2. ขั้นตอนการตั้งวัด
นำเสนอโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐

            การตั้งวัด มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ ตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และ ข้อ ๑๑ แห่งกฏกระทรวงว่าด้วย การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ.๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒ ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ ออกตามความมในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และมาตรา ๓๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ดังนี้

            ข้อ ๙ เมื่อได้สร้ างเสนาสนะขึ้นพร้อมที่จะเป็นที่ พํานักของพระภิ กษุสงฆ์และการประกอบศาสนกิจตามแผนผังที่กําหนดไว้แล้ว ให้ผู้ได้ รับอนุญาตสร้างวั ด ทายาท หรื อผู้แทน ยื่นรายงานการก่อสร้างและจํ านวนพระภิ กษุ ที่ จะอยู่ ประจํ าไม่ น้ อยกว่ าหนึ่ งรู ปเพื่ อขอตั้ งวั ดต่ อผู้ อํ านวยการสํ านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในจังหวัดที่ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดนั้นตั้งอยู่

            ให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจั งหวัดตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของรายงานที่ยื่นขอ ถ้าเห็ นว่ารายงานหรื อการดํ าเนินการตามรายงานนั้นยั งไม่ถูกต้องหรื อไม่ ครบถ้วน ตามหลั กเกณฑ์ที่กําหนดในกฎกระทรวงนี้ ให้แจ้งให้ผู้ยื่นรายงานแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน

            เมื่อรายงานที่ยื่นขอถู กต้องครบถ้วน ให้ผู้ อํ านวยการสํ านักงานพระพุ ทธศาสนาจังหวัดขอความเห็นจากเจ้าคณะตําบล เจ้าคณะอําเภอ นายอําเภอ และเจ้าคณะจังหวัด ที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอรายงานพร้อมความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

            ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจั งหวัดพิจารณาเห็นสมควรให้ตั้งวัดได้ ให้เสนอรายงานพร้อมความเห็นไปยังเจ้ าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่ ที่เกี่ยวข้ อง และผู้อํานวยการสํานั กงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเพื่อพิจารณาตามลําดับ

            ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าคณะภาค เจ้ าคณะใหญ่ และผู้อํานวยการสํ านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นสมควรให้ตั้งวัดได้ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอรายงานพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องการตั้งวัดและการใช้ชื่อวัด

            ในกรณี ที่ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งพิจารณาเห็นสมควรให้ ตั้งวัดและการใช้ ชื่อวัดให้สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินําเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณา

            เมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็ นชอบแล้ว ให้ผู้อํ านวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประกาศตั้งวัดตามชื่อนั้นตามแบบ ว. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ แล้วแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าคณะภาคและเจ้ าคณะใหญ่ ทราบพร้ อมทั้งรายงานให้ นายกรั ฐมนตรีเพื่อทราบ และให้ผู้ว่าราชการจั งหวั ดแจ้งการประกาศตั้งวัดให้ ผู้ขอตั้งวัด เจ้าคณะจังหวัด และผู้ ที่เกี่ยวข้องทราบ และให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประกาศเรื่องการตั้งวัดนั้นในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

            ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ที่ดินที่ตั้งวัดเป็นที่ดินตามข้อ ๖ (๑) (ก) ให้ผู้ มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองหรือทายาทดําเนินการโอนที่ดินพร้ อมทั้งอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ วัดที่ตั้งขึ้นภายในเก้ าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการให้ความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมตามข้อ ๑๐ วรรคสาม

            ในกรณีที่ ที่ดิ นที่ ตั้ งวัดเป็ นที่ดินตามข้อ ๖ (๑) (ข) ให้สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาต ิแจ้งการประกาศตั้งวัดให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้ออกหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ในที่ดินเพื่อสร้างวัดทราบและแจ้งให้วัดที่ตั้งขึ้นปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ในที่ ดินดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

            ให้เจ้าอาวาสวัดที่ตั้งขึ้นบันทึ กประวัติของวั ดนั้ นไว้ เป็ นหลักฐานตามแบบที่ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกําหนด

หลักเกณฑ์ที่สำคัญ ซึ่งจะเน้นเป็นการเฉพาะในขั้นตอนการขอตั้งวัด นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว คือ

