มีผู้สงสัยและสอบถามมายังแอดมิน(พระมหาบุญโฮม) ว่า "ผู้ถูกคุมประพฤติสามารถเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทได้หรือไม่
?? ขอทราบหลักฐานเพื่ออ้างอิงด้วย"... แหมๆๆ แอดมินมีความรู้สึกว่ายังกะข้อสอบเลย
แต่เมื่อถามมาก็ต้องตอบ ตามหลักฐานซึ่งมีอยู่ และเมื่อตอบแล้วเลยถือโอกาสเอามาลงเฟช
เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะอีกครั้งหนึ่งครับ
คำตอบก็คือ "ผู้ถูกคุมประพฤติไม่สามารถเข้ารับการบรรพชาอุปสมบท
เพราะกระบวนการยุติธรรมยังไม่สิ้นสุด หากอุปัชฌาย์ท่านใด "นั่งอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมประพฤติ
ถือว่า บกพร่องหน้าที่ (ตามหมวด ๓ หน้าที่พระอุปัชฌาย์ กฏ มส.๑๗) และเป็นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดจริยาต้องได้รับโทษฐานละเมิดจริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระอุปัชฌาย์ (๒) ให้ระงับหน้าที่พระอุปัชฌาย์ชั่วคราวไม่เกิน
๒ ปี (๓) เรียกตัวมาอบรมชั่วคราวไม่เกิน ๑ ปี (๔) ให้ทำทัณฑ์บน (๕)
ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (ตามข้อ ๓๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่๑๗
( พ.ศ. ๒๕๓๖ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์"
แต่ "ผู้ที่ถูกคุมประพฤติ" สามารถบวชชีพราหมณ์ นุ่งขาว ห่มขาว
ไม่ต้องโกนศีรษะ และอาศัยอยู่ในที่เดิมของตนได้ตลอดระยะเวลาที่ถูกคุมความประพฤติ
หรือประสานงานขอคำแนะนำการอบรมผู้คุมประพฤติกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ"
เพราะ มหาเถรสมาคมได้มีมติไว้ว่า "คณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามกฏมหาเถรสมาคม
ฉบับที่ ๑๗(พ.ศ.๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ และเสนอแนะว่า
กรมคุมประพฤติควรจัดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติทั้ง ๓ ประเภท ได้ฟังพระธรรมเทศนา
โดยนิมนต์พระไปแสดงธรรมเทศนาเป็นครั้งคราว สำหรับผู้ที่ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท
ควรให้บวชชีพราหมณ์ นุ่งขาว ห่มขาว ไม่ต้องโกนศีรษะ และอาศัยอยู่ในที่เดิมของตนได้ตลอดระยะเวลาที่ถูกคุมความประพฤติ
หรือประสานงานขอคำแนะนำการอบรมผู้คุมประพฤติกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ"
โดยมีหลักฐานอ้างอิงชิ้นสำคัญ ซึ่งได้แก่ "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่
๔/๒๕๕๓ มติที่ ๘๖/๒๕๕๓ เรื่อง ผู้ถูกคุมความประพฤติขออนุญาตบรรพชาอุปสมบท
ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
หน้าที่ ๖๗" รายะเอียดดังนี้
ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคม เสนอว่า กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
ได้มีหนังสือที่ ยธ ๐๓๑๗/๒๘๐๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ แจ้งว่า มีภารกิจควบคุมดูแลรับผิดชอบผู้กระทำผิด
๓ ประเภท คือ
๑. ผู้ถูกคุมความประพฤติที่เป็นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๕๖ ซึ่งผู้กระทำผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี แต่ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน
หรือได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
โดยศาลพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอลงการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษจำคุกโดยกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติไว้
เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกิน ๕ ปี นับจากวันที่ศาลพิพากษา
๒. ผู้ถูกคุมความประพฤติที่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้
๓. ผู้ถูกคุมความประพฤติพักการลงโทษ/ลดวันต้องโทษจำคุก คือนักโทษเด็ดขาดที่ต้องโทษมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง
และปฏิบัติตนเป็นประโยชน์และกระทำความดีในระหว่างต้องโทษจำคุก จึงได้รับโอกาสพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุกออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษ
โดยประกอบอาชีพและพักอาศัยอยู่กับผู้อุปการะซึ่งเป็นญาติหรือบุคคลซึ่งรับจะดูแลอุปการะนักโทษเด็ดขาดรายนี้
ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้กำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติและให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ
ณ สำนักงานคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ ตามกำหนดจนครบกำหนดพ้นโทษและถือว่ายังมีสถานะเป็นนักโทษ
หากกระทำผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ จะถูกจับกุมกลับไปต้องโทษในเรือนจำอีก
ทั้งนี้ ในระหว่างการคุมความประพฤติ ปรากฏว่าผู้ถูกคุมความประพฤติขอบรรพชาอุปสมบท
ดังนั้น กรมคุมความประพฤติจึงขอทราบว่า ผู้ถูกคุมความประพฤติทั้ง ๓
ประเภทดังกล่าว จะบรรพชาอุปสมบทได้หรือไม่ เพื่อกรมคุมประพฤติจะได้ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา
ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติ คณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามกฏมหาเถรสมาคม ฉบับที่
๑๗(พ.ศ.๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ และเสนอแนะว่า
กรมคุมประพฤติควรจัดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติทั้ง ๓ ประเภท ได้ฟังพระธรรมเทศนา
โดยนิมนต์พระไปแสดงธรรมเทศนาเป็นครั้งคราว สำหรับผู้ที่ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท
ควรให้บวชชีพราหมณ์ นุ่งขาว ห่มขาว ไม่ต้องโกนศีรษะ และอาศัยอยู่ในที่เดิมของตนได้ตลอดระยะเวลาที่ถูกคุมความประพฤติ
หรือประสานงานขอคำแนะนำการอบรมผู้คุมประพฤติกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
"ส่วนหนึ่งของหน้าที่อุปัชฌาย์"
ตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่๑๗ ( พ.ศ. ๒๕๓๖ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
.
คนต้องห้ามบรรพชาอุปสมบท
:
คนทำความผิด=ศาลติดสินเป็นที่สุดแล้ว(กำลังอยู่ในระหว่างลงโทษ/คุมประพฤติ),
คนหลบหนีอาญาแผ่นดิน=ศาลดัดสินว่าผิด แล้วหลบหนี(เหมือนใครบางคน ที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ,
คนหลบหนีราชการ=หนีทหาร,เป็นข้าราชการซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ลาบวชได้,
ผู้ต้องหาคดีอาญา=เป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีอาญา อยู่ในชั้นสอบสวน-อัยการ
ที่ยังไม่ฟ้องศาล,คนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ=คดีใหญ่โต
สะเทือนขวัญ ซึ่งมิใช่คดีลหุโทษ,มีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ=เป็นโรค
๖ ชนิด ที่ไม่สามารถรับราชการได้, พิการ=ร่างกายไม่ปกติ ผิดปกติจากคนสามัญทั่วไป)
ที่มา.-
เฟชบุ้ค "พระมหาบุญโฮม"
*******************
|