ประวัติความ เป็นมาของบัตรประชาชน
นำเสนอโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐

วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน

      "บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเพื่อใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคลนับได้ว่าเป็นเอกสารที่มี เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการสมัครงาน การติดต่อธุรกิจการค้า การทำนิติกรรมสัญญา และการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือภาค เอกชน

      นอกจากนั้นยังเป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญต่าง ๆ เฉพาะด้าน เช่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบอนุญาต ขับรถ หนังสือเดินทาง หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการเงิน และการธนาคาร ซึ่งหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ความยุ่งยากสับสนในการยืนยันตัวบุคคลย่อมเกิดขึ้นอีกทั้งจะ ส่งผลทำให้การติดต่อดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว"หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร": ต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชน

      หลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฎอยู่ใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โดย ในมาตรา ๙๐ บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"

      วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือเดิน ทางรับรองราษฎรดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง เพราะการมีหนังสือเดินทางของทางราชการไว้แสดงตัวบุคคลว่า ตัวเขาเป็น ใคร มาจากแห่งหนตำบลใด ย่อมทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความสะดวก และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้นตัว ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว ไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพหรือพวกโจรแต่อย่างใด

      หนังสือดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมัยนั้นและเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ ๘๐ ปีที่แล้ว ความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน

      ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชนมีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร เพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการอำเภอ(หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำหนังสือดังกล่าว พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช ๒๔๘๖ : กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำ ตัวประชาชนฉบับแรกของไทย

      ผลของการออกหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ ทำให้ทางราชการเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำเอกสาร เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงว่าใครคือใคร อยู่ที่ไหน รูปพรรณเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปกครองท้องที่และการควบคุมราษฏรของทางราชการ รวมทั้งประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในการติดต่อซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการทำ มาค้าขาย

      ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่๘ รัฐบาลโดยการนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออก กฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช ๒๔๘๖"นับเป็นกฏหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ แก่คนไทย แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่น แรก


      บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น ๔ ตอน คล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด ๘ หน้า แต่ละตอนกว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๓ นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง๒ด้านด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง (ปก หลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนอาทิเช่น ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุต้องแจ้งขอแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น


ในแต่ละหน้าต่อมาจะมีการบอกลำดับเลขไว้ดังนี้
      หน้าที่ ๑ ระบุข้อความว่า เลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรนาด ๒ นิ้ว และมีลายมือผู้ถือบัตรและลาย พิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา

      หน้าที่ ๒ เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติ ชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือ สามี

      หน้าที่ ๓ เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร ได้แก่ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบลอำเภอ จังหวัดอาชีพ และมีตราประจำตำแหน่ง พนักงานเจ้าหน้าที่

      หน้าที่ ๔ - ๖ มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร ลักษณะพื้นบัตร เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวราราม เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย


บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ สอง

      บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ ๑๐ ปี เมื่อบัตรหมด อายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน ๒๕ สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฎหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๖ ปีบริบูรณ์จนถึง ๗๐ ปีบริบูรณ์ และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วัน ที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช ๒๕๐๕: กฎหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร

      ความเปลี่ยนแปลงของบ้าน เมืองโดยเฉพาะความเจริญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการ และประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและ ปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดต่อทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิด กว้างขวางขึ้น

      บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีจุดอ่อนในด้านการพกพา ทั้งนี้เนื่องจากมีลักษณะใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ ประกอบกับลักษณะของบัตร หลักการ และวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาลในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุง กฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้สามารถบังคับใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ

      ในที่สุดจึงได้ออก "พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๐๕" ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๖ เป็นต้นมาโดยการออกบัตรจะมี "กรมการปกครอง" เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ

      สาะระสำคัญที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. ๒๔๘๖ มีหลายประการ อาทิ เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง ๑๗ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ ๖ ปี กำหนดค่า ธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับละ ๕ บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน

