วันสหกรณ์แห่งชาติ
ตรงกับวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เหตุเพราะเป็นวันที่สหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย
คือสหกรณ์ "วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกได้รับการจดทะเบียนจากกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์(นายทะเบียนสหกรณ์ในขณะนั้น)
เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกของไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลสหกรณ์แห่งแรกในสยามประเทศ
ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ในประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม
มีดิน ฟ้า อากาศเหมาะแก่การเกษตร อาชีพส่วนใหญ่ของพลเมืองคือการประกอบการเกษตรสาขาต่าง
ๆ การผลิตในสมัยก่อน ๆ ผู้ผลิตคนหนึ่ง ๆ ผลิตเพียงแต่เลี้ยงครอบครัว
มิได้มุ่งหวังเพื่อขาย ส่วนสินค้าที่ผลิตไม่ได้ก็เอาสินค้าที่ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยน
ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น การพาณิชย์ที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางก็เจริญขึ้น
การเอาของมาแลกกันก็น้อยลง ในขณะเดี๋ยวกันประชากรก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
ดังนั้นความต้องการสินค้าอุปโภคของประชากรจึงปริมาณสูงขึ้นด้วย
ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตข้าวพอเลี้ยงครอบครัวเท่านั้นไม่ได้
ต้องผลิตให้มากขึ้นเพื่อขายเอาเงินเพื่อซื้อสินค้า เมื่อมีการผลิตข้าวมากขึ้นก็ต้องใช้ปัจจัยทุนในการผลิตมากขึ้นด้วย
ถ้าผู้ผลิตรายใดไม่มีปัจัยทุน ก็ต้องกู้ยืมจากธนบดี ในอัตราดอกเบี้ยสูง
เมื่อผลิตข้าวได้แล้วก็นำไปขายเพื่อชำระหนี้ การชำระหนี้ดังกล่าวจะดำเนินไปด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการผลิตข้าวได้ผลดี
แต่ระบบการผลิตข้าวในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศทั้งนั้น
กล่าวคือถ้าปีใดฝนตกตามฤดูกาล และมีปริมาณน้ำฝนพอเหมาะแก่ความต้องการ
การผลิตข้าวก็ได้ผลดี แต่ถ้าปีใดสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดี ผลผลิตที่ได้จะลดน้อยลง
มีผลทำให้การบริโภคไม่เพียงพอ และไม่มีข้าวสำหรับชำระหนี้ด้วย
และต้องมีการจำนองที่นาและทรัพย์สินเป็นหลักประกันเงินกู้ด้วย
ในที่สุดก็ไม่มีที่ดินในการทำมาหากินเป็นของตนเอง
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้เป็นมูลเหตุแห่งความดำริของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่
๕ ที่จะช่วยเหลือเกษตรกร โดยครั้งแรกมีผู้ดำริที่จะจัดตั้งธนาคารเกษตรขึ้นที่ส่วนกลางและมีสาขาตามภูมิภาค
เพื่อให้เครดิตแก่เกษตรกรโดยตรง แต่เมื่อได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็พบปัญหาการชำระหนี้ไม่ได้ตามสัญญา
การตั้งธนาคารเกษตรเลยไม่ประสบความสำเร็จ
จากนั้นพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาท
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำริที่จะนำสหกรณ์มาใช้ การสหกรณ์จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างดี
ดังนั้นจึงได้ทรงมอบให้ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ซึ่งพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีอยู่ในขณะนั้นเป็นผู้เริ่มชักนำสหกรณ์เข้ามาสู่ประเทศไทย
การเริ่มจัดตั้งสหกรณ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงศึกษาพิจารณาประเภทสหกรณ์ซึ่งมีอยู่ในต่างประเทศ
เพื่อเลือกสรรนำมาใช้ในประเทศไทย ในที่สุดได้เห็นว่าสหกรณ์หาทุน
(สหกรณ์เครดิตแบบไรพ์ไฟเซน) เหมาะที่สุดสำหรับชนบทไทย
วิวัฒนาการสหกรณ์
ระยะแรก
.-การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นในปี
พ.ศ. ๒๔๕๙ การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้า ๆ จนถึงสิ้นปี
พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเป็นเวลา ๑๒ ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย
ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง ๘๑ สมาคมเท่านั้น
ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน ๓ จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง
๓๐๐,๐๐๐ บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ
จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. ๒๔๗๑ ขึ้นและจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น
หลังจากนั้น ๕ ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก ๗ จังหวัด
เมื่อเปลี่ยนแปลง
(การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕)การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์
มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์
สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕
ระยะอยู่ตัว
.- หลังจากปี พ.ศ. ๒๔๙๗ อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก
เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง
ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ
ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน
กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม
ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิม
เพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงานอิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่
วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ระยะอยู่ตัว
หลังจากปี พ.ศ. ๒๔๙๗ อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก
เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง
ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ
ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน
กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม
ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิม
เพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงานอิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่
วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ผลการดำเนินงานทางสหกรณ์ในธุรกิจต่าง ๆ
ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์
จำนวนสมาชิก ปริมานเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี
ปัจจุบันสหกรณ์ ทั่วประเทศ ณ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๒ ประมาณ ๕,๕๔๙
