วันเข้าพรรษา
|
|||
พระราชปริยัติบดี
(เอื้อน หาสธมโม ป.ธ.๙,Ph.D.)
วัดสามพระยา กรุงเทพฯ |
|||
****************************************************************
|
|||
ประเพณีการเข้าพรรษาในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแก่พระสงฆ์นั้น | |||
มีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปว่า | |||
ประเพณีของคนอินเดียในสมัยโบราณ เมื่อถึงฤดูฝน ฝนตกชุก น้ำมักจะท่วม เป็นอุปสรรคสำหรับชน | |||
ผู้สัญจรไปมาในระหว่างเมือง เช่น พวกพ่อค้าก็พากันหยุดกิจในฤดูฝนนี้ เพราะไม่สะดวกในการเดินทาง พวกนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา ก็พากันหยุดพัก ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝนนี้ | |||
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงจาริกไปในบ้าน นิคม ชนบท | |||
ราชธานี
น้อยใหญ่เพื่อประกาศพระศาสนา ในกาลเริ่มต้นภิกษุยังมีน้อย เมื่อถึงฤดูฝนพระองค์พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย ทรงหยุดพัก ณ เมืองใดเมืองหนึ่งตลอดฤดูฝน เมื่อฤดูฝนผ่านพ้นไปแล้ว จึงได้เสด็จจาริกประกาศพระศาสนาต่อไป นี้จัดเป็นพุทธจริยาวัตร และพระองค์ยังมิได้บัญญัติให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา ความติฉินนินทาอันใดก็มิได้เกิดมี |
|||
ครั้นจำเนียรกาลผ่านมากุลบุตรทั้งหลายผู้ทีได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์และเกิดศรัทธาเลื่อมใส | |||
ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทมากขึ้น ภิกษุก็มีปริมาณมากขึ้นโดยลำดับ | |||
สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุ ๖ รูป) เมื่อถึงฤดูฝนแล้ว | |||
ก็มิได้หยุดพัก ยังเทียวสัญจรไปมาในบ้าน นิคม ชนบท และราชธานีน้อยใหญ่ เหยียบข้าวกล้าระบัดเขียวให้เกิดความเสียหาย ทำให้สัว์ตัวเล็กน้อยตาย เพราะการไม่รู้จักกาลเทศะของท่านเหล่านั้น ประชาชนจึงพากันติเตียนว่า ไฉนเล่า พระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล เหยียบข้าวกล้าและติณชาติให้ได้รับความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย ? พวกเดียรถีย์และปริพพาชกเสียอีกยังพากันหยุดพักในฤดูฝน ถึงนกยังรู้จักทำรังที่กำบังฝนของตน | |||
พระพุทธองค์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน | |||
ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๑ ห้ามมิให้เที่ยวสัญจรไปมา ต้องอยู่ประจำที่ | |||
วันเข้าพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้มีอยู่ ๒ วัน คือ | |||
๑.ปุริมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาแรก | |||
ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๑ | |||
๒.ปัจฉิมมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาหลัง | |||
ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ | |||
ภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่จะต้องกลับมา ยังสถานที่เดิมภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ | |||
เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะนั้นมี ๔ อย่างดังต่อไปนี้ | |||
๑.สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้
รู้เข้าไปเพื่อรักษาพยาบาล ๒.สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้าไปเพื่อห้ามปราม ๓.มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาะมาปฏิสังขรณ์ ๔.ทายกต้องการบำเพ็ญบุญกุศลส่งคนมานิมนต์ ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของเขาได้ |
|||
แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจลักษณะอนุโลมเข้าในข้อนี้ด้วย | |||
ในเวลาจำพรรษาเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นจะอยู่ต่อไปไม่ได้ และไปเสียจากที่นั้น พรรษาขาด | |||
แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ (ไม่เป็นอาบัติ) มีดังนี้ คือ.- | |||
๑.ถูกสัตว์ร้าย
โจร หรือปีศาจเบียดเบียน ๒.เสนาสนะถูกไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ๓.ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม ลำบากด้วยบิณฑบาต, ในข้อนี้ชาวบ้านอพยพจะตามเขาไปก็ควร |