      ลักษณะของบัตรรุ่นที่สองเป็นบัตรรูปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๙ เซ็นติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑอยู่ตรงกลาง มีข้อความ "สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุด้านหลังจะ เป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่ายที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและคัวอักษรแสดงถึงอำเภอที่ออกบัตรและเลขทะเบียนบัตรและตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตร ปรากฎอยู่ทางด้านซ้าย ส่วน ด้านขวาจะมีชื่อตัวชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร

      บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่อง พิมพ์ดีดธรรมดา คนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ จนถึงสิ้นปี ๒๕๓๐ รวม ๒๔ ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทยในช่วง ระหว่างปีดังกล่าว พระราชบัญญัติบัตรประจำตัว ประชาชน พุทธศักราช ๒๕๒๖ : กฎหมายฉบับปัจจุบัน

      พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๐๕ ใช้บังคับได้ประมาณ ๒๑ ปีพบจุดอ่อนหลายประการข้อสำคัญคืออายุของผู้ ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนดไว้๑๗ปีบริบูรณ์ ไม่สัมพันธ์กับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกอบกับกฎหมายฉบับนี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำ บัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่๑มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาทางข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ยกเลิก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๐๕ และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖" ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๖ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

      กฎหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฎหมายฉบับก่อน ได้แก่ การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรจาก๑๗ ปีบริบูรณ์ เป็น๑๕ปีบริบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครอง แรงงานการนับอายุผู้ขอมีบัตร๑๕ปีบริบูรณ์ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ ๖๐ วัน เป็น ๙๐ วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ๗๐ปีบริบูรณ์ สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขอมีบัตร ครั้งแรกหรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ

      การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประจำตัว ประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิมทุกประการ

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สาม

      การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตบัตร ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูงขึ้น ทั้งประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย ค่ายสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และค่ายประเทศที่สาม ทำใหมีบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในลักษณะของผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบ ความต้องการบัตรประจำตัวประชาชนในหมู่ของ คนต่างด้าวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้เยี่ยงคนไทย ก่อให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนระบาดอย่างหนัก

      นอกจากนี้ตัวแปรทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคเอกชนและราชการไทย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้มีการเรียกร้องปรับปรุงรูปโฉมของบัตรประจำตัวประชาชนให้สวยงาม ก้าวหน้า ทันสมัย และสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้ มากขึ้น

      ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติรสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติเมื่อวันที่๓๐ เมษายน ๒๕๒๙เห็นชอบโครงการปรับปรุงระบบการผลิตบัตร ประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และอนุมัติให้ดำเนินการได้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมหน้าของบัตรประจำตัวประชาชน มาสู่รูปแบบใหม่เป็นบัตร รุ่นที่ ๓

      บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ ๓ นี้ ลักษณะบัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๕.๔ เซ็นติเมตร ยาว๘.๔เซ็นติเมตร ตัวบัตรจะเป็นสีขาวและมีลายพื้นเป็นเส้นสีฟ้าทั่วบัตร ทั้งสองด้าน ด้านหน้าของบัตรมีรูปครุฑอยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" <อยู่ด้านบนครุฑคำว่า "กรมการปกครอง" อยู่ด้านซ้าย คำว่า "กระทรวงมหาดไทย" อยู่ด้านขวา ส่วนด้านล่างครุฑมีลายมือ ชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตรและตราประจำตำแหน่ง

      สำหรับด้านหลังของบัตรแถวบนสุดจะมีเลขประจำตัว๑๓หลักซึ่งเป็นเลขชุดเดียวกับที่ปรากฎในทะเบียนบ้าน ถัดมาจะมีเลข๘ หลัก ซึ่งเลข ๒ หลักแรกบ่งบอกถึงรอบของการออกบัตร ส่วนเลข๖หลักต่อมาหมายถึงลำดับที่ของการทำบัตร ถัดลงมาด้านซ้ายจะมีรูปถ่ายของผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ โดยมีเส้นแสดงส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ส่วนด้านขวาจะมี รายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด วันออกบัตร วันบัตรหมดอายุ และที่อยู่

      ลักษณะที่พัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของบัตรรุ่นนี้ คือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็น รูปสี พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีการป้องกันการปลอมแปลงด้วยการเคลือบวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ มีลายสัญญลักษณ์รูปสิงห์ และคำว่า"กรมการปกครอง" ฝังอยู่ในเนื้อวัสดุไม่ สามารถมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า การจัดเก็บข้อมูลผู้ทำบัตรและการตรวจสอบรายการบัตรเดิมถูกดำเนินการในรูปของฐานข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ บัตรประจำตัวประชาชนระบบนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๑ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ ๔: บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค

      การพัฒนาระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน มิได้หยุดนิ่งแค่บัตรรุ่นที่สามเท่านั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัฒน์ประกอบกับความสมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูลทะเบียน บัตรประจำตัวประชาชนและแรงผลักดันในเรื่องการให้บริการประชาชน ก่อให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ทันสมัย ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

      กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอ "โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ฯ" โดยเป้าหมายหลักที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออก บัตรประจำตัวประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบทั้งระบบเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของบัตรให้ทันสมัย และเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชน ให้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องทั้งนี้การผลิตบัตรจะกระจายไปถึงสำนัก ทะเบียนแต่ละแห่ง ประชาชนที่มาทำบัตร สามารถรอรับบัตรได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว ภายในวันที่ติดต่อขอทำบัตร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับ บ.ป.๒ หรือใบเหลืองอีกต่อไป

      โครงการ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๘ หลังจากติดตั้งระบบและให้บริการด้านทะเบียนราษฎรแล้ว กรมการปกครองจึงสามารถเปิดระบบให้บริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ เป็นครั้งแรก ณที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยถือปฐมฤกษ์ในวันที่๕ธันวาคม ๒๕๓๙ เพื่อเป็นสิริมงคลในวโรกาสฉลองปีกาญจนาภิเษกและเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช
ในด้านกฎหมายนั้น ยังคงใช้ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ. ๒๕๒๖ เพื่อบริการประชาชนในการขอทำบัตรในกรณีต่างๆ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับการ จัดทำบัตรระบบใหม่ ได้แก่ การออกกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของบัตร และการประกาศกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการเท่านั้น
ลักษณะของบัตรรุ่นใหม่นี้มีดังนี้

      ๑. ลักษณะของบัตร ตัวบัตรทำด้วยพลาสติก มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงขนาดมาตรฐานสากล (ISO) กว้าง ๕.๔ เซ็นติ-เมตร ยาว ๘.๖ เซ็นติเมตร หนา ๐.๗๖ มิลลิเมตร พื้นบัตรทั้งสองด้าน เป็นสีขาว มีลายสีฟ้า

      ๒. ด้านหน้าของบัตร มีรูปถ่ายเจ้าของบัตร พร้อมรายการเกี่ยวกับประวัติของเจ้าของบัตร ได้แก่เลขประจำตัวประชาชน ๑๓หลัก ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หมู่โลหิต วันที่ออกบัตร วันที่บัตรหมดอายุ และมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตร

      ๓. ด้านหลังของบัตร มีคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย"รูปครุฑ และแถบแม่เหล็ก สำหรับบันทึกข้อมูลของเจ้าของบัตร นอกจากนี้จะมีรหัสกำกับบัตร ซึ่งเป็นชุดของตัวเลขผสมตัวอักษร เพื่อควบคุมกำกับการออกบัตรของแต่ละสำนักทะเบียนด้วย

      บัตรรุ่นใหม่นี้ เรียกกันว่า "บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค" เนื่องจากทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิมพ์คำขอมีบัตร รายการบุคคลของผู้ขอมีบัตร ซึ่งรวมถึงภาพใบ หน้า การลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานออกบัตร และการตรวจสอบหลักฐานรายการบัตรเดิมดำเนิน การด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

      การให้บริการจัดทำบัตรระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ นั้น จะดำเนินการในรูปแบบของการตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ภาค จำนวน๙ภาค เพื่อควบคุมและดูแลระบบการดำเนินงานของสำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งตามโครงการฯ กำหนดเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี๒๕๓๙-๒๕๔๔ โดยมีแผนปฏิบัติการขยายเขตให้บริการ ดังนี้
       - ๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ ได้เปิดบริการแล้วที่ อำเภอเมืองปทุมธานี และ กรุงเทพมหานครทุกเขต
      
