อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎมหาเถรสมาคมนี้เรียกว่า กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ว่าด้วยการลงนิคหกรรม
ข้อ
๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์
เป็นต้นไป
ข้อ
๓ นับแต่วันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยงเลิก ข้อ ๓ (๗) ข. แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่
๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖) กำหนดอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๖ และให้ยกเลิกกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ
และให้ยงเลิกข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นเกี่ยวกับคณะสงฆ์ในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในกฎมหาเถรสมาคมนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้
ลักษณะ
๑
บทนิยาม
ข้อ
๔ ในกฎมหาเถรสมาคมนี้
(๑)
พระภิกษุ หมายถึง
ก.
พระภิกษุซึ่งมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์ รวมถึงพระภิกษุซึ่งดำรงสมณศักดิ์ต่ำกว่าชั้นพระราชาคณะ
และ
ข.
พระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ รวมถึงพระภิกษุผู้เป็นกิตติมศักดิ์ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะ
ผู้ดำรงตำแหน่งเทียบพระสังฆาธิการ และผู้ดำรงสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป
(๒)
ความผิด หมายถึงการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย
(๓)
นิคหกรรม หมายถึงการลงโทษตามพระธรรมวินัย
(๔)
ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึงพรคะภิกษุปกตัตตะซึ่งมีสังกัดในวัดเดียวกันและมีสังวาสเสมอกันกับพระภิกษุผู้เป็นจำเลย
(๕)
ผู้เสียหาย หมายถึงผู้ได้รับความเสียหายเฉพาะตัว เนื่องจากกระทำความผิดของพระภิกษุผู้เป็นจำเลย
และหมายความรวมถึงผู้จัดการแทนผู้เสียหายในกรณีดังต่อไปนี้
ก.
ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลโดยตามกฎหมาย หรือตามที่พระภิกษุผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมพิจารณาเห็นสมควรให้เป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหายเฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถ
ซึ่งอยู่ในความดูแล
ข.
ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือต่างบิดาหรือต่างมารดา
เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งผู้เสียหายตายก่อนหรือหลังฟ้องหรือป่วยเจ็บไข้ไม่สามารถจะจัดการเองได้
ค.
ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำแก่นิติบุคคล
(๖)
โจทก์ หมายถึง
ก.
ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องบพระภิกษุต่อพระภิกษุผู้พิจารณาในข้อหาว่าได้กระทำความผิด
หรือ
ข.
พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์ ในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหา
(๗)
จำเลย หมายถึง
ก.
พระภิกษุซึ่งถูกโจทก์ฟ้องต่อพระภิกษุผู้พิจารณา ในข้อหาว่าได้กระทำความผิด
หรือ
ข.
พระภิกษุผู้ถูกกล่าวหาซึ่งตกเป็นจำเลยในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
(๘)
ผู้กล่าวหา หมายถึงผู้บอกกล่าวการกระทำความผิดของพระภิกษุต่อพระภิกษุผู้พิจารณา
โดยที่ตนมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือมิได้เป็นผู้เสียหายและประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
ก.เป็นพระภิกษุปกตัตตะหรือสามเณร
ซึ่งถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระและมีสังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง
ข.
เป็นคฤหัสถ์ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
มีความประพฤติเรียบร้อย มีวาจาเป็นที่ชื่อถือได้ และมีอาชีพเป็นหลักฐาน
(๙)
ผู้แจ้งความผิด หมายถึงพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ซึ่งไม่มีอำนาจลงนิคหกรรมแจ้งการกระทำความผิด
หรือประพฤติการณ์อันเป็นที่น่ารังเกียจสงสัยในความผิดของพระภิกษุซึ่งได้พบเห็นต่อพระภิกษุผู้พิจารณา
(๑๐)
ผู้ถูกกล่าว หมายถึง
ก.
พระภิกษุผู้ถูกกล่าวหาบอกกล่าวการกระทำความผิดต่อพระภิกษุผู้พิจารณา
ข.
พระภิกษุซึ่งถูกแจ้งความผิด แจ้งการกระทำความผิด หรือพฤติการณ์อันเป็นที่หน้ารังเกียจสงสัย
ในความผิดต่อพระภิกษุผู้พิจารณา
(๑๑)
ผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม หมายถึงพระภิกษุผู้พิจารณาและคณะผู้พิจารณา
(๑๒)
เจ้าสังกัด หมายถึงพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ชั้นเจ้าอาวาส เจ้าคณะ
เจ้าสังกัด ซึ่งมีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้กระทำความผิดในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่
(๑๓)
เจ้าของเขต หมายถึงพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ชั้นเจ้าคณะซึ่งเป็นเจ้าของเขตซึ่งมีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้กระทำความผิดในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่
(๑๔)
ผู้พิจารณา หมายถึงเจ้าสังกัดหรือเจ้าของเขตแล้วแต่กรณี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามข้อปฏิบัติเบื้องต้น
(๑๕)
คณะผู้พิจารณา หมายถึงมหาเถรสมาคม และคณะผู้พิจารณาซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งสูงเป็นหัวหน้า
มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวิธีไต่สวนมูลฟ้องแล วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
(๑๖)
คณะผู้พิจารณาชั้นต้น หมายถึงคณะผู้พิจารณาตามความในข้อ ๒๔ ซึ่งประกอบด้วยอันดับ
๗ อันดับ ตามข้อ ๗ มีอำนาจลงนิคหกรรม ตามวิธีไต่สวนมูลฟ้องและวิธีพิจารณาวินิจฉัยและการลงนิคหกรรมชั้นต้น
(๑๗)
คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ หมายถึงคณะผู้พิจารณาตามความในข้อ ๒๕
ซึ่งประกอบด้วยอันดับ ๔ อันดับ มีอำนาจลงนิคหกรรมตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์
(๑๘)
คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกา หมายถึงคณะผู้พิจารณาตามความในข้อ ๒๖ ซึ่งเป็นชั้นและอันดับสูงสุด
ตามข้อ ๒๗ มีอำนาจลงนิคหกรรม ตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา
ลักษณะ
๒
ผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม
ข้อ
๕ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุซึ่งมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์รูปเดียวหรือหลายรูป
ซึ่งมีสังกัดในวัดเดียวกัน
(๑)
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่
ให้เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ
เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสเจ้าสังกัด
(๒)
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุนั้นมิได้สังกัดอยู่ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งประกอบด้วย
เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบลเจ้าของเขต ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะอำเภอ
เลือกเจ้าคณะตำบลในอำเภอนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป เว้นแต่ในกรณีที่ในอำเภอนั้นมีตำบลเดียว
กรณีดังกล่าวในวรรค
(๒) ให้ผู้พิจารณาแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นแก่เจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดเพื่อแจ้งแก่เจ้าคณะและเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดของพระภิกษุนั้นทราบ
ข้อ
๖ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุซึ่งมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์ซึ่งมีสังกัดต่างวัดกระทำความผิดร่วมกัน
(๑)
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุเหล่านั้นสังกัดอยู่ให้เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดของพระภิกษุเหล่านั้นร่วมกันเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาและวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ
และเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัดร่วมกับเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดของพระภิกษุเหล่านั้นรูปใดรูปหนึ่งตามที่เจ้าคณะตำบลและเจ้าคณะอำเภอนั้นพิจารณาเห็นสมควร
(๒)
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุเหล่านั้นมิได้สังกัดอยู่
