วิธีถอดถอนพระสังฆาธิการ
นำเสนอโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐ |
การถอดถอนพระสังฆาธิการจากตำแหน่งหน้าที่ เป็นบทบัญญัติเพื่อลงโทษ แก่พระสังฆาธิการผู้ละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง แม้ข้อใดข้อหนึ่ง ตามความในข้อ ๕๔ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ๕ ประการ คือ.-
๑. ทุจริตต่อหน้าที่ ทั้ง ๕ ประการ นี้ เป็นหลักเกณฑ์ให้ดำเนินการถอดถอนพระสังฆาธิการ ส่วนวิธีการปฏิบัตินั้น พอแยกกล่าวได้ดังนี้
๑. ให้ผู้บังคับบัญชารายงานความผิดต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ข้อควรสังเกต พระสังฆาธิการละเมิดจริยาอย่างร้ายแรงข้อใดข้อหนึ่งแล้ว มิใช่จะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ทันที ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวิธีดังกล่าว และได้สั่งถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่แล้ว จึงจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ การสอบสวนนั้น จะทำการเองหรือจะตั้งกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นก็ได้ ถ้าตั้งกรรมการสอบสวน กรรมการย่อมมีหน้าที่เพียงสอบสวนเสนอความเห็นเท่านั้น ผู้มีอำนาจแต่งตั้งต้องพิจารณาชี้ขาดเอง และผลของการพิจารณาย่อมปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
๑. ได้กระทำความผิด ๒. มิได้กระทำความผิด แต่มีมลทินหรือมัวหมอง ถ้าให้ดำรงตำแหน่งต่อไป อาจเสียหายแก่การคณะสงฆ์ (ลงโทษปลดจากตำแหน่งหน้าที่) ๓. มิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินความผิดเลย (จะลงโทษใด ๆ มิได้ แม้ได้สั่งพักจากหน้าที่ไว้ก่อน ก็ต้องสั่งให้กลับดำรงตำแหน่งเดิม) เมื่อได้ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องรีบรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบ จะลงโทษแล้วเก็บเรื่องเสียมิได้ อนึ่ง ยังมีกรณีอื่นที่ให้ถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ได้ คือ
๑) ถูกตำหนิโทษและยังอยู่ในระหว่าง
ละเมิดจริยาในกรณีเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันซ้ำอีก
เอกสารและตัวอย่างเพิ่มเติม |