- ประมาณเดือน เมษายน ๒๕๔๐ จะเริ่มเปิดระบบให้บริการเพิ่มอีก ๔ จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครราชสีมาเชียงใหม่ และสงขลา
      
- ประมาณเดือนธันวาคม๒๕๔๐ บริการเพิ่มอีก๔จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม อุดรธานี พิษณุโลกและสุราษฎร์ธานี
      
- ปีพ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๔ จะดำเนินการเพิ่มใน๖๗จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศ การขยาย บริการเป็นการดำเนินการภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

เครดิต : http://board.palungjit.com

บทสรุป

      ตั้งแต่เริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกปี พ.ศ.๒๔๘๖ จนถึงฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่สาม ในปีพ.ศ.๒๕๒๖ ประชาชนคนไทยมีบัตรประจำตัวประชาชนใช้มาแล้ว ๔ รุ่นดังนี้

      บัตรรุ่นแรก มีลักษณะคล้ายแผ่น พับขนาดเล็ก ๔ ตอน มีทั้งหมด ๘ หน้า เริ่มใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๘๖จนถึงสิ้นปีพ.ศ.๒๕๐๕ ออกให้เฉพาะประชาชนในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพและธนบุรี(กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)

      บัตรรุ่นที่สอง มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพกพาติดตัวได้ สะดวกมี ๒ ด้าน รูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปขาว-ดำ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา และเคลือบด้วยพลาสติกใส เริ่มใช้ตั้งแต่ ต้นปีพ.ศ.๒๕๐๖ จนถึงสิ้นปี พ.ศ.๒๕๓๖รวมทั้งสิ้น ๓๐ ปี

      บัตรรุ่นที่สาม มีลักษณะคล้ายกับบัตรรุ่นที่สอง จุดแตกต่างคือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ พิมพ์ รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่๑มกราคม๒๕๓๑เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันขณะนี้ยังให้บริการทั่วประเทศยกเว้นเขตท้องที่ซึ่งเปิดให้ บริการทำบัตรรุ่นที่สี่

      บัตรรุ่นที่สี่ มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิตมีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเจ้าของบัตร และผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบรายการใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาใน บัตรรุ่นนี้คือ การระบุหมู่โลหิต เพื่อประโยชน์ในเรื่องคลังข้อมูลแหล่งโลหิตของสภากาชาดไทยบัตรรุ่นนี้ เริ่มทยอยใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่๕ธันวาคม๒๕๓๙ ในเขตท้องที่อำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร และ จะขยายการบริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ

      ในอนาคตบัตรประจำตัวประชาชนจะทวีความสำคัญและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อเจ้าของบัตรในด้านต่างๆมากขึ้นเช่น อาจใช้แทนทะเบียนบ้าน เป็นบัตรเสียภาษีหรืออาจจะรวมทั้งเป็นใบขับขี่ด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะกำหนดให้ดำเนินการในลักษณะใด และถ้าจะว่าไปแล้วน่าจะมุ่งสู่วลีที่ว่า "อยู่เมืองไทย พกบัตรใบเดียวก็พอ" ซึ่งก็หมายถึง"บัตร ประจำตัวประชาชน" นั่นเอง

      ปัจจุบันนี้บัตรประชาชนได้มีวิวัฒนาการที่ก้าวไกลมากขึ้น โดยได้มีการจัดทำบัตร ?สมาร์ท การ์ด?ให้แก่คนไทยทั่วประเทศได้ใช้กันแล้ว

      สมาร์ทการ์ด คือบัตรอเนกประสงค์ และเพื่อให้ตอบสนองฟังก์ชั่นได้พร้อมสรรพเครื่องมือที่จะมาใช้กับสมาร์ทการ์ด ก็ต้องมีด้วย MPM (Multi Purpose Machine) เครื่องบริการ ประชาชนอเนกประสงค์ โดยให้บริการประชาชนหลากหลายรูปแบบ อาทิ การคัดสำเนารายการทะเบียนบ้าน อินเทอร์เน็ตสาธารณะ การซื้อลอตเตอรี่ โทรศัพท์ ระบบชำระค่าสาธารณูปโภค ระบบการเลือกตั้งให้แก่ผู้มีสิทธิใช้เลือก ตั้งต่างประเทศ หรือเลือกตั้งนอกเขตภูมิลำเนา ระบบบริการเกี่ยวกับพนักงานของรัฐ เช่น เงินเดือน ระเบียบวินัย สวัสดิการ คำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย บริการจองตั๋วต่าง ๆ ข้อมูลด้านท่องเที่ยวและอื่น ๆ

บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card)

      บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) เป็นบัตรชนิดหนึ่งที่มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตที่มีการฝังชิพคอมพิวเตอร์ (Computer Chip) ภายในบัตร โดยตัวชิพได้บรรจุข้อมูลในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย กรรมวิธีที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี

      สมาร์ท การ์ด สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบใหญ่ๆ คือ สมาร์ท การ์ด แบบสัมผัส (Contact smart cards) ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องมี การสอดบัตรเข้าไปใน เครื่องอ่านสมาร์ทการ์ด (smart card reader) และสมาร์ทการ์ดแบบสื่อสารไร้สาย (Contactless smart cards) ซึ่งการใช้งานต้องการเพียงให้วางอยู่ใกล้ๆ ให้รับส่งสัญญาณได้เท่านั้น

      สมาร์ทการ์ดแบบสัมผัสเป็นบัตรที่มีการผนึกชิพทอง ขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตรแทนการใช้แถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) เมื่อผู้ใช้สอดใส่บัตรเข้าไป ในเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดแล้ว มันจะสัมผัสกับหัวต่อหรือคอนเน็คเตอร์ทางไฟฟ้า ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้า-ออก จากชิพ

      ในส่วนสมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส เป็นบัตรที่ มองดูรูปร่างภายนอกแล้วคล้ายกับบัตรเครดิตพลาสติกแบบหนึ่งที่ภายใน มีการผนึกชิพคอมพิวเตอร์และขดลวดสายอากาศไว้ภายใน ซึ่งใช้ในการติดต่อกับเครื่องรับ-เครื่องส่งที่อยู่ในระยะไกล (Remotereceiver/transmitter)

      โดยทั่วไปบัตรแบบนี้ใช้สำหรับการดำเนินการทางด้านรายการ (Transactions) อย่างรวดเร็ว เช่น การจัดเก็บเงินค่าผ่านทางด่วน บัตรพนักงานเพื่อใช้ผ่านเข้า-ออกประตูของบริษัท เป็นต้น

      นอกจากนี้ยังมีการผลิตสมาร์ทการ์ดแบบผสมหรือที่เรียกว่า คอมบิการ์ด (Combi Card) ออกมาใช้งานอีกด้วย โดยบัตรแบบนี้เป็นบัตรใบเดียวแต่ทำหน้าที่เป็นทั้งสมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัส และสมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส เพื่อเพิ่มความสะดวกและประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้น

ความหมายของเลขประจำตัวประชาชนทั้ง ๑๓ หลัก

หลักที่ ๑ หมายถึงประเภทบุคคลซึ่งมี ๘ ประเภท คือ
      ประเภทที่ ๑ ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๒๗)
      ประเภทที่ ๒ ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๒๗)
     ประเภทที่ ๓ ได้แก่ คนไทยและคน ต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (๑ มกราคม - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗)
      
ประเภทที่ ๔ ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบ สำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก (๑ มกราคม - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗)
      
ประเภทที่ ๕ ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ
      
ประเภทที่ ๖ ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย แต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว
      
ประเภทที่ ๗ ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ ๖ ซึ่งเกิดในประเทศไทย
      
ประเภทที่ ๘ ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้อง ตามกฏหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย

หลักที่ ๒ ถึงหลักที่ ๕ หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลข       สำหรับเด็กเกิดใหม่จะหมายถึงถิ่นที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ ๒ และ ๓ หมายถึงจังหวัด หลักที่ ๔ และ ๕ หมายถึงอำเภอ หรือเทศบาล

หลักที่ ๖ ถึงหลักที่ ๑๐ หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ ของสูติบัตร แล้วแต่กรณี

หลักที่ ๑๑ และ ๑๒ หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม แล้วแต่กรณี

หลักที่ ๑๓ คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของ เลข ๑๒ หลักแรก
-----------------
เครดิต/ที่มา : http://www.dopa.go.th



*******************