"แม่น้ำที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ" ที่เราชาวพุทธควรรู้
นำเสนอโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐


         แม่น้ำสายต่างๆ ในชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และถูกบันทึกลงในพระพุทธประวัติ ที่พอจะประมวลและนำมาให้ได้รับทราบในที่นี้มีดังนี้

         ๑.แม่น้ำกิมิกาฬา เป็นแม่น้ำที่พระมหาสาวกเมฆิยะ ผู้เคยเป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า คราวหนึ่งได้เห็นส่วนมะม่วมริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬน่ารื่นรมย์ จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟัง พระเมฆิยะไปบำเพ็ญเพียรถูกอกุศลวิตกต่าง ๆ รบกวน ในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุติ (การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ) จึงได้สำเร็จพระอรหัต

       ๒. แม่น้ำกกุธานที (ปัจจุบันเรียก ธาธีนที) ไหลผ่านดินแดนระหว่างเมืองปาวากับเมืองกุสินาราแคว้นมัลละ พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า เสด็จลงเสวยและชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทางจากเมืองปาวาไปเมืองกุสินาราในวันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน

       ๓. แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เกิดที่ภูเขาหิมพานต์ มีความยาวถึงประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลเมตร ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคากับยมุนาบรรจบกันเป็นอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่ตั้งของนครและแว่นแคว้นที่มีความสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคามีดังนี้ แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา, แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลาง, แคว้นโกศล ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำคงคาตอนกลาง, แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนา, แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ตรงลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนนครหลวงกัมปิละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา, นอกจากนั้นนครมิถิลา เมืองหลวงของแคว้นวิเทหะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคา ตอนกลาง ตรงข้ามกับแคว้นมคธ

       ๔.แม่น้ำคันธกะ ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของแคว้นวัชชี ส่วนเมืองกุสินารานครหลวงของแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำคันธกะ กับแม่น้ำอจิรวดี (หนึ่งในปัญจมหานที)

       ๕.แม่น้ำโคธาวรี แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี พราหมณ์พาวรีอาจารญ์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุด เขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณพาวรีได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนเดินทางไปถามปัญหาพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ ในแคว้นมคธ

       ๖. แม่น้ำจัมปา เป็นแม่น้ำไหลกั้นแดนระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอังคะ

       ๗.แม่น้ำนัมมทา หรือนัมมทานที เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านแคว้นสุนาปรันตะ พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะและนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

       ๘.แม่น้ำเนรัญชา เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านแคว้นมคธ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา อันเป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์พระมหาบุรุษทรงเลือกที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียร ทรงประทับอยู่ ณ ที่นี้ นานถึง ๖ ปี พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชณิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ในตำบลนี่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแห่งนี้

       ๙.ปัญจมหานที คือแม่น้ำสำคัญ ๕ สาย อันมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมพานต์ (หิมาลัย) ซึ่งแถบเชิงเขาปกคลุมไปด้วยป่าไม้ใหญ่มีฝนตกชุก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายไหลลงมาทางใต้ ปัญจมหานที (หรือปัญจนที) คือ ๑.แม่น้ำคงคา ๒.แม่น้ำยมุนา ๓. แม่น้ำอจิรวดี (หรือแม่น้ำรับดิ) ๔. แม่น้ำสรภู ๕.แม่น้ำมห

       ๑๐.แม่น้ำภาคะรถี แม่น้ำภาคีรถีเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนแม่น้ำภาคีรถีไหลผ่านแคว้นปัญจาละ

       ๑๑. แม่น้ำมหิ แม่น้ำเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที

       ๑๒.แม่น้ำยมุนา แม่น้ำยมุนาเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมุนามีดังนี้ แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำยมุนาและคงคา, แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำยมุนา นครหลงชื่อกรุงโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา, แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบน, แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับตอนบน, แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง

       ๑๓.แม่น้ำโรหิณี เป็นแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นศายะกับแคว้นโกลิยะ แคว้นทั้งสองได้เกิดกรณีพิพาทอันมีมูลเหตุจากการแย่งกันใช้น้ำจากแม่น้ำโรหิณีเพื่อทำการเกษตร จนเกือบจะเกิดสงคราม พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาระงับการวิวาทระหว่างพระญาติทั้ง ๒ ฝ่ายจนสงบลงได้, พระอานนท์ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำประองค์ของพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเมื่อพระอานนท์ดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติทั้งสองฝ่ายคือ ศากยะและโกลิยะ

       ๑๔.แม่น้ำวัคคุมุทา เป็นแม่น้ำที่พระมหาสาวกยโสชะ ผู้เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมงใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมาทา ได้สำเร็จพระอรหัต

       ๑๕.แม่น้ำสรภู เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที

       ๑๖.แม่น้ำสัลลวตี เป็นแม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ นับจากแม่น้ำสัลลวตีเข้ามาถือเป็นเขตมัชฌิมชนบท

       ๑๗. แม่น้ำสินธุ ไหลผ่านแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ดังนี้ แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนบน, แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง, แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสิธุตอนบน,

       ๑๘.แม่น้ำโสนะ แคว้นมคธตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนะกับแคว้นอังคะ โดยมีแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศเหนือ มีภูเขาวินทัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก

       ๑๙.แม่ร้ำหิรัญญวดี เป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม โดยพระพุทธองค์เสด็จไปเมืองกุสินาราในวันที่จะดับขันธปรินิพาน ทรงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีเข้าสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแห่งนี้ ณ สาลวโนทยาน พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแม่น้ำหิรัญวดี ไหลลงไปบรรจบกับแม่น้ำสรภู

       ๒๐.แม่น้ำอจิรวดี เรียกกันในปัจจุบัน ว่า "ราปติ" เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที แม่น้ำอจิรวดี (หรือที่เรียกว่ารับดิ) มีพระนครสาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศลตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำ และจุดที่บรรจบของแม่น้ำอจิรวดีกับแม่น้ำคันธกะเป็นที่ตั้งของนครกุสินาราเมืองหลวงของแคว้นมัลละ

       ๒๑.แม่น้ำอโนมานที ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำอามี อยู่ในบริเวณเขตจังหวัดโครักขปูร์ เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ ไหลเชื่อมต่อกับแม่น้ำอจิรวดี (ปัจจุบันเรียกว่า "ราปติ) แม่น้ำอโนมานที นี้เป็นแม่น้ำมีความสำคัญในพุทธประวัติเมื่อคราวเสด็จออกบรรพชา กล่าวคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยเสด็จออกบรรพชาแล้ว เมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้เสด็จออกในยามดึกพร้อมกับม้ากัณฐกะอัศวราชคู่พระทัย และเป็นสหชาติของพระองค์ด้วย โดยมีนายฉันนะตามเสด็จ เมื่อถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ซึ่งเป็นแม้น้ำกั้นระหว่างพรหมแดนยแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ อยู่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์ ๓๐ โยชน์ ทรงอธิษฐานเพศบรรพชิตที่นี่ พุทธประวัติตอนนี้แสดงไว้ว่า ฆฏิการพรหมนำเครื่องบริขารเพศบรรพชิตมาทูลถวาย เมื่อพระองค์ทรงใช้พระขรรตัดพระเมาลีแล้ว ทรงอธิษฐานว่าหากจะได้ค้นพบสัจธรรมขอให้ผมนี้จงอย่าได้ตกลงมา และได้โยนพระเกศาขึ้นสู่ท้องฟ้า ท้าวสักกะได้รับพระเกศานั้น และนำไปประดิษฐานที่จุฬามณีเจดีย์สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนพระภูษาของพระองค์นั้น ฆฏิการพรหมนำไปประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ ในพรหมโลก

       ๒๒.แม่น้ำอสิคนี หรือจันทรภาค ไหลผ่านแคว้นมัททะนครหลวงชื่อสาคละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำอสิคนีหรือจันทรภาคบุตรแม่น้ำมหานที และแม่น้ำกฤษณาไว้อีกด้วย
------------------------
ภาพประกอบส่วนหนึ่งจากอินเตอร์เนต จึงขออนุโมทนาเจ้าของภาพไว้ ณ ที่นี้

 

 

ที่มา.- เฟชบุ้คพระมหาบุญโฮม


*******************