สหกรณ์ และสมาชิก ๗,๘๓๕,๘๑๑ ครอบครัวของสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี
ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชานให้ดีขึ้น
รัฐและขบวนการสหกรณ์ไทยได้ร่วมจิตใจจัดงาน
"วันสหกรณ์แห่งชาติ" ขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่ว่าจะเศรษฐกิจปีใด
จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด
"สหกรณ์" พระองค์ท่านไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียนเท่านั้น
แต่เป็น "พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย" ยังเป็นผู้ปูพื้นฐานและทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่และจัดตั้งขยายกิจการการสร้างความผาสุกแก่ประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดี
เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ
สหกรณ์ในปัจจุบัน.-
สหกรณ์ที่มีอยู่ในขณะนี้
ได้มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์
พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดสหกรณ์ออกเป็น ๖ ประเภท คือ
๑. สหกรณ์ร้านค้า
๒. สหกรณ์ประมง
๓. สหกรณ์การเกษตร
๔. สหกรณ์บริการ
๕. สหกรณ์นิคม
๖. สหกรณ์ออมทรัพย์
การจัดรูปองค์การของสหกรณ์
สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ
เพื่อดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมทางสังคม
สหกรณ์ไม่ใช้บริษัทเอกชน
เพื่อดำเนินธุรกิจแสวงหาผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้น
สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ
ไม่เป็นกระทรวงทะบวง และกรมต่าง ๆ
สหกรณ์ไม่ใช้องค์การ
เพื่อสร้างสีสันทางการเมือง ซึ่งไม่ได้มอบบริการที่บริสุทธ์เหมาะสมดั่งที่สมาชิกต้องการ
"สหกรณ์"
ตามความหมายขององค์การสัมพันธ์ภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ คือ องค์การอิสระของบุคคลซึ่งร่วมกันด้วย
ความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และจุดมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรมโดยการดำเนินวิสาหกิจที่ พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกันบริหารงาน
และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย
หลักการสหกรณ์
๗ ประการ
๑. การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ
๒. การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
๓. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
๔. การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
๕. การศึกษา
ฝึกอบรม และข่าวสาร
๖. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
๗. ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล
และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือ การออกกฎหมาย นโยบาย
การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี
ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด
เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน
เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์
การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง
ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์
เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน
นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each
for all and All for each)
ปรัชญาสหกรณ์
การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความรับผิดชอบร่วมกัน
ยึดหลักประชาธิปไตย
ความเสมอภาค
ความเป็นธรรม
การรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการพึ่งพาอาศัยกัน
จริยธรรมสหกรณ์
ความซื่อสัตย์
โปร่งใส
ความรับผิดชอบต่อสังคม
การเอาใจใส่ผู้ด้อยกว่า
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์
สหกรณ์มีเป้าหมายหลักคือการทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกดีขึ้นและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
คือการทำให้เป้าหมายของสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการสหกรณ์
โครงสร้างการบริหารจัดการสหกรณ์
สมาชิกสหกรณ์ประกอบด้วย
บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลในกรณีสหกรณ์ชั้นสูง การสมัครเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า
และการถือหุ้นในสหกรณ์ รวมทั้งสมาชิกคือผู้กำหนดเงื่อนไข หรือข้อบังคับในการดำเนินงานสหกรณ์ในที่ประชุมใหญ่
และที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ
จัดจ้างผู้สอบบัญชี และหน้าที่อื่น ๆ นี่คือการควบคุมดูแลตรวจสอบ
ตามหลักประชาธิปไตยและรับผิดชอบ ร่วมกันของบรรดาสมาชิก
องค์ประกอบการบริหารจัดการ
การเลือกตั้งผู้แทนในการบริหารจัดการองค์กร
และเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของสมาชิก รวมถึงการออกข้อบังคับของสหกรณ์
การมอบหมายนโยบายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไปดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการมีหน้าที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่
คือผู้จัดการสหกรณ์เท่านั้น เป็นผู้ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบ
บริหารสหกรณ์ตามนโยบายที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดก็คือการให้บริการแก่มวลสมาชิกสหกรณ์นั่นเอง
การลงทุนในสหกรณ์
สมาชิกเป็นผู้ออกทุนในสหกรณ์
ด้วยการถือหุ้นเพื่อใช้เงินทุนนั้นในการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดหาบริการด้านต่าง ๆ
ให้แก่มวลสมาชิก หากเงินทุนไม่เพียงพอ สามารถ จัดหาเงินทุนด้วยการกู้ยืม
การขอรับการอุดหนุนจากแหล่ง ต่าง ๆ ได้แต่การบริหารจัดการเงินทุนต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างสินทรัพย์
กับ หนี้สินและทุนสหกรณ์เป็นองค์การเศรษฐกิจ จึงต้องมีความสามารถในการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิผล
และเป็นไปอย่างเปิดเผย มีการตรวจสอบบัญชี และการตรวจสอบกิจการ
ซึ่งสามารถตรวจสอบโดย เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือขบวนการสหกรณ์
โดยจัดจ้างบริษัทเอกชนภายนอกก็ได้
การดำเนินการธุรกิจสหกรณ์
สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายแห่งรัฐ กฎหมายต่าง ๆ รู้วิธีการและ
เทคนิคต่าง ๆ เพราะการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ควบคุมโดยสมาชิกนั้น
ต้องใช้ความชำนาญการอย่างยิ่งในการบริหาร เงินทุนบุคลากร ทรัพยากร