมาเมื่อปีฉลู พุทธศักราช 2204 หรือปีขาล 2205 พระองค์จึงได้เสด็จประทับ ณ พระราชวังหลวงในปี พุทธศักราช 2209 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีเพื่อเป็นราชธานีสำรอง และทรงแปรพระราชฐานเสด็จประทับปีหนึ่ง เป็นเวลาถึง 8-9 เดือน

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีปรีชาสามารถ พระองค์ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองอย่างเร่งด่วน ทรงช่วยเหลือพสกนิกรด้วยการงดเก็บภาษีอากร ทรงส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพทำนา ทรงส่งเสริมการค้าขาย

กับชาวต่างชาติหลายประเทศ โดยใช้เรือกำปั่นหลวง และทรงโปรดที่จะคบค้าสมาคมกับชนทุกชนชาติ ด้วยประสงค์ที่จะเรียนรู้ความก้าวหน้าของประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมา ปรับปรุงประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจของประเทศต่าง ๆ ด้วยพระองค์เป็นผู้รอบรู้ในวิชาการ ทรงนำเอาวิวัฒนาการทางด้านศิลปะกรรม และสถาปัตยกรรมของชาวยุโรปมาเป็นต้นแบบในการสร้างพระราชวังใหม่

การเจริญสัมพันธไมตรีกับอารยะประเทศเป็นสิ่งที่พระองค์

ทรงเล็งเห็นความสำคัญ ได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และองค์สังฆราชแห่งกรุงโรม นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ ของการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวยุโรปเป็นครั้งแรกของไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ชาวไทยทุกคนจึงพรอ้มใจกันถวายพระสมัญญานาม "มหาราช" แด่พระองค์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จดำรงราชสมบัติอยู่ 32 ปี สิริรวมพระชนมายุได้ 56 พรรษา เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231 ชาวจังหวัดลพบุรีได้ร่วมการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง ประดิษฐานไว้กลางวงเวียนเทพสตรี ซึ่งในทุกปี

จังหวัดลพบุรีได้จัดการแสดง แสง สี เสียง พร้อมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระองค์ท่านในงาน "แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" ที่บริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์

๑๑ สิงหาคม ๒๔๐๖ เขมรตกเป็นของฝรั่งเศส

๑๑ สิงหาคม ๒๔๕๔

ประกาศหลักสูตรในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน มีวิชาเรียน ๑๐ อย่าง ซึ่งมีวิชาทหารอยู่ด้วย

๑๑ สิงหาคม ๒๕๐๙

เศษเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เริ่มพบและสนใจโดยนักวิชาการ

๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘

พระธาตุพนมบรรจุพระอุรังคธาตุ (หน้าอก) ล้มทลายลง องค์พระธาตุสูง๕๒ เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก ๑๐ กิโลกรัม

๑๒ สิงหาคม - วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, และเป็นวันแม่แห่งชาติ

(๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕ วันพระราชสมภพสมด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ)

วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ(วันแม่แห่งชาติ) เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓ สำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้จัดวันแม่เป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับความสำเร็จด้วยดี และมีการกำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติอันเนื่องมาจากเดือนดังกล่าว เป็นเดือนที่ฝนตกไม่ชุกนัก การจัดงานประเพณีต่าง ๆ ของประชาชนจะได้รับความบันเทิงโดยทั่วกัน

ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนให้ถือเอาวันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่ของชาติ เนื่องจากเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทยเปรียบเสมือนแม่ของชาติ โดยมติเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมศีลธรรมและจิตใจ โดยพิจารณาว่าแม่เป็นผู้มีพระคุณและมีบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัว และสังคม สมควรที่จะได้รับการเทิดทูนและตอบทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที

การจัดงานวันแม่แห่งชาติมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ

๑ เพื่อเทิดทูนพระเกียรติของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

๒ เพื่อเทิดทูนพระคุณของแม่ และยกย่องบาทบาทของแม่ที่มีต่อครอบครัวและสังคม

๓ เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ และประกอบกิจกรรมเพื่อแม่

๔ เพื่อให้ผู้เป็นแม่ได้สำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนในฐานะแม่

ทางราชการได้กำหนดให้ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหมายที่ว่าดกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีอยู่ในทุกฤดูกาล เป็นดอกไม้ที่ขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมและยังใช้ได้ตั้งแต่เป็นดอกไม้สดจนกระทั่งแห้ง เสมือนดังความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย

นอกจากการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรเพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณแม่ การมอบรางวัลแม่ดีเด่นลูกกตัญญูแล้ว ยังอาจใช้เป็นวันรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพของแม่ได้ด้วย

