เขตปกครองคณะสงฆ์
นำเสนอโดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี **************************************************************************************************** |
||||||
กฎหมายที่ให้อำนาจจัดระบบการปกครองคณะสงฆ์นั้น ได้กำหนดให้ถือว่าผู้ปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาโดยชัดแจ้ง พระสังฆาธิการทุกรูป จึงต้องมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานเหมือนข้าราชการของแผ่นดินอีกส่วนหนึ่งด้วย และ การปฏิบัติหน้าที่ของพระสังฆาธิการทุกระดับ ต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักนิติธรรม ต้องยึดความถูกต้อง สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เป็นหลักการ จะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องอาศัยความรู้ความฉลาดและความสามารถเป็นเครื่องมือ
การปกครองคณะสงฆ์ตามรูปแบบที่จัดอยู่ในปัจจุบัน
ยึดพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นหลักจัดรูปแบบการปกครอง และการปกครองคณะสงฆ์นั้น
มี ๒ ส่วน คือ เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
ได้แก่ การดำเนินกิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาในส่วนกลาง กล่าวคือศูนย์กลางบริหารงานนั้น
เป็นหน่วยควบคุมนโยบายหลักของมหาเถรสมาคม ซึ่งการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
เรียกว่า "การ" คือ การรักษาความเรียบร้อยดีงาม (การปกครอง)
เป็นต้น บางการแยกหน่วยงานในส่วนกลางออกเป็นหน่วย บางการมีผู้สนองงานโดยรูปบุคคล
บางการมีผู้สนองงานโดยรูปการคณะกรรมการ ลักษณะนี้ คืองานในส่วนกลาง มิใช่หมายถึง
กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนกลาง แท้จริงกรุงเทพมหานคร เป็นการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นจังหวัด
(๑)
คณะมหานิกาย มี ๔ หน คือ หนกลาง หนเหนือ หนตะวันออก และหนใต้ มีเจ้าคณะใหญ่เป็นผู้ปกครอง เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค คณะสงฆ์ ซึ่งหมายถึง บรรดาพระสงฆ์ผู้สืบศาสนทายาทลัทธิเถรวาทในประเทศไทย ได้แก่ พระสงฆ์ ๒ คณะ คือ คณะมหานิกาย ๑ คณะธรรมยุต ๑ พระสงฆ์ทั้ง ๒ คณะนี้ จัดการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ กล่าวคืออาศัยพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับที่กล่าวนี้ เป็นหลักจัดระบบการปกครองอาณาจักรของพระสงฆ์ เป็นอาณาจักรพิเศษ ซึ่งอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร โดยมีนามบัญญัติว่า "คณะสงฆ์" หรือเรียกอีกโวหารหนึ่งว่า "พุทธจักร" มีหลักการปกครองชั้นอุดมการณ์นั้นคือ "พระธรรมวินัย" หรือจะเรียกว่ามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญการปกครองก็ถูก แต่การจะทำให้การปกครองบรรลุตามอุดมการณ์ได้ดีนั้น ต้องอาศัยพระบรมราชูปถัมภ์เป็นเครื่องดำเนินการ อันได้แก่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ดังเรียนแล้ว เป็นหลักกำหนดหลักเกณฑ์ขอบเขตแห่งเขตปกครอง ขอบเขตแห่งอำนาจ ขอบเขตแห่งผู้ใช้อำนาจ และวิธีการใช้อำนาจ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีระบบเป็นแบบแผน ในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคตามลำดับ เป็น ๔ ชั้น คือ
(๑)
ภาค (๒)
จังหวัด และในมาตรา ๒๒ วรรค ๒ ให้กำหนดจำนวนและเขตปกครองทั้ง ๔ ชั้น เป็นกฎมหาเถรสมาคม กล่าวคือให้ตรากฎมหาเถรสมาคมกำหนดไว้ เจ้าคณะชั้นใด จะกำหนดเอาตามใจชอบมิได้ ดังนั้น มหาเถรสมาคมจึงตรากฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๑๔ ขึ้นเป็นหลักเกณฑ์ และในกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวได้กำหนดให้วางระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้อีกชั้นหนึ่ง เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นภาค
ภาค
เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นสูงสุด เป็นเขตปกครองซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง
คล้ายกับเขตปกครองมณฑล ในสมัยใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์รัตนโกสินทรศก
๑๒๑ (พระราชบัญญัติ ร.ศ.๑๒๑) หรือเขตตรวจการภาค ในสมัยใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๘๔ การกำหนดเขตภาค กำหนดโดยกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ.๒๕๓๕)
อย่างอิสระ โดยรวมพื้นที่ไม่ต่ำว่า ๓ จังหวัดเข้าเป็นเขตปกครองภาคหนึ่ง
ตามความในกฎมหาเถรสมาคม มี ๑๘ ภาค แต่ในทางปฏิบัติ มี ๒๖ ภาค คือ เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นจังหวัด
จังหวัด
เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นที่ ๒ ซึ่งเป็นเขตปกครองพื้นที่จำกัดเฉพาะจังหวัด
ซึ่งจังหวัดนั้นหมายถึง กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร
โดยพื้นที่ทั้งราชอาณาจักรมี ๗๖ จังหวัด รวมกรุงเทพมหานครอยู่ในจำนวนนี้ด้วย
