กฎมหาเถรสมาคม
ฉบับที่๑๗ 
( .. ๒๕๓๖ )
ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์

******************


                      
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์   ..   ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์   ( ฉบับที่   )   ..   ๒๕๓๕   และมาตรา   ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์   ..   ๒๕๐๕   มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ดังต่อไปนี้

                        ข้อ      กฎมหาเถรสมาคมนี้เรียกว่า   “กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ ( ..   ๒๕๓๖ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์”

                        ข้อ      กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เป็นต้นไป

                        ข้อ      ตั้งแต่วันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยกเลิก

                                    ()   กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ( ..   ๒๕๐๖ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
                                    ()   กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ แก้ไขเพิ่มเติม ( ..   ๒๕๑๕ )

                        บรรดากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ หรือประกาศอื่นใด ในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ในกฎมหาเถรสมาคมนี้   หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับกฎมหาเถรสมาคมนี้   ให้ใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้แทน

หมวด  
บททั่วไป

                        ข้อ   ในกฎมหาเถรสมาคมนี้ “พระอุปัชฌาย์” หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง ให้มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้

                        ข้อ   พระอุปัชฌาย์ มี ประเภท

                                    ()   พระอุปัชฌาย์สามัญ ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่
                                    ()   พระอุปัชฌาย์วิสามัญ ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช

                         ข้อ   พระภิกษุผู้ได้รับตราตั้งพระอุปัชฌาย์อยู่ก่อนใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้คงเป็น พระอุปัชฌาย์   ตามบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้

หมวด 
การแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์

                        ข้อ      ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่ มีกรณีพิเศษ

                        ข้อ      พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

                                    ()   มีตำแหน่งในทางการปกครองชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไป เว้นแต่พระอารามหลวง
                                    ()   มีพรรษาพ้น   ๑๐
                                    ()   ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรืออาพาธเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย
                                    ()   มีประวัติความประพฤติดี
                                    ()   เป็นที่นับถือของประชาชน   ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
                                    ()   เป็นเปรียญหรือนักธรรมเอก   เว้นแต่ในบางท้องถิ่นซึ่งเจ้าคณะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน
                                    ()   มีความสามารถฝึกสอนผู้อยู่ในปกครองให้เป็นพระภิกษุสามเณรที่ดี    ตามพระธรรมวินัย   และสามารถบำเพ็ญกรณียกิจอันอยู่ในหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ได้
                                   
(
)   มีความรู้ความสามารถ ทำอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์

                        ข้อ      ในการแต่งตั้งพระสังฆาธิการผู้ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดเป็น พระอุปัชฌาย์   ให้พิจารณาเลือกพระสังฆาธิการผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติตามข้อ      แล้วรายงานรับรอง ขอแต่งตั้งเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงเจ้าคณะภาค   ดังนี้

                                    ()   ตั้งรองเจ้าคณะจังหวัดหรือเจ้าคณะอำเภอเป็นพระอุปัชฌาย์ให้เจ้าคณะจังหวัด เป็นผู้เสนอรายงานรับรองขอแต่งตั้ง
                                    ()   ตั้งรองเจ้าคณะอำเภอ   หรือเจ้าคณะตำบลเป็นพระอุปัชฌาย์ให้เจ้าคณะอำเภอเป็นผู้รายงาน รับรองขอแต่งตั้ง
                                    ()   ตั้งรองเจ้าคณะตำบล   หรือเจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ให้เจ้าคณะตำบลเป็นผู้ เสนอรายงานรับรองการแต่งตั้ง

                         เมื่อเจ้าคณะภาคได้รับรายงานรับรองขอแต่งตั้งแล้ว   ให้ดำเนินการฝึกซ้อมอบรม  หรือสอบความรู้ตามความในข้อ   ๔๑   เมื่อเห็นเป็นการสมควรแล้ว ให้เสนอรายงานรับรองไปยังเจ้าคณะใหญ่ เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ต่อไป

                        ข้อ  ๑๐  ในการแต่งตั้งเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค หรือเจ้าคณะจังหวัด  เป็นพระอุปัชฌาย์      ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือรายงานตามลำดับ  เพื่อสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งตามมติ มหาเถรสมาคม