๑๒ สิงหาคม ๒๔๔๔

ตรา พ.ร.บ. คุ้มครองวรรณกรรมศิลปกรรม พ.ศ. ๒๔๗๔

๑๓ สิงหาคม ๒๔๑๓

เริ่มใช้คำบอกแถวทหาร เป็นภาษามคธ แทนคำบอกภาษาอังกฤษ เช่น วันทยาวุธ วันทยาหัตถ์

๑๔ สิงหาคม ๒๒๒๙

วันทีคะทูตไทยถวายพระราชสาส์น แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวซายส์

๑๔ สิงหาคม ๒๓๙๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านายศึกษาภาษาอังกฤษ เป็นครั้งแรก

๑๔ สิงหาคม ๒๓๙๕

ขุดคลองผดุงกรุงเกษมเสร็จ

๑๔ สิงหาคม ๒๔๕๔

เฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่ทุ่งส้มป่อย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนตำหนักจิตรลดาอยู่ที่มุมลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพระตำหนักเดิม พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมาเป็นพระราชวังสวนจิตรลดา

๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘

รถไฟสายท่าจีน-แม่กลอง หมดสัมปทาน โอนกิจการเป็นของการรถไฟ รถไฟสายท่าจีน-แม่กลองเปิดเดินเมื่อ ๑๕ ส.ค. ๒๔๔๘ ระยะทางเมื่อเปิดเดินครั้งแรก ๓๓ ก.ม.

๑๕ สิงหาคม ๒๔๑๗

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๒

ตัดถนนราชดำเนิน

๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๘

ญี่ปุ่นยอมประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไข

๑๖ สิงหาคม - วันสันติภาพไทย

๑๖ สิงหาคม ๒๔๑๗

ประกาศตราตระกูลสำหรับพระราชวงศ์ คือ ตราจุลจอมเกล้า มี ๓๕๑ ดวง

๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๕

ยกฐานะเมืองปราณบุรีเป็น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้

๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๗

ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ มีใจความว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะ ไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากการประกาศสงครามครั้งนั้นเป็นการกระทำอันผิด จากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประเทศไทยได้ตัดสินใจให้กลับคืนมา ซึ่งสัมพันธไมตรีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ เมื่อก่อนวันที่ ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔ บรรดาดินแดนซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง ประเทศไทยไม่ปรารถนาที่จะได้ดินแดนเหล่านั้น และพร้อมที่จะจัดการส่งมอบคืนให้ดังเดิม

๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘

พระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ ไทยจพมีพันธมิตรทุกประเทศ

๑๗ สิงหาคม : วันศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย

๑๗ สิงหาคม ๒๔๗๔

พลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน) ผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ในวันนี้ มีอายุ ๘๕ ปี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ได้เป็นเจ้านครน่าน เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๒ เป็นองค์สุดท้าย ต่อมาไม่มีเจ้าผู้ครองนคร

๑๘ สิงหาคม – วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราค เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๑ ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นพ้องต้องกันในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๒๕ กำหนดให้วันที่ ๑๘ ของทุกปีเป็น “เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และได้จัดงานเป็นครั้งแรกในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๕ ต่อมาในปี ๒๕๒๗ งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการขยายสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งในการจัดงานแต่ละปี ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้ประเทศมีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

กิจกรรม.- การจัดนิทรรศการผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ การอภิปรายทางวิชาการ การตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการมอบรางวัลแก่นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในสาขาต่าง ๆ อาจใช้วันนี้เป็นวันรณรงค์วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพได้ด้วย

๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑

เกิดสุริยุปราคาหมดดวงที่ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระเนตร จนทรงได้รับเชื้อมาลาเรียเป็นเหตุให้เสด็จสวรรคตเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ ภายหลังได้กำหนดวันนี้เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๓

เริ่มการแปลพระไตรปิฎก จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ณวัดเบญจมบพิตรฯ

๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๘

รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลอังกฤษประกาศรับรองการประกาศสันติภาพของไทย หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง โดยการยอมจำนนของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อ๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘ และรัฐบาลไทยได้ประกาศ เมื่อ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘

๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒๐ สิงหาคม ๒๔๓๔

เปิดประภาคารที่เกาะสีชัง

๒๐ สิงหาคม ๒๔๓๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป

๒๐ สิงหาคม ๒๔๗๗

เลิกการประหารชีวิตด้วยวิธีตัดศีรษะ วันนี้เป็นการตัดศีรษะรายสุดท้าย ที่วัดหนองจอก อำเภอมีนบุรี นักโทษเป็นหญิงชื่อ นางล้วน มีลูกอ่อนอายุ๑ เดือน