หรือในเขตจังหวัดที่สังกัดเพียงบางรูป ให้นำความในข้อ ๕ (๒) และวรรคสุดท้ายมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๗ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ซึ่งดำรงตำแหน่งต่างๆ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือรองเจ้าอาวาส ให้นำความในข้อ ๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๒)
เจ้าอาวาส หรือรองเจ้าคณะตำบล
ก.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาไต่สวนการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของผู้พิจารณาชั้นต้นซี่ประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัด
ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะอำเภอ ให้เจ้าคณะอำเภอเลือกเจ้าคณะตำบลในอำเภอนั้นเข้าร่วมอีก
๑ รูป เว้นแต่ในกรณีที่อำเภอนั้นมีตำบลเดียว
ข.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาไต่สวนการาลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ
รองเจ้าคณะอำเภอ และจ้าคณะตำบลเจ้าของเขต ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะอำเภอให้เจ้าคณะอำเภอเลือกเจ้าคณะตำบลในอำเภอนั้นเข้าร่วมอีก
๑ รูป เว้นแต่ในอำเภอนั้นมีตำบลเดียว
(๓)
เจ้าคณะตำบล หรือรองเจ้าคณะอำเภอ
ก.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะจั้งหวัด
รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะอำเภอเจ้าของเขต ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะจังหวัดให้เจ้าคณะจังหวัดเลือกเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดนั้นเข้าร่วมอีก
๑ รูป
ข.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะอำเภอเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะจังหวัด
รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะอำเภอเจ้าของเขต ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะจังหวัดให้เจ้าคณะจังหวัดเลือกจ้าคณะอำเภอในจังหวัดนั้นเข้าร่วมอีก
๑ รูป
(๔)
เจ้าคณะอำเภอ หรือรองเจ้าคณะจังหวัด
ก.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนามของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะภาคเจ้า
รองคณะเจ้า และเจาคณะจังหวัดเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะภาคให้เจ้าคณะภาคเลือกเจ้าคณะจังหวัด
ในภาคนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป
ข.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะจังหวัดเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะภาค
รองเจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะภาคให้เจ้าคณะภาคเลือกจ้าคณะจังหวัดในภาคนั้นเข้าร่วมอีก
๑
(๕)
เจ้าคณะจังหวัด หรือรองเจ้าคณะภาค
ก.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตภาคที่สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองคณะสงฆ์เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด
และให้เจ้าคณะใหญ่เลือกเจ้าคณะภาคในหนนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป
ข.
ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตภาคที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะภาคเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ เจ้าคณะภาคเจ้าของเขต
และให้เจ้าคณะใหญ่เลือกเจ้าคณะภาคในหนนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป
(๖)
เจ้าคณะภาค ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองเป็นผู้พิจารณาส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม
(๗)
เจ้าคณะใหญ่ หรือกรมการมหาเถรสมาคม ให้เป็นอำนาจของสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นผู้พิจารณา
ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม
ตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น
ให้ถือตำแหน่งในขณะถูกฟ้อง หรือถูกกล่าวหา ถ้าดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งให้ถือตำแหน่งสูงเป็นหลักดำเนินการ
กรณีดังกล่าวใน
(๒) และ (๓) ถ้าผู้พิจารณานั้นมิใช่เจ้าสังกัดของจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาให้นำข้อความในข้อ
๕ วรรคสุดท้ายมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนกรณีดังกล่าวใน
(๔) และ (๕) ถ้าผู้พิจารณานั้นมิใช่เจ้าสังกัด ของจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา
ให้แจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นแก่เจ้าสังกัด ซึ่งดำรงตำแหน่งชั้นเดียวกับตนทราบ
ข้อ
๘ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้เป็นกิตติมศักดิ์ก็ดีผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะก็ดี
ผู้ดำรงตำแหน่งเทียบพระสังฆาธิการก็ดี ให้นำความในข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นต่างๆถ้าเป็น
(๑)
พระราชาคณะสามัญหรือชั้นราชซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดหรือมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์
ให้นำความในข้อ ๗ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๒)
พระราชาคณะชั้นเทพ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะภาคหรือมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์
ให้นำความในข้อ ๗ (๕) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๓)
พระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไป ซึ่งดำรงตำแหน่งปกครองสงฆ์หรือมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์
ให้นำความในข้อ ๗ (๗) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น
ถ้าพระราชาคณะรูปนั้นดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส
ให้เจ้าอาวาสเจ้าสังกัดเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้นอีกรูปหนึ่งเฉพาะในกรณีไต่สวนมูลงฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
ข้อ
๑๐ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดร่วมกัน
(๑)
ในระหว่างพระภิกษุดังกล่าวในข้อ ๕ หรือข้อ ๖ กับพระภิกษุดังกล่าวในข้อ
๗ หรือข้อ ๘ และหรือข้อ ๙
(๒)
ในระหว่างพระภิกษุดังกล่าวในข้อ ๗ หรือข้อ ๘ และหรือข้อ ๙
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น
ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๙ มาใช้บังคับแล้วแต่กรณีแต่ถ้าปรากฏว่าเป็นกรณีที่มีผู้พิจารณาหลายรูป
ซึ่งดำรงตำแหน่งสูงต่ำกว่ากันให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งสูง
ถ้าดำรงตำแหน่งชั้นเดียวกัน ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น
ข้อ
๑๑ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุ ซึ่งเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรเมื่อพระภิกษุผู้กระทำความผิดนั้นกลับเข้ามาในราชอาณาจักร
(๑)
ถ้ากลับเข้ามาสำนักอยู่ในเขตที่พระภิกษุผู้กระทำความผิดสังกัดอยู่ให้เป็นอำนาจของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์เจ้าสังกัด
(๒)
ถ้ากลับมาสำนักอยู่ในเขตที่พระภิกษุผู้กระทำความผิดมิได้สังกัดอยู่ให้เป็นอำนาจของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์
ในเขตที่พระภิกษุผู้กระทำความผิดนั้นมาสำนักอยู่
ในกรณีเช่นนี้
ให้นำความในข้อ ๕ ถึงข้อ ๑๐ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ลักษณะ
๓
การลงนิคหกรรม
หมวด ๑
วิธีปฏิบัติเบื้องต้น
ข้อ
๑๒ เมื่อโจทก์ฟ้องพระภิกษุในข้อหาว่าได้กระทำความผิด โดยยื่นฟ้องเป็นหนังสือด้วยตนเองต่อเจ้าอาวาส
หรือเจ้าคณะเจ้าสังกัด หรือเจ้าคณะเจ้าของเขตในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒
แล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ก็ไม่สามารถจะไปยื่นฟ้องด้วยตนเอง จะมีหนังสือมอบให้ผู้ใดผู้หนึ่งไปยื่นฟ้องแทนก็ได้
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น
ให้พระภิกษุผู้พิจารณาตรวจลักษณะของโจทก์และลักษณะของคำฟ้องนั้นก่อน
(๑)
ถ้าปรากฏว่า โจทก์ประกอบด้วยลักษณะตามข้อ ๔ (๖) ก. และคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วยลักษณะ
ดังต่อไปนี้
ก.
ฟ้องโดยระบุการกระทำทั้งหลานที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดอันเกี่ยวกับเวลา
และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ข.