            ๑. สถานที่ตั้งวัดและเสนาสนะ จะต้องเป็นวัดที่สร้างขึ้นในที่ดินแปลงที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดนั้น และจะต้องมีเสนาสนะ สิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จ (ตามเงื่อนไข) เป็นหลักฐานมั่นคง เหมาะสมต่อการพำนักประจำของพระภิกษุสงฆ์
           
๒. ชื่อวัด ในการเสนอรายงานขอตั้งวัดจะต้องระบุชื่อวัดที่ขอตั้ง พร้อมชี้แจงเหตุผลประกอบในรายงานขออนุญาตตั้งวัด (ศถ.๓) ให้ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่ายมีความหมาย และชื่อที่ขอตั้งจะต้องผ่านความเห็นชอบจากนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ตามลำดับ
           
ในการตั้งชื่อวัดมีหลักเกณฑ์ดังนี้
           
      ๒.๑. ให้ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน ตามนโยบายของมหาเถรสมาคม โดยให้ตัดคำว่า "บ้าน" ออก ยกเว้นชื่อหมู่บ้านที่มีพยางค์เดียว ให้ใช้คำว่า "บ้าน…" ได้ กรณีมีชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านแล้วให้พิจารณาชื่อวัดที่ผู้เสนอขอตั้งวัดเสนอมา
                 
๒.๒. การขอตั้งชื่อวัดนอกเหนือจากชื่อหมู่บ้านให้ถือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
           
            (๑) กรณีเสนอขอตั้งชื่อวัดตามชื่อภูเขา ถ้ำ หรืออื่น ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปให้พิจารณาตั้งชื่อวัดตามที่เสนอไว้
           
            (๒) กรณีเสนอขอตั้งชื่อวัด ตามชื่อสกุลของผู้ยกที่ดินให้สร้างวัด หรือเพื่อเป็นเกียรติแก่บิดา มารดา ของผู้ยกที่ดินให้สร้างวัด หรือระลึกถึงผู้นำในการสร้างวัดให้พิจารณาตั้งชื่อวัดได้ตามที่เสนอ
           
            (๓) กรณีที่ดินที่ตั้งวัดเป็นที่ดินของส่วนราชการ ถ้าในหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดิน ระบุชื่อวัดไว้ให้ตั้งชื่อวัดตามชื่อที่ปรากฏในหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อสร้างวัด ยกเว้นเพื่อความเหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้ชื่ออย่างอื่น เมื่อประกาศตั้งวัดแล้วให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือเจ้าอาวาส แจ้งให้ส่วนราชการผู้ออกหนังสืออนุญาตทราบ
           
            (๔) กรณีที่ดินที่ตั้งวัด มีการออกเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อนได้รับอนุญาต ให้สร้างวัดและตั้งวัด ให้ตั้งชื่อวัดตามชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งวัด ยกเว้นเพื่อความเหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้ชื่ออย่างอื่นเมื่อประกาศตั้งวัดแล้ว ให้เจ้าอาวาสดำเนินการยื่นแก้ชื่อวัดในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อสำนักงาน ที่เกี่ยวข้องต่อไป
           
            (๕) กรณีเสนอขอตั้งชื่อวัดโดยใช้คำว่า "วัดป่า…" นำหน้า ให้พิจารณาว่าอาณาบริเวณที่ดินที่ตั้งวัดมีสภาพเป็นป่าร่มรื่นหรือไม่ หากมีสภาพเป็นป่าร่มรื่น             ให้พิจารณาใช้ชื่อว่า "วัดป่า…." นำหน้า หรือ "….วนาราม" ต่อท้ายได้
           
       ๒.๓. การตั้งชื่อวัดไม่ควรเกิน ๗ พยางค์ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น
           
     ๒.๔. ไม่สมควรตั้งชื่อวัดโดยใช้คำว่า "วรวราราม" หรือ "วราราม" ต่อท้าย
           
๓. จำนวนพระภิกษุจำพรรษา ไม่น้อยกว่า ๔ รูป และให้เสนอชื่อผู้จะเป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยอายุ พรรษา สังกัดวัดเดิม (ตามหนังสือสุทธิ) โดยพระภิกษุที่จะเป็นเจ้าอาวาสจะต้องมีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ต้องมีอายุพรรษาพ้น ๕ ขึ้นไป
           
