การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีวัด มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้
ตามข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ แห่งกฏกระทรวงว่าด้วย
การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ.๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒ ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ ออกตามความมในมาตรา
๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.
๒๕๐๕ และมาตรา ๓๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ดังนี้
ข้อ ๒๐ วัดใดได้สร้างขึ้นหรือได้ปฏิสังขรณ์จนเป็นหลักฐานถาวร
และมีพระภิกษุพํานักอยู่ประจําไม่น้อยกว่าห้ารูปติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
หากประสงค์ จะขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้เจ้าอาวาสแห่งวัดนั้ นรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาไปยังผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
เมื่อผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดได้รับรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามวรรคหนึ่ง
ให้ ขอความเห็นจากเจ้าคณะตําบล เจ้าคณะอําเภอ นายอําเภอ และเจ้าคณะจังหวัดที่เกี่ยวข้อง
แล้วเสนอรายงานพร้อมความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นสมควรให้วัดใดขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาให้เสนอรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาพร้อมความเห็นไปยังเจ้าคณะภาค
เจ้าคณะใหญ่ที่เกี่ยวข้อง และผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เพื่อพิจารณาตามลําดับ
เมื่อเจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่
และผู้อํานวยการสํานักงานพระพุ ทธศาสนาแห่งชาติเห็นสมควรให้วัดใดขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาพร้อมความเห็นเพื่อกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทรงอนุมัติ
แล้วเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนําความกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อไป
ระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่วัดที่สร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อ ๒๑ เมื่อพระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดใดแล้ว ให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุ
ทธศาสนาแห่งชาติรายงานให้มหาเถรสมาคมทราบ แล้วแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ทราบและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งการประกาศการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ให้ผู้ขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาและเจ้าคณะจังหวัดทราบ และให้นายอําเภอท้องที่ที่วัดนั้นตั้งอยู่ดําเนินการปักหมายเขตที่
ดินตามที่ได้พระราชทาน
เอกสารประกอบการพิจารณาการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา
๑.สำเนาหนังสือตั้งวัด ในกรณีสร้างหลัง พ.ศ. ๒๔๘๖ หรือใบรับรองสภาพวัดในกรณีที่สร้างก่อน
พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่กรมการศาสนาออกให้
๒.แผนที่บอกให้รู้ว่าวัดตั้งอยู่ที่ใด
๓.แผนผัง ที่ตั้งวัดและอาคารเสนาสนะในวัดให้ได้มาตราส่วนและรูปที่ดินจะต้องเหมือกันทุกรูป
ที่ดินในเอกสารสิทธิ์ (พิมพ์เขียว)
๔.ภาพถ่ายอุโบสถ (ที่สร้างเสร็จแล้ว หรือกำลังก่อสร้าง) จำนวน ๔ ภาพ
ด้านหน้า, ด้านหลัง ด้านซ้าย และ ด้านวา
๕.ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องที่ จากตำบลและอำเภอใหม่
ขอให้แนบสำเนาเอกสารการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ประกอบด้วย
๖.สำเนาหนังสือสุทธิเจ้าอาวาสพร้อมเซ็นชื่อสำเนาถูกต้อง
๗.สำเนาคำสั่งแต่งตั้งเจ้าอาวาสพร้อมเซ็นชื่อสำเนาถูกต้อง
หมายเหตุ.-
การจัดทำแบบรายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขอให้จัดทำ ๔ ชุด ดังนี้
๑.สำเนาไว้ที่วัดเพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
๒.เก็บไว้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
๓.ถวายเจ้าคณะภาค เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
๔.ส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑ ชุด
แนะนำ..
>>
โหลด แบบรายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
(แบบของ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
ที่มา.-กฏกระทรวงว่าด้วย
การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ.๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒ ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐
*******************
|