                        ในการแต่งตั้งเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์   ให้เจ้าคณะจังหวัดพิจารณาเลือกแล้วเสนอรายงานรับรองตามลำดับ  เพื่อทรงแต่งตั้งตามความในวรรคต้น

                        ข้อ   ๑๑    พระสังฆาธิการจะปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ได้ ต่อเมื่อได้รับตราตั้งพระอุปัชฌาย์แล้ว  

หมวด 
หน้าที่พระอุปัชฌาย์

                        ข้อ   ๑๒   พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและเฉพาะภายในเขต ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด      แห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้

                        ข้อ   ๑๓   พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวนกุลบุตรให้ได้คุณลักษณะก่อนจึงรับให้บรรพชาอุปสมบทได้   คุณลักษณะของกุลบุตรนั้น   ดังนี้

                                    ()   เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลหรืออำเภอที่จะบวช   และมีหลักฐาน  มี อาชีพชอบธรรม   หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง   ไม่ใช่คนจรจัด
                                    ()   เป็นสุภาพชน มีความประพฤติดีประพฤติชอบไม่มีความประพฤติเสียหายเช่น   ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษ   เป็นต้น
                                    ()   มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
                                    ()   ไม่เป็นผู้มีทิฎฐิวิบัติ
                                    ()   เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ   และมีร่างกายสมบูรณ์   อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ไม่เป็นคนชรา ไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ   หรือพิกลพิการ
                                    ()   มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
                                    ()   เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเองและถูกต้องไม่วิบัติ

                        ข้อ   ๑๔   พระอุปัชฌาย์ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบทแก่คนต้องห้ามเหล่านี้

                                    ()   คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน
                                    ()   คนหลบหนีราชการ
                                    ()   คนต้องหาในคดีอาญา
                                    ()   คนเคยถูกตัดสินจำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
                                    ()   คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
                                    ()   คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ   เช่น   วัณโรคในระยะอันตราย
                                    ()   คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

                        ข้อ   ๑๕   พระอุปัชฌาย์จะให้บรรพชาอุปสมบทในวัดใด   ต้องได้รับนิมนต์ของเจ้าอาวาสวัดนั้น   ห้ามเข้าไปให้บรรพชาอุปสมบทในวัดของผู้อื่นโดยมิได้รับนิมนต์ของเจ้าอาวาส

                        ข้อ   ๑๖   เจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์จะรับผู้ใดบวช   ต้องมีผู้รับรองและให้ผู้รับรองของผู้ นั้นนำผู้จะบวชมามอบตัวพร้อมด้วยใบสมัครและใบรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบทตามความในข้อ   ๔๑ ซึ่งจะขอได้จากพระอุปัชฌาย์   ก่อนถึงวันบรรพชาอุปสมบทไม้น้อยกว่า   ๑๕   วัน

                        ให้เจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์   สอบสวนผู้จะมาบวชตามความในข้อ   ๑๓   และข้อ   ๑๔ ซึ่งปรากฎตามข้อปฏิญญาในใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท    และสอบถามผู้รับรองตามข้อรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบท   จนเป็นที่เข้าใจถูกต้องตรงกันดีแล้ว จึงรับใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบทและใบรับรอง แล้วดำเนินการฝึกซ้อมผู้จะบวชต่อไป

                        ข้อ   ๑๗   เจ้าอาวาสผู้มิได้เป็นพระอุปัชฌาย์ จะรับผู้ใดบวชในวัดของตนให้นำผู้สมัครขอบรรพชาอุปสมบทนั้น ไปมอบตัวแก่พระอุปัชฌาย์พร้อมทั้งใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท และใบรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบท ก่อนถึง วันบรรพชาอุปสมบทไม่น้อยกว่า   ๑๕   วัน

                        ในกรณีเช่นนี้ ให้พระอุปัชฌาย์ผู้จะรับบวชปฏิบัติตามความในข้อ   ๑๖   วรรค     

                         ข้อ   ๑๘ใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบทและใบรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบทให้ยื่นต่อเจ้าอาวาสผู้มิได้ เป็นพระอุปัชฌาย์      ฉบับ   เพื่อเจ้าอาวาสเก็บรักษาไว้ฉบับหนึ่งและพระอุปัชฌาย์เก็บไว้ฉบับหนึ่ง   ถ้าเจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ยื่นเพียงฉบับเดียว

