วิธีแต่งตั้งรองและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
นำเสนอโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐ |
โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้กำหนดหน้าที่เจ้าอาวาสไว้อย่างกว้างขวาง
กล่าวคือครอบคลุมกิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาอย่างทั่วถึง ไม่เพียงแต่ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์จึงกำหนดให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสเพิ่มขึ้นได้ และในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ กำหนดให้ระบุหน้าที่ที่ตนจะมอบหมายให้ปฏิบัติ ไว้ในหนังสือขอแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ข้อนี้แสดงชัดเจนถึงเจตนารมณ์แห่งกฎมหาเถรสมาคมว่า "ต้องการให้รองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสอย่างแท้จริง มิใช่แต่งตั้งเพื่อประดับเกียรติหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด" อันวิธีแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์นั้น ยึดหลักเกณฑ์และวิธีการตามความในข้อ ๖, ๒๖ และ ๒๘ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ดังนี้ ๑.หลักเกณฑ์ อนึ่ง ในหลักเกณฑ์และวิธีการ มิได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า วัดเช่นใด ควรมีรองเจ้าอาวาส วัดเช่นใดควรมีผู้ช่วยเจ้าอาวาส และควรมีได้เท่าใด ข้อนี้ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดผู้พิจารณาแต่งตั้ง หากจะคิดส่วนเฉลี่ย ควรมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาย้อนหลัง ๓ พ.ศ. ไม่น้อยกว่า พ.ศ. ละ ๒๐ รูป ต่อ ๑ รูป หากจะต่ำกว่า ๒๐ รูปไปบ้าง ก็ควรเป็นวัดที่มีเนื้อที่กว้างขวาง มีปริมาณงานมากหรือเจ้าอาวาสอยู่ในวัยชรา และยังไม่เคยมีอยู่แม้แต่รูปเดียว ควรให้รายละเอียดในประวัติพระภิกษุที่ขอแต่งตั้ง (ดูตัวอย่างประกอบ) ข้อมูลเพิ่มเติม |