เรื่องที่นำมาฟ้อง มิใช่เรื่องเก่าอันมิได้คิดจะฟ้องมาแต่เดิม
ค.
เรื่องที่นำมาฟ้อง มิใช่เรื่องที่มีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมถึงที่สุดแล้ว
ง.
เรื่องที่นำมาฟ้อง มิใช่เรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฝ่ายราชอาณาจักร
หรือมิใช่เรื่องที่มีคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลฝ่ายราชอาณาจักรถึงที่สุดแล้วเว้นแต่กรณีที่มีปัญหาทางพระวินัย
ในกรณีเช่นนี้
ให้สั่งรับคำฟ้องนั้นไว้เพื่อพิจารณาดำเนินการตามความในข้อ ๑๓
(๒)
ถ้าปรากฏว่า โจทก์หรือคำฟ้องของโจทก์บกพร่อง จากลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวใน
(๑) ให้สั่งไม่รับคำฟ้องนั้น โดยระบุข้อบกพร่องไว้ในคำสั่งและแจ้งให้โจทก์ทราบ
ก่อนสั่งรับคำฟ้อง
ตามความใน (๑) หรือ (๒) ข้างต้นจะสอบถามโจทก์ให้ชี้แจงในเรื่องใดๆซึ่งเกี่ยวกับลักษณะของโจทก์
หรือลักษณะของคำฟ้องนั้นอันเป็นที่สงสัยก็ได้และให้จดคำชี้แจงของโจทก์นั้นไว้ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่พระภิกษุผู้พิจารณาสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว ให้เรียกพระภิกษุซึ่งตกเป็นจำเลย
ตามข้อ ๔ (๗) ก. มาแจ้งคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยทราบแล้วสอบถามและจดคำให้การของจำเลยไว้
โดยให้จำเลยลงซึ่งในคำให้การนั้นด้วย แล้วดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพสมตามคำฟ้องของโจทก์ ให้มีอำนาจสั่งลงนิคหกรรมแก่จำเลย
ตามคำรับสารภาพนั้น
ถ้าเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายในทางแพ่ง
เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันประการใด ให้ทำบันทึกข้อตกลงนั้นไว้
และให้โจทก์จำเลยพร้อมด้วยพยานลงชื่อในบันทึกข้อตกลงนั้นด้อย
(๒)
ถ้าจำเลยให้การแบ่งรับความผิดเบากว่า หรือน้อยกว่าที่ถูกฟ้องก็ดี
ให้การปฏิเสธก็ดี ให้รายงานพร้อมทั้งส่งคำฟ้องต่อคณะผู้พิจารราชั้นต้นที่กำหนดไว้ในลักษณะ
๒ แล้วต่อกรณีเพื่อดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
ข้อ
๑๔ ในกรณีที่พระภิกษุผู้พิจารณาสั่งไม่ให้รับคำฟ้องของโจทก์ ตามความในข้อ
๑๒ (๒) ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ โจทก์มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะผู้พิจารราชั้นต้นแล้วแต่กรณีโดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเป็นหนังสือผู้ออกคำสั่งภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันทรายคำสั่งนั้น และให้ผู้ออกคำสั่งส่งอุทธรณ์คำคำสั่งนั้นไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแล้วแต่กรณีภายใน
๑๕ นับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่ง
เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นได้รับอุทธรณ์คำสั่งนั้นแล้ว
ให้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่ง
เมื่อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสร็จแล้วให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังผู้ออกคำสั่ง
เพื่อแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นแก่โจทก์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้น
ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยสั่งให้รับคำฟ้องนั้น
ให้ผู้ออกคำสั่งดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ ต่อไป ถ้าวินิจฉัยสั่งไม่ให้รับคำฟ้องนั้น
ให้เป็นอันถึงที่สุด
ข้อ
๑๕ เมื่อมีผู้กล่าวหาบอกกล่าวการกระทำความผิดของพระภิกษุ โดยยื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือด้วยตนเอง
ต่อเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะสังกัด หรือเจ้าคณะของเขต ในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้เป็นลักษณะ
๒ แล้วแต่กรณี
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น
ให้พระภิกษุผู้พิจารณาตรวจลักษณะของผู้กล่าวหาตามข้อ ๔ (๘) ก.
และลักษณะของคำกล่าวหาโดยอนุโลมตามลักษณะของคำฟ้องดังที่ได้กำหนดไว้ในข้อ
๑๒ (๑) ก่อน
(๑)
ถ้าปรากฏว่าผู้กล่าวหาและคำกล่าวนั้นต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในวรรคต้นให้สั่งรับคำกล่าวหาไว้พิจารณาดำเนินการตามความในข้อ
๑๓ โดยอนุโลม ถ้าผูกถูกกล่าวหาให้การแบ่งรับความผิดเบากว่าหรือน้อยกว่าที่ถูกกล่าวหาก็ดี
ให้การปฏิเสธก็ดี ตามความในข้อ ๑๓ (๒) และเมื่อได้ไต่สวนมูลคำกล่าวหาแล้ว
ปรากฏว่าคำกล่าวหานั้นไม่มีมูลให้เป็นอันถึงที่สุดโดยอนุโลมตามความในข้อ
๒๑ (๒)
(๒)
ถ้าปรากฏว่าผู้กล่าวหาหรือคำกล่าวหานั้นพกพร่องจากลักษณะดังกล่าวในวรรคต้น
ให้สั่งไม่รับคำกล่าวหานั้น โดยระบุข้อพกพร่องไว้ในคำสั่งและแจ้งให้ผู้กล่าวหาทราบแต่ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ
ให้สั่งไม่รับคำกล่าวหานั้นโดยความเห็นชอบของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
ตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี คำสั่งไม่รับคำกล่าวหาดังกล่าวนั้นให้เป็นอันถึงที่สุด
วิธีปฏิบัติก่อนสั่งรับคำกล่าวหาหรือไม่รับคำกล่าวหา
ให้นำความในข้อ ๑๒ วรรคท้ายมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๖ เมื่อพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ได้พบเห็นพฤติการณ์อันเป็นที่หน้ารังเกียจสงสัยในความผิดของพระภิกษุ
หรือพบเห็นการกระทำความผิดของพระภิกษุ
(๑)
ถ้าผู้พบเห็นนั้น ไม่มีอำนาจลงนิคหกรรม ให้แจ้งพฤติการณ์หรือการกระทำความผิดที่ได้พบเห็นนั้นเป็นหนังสือไปยังเจ้าอาวาส
หรือเจ้าคณะเจ้าสังกัดหรือเจ้าคณะเจ้าของเขตในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒
แล้วแต่กรณีเพื่อดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ โดยอนุโลม ถ้าผู้ถูกกล่าวหาให้การแบ่งรับความผิดเบากว่าหรือน้อยกว่าที่ถูกกล่าวหาก็ดี
ให้การปฏิเสธก็ดีตามความในข้อ ๑๓ (๒) และเมื่อได้ไต่สวนมูลคำแจ้งความผิดนั้นแล้วปรากฏว่าคำแจ้งความผิดนั้นไม่มีมูลให้เป็นอันถึงที่สุดโดยอนุโลมตามความในข้อ
๒๑ (๒)
(๒)
ถ้าผู้พบเห็นนั้น เป็นเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะสังกัด หรือเจ้าคณะเจ้าของเขตในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นผู้พิจารรามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒
แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.