                        ข้อ  ๑๙  พระอุปัชฌาย์เมื่อให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรแล้ว มีหน้าที่ต้องถือเป็นภารธุระปกครองดูแลสั่งสอนสัทธิวิหาริกของตนให้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ ต้องขวนขวายให้ได้รับการศึกษาพระธรรมวินัย และต้องออกหนังสือสุทธิให้แก่สัทธิวิหาริกตามความในข้อ   ๔๑ เพื่อแสดงสังกัดถิ่นที่อยู่และความบริสุทธิ์แห่งสมณเพศ

                        ถ้าสัทธิวิหาริกผู้มีพรรษายังไม่พ้น      จะไปอยู่ในวัดอื่นใด เมื่อพระอุปัชฌาย์เห็นสมควรก็ ให้สอบถามไปยังเจ้าอาวาสวัดนั้น   เมื่อได้รับคำยืนยันรับรองที่จะปกครองดูแลสั่งสอนแทนได้ จึงให้ทำหนังสือฝากและมอบภารธุระแก่เจ้าอาวาสวัดนั้น   ให้เป็นผู้ปกครองดูแลสั่งสอนแทนตน

                        ถ้าสัทธิวิหาริกผู้นั้นมีพรรษายังไม่พ้น   จะย้ายไปอยู่ในวัดอื่นต่อไปอีกให้เจ้าอาวาสผู้รับฝากปกครองแจ้งไปยังพระอุปัชฌาย์   เพื่อได้ปฏิบัติการตามความในมาตรา      แต่ถ้าพระอุปัชฌาย์นั้นพ้นจากความเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว   ก็ให้เจ้าอาวาสผู้ปกครองปฏิบัติการตามความในวรรค  

ข้อ   ๒๐   พระอุปัชฌาย์ต้องส่งบัญชีสัทธิวิหาริกของตนตามความในข้อ   ๔๑  

หมวด 
เขตพระอุปัชฌาย์    

                        ข้อ   ๒๑   พระอุปัชฌาย์จะให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ภายในเขตที่ระบุไว้ในตราตั้ง หรือเขตอำนาจที่ตนปกครองอยู่ในปัจจุบัน   คือ   ถ้าเป็น

                                    ()   เจ้าอาวาส   ภายในวัดของตน
                                    ()   เจ้าคณะตำบล   ภายในเขตตำบลของตน
                                    ()   เจ้าคณะอำเภอ   ภายในเขตอำเภอของตน
                                    ()   เจ้าคณะจังหวัด   ภายในเขตจังหวัดของตน
                                    ()   เจ้าคณะภาค   ภาคในเขตภาคของตน
                                    ()   เจ้าคณะใหญ่   ภายในเขตหนของตน

                        พระอุปัชฌาย์ที่ดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการมหาเถรสมาคม   ไม่จำกัดเขต

                        ข้อ   ๒๒   ถ้าไม่มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น   พระอุปัชฌาย์ผู้เป็นกิตติมศักดิ์ในตำแหน่งปกครอง  ให้ บรรพชาอุปสมบทได้ในเขต   อนุรูปแก่ตำแหน่งปกครองเดิมของตนตลอดเวลาที่ตนยังสำนักอยู่ในวัด หรือในเขตที่ตนเคยปกครองนั้นเว้นแต่เป็นเจ้าคณะภาคกิตติมศักดิ์ แม้มิได้อยู่ในเขตที่ตนเคยปกครองก็ให้บรรพชาอุปสมบทในเขตที่ตนเคยปกครองนั้นได้

                        ข้อ   ๒๓   พระอุปัชฌาย์ผู้ลาออกจากตำแหน่ง   หรือพ้นจากตำแหน่ง  หรือถูกให้ออกจากตำแหน่งในทางปกครอง   และไม่ได้เป็นกิตติมศักดิ์   แต่ยังคงเป็นเจ้าอาวาส ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ได้เฉพาะในวัดของตน

                        ข้อ   ๒๔   พระอุปัชฌาย์จะให้บรรพชาอุปสมบทนอกเขตของตนได้     ต่อเมื่อเจ้าของเขตขอร้อง   หรือได้ขออนุญาตเจ้าของเขตตามฐานานุรูปดังกล่าวในข้อ   ๒๑   และได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของเขตแล้ว   หรือได้ขอและรับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นครั้งคราว

