ญาติในทางพระพุทธศาสนานั้น
พระพุทธองค์ได้จำแนกสั้น ๆ ไว้สองจำพวกคือ ญาติโดยสายโลหิตนั้นอย่างหนึ่ง
ญาติโดยทางธรรมนั้นอย่างหนึ่ง ญาติโดยสายโลหิตนั้นคือ สืบสายโลหิตมา
เช่น ปู่ ย่า ตก ยาย นับกันมาแล้วก็เนื่องถึงกัน คนนั้นเป็นปู่ คนนั้นเป็นย่า
คนนั้นเป็นยาย คนนั้นเป็นตา อย่างนี้เรียกว่า เป็นญาติโดยสายโลหิต
ญาติอย่างหนึ่งนั้นหมายถึง ญาติโดยทางธรรมอย่างที่ท่านได้ยินว่า "ญาติธรรม"
หมายถึงธรรมระหว่างญาติ แต่ธรรมระหว่างญาตินั่นแหละ คนที่ไม่ได้เป็นญาติกันเอาไปประพฤติปฏิบัติ
ทำให้เกิดความเป็นญาติขึ้นได้ มีธรรมภาษิตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏอยู่ว่า
"วิสาสา ปรมา ญาตี" ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
ความคุ้นเคยในที่นี้นั้น
หมายถึง ความไว้วางใจกันได้ ในเมื่อมีอะไรแล้วไว้วางใจกันได้จะฝากข้าวฝากของก็ได้
จะไปไหนมาไหนด้วยกันก็ไว้ใจได้ จะสั่งเรื่องอะไรก็ไว้ใจได้ จะให้ช่วยทำอะไรก็ไว้ใจได้
คนอย่างนี้ไม่ต้องเป็นญาติก็เรียกว่าญาติ เพราะว่าบางทีญาตินั้นก็ทำไม่ได้
แต่รนที่ไม่ได้เป็นญาติกันมานั้นทำได้ คนที่เป็นญาติบางที่กลับไม่มีญาติธรรม
คือ ธรรมะระหว่างญาติ ทำให้เกิดความเบาใจกันไม่ได้เลย เพียงแต่นับเนื่องกันโดยสายโลหิตเท่านั้น
แต่ว่าไม่มีความเป็นญาติในทางธรรมเลย คนที่ไม่ได้เป็นญาติกันแต่ว่ามีธรรมะแบบว่าคนเป็นญาติก็กล่าวได้ว่าเป็นญาติ
และญาติอย่างนี้แหละที่สำคัญมาก
๑.พระห้ามญาติ
พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ว่าพระองค์ทรงเป็นญาติและพระองค์ทรงทำอย่างไร ท่านทั้งหลายคงจะได้เคยยิน
เรื่องเจ้าศากยะแย่งน้ำกันทำนา ถึงกับทะเลาะกันยกพวกตีกันสองฝ่าย กษัตริย์ศากยะแย่งน้ำกัน
เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าควรที่จะได้โปรดพระญาติเหล่านั้นอย่าให้รบกัน
อย่าให้ทำลายกัน อย่าให้เบียดเบียนกัน พระองค์ก็เสด็จไปถึงก็ไม่ได้ตรัสว่าอะไร
แต่ว่าให้พระญาติทั้งสองฝ่ายได้เห็นว่าพระพุทธเจ้ามาแล้วพระพุทธเจ้าท่าไม่มีเรือ่งกับใคร
ไม่เป็นศัตรูกับใคร เป็นมิตรกับคนทั้งนั้นเป็นญาติกับคนทั้งนั้น พระองค์ทรงเสด็จไปที่นั้น
ท่านทั้งหลายจึงเห็นพระพุทธรูปมักจะพูดกันว่า พระห้ามญาติ พระห้ามญาติ
คือยกพระหัตถ์ขึ้นทั้งสองข้างเป็นพุทธรูปยืน เอาพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้นมาห้ามญาติทั้งสองฝ่าย
ทั้งฝ่ายขวาฝ่ายซ้ายให้มีความเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ได้สอนอะไรมาก
มีคนไปกราบทูลว่าให้พระองค์เสด็จไปที่อื่นเถิด อย่าไปทรงยินตากแดดตากลมอยู่อย่างนั้น
๒.เงาของญาตินั้นร่มเย็น
พระพุทธเจ้าก็ตรัสเป็นคำที่เป็นคติสอนใจได้มากกว่า
"เงาของญาตินั้นร่มเย็น" เป็นภาษาบาลีย่อ ๆ ง่าย ซึ่งแปลความเป็นไทยแล้วก็ได้ความอย่างนี้