๔. ผู้ขอตั้งวัด จะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด กรณีเป็นบุคคลอื่นจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน
           
๕. เอกสารทุกฉบับที่ประกอบเรื่องควรเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์เรียบร้อย และเหมาะสมแก่การเก็บไว้คงทนถาวร เพราะเป็นเอกสารสำคัญที่ทางราชการจะต้องเก็บรักษาไว้
           
๖. เมื่อมหาเถรสมาคมเห็นชอบ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประกาศตั้งวัดอย่างใดแล้ว ถือว่าเด็ดขาด
           
๗. เมื่อได้รับประกาศตั้งวัดที่ถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการเพื่อให้มีการขึ้นทะเบียนวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาส และหากวัดตั้งอยู่ในที่ดินเอกชนหรือประชาชนบริจาค เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่วัด
           
๘. ถ้าทางวัดได้สร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อย หรือสามารถใช้ทำสังฆกรรมได้แล้ว ให้รายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามแบบ ศถ.๗ (ถ้ายังไม่เสร็จต้องรอให้ครบ ๕ ปี)

เอกสารหลักฐานประกอบการขออนุญาตตั้งวัด

            ๑. รายงานการขออนุญาตตั้งวัด (ศถ.๓) ควรพิมพ์หรือเขียนรายละเอียดให้ครบถ้วนและชัดเจน รายการสิ่งปลูกสร้างของวัดให้ลงรายละเอียดทุกรายการที่สร้างขึ้น ถ้ามีหลายรายการจะทำเป็นบัญชีแนบไปต่างหากก็ได้ และให้บอกขนาดราคาสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วย
           
๒. สำเนาหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด
           
๓. ภาพถ่ายอาคารเสนาสนะของวัดที่เป็นฉบับภาพสี พร้อมลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายว่าเป็นเสนาสนะของวัดที่ขอตั้งจริง จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป ควรถ่ายให้เห็นสิ่งปลูกสร้างได้ทั่วถึงชัดเจน ครบทุกรายการ
           
๔. สำเนาหนังสือสุทธิของพระภิกษุที่จะเป็นเจ้าอาวาส ต้องมีอายุพรรษาตั้งแต่ ๕ พรรษาขึ้นไป พร้อมด้วยบัญชีรายชื่อของพระภิกษุที่จะอยู่พำนักประจำ และสำเนาหนังสือสุทธิของพระภิกษุทุกรูป
           
๕. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตตั้งวัด ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด หากมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่อยู่ จะต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ แนบประกอบ กรณีไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ได้รับอนุญาตให้สร้าง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ได้รับอนุญาตสร้าง หรือทายาท พร้อมหลักฐานประกอบ
           
๖. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้ตั้งวัด ซึ่งจะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๖ ไร่ และเป็นสถานที่เดียวกันกับที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด
           
๗. กรณีวัดตั้งอยู่ในที่ดินเอกชนให้แนบหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัด (ศถ.๒) พร้อมหนังสือยินยอมของคู่สมรส(ถ้ามี) กรณีเป็นที่ดินของส่วนราชการ แนบหนังสืออนุญาตที่ส่วนราชการผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้น ๆ ออกให้
           
๘. แผนผังแสดงอาคารเสนาสนะ สิ่งปลูกสร้าง
           
๙. แผนที่แสดงจุดที่ตั้งวัด ให้ระบุชื่อบ้าน ชื่อวัดที่อยู่ข้างเคียงโดยรอบ (รัศมี ๑๐ ก.ม.) เส้นทางคมนาคมโดยสังเขป พร้อมทั้งกำหนดทิศและระยะทางตามหลักการเขียนแผนที่
           
๑๐. ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดถึงแก่กรรม หรือย้ายถิ่นฐาน ให้แนบมรณบัตร หรือหนังสือมอบอำนาจด้วย
           
๑๑. กรณีสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดมีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง ต้องแนบเอกสารการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองของกระทรวงมหาดไทย หรือหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
           
๑๒. สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้อง ลงนามและตำแหน่งรับรองความถูกต้อง


>> แนะนำโหลด แบบรายงานขอตั้งวัด (แบบของ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ)


ที่มา.-
กฏกระทรวงว่าด้วย การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ.๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒ ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐


*******************