เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซทส์- สำหรับคนที่กำลังแสวงหาหนทางในการรักษาสุขภาพของตนให้ดีขึ้น
นายแพทย์อีริค แลนเดอร์ นายแพทย์ทหารแห่งกองทัพอเมริกันและเป็นนักชีววิทยาด้านโมเลกุลผู้นำโครงการศึกษายีนส์มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี
แทนที่จะแนะนำผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดีให้ออกกำลังกายวันละ 60 นาที
เขากลับแนะนำให้รู้จักปลีกเวลาสัก 1 ชั่วโมง ในหลายๆ ครั้งต่อ 1 สัปดาห์
เพื่อทำสมาธิ แผ่เมตตา เนื่องจากนายแพทย์ท่านนี้ เชื่อว่าการแผ่เมตตาจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายทำให้สุขภาพดี
แลนเดอร์ได้กล่าวไว้กับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและในหมู่นักวิชาการชาวพุทธที่มาประชุมกันที่สถาบันเอ็มไอที
(สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซทส์)ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ว่า ไม่น่าเชื่อว่าต่อไปนี้อีก
20 ปี นายแพทย์ทหารอเมริกันจะแนะนำให้กำลังกายทางจิตวันละ 60 นาที
จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์
คำทำนายของหมอแลนเดอร์นี้ เป็นตัวชี้กระแสหลักความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มหลงใหลสนใจในศาสตร์ของศาสนาพุทธเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยกตัวอย่าง นักประสาทวิทยาได้แสดงให้เห็นภาพสแกนสมองของพระที่สามารถยกระดับกิจกรรมของสมองซีกซ้ายด้านหน้า
ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ทางบวก แสดงออกมาในแผนภูมิ
ซึ่งใช้เทคนิคที่รู้จักในด้านการทำสมาธิแผ่เมตตา และได้พบว่าในสภาวะสมาธิที่ระดับต่างๆ
กัน พระรูปเดียวกันสามารถทำอะไรก็ได้ แม้กระทั่งในสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้
เช่น พระสามารถอดกลั้นต่อสิ่งเร้าต่างๆ โดยไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงที่ดังเฉียบพลันราวเสียงปืน
พอล เอคแมน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศาสตร์ของอารมณ์ อธิบายระดับการควบคุมได้เช่นนี้ถือว่าเป็น
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
อเลน วอลเลซ อดีตพระและประธานสถาบันการศึกษาเรื่องความมีสติในซานตา
บาร์บารา เชื่อว่า การปฏิบัติของชาวพุทธมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงอารมณ์และความสมดุลของการรับรู้
ทั้งยังมีพลังอำนาจไม่เพียงแต่รักษาความซึมเศร้าและความเจ็บป่วยทางจิตเท่านั้น
วอลเลซกล่าวว่า ทำไมถึงไม่นำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในระบบโรงเรียน
ผู้คนจะได้เรียนดีขึ้น และมีประโยชน์ต่อสารพัดวิชาชีพ เพราะจะทำให้เขามีความสุขมากขึ้น
มีความสมดุลและมีสมาธิมากขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้พบปัญหาที่เด่นชัดอย่างหนึ่งในที่ประชุมคือ
พระที่สภาพจิตที่มั่นคงเหล่านั้นจะต้องผ่านการฝึกความสามารถทางจิตอย่างหนักตลอดช่วงเวลาที่สำคัญของชีวิต
ดาเนียล กิลเบิร์ต ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า
นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ แต่ถ้าจะต้องใช้เวลาฝึกถึง 15 ปี จึงคิดว่าไม่น่าจะช่วยคนส่วนใหญ่ได้
และได้ผู้มีความเห็นคัดค้านว่า อารมณ์บางอย่างซึ่งถือว่าเป็นในทางลบเช่น
ความโกรธหรือความกลัว ก็น่าจะยังมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ในตอนท้ายได้มีการยกตัวอย่าง มาร์ติน ลูเธอร์คิง ( ผู้นำปลดแอกชนผิวดำในประเทศสหรัฐอเมริกา)
เป็นคนขี้ฉุนเฉียว แต่เราก็ได้สิ่งดีๆ มากมาย จากอารมณ์โกรธของเขา
ข้อมูลจาก http://www.thestar.co.za/index.php?fSectionId=132&fArticleId=238488
แปลโดย สุวรรณา เศวตสุนทร
เรียบเรียงโดย บ้านสายรุ้ง
|