๒๐ สิงหาคม ๒๔๘๖

ไทยกับญี่ปุ่น ได้ลงนามในสนธิสัญญา มอบดินแดนของไทยที่ญี่ปุ่นตีได้ จากอังกฤษ คือ รัฐเชียงตุง รัฐเมืองพาน และรัฐมาลัย (กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปาลิส) ให้แก่ไทย ณ ทำเนียบสามัคคีชัย

๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๑

ประกาศเงินตราอย่างไหนเรียกว่า สตางค์

๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๗

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชพร้อมกับเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๖ ทรงลาผนวช ๑๑ ธันวาคม ๒๔๔๗ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ทรงลาผนวช ๑๓ ธันวาคม ๒๔๔๗

๒๒ สิงหาคม ๒๒๐๕

สังฆราชแห่งเบริตกับบาทหลวงอีก ๒ คน ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวฝรั่งเศสพวกแรกที่เดินทางมายังประเทศไทย

๒๒ สิงหาคม ๒๔๐๘

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ประกาศเลิกการห้ามส่งข้าว ออกนอกพระราชอาณาจักร

๒๓ สิงหาคม : วันสากลเพื่อรำลึกถึงการค้าและการเลิกทาส

๒๓ สิงหาคม ๒๓๕๘

เมืองมอญ เมาะตะมะ หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

๒๓ สิงหาคม ๒๓๗๑

คณะมิชชันนารีพวกแรกเป็นชาวอเมริกัน นำคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแพร่ในไทย

๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๕

ได้มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างผู้บัญชาการทหารเรือไทย กับทูตทหารเรือญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติการของกองทัพเรือไทย กับ จักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ในบริเวณอ่าวไทยและน่านน้ำภาคใต้ของอินโดจีนฝรั่งเศส

๒๕ สิงหาคม ๒๔๖๑

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้อภิเษกสมรส (กับพระองค์เจ้ารำไพพรรณี) ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน

๒๕ สิงหาคม ๒๔๖๙

ลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กำหนดเส้นเขตแดนตั้งแต่จังหวัดเชียงราย ถึงอุบลราชธานี สัญญาฉบับนี้ไม่ได้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ฉะนั้นเกาะทุกเกาะจึงเป็นของอินโดจีน ฝรั่งเศสให้สัตยาบัน เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๗๐

๒๗ สิงหาคม ๒๔๕๗

ตรา พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ยกเลิก พ.ร.บ. กฎอัยการศึก ฉบับ พ.ศ. ๒๔๕๐

๒๙ สิงหาคม ๒๔๑๑

ไทยโดย พระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทย กับ เบลเยี่ยม

๒๙ สิงหาคม ๒๔๔๘

ตรา พ.ร.บ. ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ เป็นฉบับแรก ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศเลิกทาสเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๔๘ และปรับการเรียกเก็บเงินค่าราชการจากชายฉกรรจ์ที่ไม่ได้เป็นทหารคือ เงินรัชชูปการ ปีละ ๖ บาท พ.ร.บ.นี้ ให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีอากรมากมีสิทธิที่จะขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารแก่คนในห้างร้าน หรือครอบครัวได้ชั่วคราวเป็นปี ๆ ไป

๒๙ สิงหาคม ๒๔๙๑

เกิดกบฎในภาคใต้เรียกกันว่ากบฎแบ่งแยกดินแดน มีการก่อวินาศกรรมในปัตตานี สายบุรี เบตง เพื่อจะตั้งสหพันธรัฐมลายู ขึ้นใน ๔ จังหวัดภาคใต้ โดยการสนับสนุนของชาวมุสลิมในต่างประเทศ พล.ท.หลวงกาจสงคราม ซึ่งทางคณะรัฐบาลได้ส่งไปปราบ ใช้เวลาดำเนินการอยู่เกือบหนึ่งเดือนจึงสำเร็จ จับหัวหน้าผู้ก่อการคือหะยีมไฮยิดดิน ได้

๓๐ สิงหาคม ๒๑๑๒

เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก แก่บุเรงนอง (มอญ) เหตุเพราะแตกความสามัคคีระหว่างคนไทยข้าราชการผู้ใหญ่เอาใจเข้ากับข้าศึก

๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๕

จีนแห่จ้าวมาจากสำเพ็ง มายังวัดมหรรณพ์ ตั้งศาลจ้าวใหม่ คือ ศาลเจ้าพ่อเสือ

 

โปรดเลือก "คลิ๊ก" เพื่ออ่านเหตุการณ์ใน ๑๒ เดือน

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

 

นำเสนอโดย
วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่
อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84290