"ร่มเงาของญาตินั้นร่มเย็น" ท่านทั้งหลายลองนึกดูว่า ถ้าญาติดีกันจริง
ๆ แล้ว ญาตินั้นก็ร่มเย็นเหมือนกับต้นไม้ใหญ่ แต่ถ้าญาติไม่ดีก็ตรงกันข้าม
ก็กลายเป็นร้อนอีกเหมือนกัน ถ้าหากว่าเป็นญาติที่ดีก็กลายเป็นความร่มความเย็นอย่างนั้น
การที่จะนับว่าเราเป็นญาติกันหรือไม่เป็นญาติกันนั้น สำคัญอยู่ที่จิตใจ
คือเราต้องมีจิตใจสูง มีจิตใจที่ดีต่อกันเป็นเรื่องสำคัญมาก คนที่ได้เป็นญาติเพียงแต่คบกันเป็นมิตร
ถ้าหากว่าเอื้อเฟื้อกันเรายังคงเคารพนับถือรักใคร่ แต่คนที่เป็นญาติกัน
ถ้าหากว่ามีธรรมต่อกันแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิด สนิทสนมกัน
๓.ธรรมะในหมู่ญาติ
ดั้งนั้น คำสอนชองพระพุทธเจ้าเรื่องธรรมะระหว่างญาตินั้นมีมากให้เห็นว่าเป็ฯญาติแล้วต้องมีธรรมะระหว่างกันและกัน
อย่าสักแต่ว่าเป็นญาติกันโดยสายโลหิตอย่างเดียวเท่านั้น การเป็นแต่เพียงญาติโดยสายโลหิตอย่างเดียวไม่พอ
เพราะบ้างทีอ้างความเป็นญาติฉกฉวยโอกาสโดยความเป็นญาติกันก็มี อย่างนี้ไม่ดี
ถ้าเป็นญาติกันแล้วต้องเอื้อเฟื้อต่อญาติบางคนเป็นญาติกัน พอญาติเจริญรุ่งเรืองก็ไปอิงอาศัยใช้ร่มใช้เงา
ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง แต่ไม่เกื้อหนุนไม่ส่งเสริมไม่สนับสนุนญาติ
แทนที่จะให้ญาตินั้นสูงส่ง ญาตินั้นได้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็ไม่ทำอย่างนั้นกลับมุ่งเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว
ทำให้เกิดภัยเกิดโทษแก่ญาติที่เจริญไปนั้น ได้ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
เรื่องเงินเรื่องทอง ญาติอีกคนหนึ่งเป็นคนร่ำรวย ญาติอีกคนหนึ่งเป็นคนไม่มีเงินหรือมีเงินน้อยหาเงินได้ยาก
ญาติที่มีเงินมากนั้นก็เกื้อกูล แต่ญาติที่มีเงินน้อยนั้นไม่รู้จักคำว่าเกื้อกูล
เกื้อกูลเท่าไร ๆ ก็ไม่พอเกื้อกูลเท่าไร ๆ ก็เหมือนกับว่ายังไม่เกัอกูลเลยคอยเบียดคอยเบียนอยู่อย่างนั้นอย่างนี้แม้เป็นญาติก็เหมือนกับว่าไม่ใช่ญาติ
ญาติมีแต่เผาผลาญล้างผลาญสร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้น คนที่เป็นญาติกันต้องนึกถึงข้อนี้ให้มาก
ถ้าหากว่าไม่นึกถึงข้อนี้ให้ดีแล้ว ก็จะนึกไปได้ว่าคนนี้เป็นญาติกันทั้งที่แต่ช่วยกันไม่ได้
คนนี้เป็นญาติกันทั้งทีแต่ช่วยกันไม่ได้ คนนี้เป็นญาติกันทั้งทีแต่ว่าไม่เห็นจะให้อะไรเลย
คนนี้เป็นญาติกันทั้งทีแต่ว่าประพฤติตนเหมือนกับว่าไม่ใช่ญาติ เราไม่ร่ำไม่รวยเขาก็ไม่คบเขาไม่นับว่าเป็นญาติ
ถ้าคนไหนรวยเขาจึงนับว่าเป็นญาติ ได้ปรากฏพูดกันอยู่อย่างนี้เสมอ ๆ
ไม่ใช่เรื่องอื่นเรื่องของการไม่รู้จักประมาณนั่นเอง ไม่รู้ว่าที่เขาดีเขาเจริญขึ้นมานั้น
เราจะส่งเสริมอย่างไร ส่งเสริมอย่างไรเขาจึงจะเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไปอ้างความเป็นญาติแล้วก็ไปล้างผลาญเผาผลาญ