ตามความในข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ.๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
กำหนดไว้ชัดเจนว่า จำนวนและเขตปกครองจังหวัด ให้อนุโลมตามจำนวนและเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักร
แต่ในทางปฏิบัติมี ๑๒๖ จังหวัด คือ อนึ่ง จังหวัดทางคณะสงฆ์นั้น แม้มิได้กำหนดชัดเจน ก็พอเทียบได้ว่าจะต้องมีวัดในเขตจังหวัดนั้น พอจะเป็นตำบลทางคณะสงฆ์และอำเภอทางคณะสงฆ์ได้ จึงจะกำหนดเป็นจังหวัดได้ หากมีจำนวนวัดต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะเป็นตำบลและอำเภอทางคณะสงฆ์ได้ ก็จัดเป็นจังหวัดทางคณะสงฆ์ไม่ได้ เพราะขาดระบบการบังคับบัญชา เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นอำเภอ อำเภอ เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นที่ ๓ ซึ่งหมายถึงเขตในกรุงเทพมหานครและอำเภอในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร จำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นอำเภอนั้น คณะสงฆ์ต้องเป็นผู้กำหนด แม้ทางราชอาณาจักรมีพระราชกฤษฎีกายกกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอแล้ว อำเภอนั้นเป็นอำเภอทางราชอาณาจักรเท่านั้น หาเป็นอำเภอทางคณะสงฆ์ไม่ ตามความในข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ.๒๕๓๕) และในระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดจำนวนและเขตการปกครองอำเภอ พ.ศ.๒๕๓๗ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการได้ ๒ ได้แก่
๑)
กำหนดโดยอนุโลมตามเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักร กำหนดโดยอนุโลมตามเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรนั้น ให้อนุโลมได้เฉพาะอำเภอที่มีวัดซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย ๕ วัดขึ้นไป เพราะอำเภอที่มีวัด ๕ วัดขึ้นไป เป็นอำเภอที่มีเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลได้ อำเภอที่มีวัดต่ำกว่า ๕ วัด จะมีเขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นตำบลมิได้ เมื่อทั้งอำเภอไม่มีเขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นตำบล จะกำหนดเป็นเขตปกครองชั้นอำเภอมิได้ คือจะยกขึ้นเป็นอำเภอทางคณะสงฆ์มิได้เลย
การกำหนดเป็นกรณีพิเศษนั้น
ได้แก่ การกำหนดเขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นอำเภอที่ไม่ต้องอนุโลมตามเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักร
ตามระเบียบมหาเถรสมาคมกำหนดไว้ ๒ ลักษณะ ได้แก่
อำเภอที่มีวัดต่ำกว่า ๑๐ วัด คือมีวัดเกินกว่า
๕ วัด แต่ไม่ถึง ๑๐ วัด และประกอบด้วยหลัก ๒ ประการ ได้แก่
ให้รวมขึ้นในปกครองของเจ้าอำเภออื่นซึ่งมีเขตติดต่อกัน
ในจังหวัดเดียวกันได้
(๑) ถ้ารวมกันเข้าเพียง ๒ อำเภอ ให้คงชื่อไว้ทั้ง
๒ อำเภอ
วิธีดำเนินการกำหนดเขตปกครองอำเภอนั้น
มี ๒ ได้แก่
(๑) ให้เจ้าคณะจังหวัดเสนอเจ้าคณะภาคเพื่อมหาเถรสมาคมประกาศกำหนดเขตโดยอนุโลม แบบกำหนดเขตปกครองเป็นกรณีพิเศษ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดจำนวนและเขตปกครองอำเภอ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค จึงประกาศกำหนดเขตปกครองอำเภอในจังหวัด เป็นกรณีพิเศษ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้วัดทั้งหลายในเขตอำเภอ
..กับ อำเภอ
..จังหวัด
..รวมอยู่ในเขตปกครองอำเภอเดียวกัน
ซึ่งเรียกว่า "อำเภอ
. และอำเภอ
." ประกาศ ณ วันที่ เดือน พ.ศ (พระ
..) คำแนะนำเพิ่มเติม
เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นตำบล ตำบล เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นที่ ๔ ซึ่งหมายถึงแขวงในกรุงเทพมหานคร และตำบลในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร จำนวนและเขตปกครองตำบลนั้น คณะสงฆ์เป็นผู้กำหนด แม้ทางราชอาณาจักรจะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งตำบลแล้วก็ตาม ตำบลนั้นเป็นตำบลทางราชอาณาจักรเท่านั้น หาเป็นตำบลทางคณะสงฆ์ไม่ ตามความในข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ.๒๕๓๕) และในระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดจำนวนและเขตปกครองตำบล พอกำหนดเป็นหลักได้ ๒ กรณี ได้แก่
๑) กำหนดโดยอนุโลมตามตำบลแห่งราชอาณาจักร ลักษณะที่ ๑ แยกพิจารณาปฏิบัติได้ดังนี้ ลักษณะที่ ๒ ลักษณะที่ ๓ ลักษณะที่ ๔ ลักษณะที่ ๕ ตำบลทางคณะสงฆ์แต่ละตำบลให้มีเจ้าคณะตำบลจำนวนตำบลละ ๑ รูป ถ้าตำบลใดมี ๘ วัดขึ้นไป ให้มีรองเจ้าคณะตำบลได้ ๑ รูป การรวมหลายตำบลเป็นตำบลเดียว ถ้ารวม ๒ ตำบล ให้คงชื่อไว้ทั้ง ๒ ตำบล ถ้ารวม ๓ ตำบลขึ้นไป ให้คงชื่อไว้ตำบลเดียว การกำหนดเขตตำบลดังกล่าวให้ยึดหลัก
๔ อย่าง คือ ตัวอย่างหนังสือขอกำหนด
เรื่อง ขอกำหนดเขตปกครองตำบล
ด้วยอำเภอพิจารณาเห็นว่า สมควรได้มีการกำหนดเขตปกครองตำบลใหม่
ให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยดีงาม และเหมาะสม ดังต่อไปนี้ กราบเรียนมาด้วยความเคารพอย่างสูง
. หมายเหตุ.- |
||||||