|||
๔.ขัดสนด้วยอาหาร โดยปกติไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากอันสมควร | |||
(ข้อนี้หากพอทนได้ก็ควรอยู่ต่อไป) | |||
๕.มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม หรือมีญาติมารบกวนล่อด้วยทรัพย์ | |||
๖.สงฆ์ในอาวาสอื่นจวนจะแตกกันหรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อจะห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีได้อยู่ | |||
(ในข้อนี้ ถ้ากลับมาทัน ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ) | |||
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่จำพรรษาในสถานที่บางแห่ง แก่ภิกษุบางรูปผู้มีความประสงค์ | |||
จะอยู่จำพรรษาในสถานที่ต่าง ๆ กัน สถานที่เหล่านั้น คือ | |||
๑.ในคอกสัตว์
(อยู่ในสถานที่ของคนเลี้ยงโค) ๒.เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรอนุญาตให้ย้ายตามไปได้ ๓.ในหมู่เกวียน ๔.ในเรือ |
|||
พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร สถานที่เหล่านั้นคือ | |||
๑.ในโพรงไม้
๒.บนกิ่งหรือคาคบไม้ ๓.ในที่กลางแจ้ง ๔.ในที่ไม่มีเสนาสนะ คือไม่มีที่นอนที่นั่ง ๕.ในโลงผี ๖.ในกลด ๗.ในตุ่ม |
|||
ข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้อีกอย่างหนึ่ง คือ | |||
๑.ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่สมควร
เช่น การมิให้มีการบวชกันภายในพรรษา ๒.ห้ามรับปากว่าจะอยู่พรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น |
|||
อนึ่ง วันเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นกรณียพิเศษสำหรับภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาควรปัดกวาด | |||
เสนาสนะสำหรับจะอยู่จำพรรษาให้ดี ในวันเข้าพรรษา พึงประชุมกันในโรงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาต่อกันและกัน หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา ภิกษุควรอธิษฐานใจของตนเองคือตั้งใจเอาไว้ว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า | |||
อิมสฺมึ อาวาเส อิมัง เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน | |||
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการบูชาปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์และพระเถระผู้ที่ตนเองเคารพนับถือ | |||
อานิสงส์แห่งการจำพรรษา
|
|||
เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง | |||
ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ | |||
๑.เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา
ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์ ๒.เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔.เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ |
|||
และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูเหมันต์ | |||
หรือฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย | |||
สำหรับคฤหัสถ์ ควรปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษเช่นเดียวกัน ควรอธิษฐานใจตนเอง เพื่องดเวนจากสิ่งที่เป็นอกุศลทั้งปวง | |||
สิ่งใดที่จะเป็นทางนำไปสู่หนทางแห่งความเสื่อมก็ควรจะงดเว้นเสีย แล้วตั้งใจสมาทานในการบำเพ็ญกุศลให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถตลอด ๓ เดือน ตามการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ การปฏิบัติขอิงคฤหัสถ์เช่นนี้ เรียกว่า คฤหัสถ์เข้าพรรษา จะเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง การบำเพ็ญกุศลนั้น ถ้าจะทำติดต่อกันไปโดยตลอด ไม่เลือกเฉพาะกาลแล้ว ย่อมจะเป็นศิริมงคลแก่ตนเองมากยิ่งนักแล ฯ |
|||
****************** |
|||
หมายเหตุ.- บทความเรื่อง "วันเข้าพรรษา" นี้ คณะผู้จัดทำเว็บ ได้พิจารณาเห็นว่า เป็นบทความที่ดี มีสาระ มีประโยชน์ | |||
และมีความสมบูรณ์ด้านเนื้อหาและสาระเป็นอย่างยิ่ง จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ให้ได้อ่านกัน ความดี และ บุญกุศลอันใด ที่จะพึงบังเกิดมีเพราะบทความนี้ คณะผู้จัดทำ ขอน้อมถวายแด่เจ้าของบทความ ดังกล่าวข้างต้นนั้นทุกประการ | |||
กลับไปหน้าแรก |