ในกรณีที่พบเห็นพฤติการณ์อันเป็นที่หน้ารังเกียจสงสัยในความผิดให้ดำเนินการตามความในข้อ
๑๓ โดยอนุโลม ถ้าพระภิกษุผู้ต้องสงสัยในความผิดนั้นให้การแบ่งรับความผิดเบากว่าหรือน้อยกว่าที่ถูกรังเกียจสงสัยก็ดี
หรือให้การปฏิเสธก็ดี ให้ดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ โดยอนุโลม และเมื่อได้ไต่สวนแล้ว
ปรากฏว่าพฤติการณ์อันเป็นที่หน้าสงสัยในความผิดนั้นไม่มีมูล ให้เป็นอันถึงที่สุด
โดนอนุโลมตามความในข้อ ๒๑ (๒)
ข.
ในกรณีที่พบเห็นความผิดโดยประจักษ์ชัด ให้มีอำนาจสั่งลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้กระทำความผิดนั้น
โดยบันทึกพฤติการณ์และความผิดพร้อมด้วยคำสั่งลงนิคหกรรมนั้นไว้เป็นหลักฐาน
และให้พระภิกษุผู้ถูกลงนิคหกรรมลงชื่อรับทราบไว้ด้วย
คำสั่งลงนิคหกรรมตามความในข้อ
(๒) ข. ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ พระภิกษุผู้ถูกลงนิคหกรรมมีสิทธิ์อุทธรณ์และฎีกาได้
แล้วแต่กรณี และให้นำความในหมวด ๓ ส่วนที่ ๓ และส่วนที่ ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
วิธีไต่สวนมูลฟ้อง
ข้อ
๑๗ มูลฟ้อง หมายถึงมูลเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์ ซึ่งฟ้องจำเลยด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ด้วยมูลเหตุที่โจทก์ได้พบเห็นการกระทำความผิดของจำเลยด้วยตนเอง
(๒)
ด้วยมูลเหตุที่โจทก์ได้ยินการกระทำความผิดของจำเลยด้วยตนเองหรือได้ยินคำบอกเล่าที่มีหลักบานอันควรเชื่อถือได้
(๓)
ด้วยมูลเหตุที่รังเกียจสงสัย โดยมีพฤติการณ์อันหน้าเชื่อว่าจำเลยได้กระทำความผิด
ข้อ
๑๘ ในการไต่สวนมูลฟ้อง ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนจากพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นพยานบุคคล
พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ อันอาจให้เห็นข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑)
การกระทำของจำเลยที่โจทก์เอามาฟ้อง ต้องด้วยบทบัญญัติของพระวินัยหรือไม่
(๒)
การฟ้องของโจทก์มีมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๑๗ หรือไม่
ข้อ
๑๙ การไต่สวนมูลฟ้อง ให้กระทำเป็นการลับ และให้นำความในข้อ ๓๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อจะดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นแจ้งวันเวลาและสถานที่ทำการไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์และจำเลยทราบ
พร้อมทั้งส่งสำเนาคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยทราบด้วย
โจทก์ต้องมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องทุกครั้ง
ถ้าไม่มาตามที่ได้รับแจ้งติดต่อกัน ๓ ครั้ง โดยมิได้ชี้แจงถึงเหตุขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
ให้เรื่องเป็นอันถึงที่สุด ส่วนจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือจะไม่มาก็ได้
ข้อ ๒๐ ก่อนไต่สวนมูลฟ้องหรือในระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง
(๑)
ถ้าจำเลยถึงมรณภาพ ให้เรื่องเป็นอันถึงที่สุด
(๒)
ถ้าโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความในข้อ ๔ (๔) ถึงมรณภาพก็ดี
หรือโจทก์ ซึ่งเป็นผู้เสียหายถึงมรณภาพหรือตาย โดยไม่มีผู้จัดการแทนในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ
๔ (๕) ก็ดี ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นแต่งตั้งพระภิกษุผู้เป็นคุณวุฒิรูปใดรูปหนึ่งตามที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นโจทก์แทน
ข้อ
๒๑ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องเสร็จแล้ว ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าปรากฏว่าคำฟ้องเรื่องใดมีมูล ให้สั่งประทับฟ้อง แล้วดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
(๒)
ถ้าปรากฏว่าคำฟ้องเรื่องใดไม่มีมูล ให้สั่งยกฟ้อง และแจ้งให้โจทก์ทราบ
ข้อ
๒๒ คำสั่งยกฟ้อง ตามข้อ ๒๑ (๒)
(๑)
ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ ซึ่งมิใช้คำสั่งของมหาเถรสมาคม โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒๕ แล้วแต่กรณี โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเป็นหนังสือต่อผู้ออกคำสั่งภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้นและให้ผู้ออกคำสั่งส่งอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่ง
เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์คำสั่งนั้นแล้ว
ให้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่ง
เมื่อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสร็จแล้วให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังผู้ออกคำสั่ง
เพื่อแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นแก่โจทก์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง
ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำฟ้องนั้นมีมูล
ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๑ (๑) ต่อไป ถ้าวินิจฉัยว่าคำฟ้องนั้นไม่มีมูล
ให้เป็นอันถึงที่สุด
(๒)
ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ ซึ่งเป็นคำสั่งของมหาเถรสมาคมหรือเป็นกรณีความผิดลหุกาบัติ
ให้เป็นอันถึงที่สุด
หมวด
๓
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
ส่วนที่ ๑
หลักทั่วไป
ข้อ
๒๓ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี ๓ ชั้น คือ
(๑)
ชั้นต้น
(๒)
ชั้นอุทธรณ์
(๓)
ชั้นฎีกา
ข้อ
๒๔ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นตามกำหนดไว้ในลักษณะ
๒ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๕ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์
ซึ่งมีอันดับดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งมีเจ้าคณะอำเภอเป็นหัวหน้า
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะภาค
เจ้าคณะจังหวัด และรองเจ้าคระจังหวัดเจ้าสั่งกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะจังหวัดให้เจ้าคณะภาคพิจารณาเลือกเจ้าคณะจังหวัดในภาคเดียวกันเข้าร่วมอีก
๑ รูป
(๒)
ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นหัวหน้า
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะใหญ่
เจ้าคณะภาค และรองเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะภาคให้เจ้าคณะใหญ่พิจารณาเลือกเจ้าคณะภาคในหนเดียวกันเข้าร่วมอีก
๑ รูป
(๓)
ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งมีเจ้าคณะภาคเป็นหัวหน้า
ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคในหนนั้น
ที่มิได้เข้าร่วมในการพิจารณาชั้นต้น ซึ่งเจ้าคณะใหญ่พิจารณาเลือกอีก
๒ รูป
(๔)
ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งมีเจ้าคณะใหญ่เป็นหัวหน้า
ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม
ข้อ
๒๖ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม
ข้อ
๒๗ คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการาลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใด
ให้เป็นอันถึงที่สุด
ส่วนที่
๒
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ข้อ
๒๘ ก่อนดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยการลงพิจารณา โดยเฉพาะในกรณีที่มีผู้กล่าวหาตามความในข้อ
๑๕ (๑) หรือในกรณีที่มีผู้แจ้งความผิดตามความในข้อ ๑๖ (๑) หรือในกรณีตามความในข้อ