หมวด 
การระงับหน้าที่พระอุปัชฌาย์  

                        ข้อ   ๒๕   หน้าที่พระอุปัชฌาย์ต้องระงับในเมื่อ

                                    ()   พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครอง     และมิได้เป็นกิตติมศักดิ์ในตำแหน่งนั้น ๆ   หรือถูกให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครอง
                                    ()   ขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ  
                                   
(
)   ถูกเป็นจำเลยในอธิกรณ์ที่มีโทษถึงให้สึก   และอยู่ในระหว่างไต่สวนพิจารณาวินิจฉัย
                                    ()   ถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระอุปัชฌาย์

                         ข้อ   ๒๖ การระงับหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามความในข้อ   ๒๕   () และ () ของ พระสังฆาธิการตำแหน่งต่ำกว่าชั้นเจ้าคณะอำเภอให้พระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชา ของพระอุปัชฌาย์รูปนั้นรายงานตามลำดับจนถึงเจ้าคณะจังหวัด  เพื่อพิจารณาสั่งระงับจากหน้าที่พระอุปัชฌาย์   ถ้าเป็นเจ้าคณะอำเภอ  ให้เจ้าคณะจังหวัดพิจารณาสั่งระงับจากหน้าที่พระอุปัชฌาย์

                        ส่วนพระสังฆาธิการตำแหน่งตั้งแต่เจ้าคณะจังหวัดขึ้นไป   ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือพิจารณาสั่งระงับ

                        ข้อ   ๒๗   การถอดถอนพระอุปัชฌาย์ตามความในข้อ ๒๕ () ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้  ในหมวด      แห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้  

หมวด   
จริยาพระอุปัชฌาย์

ส่วนที่ 
จริยา

                        ข้อ   ๒๘   พระอุปัชฌาย์   ต้องเอื้อเฟื้อ   สังวร   ประพฤติ   ตามพระธรรมวินัย   และกฎหมายอย่างเคร่งครัด   เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีของสัทธิวิหาริก

                        ข้อ   ๒๙   พระอุปัชฌาย์   ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้

                        ข้อ  ๓๐  พระอุปัชฌาย์  ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหรือคำแนะนำชี้แจงของพระสังฆาธิการ ผู้บังคับบัญชา   ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคมนี้

                        ข้อ   ๓๑   พระอุปัชฌาย์   ต้องปฎิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง  มิให้บรรพชาอุปสมบทกรรมวิบัติบกพร่องไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ

 

ส่วนที่ 
การรักษาจริยา

                        ข้อ   ๓๒   ให้พระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น      มีหน้าที่ควบคุมดูแลแนะนำชี้แจง   หรือสั่งพระอุปัชฌาย์ในเขตบังคับบัญชาของตน   ให้ปฏิบัติตามจริยาพระอุปัชฌาย์โดยเคร่งครัด

 

ส่วนที่ 
การละเมิดจริยา

                        ข้อ   ๓๓   พระอปัชฌาย์รูปใด   ปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดจริยาต้องได้รับโทษฐานละเมิดจริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง   ดังต่อไปนี้

                                    ()   ให้ถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระอุปัชฌาย์
                                    ()   ให้ระงับหน้าที่พระอุปัชฌาย์ชั่วคราวไม่เกิน      ปี
                                    ()    เรียกตัวมาอบรมชั่วคราวไม่เกิน      ปี
                                    ()   ให้ทำทัณฑ์บน
                                    ()   ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร

                        ข้อ   ๓๔   การให้ถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระอุปัชฌาย์นั้น จะทำได้ต่อเมื่อพระอุปัชฌาย์ละเมิดจริยาโดยจงใจให้บรรพชาอุปสมบทแก่คนต้องห้ามตามความในข้อ   ๑๔

                        ในกรณีเช่นนี้     ให้พระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชาของพระอุปัชฌาย์นั้น รายงานโดยลำดับจนถึงผู้มีอำนาจแต่งตั้ง เมื่อได้สอบสวนและได้ความจริงตามรายงานนั้นแล้วให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระอุปัชฌาย์

                        ในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่ง  พระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชาเหนือ  อาจสั่งให้พักหน้าที่ พระอุปัชฌาย์ก่อนได้ แต่ถ้าพระอุปัชฌาย์รูปนั้นดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดให้เจ้าคณะจังหวัดเป็นผู้ สั่งพัก