ทำให้เขาเกิดความเดือดร้อนอย่างนี้มีทั่ว ๆ ไป เรื่องธรรมดานี่แหละ
แต่ว่าต้องคิดกันให้ดี
๔.ลืมญาติ
บางคนก็อีกนั่นแหละ
เมื่อมั่งคั่งสมบูรณ์ข้น เมื่อก้าวหน้าชีวิตก้าวหน้ามียศมีศักดิ์มีอะไรขึ้นไปสูง
ๆ ก็ลืมญาติอย่างนี้ก็มีเหมือนกัน อย่างนี้ก็ไม่ดีเหมือนกัน เป็นฝ่ายที่สูงขึ้นไปเป็นญาติที่ได้รับการยกย่อง
มียศ มีศักดิ์ มีฐานะ มีตำแหน่ง มีหน้าที่ มีอะไรต่ออะไรพร้อม แต่ว่าไม่รู้จักญาติเสียอีกญาติคนนั้นมาก็ไม่รู้จัก
ญาติคนโน้นมาก็ไม่รู้จัก ไม่นับว่าเป็นญาติจะคบแต่คนที่ร่ำ ๆ รวย ๆ
จะคบแต่คนที่มั่งคั่งสมบูรณ์ จะคบแต่คนที่มีเกียรติ มีศักดิ์ มีศรีว่าเป็นญาติของตน
อย่างนี้ก็เหมือนกันไม่ใช่ว่าไม่มี คือว่าคนที่ไม่นับญาติอย่าว่าแต่ญาติเป็นพี่เป็นน้องเป็นพี่ป้าน้าอากันเลย
บางคนนั้นแม้แต่พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับ
พ่อแม่อยู่ที่ ๆ ไม่เจริญอยู่ในท้องถิ่นที่ไม่เจริญ อย่างบ้านเมืองของเรานี่ก็เห็นง่าย
ๆพ่อแม่อยู่ต่างจังหวัดนั้นทำอย่างไรเป็นอย่างไร ท่านทั้งหลายก็เดาได้
ชีวิตของคนต่างจังหวัดนั้นจะนุ่งจะห่มหรืออะไรต่ออะไร คนเขารู้กันทั้งนั้นแหละว่าเป็นคนบ้านนอก
พอเห็นพ่อแม่กลับไม่แลเหลียว บางทีก็แสดงอาการหลาย ๆ อย่างที่ให้เห็นได้ว่าเป็นคนที่ใช้ไม่ได้
คือไม่นับจนกระทั่งพ่อแม่ก็ไม่ยอมรับแล้ว ผู้ให้กำเนิดก็ไม่ยอมรับแล้ว
เคยมีเรื่องเล่ากันสืบ ๆ กันมา ท่านทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน เพราะว่าลูกนั้นไม่ยอมเอื้อเฟื้อต่อแม่
ไม่ยอมเอื้อเฟื้อต่อพ่อ อย่าว่าพี่น้องกันหรือว่าแต่เป็นญาตินับเนื่องถึงกัน
แม้แต่พ่อแม่แท้ ๆ บางคนยังทำลงคอทำอย่างที่ว่านี่แหละ เพราะฉะนั้น
คนเราต่างรู้จกความเป็นญาติ เราต้องรู้จักญาติที่รู้จักพอดี ๆ นั้นอย่างหนึ่ง
แล้วก็รู้จักทำตัวให้เหมาะสมกับความเป็นญาตินั้นอย่างหนึ่ง ทำสองอย่างนี้
เท่านั้นไม่ต้องทำอื่นไกล ถ้าหากว่าเราทำอย่างนี้ได้แล้วก็เอาตัวรอดได้เหมือนกัน
คือถ้าหากว่า พูดถึงเรื่องญาติแล้วก็พูดไปมากไปมาย ก็จะเป็นการกระทบกระทั่ง
บางทีเหมือนกับว่าไปว่ากันหรือไปเสียดสีกัน แต่ที่จริงตั้งคติไว้ในใจคือ
ตังหลักไว้ในใจ ดังที่กล่าวมาแล้วเพียงสองอย่างดังที่กล่าวมานั้นก็พอแล้ว
๕.ญาตินิยม
เรารู้จักเลือกคนที่จะเป็นญาติที่ดี
แล้วก็พยายามที่จะเป็นญาติที่ดีของญาติ ไม่ใช่เป็นญาติที่พึ่งไม่ได้
แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่ว่ารับเรื่องทั้งหมดของญาติมาเป็นเรื่องของเรา
ถ้าคนไหนไม่เป็นญาติต้องเอาไว้ห่าง ๆ คนไหนเป็นญาติต้องเอามาไว้ใกล้ชิด
ถ้าคนไหนเป็นญาติแล้าก้เท่าไรเท่ากันคนไหนไม่เป็นญาติแล้วไม่ได้อย่างนี้ก็ไม่ถูกเหมือนกัน