๑๖ (๒) ก. ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น แต่งตั้งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิรูปใดรูปหนึ่งตามที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์
ในกรณีเช่นนี้
ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นส่งสำเนาคำกล่าวหา หรือคำแจ้งความผิดรวมทั้งสำเนาบันทึกถ้อยคำสำนวนที่มีอยู่ให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์
ข้อ
๒๙ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้กระทำในที่พร้อมหน้าโจทก์จำเลยเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาฟังการพิจารณาตามกำหนดที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนัดหมายไว้
โยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นทราบก่อนถึงวันที่นัดหมาย
ให้ถือว่าฝ่ายนั้นหรือทั้งสองฝ่ายสละสิทธิเข้าฟังการพิจารณา คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการพิจารณาต่อไปตามที่เห็นสมควร
(๒)
โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องที่จะมาฟังการพิจารณาตามกำหนดไม่ได้
และคณะผู้พิจารณาชั้นต้นพิจารณาไม่เห็นสมควรอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา
(๓)
โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ก่อความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในที่พิจารณา
และคณะผู้พิจารณาชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์หรือจำเลยนั้นออกไปจากที่พิจารณาตามความในข้อ
๓๐ วรรค ๒ คณะผู้พิจารราชั้นต้น มีอำนาจดำเนินการพิจารณาต่อไปตามที่เห็นสมควร
ข้อ
๓๐ การาพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้กระทำเป็นการลับ บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธ์อยู่ในที่พิจารณาคือ
(๑)
โจทก์และจำเลย
(๒)
พยานเฉพาะที่กำลังให้การ
(๓)
ผู้ที่ได้รับเชิญมาเพื่อปฏิบัติการใดๆเกี่ยวกับการพิจารณา
(๔)
พระภิกษุผู้ทำหน้าที่จดบันทึกถ้อยคำสำนวน
ถ้ามีผู้ใดก่อความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในที่พิจารณาหรือในบริเวณที่พิจารณาคณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย
หรือสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่นั้นหรือบริเวณนั้นได้และถ้าเป็นการสมควรจะขออารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรให้มารักษาความสงบเรียบร้อยก็ได้
ข้อ
๓๑ ในการพิจารณาวินิจฉัยการาลงนิคหกรรม ให้รวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย
หรือพยานหลักฐานที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นเห็นสมควรนำมาสืบซึ่งอาจพิสูจน์ให้เห็นความผิด
หรือความบริสุทธิ์ของจำเลย ตามลักษณะแห่งพยานหลักฐานที่กำหนดไว้ในหมวด
๔
เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาดังกล่าวในวรรคต้น
ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
แจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณา แก่โจทก์จำเลย
(๒)
ออกหนังสือเรียกพยานหรือบุคคลใดๆ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ฟ้องนั้นมาให้ถ้อยคำ
(๓)
ออกหนังสือเรียกเอกสารหรือวัตถุสิ่งของจากบุคคลผู้ครอบครองหรือให้ผู้นั้นส่งเอกสารหรือวัตถุสิ่งของ
ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน
(๔)
ทำการตรวจตัวผู้เสียหายหรือตัวจำเลย ตรวจสถานที่ วัตถุสิ่งของหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
โดยบันทึกลายละเอียดการตรวจไว้ด้วย
(๕)
แจ้งให้เจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะในเขตอื่นรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอันอยู่ในเขตนั้น
หรือให้ชี้แจงพฤติการณ์ใดอันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ฟ้องนั้น
(๖)
จดบันทึกถ้อยคำสำนวนการพิจารณาด้วยตนเอง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะให้มีพระภิกษุเป็นผู้จดบันทึกตามถ้อยคำผู้พิจารณาก็ได้
(๗)
ทำรายงานการพิจารณาแต่ละครั้งรวมไว้ในสำเนา ถ้านัดหมายเพื่อปฏิบัติการใดๆ
ให้บันทึกไว้ในรายงานนั้น และให้คู่กรณีมาฟังการพิจารณาลงชื่อรับทราบไว้ด้วย
ในกรณีที่คณะผู้พิจารณารูปใดรูปหนึ่งไม่อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้
โดยมีเหตุสุดวิสัยให้ผู้พิจารณาอีก ๒ รูป ดำเนินการพิจารณาต่อไป
กรณีทีดังกล่าวใน
(๒) (๓) และ (๔) ถ้าเป็นการจำเป็นจะข้อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรเข้าร่วมดำเนินการด้วยก็ได้
ข้อ
๓๒ ในกรณีรวบรวมพยานหลักฐานตามความในข้อ ๓๑ วรรค ๑ ให้สืบพยานโจทก์ก่อนพยานจำเลย
และก่อนสืบพยาน ให้โจทก์และจำเลยเสนอบัญชีระบุพยานหลักฐานของตนต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นล่วงหน้าก่อนถึงวันสืบพยานไม่น้อยกว่า
๑๕ วัน
ถ้าโจทก์หรือจำเลยร้องขอระบุพยานหลักฐานของตนเพิ่มเติมในระหว่างสืบพยานหลักฐานฝ่ายตนยังไม่เสร็จ
ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นใช้ดุลยพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร
เมื่อสืบพยานของฝ่ายใดไปแล้วพอสมควรแก่กรณี
คณะผู้พิจารณาชั้นต้นจะสั่งให้งดการสืบพยานของฝ่ายนั้นที่ยังมิได้สืบ
ซึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นก็ได้
เมื่อสืบพยานของฝ่ายโจทก์และจำเลยเสร็จแล้ว
ถ้าปรากฏว่ายังมีพยานหลักฐานใดๆซึ่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเห็นสมควรสืบเพิ่มเติม
ก็ให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐานนั้นได้
ข้อ
๓๓ ในการสืบพยานตามความในข้อ ๓๒ คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีหน้าที่ซักถามพยานโจทก์และพยานจำเลย
ตามประเด็นข้อกล่าวหาของโจทก์และประเด็นข้อแก้ของจำเลยแล้วแต่กรณี
แล้วเปิดโอกาสให้โจทก์และจำเลยซักถามพยานตามประเด็นดังกล่าวข้างต้น
โดยคณะผู้พิจารณาชั้นต้นถามฝ่ายโจทก์ว่า จะซักถามพยานของตนอย่างไรบ้างหรือไม่
ถ้าโจทก์ซักถามแล้วหรือไม่
ซักถาม ให้ถามฝ่ายจำเลยว่า จะซักค้านพยานโจทก์อย่างไรบ้างหรือไม่
เมื่อฝ่ายจำเลยซักค้านพยานโจทก์แล้ว ให้ถามฝ่ายโจทก์ว่าจะถามติงพยานฝ่ายตนอย่างไรบ้างหรือไม่
ถ้าเป็นพยานฝ่ายจำเลย
ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นถามฝ่ายจำเลยว่า จะซักถามพยานของตนอย่างไรบ้างหรือไม่
ถ้าจำเลยซักถามแล้วหรือไม่ซักถาม ให้ถามฝ่ายโจทก์ว่าจะซักค้านพยานจำเลยอย่างไรบ้างหรือไม่
เมื่อฝ่ายโจทก์ซักค้านพยานจำเลยแล้วให้ถามฝ่ายจำเลยว่าจะถามติงพยานฝ่ายตนอย่างไรบ้างหรือไม่
ทั้งนี้ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นบันทึกการซักถาม ซักค้านและถามติง
ดังกล่าวไว้ในสำนวนพิจารณานั้นด้วย
ในการซักถามพยาน
ซักค้านพยาน หรือถามติงพยาน ตามความดังกล่าวข้างต้น
(๑)
ห้ามมิให้โจทก์หรือจำเลยฝ่ายที่อ้างพยาน ใช้คำถามนำเพื่อให้พยานตอบ
(๒)
ห้าสมมิให้โจทก์หรือจำเลยทั้งสองฝ่าย ใช้คำถามอันไม่เกี่ยวกับประเด็นคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน
หรือคำถามที่อาจทำให้พยานต้องถูกฟ้องทางคณะสงฆ์หรือทางราชอาณาจักร
พยานไม่ต้องตอบคำถามที่ต้องห้ามดังกล่าวข้างต้น
และถ้ามีคำถามเช่นนั้นให้คณะให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นเตือนผู้ถามและพยาน
ในกรณีสืบพยานที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนำมาสืบ
เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซักถามพยานแล้ว ถ้าโจทก์หรือจำเลยขออนุญาตซักถามพยานนั้น
