มหันตภัยธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นกับ
๖ จังหวัดภาคใต้และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมียอดคนเจ็บและเสียชีวิตพอๆ กับภัยจากระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา
และนางาซากิ เป็นครั้งแรก ที่ความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นต่ อมนุษย์พร้อมๆ
กันภายในวันเดียว
ในพระไตรปิฎกไม่เคยบรรยายถึง ความรุนแรงจาก ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน
ยุคพุทธกาล ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในยุคพุทธกาล ก็มีจากภัยแล้ง ที่ประเทศอินเดีย
ไม่มีฝนตกอยู่นาน จนทำให้คนและ สัตว์ตายจำนวนมาก จนกระดูก (ของคนและสัตว์)
ปรากฏขาวเกลื่อน ภัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ผู้คนตายกันมาก ตามที่ปรากฏใน
คัมภีร์ยุคอรรถกถา คือโรคระบาด (ห่าลง) โดยเป็นโรค ที่เกิดจากอมนุษย์
ทำให้มนุษย์หวาดกลัวหนีออกจากเมือง และพระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระอานนท์นำ
น้ำพระพุทธมนต์ไปประพรม
พุทธวิธีการแก้ไขภัยธรรมชาติในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบที่ชาวพุทธในประเทศไทย
นำมาใช้ต่อมาเมื่อเกิดโรคระบาดหลายยุค หลายสมัยในยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์
เช่น พระราชพิธีอาพาธพินาศ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นต้น
ปัญหาที่ชาวพุทธมักจะถามกัน เมื่อเกิดความเสียหาย ผู้คนล้มตายกันมากในลักษณะนี้
คือ "ทำไมจึงเกิดเรื่องรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้น ?"
ชาวพุทธส่วนใหญ่มักตอบว่า เป็นกรรมเก่า ที่กระทำร่วมกันมา
การวิเคราะห์ใน เชิงกฎแห่งกรรม ในลักษณะนี้ ทำให้มองเห็นว่า ผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้เป็นคนไม่ดีมาก่อน
และเพราะเหตุนั้นจึงเป็นเหตุการณ์ที่สาสมแล้วที่ความยุติธรรมเกิดขึ้น
การวิเคราะห์ใน ลักษณะเช่นนี้ใช้กันมาก และเป็นเหตุให้ชาวพุทธ มักไม่ให้ความสนใจปัญหาทางสังคม
เพราะไม่เห็นว่าตนมีส่วนร่วมในเคราะห์กรรมเหล่านั้นด้วย
การแก้ไขปัญหาทางสังคมตามหลักธรรม ในพระพุทธศาสนานั้นคือ
มงคลสูตร เนื่องจากมงคล คือสัญลักษณ์ของความเจริญ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น
มนุษย์แต่ละคน ไม่เคยอยู่ตามลำพัง แต่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเสมอ
ภัยพิบัติทั้งหลายนั้นคืออัปมงคล ซึ่งหากไม่ร่วมกันแก้ไขบำบัดแล้ว
สังคมก็จะอยู่ไม่ได้
มงคลนั้นทำให้มนุษย์มองสู่อนาคต และเห็นว่าอะไรที่ตนเองต้องปฏิบัติบ้าง
เพื่อทำให้อนาคตของ มนุษยชาติดีขึ้น ในฐานะที่ตนเองเป็น มนุษย์คนหนึ่ง
มิใช่ว่าเป็นเพราะกรรมอะไร แต่ควรถามตัวเองว่าเราควรทำกรรมอะไรบ้างที่จะช่วยเหลือเขาได้ต่างหาก
เมตฺตานนฺโท
ภิกฺขุ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2548
|