บางคนมีเหมือนกันอย่างที่กล่าวมาแล้ว ถ้าในหมู่ญาติแล้ว แหม เอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่เหลือกเกินเชียวแต่กลับคนอื่นไม่มีน้ำใจ ต้องมีน้ำใจทั้งต่อคนที่ไม่ใช่ญาติ
ทั้งต่อคนเป็นญาติคนที่เป็นญาตินั้น ต้องตั้งไว้เป็นพิเศษว่าเราจะต้องสงเคราะห์เขา
เราจะต้องเอื้อเฟื้อเขา แต่ว่าต้องพอดีพอเหมาะ ไม่ใช่ว่าเท่าไรก็ไม่พอ
เท่าไรก็ไม่รู้จักอิ่ม เท่าไรก็ไม่พอสักทีรบกวนกันเรื่อย ให้เดือดเนื้อร้อนใจ
๖.ญาติดี
เมื่อทำตนให้เป็นญาติรู้จักเลือกญาติที่ดี
ๆ แล้ว ต้องทำตนให้เป็นญาติที่ดีของญาติอีกด้วย ไม่ใช่คัดแต่ เรื่องญาติฝ่ายเดียว
ว่าต้องเอาแต่ญาติที่ดี แต่ตัวเองนั้น ไม่ทำตนเป็นญาติที่ดีของญาติ
ต้องทำตนให้เป็นญาติที่ดีของญาติด้วย ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ พึ่งได้แค่ไหน
เพียงไรนั้นอีกเรื่องหนึ่งต้องดูว่าเราควรจะให้เขาพึ่งได้สักแค่ไหน
เพียงไร อย่างให้เขาน้อยใจเพราะเขาพึ่งไม่ได้ในเรื่องที่ควรพึ่ง ได้สักแค่ไหน
เพียงไร อย่าให้เขาน้อยใจเพราะเขาพึ่งได้ก็พึ่งไม่ได้ ต้องนึกถึงหลักความเป็นญาติเข้าไว้
ทั้งหลักความเป็นญาติโดยสายโลหิต และญาติโดยธรรม คือธรรมระหว่างญาติ
นึกไว้เสมอจะได้เป็นญาติที่ดีของญาติ ญาติที่ดีของญาตินั้น ญาติทั้งหลายก็เคารพนับถือคนไหนเป็นญาติที่ดีแล้ว
ท่านทั้งหลายลองสังเกตดูเถอะ ญาติเขาสาธุโมทนาสาธุ การชื่นชมยินดีหนักหนา
แต่ว่ามีอีกอย่างหนึ่ง คือ บางคนนั่นไม่รู้จักว่าญาติปรารถนาดี เช่น
สมมติว่าเป็นคนไม่ค่อยทำการทำงาน ได้แต่อิงอาศัย ญาติเตือนเข้า คนที่เป็นญาติเตือนเข้าสอนเข้าก็โกรธ
โมโหหาว่ามาสอน เป็นญาติพึ่งไม่ได้ และก็มาว่ามากล่าวอย่างนั้นอย่างนี้
อย่างนี้ก็มีเหมือนคนเข้าใจผิด บางคนเป็นญาติกันเขาสอนก็ต้องยอมรับฟัง
เขาสอนให้ดีก็ต้องยอมรับฟัง ไม่ใช่ว่าจะนึกแต่เพียงอย่างเดียวว่า เรานี่จนเขาไม่เอากับเรา
เขาไม่คบค้าสมาคมกับเรา เขามีแต่เรื่องจะด่าจะว่าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ต้องนึกว่าไม่ใช่เขาเอาแต่จะด่าจะว่า เขาต้องการที่จะเอื้อเฟื้อเหมือนกัน
แต่เขาต้องดูให้พอเหมาะ พอดีสมความเป็นญาติมีความสำคัญ
ดังที่กล่าวมาพอสมควรนี้
ทำให้เห็นว่า ความเป็นญาติกับความเป็นมิตรนั้น เป็นเรื่องธรรมะในทางพระพุทธศาสนา
ที่เกี่ยวเนื่องถึงกัน คนที่ยังอยู่กันในโลกนี้เป็นคนที่ต้องเกิด แก่
เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งนั้น ก็ต้องสร้างความเป็นมิตรแล้วก็ต้องสร้างความเป็นญาติ
ให้ความเป็นญาติเกิดขึ้นให้ได้ ให้ความเป็นมิตรเกิดขึ้นให้ได้ ความเป็นญาติก็อย่าขาด
ความเป็นมิตรก็อย่างให้ขาด คอยเสริมคอยต่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักเลือกรู้จักทำให้พอเหมาะพอดีแก่ความเป็นญาติอีกเหมือนกัน
|