คณะผู้พิจารณาชั้นต้นจะอนุญาตให้ซักถามตามประเด็นนั้นก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร
แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายขออนุญาตซักถามก็ให้โจทก์ซักถามก่อน
คำให้การของพยาน
ให้จดไว้แล้วอ่านให้พยานฟัง และให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น พยานกับผู้จดคำให้การของพยานลงชื่อไว้ด้วย
ข้อ
๓๔ เมื่อมีกรณีจำเป็น คณะผู้พิจารณาชั้นต้นอาจสืบพยานโดยวิธีเดินเผชิญสืบในเขตอำนาจของต้น
หรือโยวิธีส่งประเด็นไปให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นในเขตอื่นอันเป็นที่พำนักของพยาน
ทำการสืบพยานอันอยู่ในเขตนั้นก็ได้
ในกรณีส่งประเด็นไปสืบตามความในวรรคต้น
ให้ส่งคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยพร้อมทั้งสำนวนเท่าที่จำเป็นไปยังผู้รับประเด็นเพื่อดำเนินการสืบพยานตามประเด็นนั้น
ก่อนส่งประเด็นไปสืบ
ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นแจ้งให้โจทก์และจำเลยทราบ ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดไม่ติดไปฟังการพิจารณาก็ได้
ผู้รับประเด็นมีอำนาจดำเนินการสืบพยานเช่นเดียวกับผู้ส่งประเด็น
เมื่อมีกำหนดจะสืบพยาน ณ วัน เวลา และสถานที่ใด ให้แจ้งกำหนดการสืบพยานไปยังผู้ส่งประเด็นเพื่อแจ้งให้โจทก์และจำเลยทราบ
เมื่อสืบพยานตามประเด็นเสร็จ ให้ส่งสำนวนคืนมายังผู้ส่งประเด็นโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๓๕ ก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณา ถ้าปรากฏว่า
(๑)
เรื่องที่นำมาฟ้องนั้น ได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อน
(๒)
จำเลยเป็นบ้าคลั่ง เป็นผู้เพ้อถึงไม่รู้สึกตัว กระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้าถึงไม่มีสติสัมปชัญญะ
หรือมีจิตฟั้นเฟือนไม่สมประกอบ ให้รอการพิจารณาไว้ก่อนจนกว่าจำเลยจะหายเป็นปกติ
(๓)
จำเลยถึงมรณภาพ ให้เรื่องเป็นอันถึงที่สุด
(๔)
จำเลยพ้นจากความเป็นพระภิกษุ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีความผิดครุกาบัติ
(๕)
โจทก์ขอถอนฟ้องทั้งหมดหรือเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้ยุติการพิจารณาตามคำขอถอนของโจทก์
เว้นแต่ในกรณีความผิดครุกาบัติ หรือในกรณีที่จำเลยคัดค้านการขอถอนคำฟ้องนั้น
(๖)
โจทก์ไม่มาดำเนินการตามที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนัดหมายไว้ ให้ยุติการพิจารณาเว้นแต่โจทก์จะได้ชี้แจงเหตุผลขัดข้องเป็นหนังสือภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ยุติการพิจารณา
(๗)
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความในข้อ ๔ (๔) ถึงมรณภาพก็ดีหรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมรณภาพหรือตาย
โดยไม่มีผู้จัดการแทน ตามความในข้อ ๔ (๕) ก็ดีให้นำความในข้อ ๒๐
(๒)มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณียุติการพิจารณาตาม
(๕) (๖) ไม่ตัดสิทธิของโจทก์อื่นที่จะฟ้องในเรื่องนั้นและไม่ตัดสิทธิของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นที่จะดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นต่อไปตามที่เห็นสมควร
ข้อ
๓๖ เมื่อมีการสืบพยานทุกฝ่ายเสร็จแล้วให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นดำเนินการวินิจฉัยดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าปรากฏว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
หรือมีเหตุผลที่จำเลยไม่ต้องรับนิคหกรรม ให้วินิจฉัยยกฟ้องของโจทก์
(๒)
ถ้าปรากฏว่า จำเลยได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยเป็นความผิด
และไม่มีข้อยกเว้นโทษอย่างใด ให้วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยตามความผิดนั้น
ข้อ
๓๗ ในการวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามความในข้อ ๓๖ (๒) นอกจากคณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว
ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าปรากฏว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างจากข้อเท็จจริงในคำฟ้องของโจทก์
แต่เป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในฐานความผิดสิกขาบทเดียวกัน ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามสมควรแก่กรณี
(๒)
ถ้าปรากฏว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์สืบสมแต่โจทก์อ้างสิกขาบทผิด
ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามสิกขาบทที่ถูกต้องได้
(๓)
ถ้าปรากฏว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่าง ถึงแม้โจทก์จะมิได้กล่าวไว้ในคำฟ้องให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามความผิดนั้นได้
ข้อ
๓๘ คำวินิจฉัยชั้นต้น ให้มีข้อความสำคัญ ดังต่อไปนี้
(๑)
ชั้นของคำวินิจฉัย
(๒)
สถานที่ ที่วินิจฉัย
(๓)
วัน เดือน ปี ที่วินิจฉัย
(๔)
กรณีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย
(๕)
เรื่องที่ยกขึ้นฟ้อง
(๖)
ข้อหาของโจทก์
(๗)
คำให้การาของจำเลย
(๘)
ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
(๙)
เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัย
(๑๐)
บทบัญญัติแห่งพระวินัยที่ยกขึ้นวินิจฉัย
(๑๑)
คำชี้ขาดให้ยกฟ้อง หรือให้ลงนิคหกรรม
ข้อ
๓๙ คำวินิจฉัยชั้นต้น ให้อ่านให้โจทก์จำเลยฟัง ตามกำหนดวัน เวลาและสถานที่ซึ่งได้นัดหมายไว้
แล้วให้โจทก์จำเลยลงชื่อรับทราบ ถ้าโจทก์หรือจำเลยไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำวินิจฉัยให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นบันทึกไว้ท้ายคำวินิจฉัย
และให้ถือว่าโจทก์หรือจำเลยได้รับทราบแล้ว
ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแจ้งกำหนดการอ่านคำวินิจฉัยแก่โจทก์จำเลยไม่ได้ให้แจ้งแก่ผู้ปกครองสงฆ์
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด เพื่อแจ้งแก่โจทก์จำเลย แต่ถ้าโจทก์เป็นคฤหัสถ์เมื่อใดแจ้งกำหนดนัดหมายไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์แล้วให้ถือว่าได้แจ้งแก่โจทก์นั้นแล้ว
ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาฟังคำวินิจฉัยตามกำหนดที่ได้นัดหมายไว้โดยมิได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก่อนถึงเวลาที่นัดหมายให้อ่านคำวินิจฉัยและให้ถือว่าฝ่ายที่ไม่มาฟังคำวินิจฉัยได้ทราบคำวินิจฉัยนั้นแล้ว
ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มาฟังคำวินิจฉัยโดยมิได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวข้างต้น
ให้ถือว่าทั้งสองฝ่ายนั้นได้ทราบคำวินิจฉัยนั้นแล้ว
ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
หรือทั้งสองฝ่าย ไม่มาฟังคำวินิจฉัย โดยมีหนังสือแจ้งเห๖ขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก่อนถึงเวลาที่นัดหมาย
เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเห็นสมควรจะเลื่อนกำหนดการอ่านคำวินิจฉัยไปวันอื่นก็ได้
โดยแจ้งให้โจทก์จำเลยทราบ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาฟังคำวินิจฉัยตามกำหนดที่นัดหมายในครั้งหลัง
โดยแจ้งเหตุขัดข้องหรือมิได้แจ้งเหตุขัดข้องก็ตาม ให้นำความในวรรค
๓ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๔๐ คำวินิจฉัยชั้นต้น ให้ถึงที่สุดในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ตามความในข้อ ๔๑
(๒)
คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยุติการพิจารณาตามความในข้อ
๔๔
ส่วนที่ ๓
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์
ข้อ
๔๑ คำวินิจฉัยชั้นต้น โจทก์จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัย
โดยให้ระบุข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างอิงไว้โดยย่อ ส่วนข้อพระวินัยที่ยกขึ้นอ้างอิง
ให้แสดงไว้โดยชัดแจนและต้องเป็นข้อพระวินัยที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ในกรณีอุทธรณ์คำวินิจฉัยชั้นต้นตามความในวรรค
๑ ให้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือพร้อมด้วยสำเนาอีกตามจำนวนที่จะต้องส่งแก่อีกฝ่ายหนึ่งต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยนั้น ตามความในข้อ ๓๙
ข้อ
๔๒ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ได้รับอุทธรณ์ตามความในข้อ ๔๑ แล้ว
ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแก้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์นั้น
ถ้าส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เพราะหาตัวไม่พบหรือหลบหนี
หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ หรือได้รับแก้อุทธรณ์แล้ว หรือพ้นกำหนดแก้อุทธรณ์แล้ว
ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นรีบส่งไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
ข้อ
๔๓ ในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์
(๑)
เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์พิจารณาเห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์หรือจำเลยมิได้ยื่นภายในเวลาตามที่กำหนดไว้
ให้วินิจฉัยยกอุทธรณ์นั้นเสีย
(๒)
ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์เห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในปัญหาใดหรือกรณีใด
เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาวินิจฉัย ให้มีอำนาจเรียกพยานมาสืบเองหรือสั่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นสืบให้
เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นสืบพยานแล้วให้ส่งสำนวนมายังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์
เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
(๓)
ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
ให้สั่งให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นปฏิบัติการให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนคืนไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์
(๔)
ในกรณีที่จำเลยผู้หนึ่งอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซึ่งวินิจฉัยให้ลงนิคหกรรมแก่จำเลยหลายรูป
ในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยกลับ
หรือแก้คำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นโดยไม่ลงนิคหกรรมหรือลดนิคหกรรมให้จำเลย
อันเป็นการอยู่ในส่วนลักษณะความผิด คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยอื่นซึ่งมิได้อุทธรณ์
ให้มิต้องถูกลงนิคหกรรมหรือได้ลดนิคหกรรม เช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์
ข้อ
๔๔ ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ ถ้าปรากฏว่า
(๑)
จำเลยถีงมรณภาพ ให้ยุติการพิจารณา
(๒)
จำเลยพ้นจากการเป็นพระภิกษุ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีความผิดครุกาบัติ
ข้อ
๔๕ คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ นอกจากมีข้อความซึ่งกำหนดให้มีคำในวินิจฉัยชั้นต้นตามความในข้อ
๓๘ แล้ว ให้มีข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)
ชื่อ ฉายา นามสกุล อายุ พรรษา สำนัก และสังกัดของผู้อุทธรณ์
(๒)
คำวินิจฉัยให้ยืน ยก แก้ หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นต้น
ข้อ
๔๖ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยเสร็จแล้ว ให้อ่านคำวินิจฉัยโดยมิชักช้า
และจะอ่านคำวินิจฉัยนั้น โดยคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ หรือจะส่งไปให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นอ่านก่อนก็ได้
ในการอ่านคำวินิจฉัยดังกล่าวในวรรคต้น
ให้นำความในข้อ ๓๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๔๗ วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในส่วนที่
๓ นี้ ให้นำความในส่วนที่ ๒ ว่าด้วยวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่กรณี
ข้อ
๔๘ คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ ให้ถึงที่สุดในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
(๑)
โจทก์และจำเลยมิได้ฎีกาตามความในข้อ ๔๙
(๒)
คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกามีคำสั่งให้ยกฎีกาตามความในข้อ ๕๐ วรรค ๒
หรือสั่งให้ยุติการพิจารณาตามความในข้อ ๕๑
ส่วนที่ ๔
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา
ข้อ
๔๙ คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ โจทก์จำเลยมีสิทธิ์ฎีกาได้ในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัย
ส่วนเรื่องข้อเท็จจริงและข้อพระวินัยที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาให้นำความในข้อ
๔๑ วรรค ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ปัญหาข้อเท็จจริงตามความในวรรค
๑ ห้ามมิให้โจทก์จำเลยฎีกาในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑)
คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยยืนตามคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเกี่ยวกับความผิดอย่างอื่น
นอกจากความผิดอันติมวัตถุ
(๒)
คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยยืนตามคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเกี่ยวกับความผิดที่มีการวินิจฉัยลงนิคหกรรมเกินกว่าคำฟ้องของโจทก์ตามความในข้อ
๓๗ (๓) นอกจากความผิดอันติมวัตถุ
(๓)
คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยยืนตามคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
ให้ยกฟ้องของโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
ข้อ
๕๐ วิธีการยื่นฎีกาและการรับส่งฎีกาไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาให้นำความในข้อ
๔๑ วรรค ๒ และข้อ ๔๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าปรากฏว่า
ฎีกาของโจทก์หรือจำเลยประกอบด้วยลักษณะข้อห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ
๔๙ วรรค ๒ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาวินิจฉัยยกฎีกานั้นเสีย
ข้อ
๕๑ วิธีปฏิบัติในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้นำความในข้อ
๔๓ และข้อ ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๕๒ ในกรณีที่มีการฎีกาในปัญหาพระวินัย โดยไม่มีการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยปัญหาพระวินัยนั้น ให้คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
ข้อ
๕๓ การทำคำวินิจฉัยชั้นฎีกา และการอ่านคำวินิจฉัยชั้นฎีกา ให้นำความในข้อ
๔๕ และข้อ ๔๖ มา ใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๕๔ วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา นอกจากกำหนดไว้แล้วในส่วนที่
๔ นี้ ให้นำความในส่วนที่ ๓ ว่าด้วยวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์มาใช้บังคับ
โดยอนุโลมตามควรแก่กรณี