                        ข้อ   ๓๕   พระอุปัชฌาย์รูปใด ละเมิดจริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากที่บัญญัติไว้ในข้อ ๓๔ เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานเบาลงมาสถานเดียว หรือหลายสถานโดยสมควรแก่  ความผิด

                                    ()   ถ้าพระอุปัชฌาย์รูปนั้นดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัด ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานเสนอตามลำดับจนถึงเจ้าคณะภาค   เพื่อพิจารณาสั่งลงโทษ   แล้วรายงานผู้มีอำนาจแต่งตั้งทราบ
                                    ()   ถ้าพระอุปัชฌาย์รูปนั้น   ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการตั้งแต่เจ้าคณะจังหวัดขึ้นไป   ให้ผู้บังคับบัญชารายงานเสนอตามลำดับ   จนถึงผู้มีอำนาจแต่งตั้งเพื่อพิจารณาสั่งลงโทษ

                        ข้อ   ๓๖   ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์เคยถูกลงโทษตามข้อ   ๓๓   ()   ()   และ   () มาแล้วไม่เข็ดหลาบ   กระทำผิดอีก   ให้ลงโทษในสถานที่หนักกว่าโทษเดิม

                        ข้อ   ๓๗   พระอุปัชฌาย์รูปใด   ถูกระงับหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามข้อ   ๒๕   ก็ดี   ถูกระงับหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามข้อ   ๓๓   ()   ก็ดี   ถูกพักหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามข้อ   ๓๔  วรรค      ก็ดี   หากฝ่าฝืนให้ บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรอีก   หรือถูกลงโทษตามความในข้อ   ๓๓   ()   แล้วไม่เข็ดหลาบ   ละเมิดซ้ำอีกให้ถือว่าเป็นการละเมิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง   ฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาตามความในข้อ   ๕๔  () แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่   ๑๖   (..   ๒๕๓๕) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ

                        ในกรณีเช่นนี้   ให้ผู้บังคับบัญชารายงานโดยลำดับ    จนถึงผู้มีอำนาจแต่งตั้งพระสังฆาธิการผู้ เป็นพระอุปัชฌาย์รูปนั้น   เพื่อพิจารณาสั่งถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระสังฆาธิการ  

หมวด 
เบ็ดเตล็ด

                          ข้อ   ๓๘   พระภิกษุรูปใดไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอนจากความเป็นพระอุปัชฌาย์ตามกฎมหาเถรสมาคมนี้ บังอาจให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรต้องระหว่างโทษตามมาตรา  ๔๒   แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์   ..   ๒๕๐๕  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ( ฉบับที่   )   ..   ๒๕๓๕

                        ข้อ   ๓๙   บุคคลผู้ได้รับบรรพชาอุปสมบทตามความในข้อ   ๓๗   และข้อ   ๓๘   ให้ถือว่าบรรพชาอุปสมบทโดยมิชอบ   ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์อันพระภิกษุสามเณรจะพึงได้

                        ข้อ   ๔๐   ในกรณีแต่งตั้งหรือถอดถอนพระอุปัชฌาย์     ให้ผู้แต่งตั้งหรือผู้ถอดถอนแจ้งการแต่งตั้งหรือการถอดถอนไปยังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม

                        ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ด้วยประการใด          ให้พระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตามความในวรรคต้น

                        ข้อ   ๔๑  วิธีปฏิบัติในการฝึกซ้อมอบรม  หรือสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ก็ดี  ในการทำใบสมัคร รับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบทก็ดี  ในการออกหนังสือสุทธิให้แก่สัทธิวิหาริกก็ดี   ในการส่งบัญชี สัทธิวิหาริกก็ดี   ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบมหาเถรสมาคม

                          ตราไว้      วันที่   ๑๗   มีนาคม   ๒๕๓๖

( สมเด็จพระญาณสังวร )
สมเด็จพระสังฆราช    สกลมหาสังฆปริณายก 
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

 

กลับไปหน้า Web วัดท่าไทร
ไป Web ศูนย์พัฒนาคุณธรรมภาคใต้
ไป Web วิทยุชุมชนตำบลท่าทองใหม่
ไป Web ชมรมวีอาร์ร้อยเกาะสุราษฎร์ธานี