หมวด ๔
วิธีอ้างพยานหลักฐาน
ข้อ
๕๕ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้
พยานหลักฐานที่อ้างนั้น
ต้องเป็นพยานหลักฐานชนิดที่มิได้เกิดจากความจูงใจ มีคำมั่นสัญญา
ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยประการอื่นอันมิชอบ
ข้อ
๕๖ ในการอ้างพยานบุคคล ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน จำเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้
ถ้าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน
จะให้จำเลยเข้าสืบก่อนพยานของฝ่ายจำเลยก็ได้และถ้าคำของจำเลยซึ่งให้การเป็นพยานนั้น
ปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นซักค้านได้
ข้อ
๕๗ ในกรณีอ้างพยานเอกสาร ให้นำต้นฉบับเอกสารนั้นมาอ้าง ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้
จะอ้างสำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความมาเป็นพยานก็ได้
ถ้าพยานเอกสารที่อ้างนั้น
เป็นหนังสือของทางการคณะสงฆ์หรือหนังสือราชการ แม้ต้นฉบับยังมีอยู่
จะส่งสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่ในหนังสือเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น
ถ้าพยานเอกสารที่อ้างนั้น
มิได้อยู่ในความยึดถือของผู้อ้าง ถ้าผู้อ้างแจ้งถึงลักษณะพร้อมทั้งที่อยู่ของเอกสารต่อคณะผู้พิจารณา
ให้คณะผู้พิจารณาเรียกเอกสารนั้นจากผู้ยึดถือ
ข้อ
๕๘ ในการอ้างสิ่งใดเป็นพยานวัตถุ ให้นำสิ่งนั้นมายังคณะผู้พิจารณา
ถ้านำมาไม่ได้ ให้คณะผู้พิจารณาทุกรูปหรือมอบหมายให้ผู้พิจารณารูปใดรูปหนึ่งไปตรวจดูรายงานยังที่ที่พยานวัตถุนั้นตั้งอยู่
ตามเวลาและวิธีซึ่งคณะผู้พิจารณาหรือผู้พิจารณาเห็นสมควรตามลักษณะแห่งพยานวัตถุ
ข้อ
๕๙ ผู้ใดโดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตาม มีความชำนาญพิเศษในการใดๆ เช่น
ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ หรือการแพทย์ และความเห็นของผู้นั้นอาจเป็นประโยชน์ในการไต่สวนมูลฟ้อง
หรือการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ซึ่งอาจเป็นพยานในกรณีต่างๆเป็นต้นว่า
ตรวจร่างกาย หรือจิตของผู้เสียหาย ตรวจลายมือทำการทดรอง หรือกิจการอย่างอื่นๆ
คณะผู้พิจารณาจะให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้
แต่ต้องให้มาเบิกความประกอบหนังสือนั้นและต้องส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวแล้วแก่โจทก์และจำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
๓ วัน ก่อนวันเบิกความ
เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ชำนาญการพิเศษ
ถ้าหากมี่ได้ในฝ่ายคณะสงฆ์ จะขอจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรก็ได้
ข้อ
๖๐ ในกรณีที่โจทก์จำเลยหรือผู้ใด ซึ่งจะต้องให้การหรือส่งพยานหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งอันประกอบด้วยลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้อความหรือเอกสาร ซึ่งยังเป็นความลับในการคณะสงฆ์ หรือในราชการ
(๒)
ความลับหรือเอกสารลับ ซึ่งได้มาหรือทราบเนื่องด้วยปกติธุระหรือหน้าที่ของเขา
(๓)
วิธีการ แบบแผน หรืองานอย่างอื่น ซึ่งมีกฎหมายควบคุมมิให้เปิดเผย
โจทก์
จำเลยหรือผู้นั้นอาจปฏิเสธไม่ยอมให้การ หรือส่งพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางการคณะสงฆ์
ทางราชการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น
กรณีดังกล่าวข้างต้น
คณะผู้พิจารณาอาจแจ้งให้ทางการคณะสงฆ์ ทางราชการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น
มาชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่สมควรให้การหรือส่งพยานหลักฐานดั้งกล่าวนั้น
โดยชัดแจ้งต่อคณะผู้พิจารณา
หมวด ๕
วิธีบังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรม
ข้อ
๖๑ เมื่อจำเลยรูปใดต้องคำวินิจฉัยให้รับนิคหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งถึงที่สุดแล้วให้คณะผู้พิจารณาซึ่งอ่านคำวินิจฉัย
แจ้งผลการวินิจฉัยแก่ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดของจำเลยรูปนั้นทราบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้น
ข้อ
๖๒ ถ้าจำเลยดังกล่าวในข้อ ๖๑ มี่ยอมรับนิคหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่ยอมรับนิคหกรรมตามคำวินิจฉัยให้สึก ไม่สึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับคำวินิจฉัย
อาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ซึ่งกำหนดโทษอาญาไว้ในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๕
(๒)
ไม่ยอมรับนิคหกรรมตามคำวินิจฉัยไม่ถึงให้สึก ให้ผู้บังคับบัญชารายงานโดยลำดับถึงมหาเถรสมาคม
เมื่อมหาเถรสมาคมวินิจฉัยและมีคำสั่งให้สละสมณเพศแล้วไม่สึกภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้ทราบคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา
๒๗ วรรค ๒ ซึ่งกำหนดโทษอาญาไว้ในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๕
ในกรณีเช่นนี้
ให้พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดของจำเลยรูปนั้นขออารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร
หมวด ๖
เบ็ดเตล็ด
ข้อ
๖๓ โจทก์หรือจำเลย จะแต่ตั้งผู้หนึ่งผู้ใดให้ว่าต่างหรือแก้ต่างในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมิได
ข้อ
๖๔ บรรดาเอกสารสำนวนเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องและการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเป็นความลับ
เฉพาะคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของผู้พิจารณาหรือคณะผู้พิจารณา ถ้าโจทก์จำเลยจะขออนุญาตคัดสำเนาเพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์หรือฎีกา
ให้ผู้พิจารณาหรือคณะพิจารณาอนุญาต โดยให้อยู่ในความควบคุมของผู้อนุญาตและให้ผู้อนุญาตลงนามไว้ด้วย
การโฆษณาเอกสารตามความในวรรคต้น
จะกระทำได้โดยอนุมัติมหาเถรสมาคม
ข้อ
๖๕ พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ทุกชั้น มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในกรณีไต่สวนมูลฟ้อง
และในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมที่ได้รับคำร้องขอหรือคำสั่งให้ปฏิบัติ
การใดๆ จากผู้พิจารณาหรือคณะผู้พิจารณาแล้วแต่กรณี
ตราไว้
ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
หมายเหตุ.-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎมหาเถรสมาคมฉบับนี้
คือ
เนื่องจากความในข้อ
๓ (๗) ข.แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖) กำหนดอำนาจหน้าที่ตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งได้กำหนดไว้แล้วในกฎมหาเถรสมาคม
ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม และกฎมหาเถรสมาคม
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้การลงนิคหกรรม
แก่พระภิกษุเป็นไปตามกำหนดไว้ในระเบียบมหาเถรสมาคม และมอบหมายให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ที่ค้างปฏิบัติอยู่ก่อนวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖
บัดนี้
สมควรยกเลิกความในข้อ ๓ (๗) ข. แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๒ (พ.ศ.
๒๕๐๖) กำหนดอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.
๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๙ (ฑ.ศ.
๒๕๐๖) และตราขึ้นเป็นกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม
|