ผลการศึกษาวิจัยของภาควิชาจิตศาสตร์แห่งโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์
เจนเนอรัล สหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการแพทย์นิวโรรีพอร์ตเผยเมื่อวันที่
12 พฤศจิกายน ว่าการทำสมาธิเป็นประจำจะช่วยให้เยื่อหุ้มสมองหนาขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับความรู้สึก การได้ยิน และการมองเห็น
รวมไปถึงการรับรู้ภายใน เช่น การรับรู้โดยอัตโนมัติของอัตราการเต้นของหัวใจหรือการหายใจ
ผลการศึกษาดังกล่าวยังชี้ด้วยว่า
การนั่งสมาธิจะช่วยชะลอความเสื่อมของเปลือกสมองส่วนหน้าจะบางลงไปเรื่อยๆ
ตามอายุ โดยนายเจเรมี เกรย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งภาควิชาจิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยลของสหรัฐ
หนึ่งในทีมผู้ศึกษาวิจัยเผยว่า ผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยดังกล่าวคือประชาชนทั่วไปที่ทำงานและมีครอบครัว
โดยใช้เวลาในการทำสมาธิโดยเฉลี่ยเพียงวันละ 40 นาทีเท่านั้น และสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการทำสมาธิคือสามารถเปลี่ยนเรื่องแย่ๆ
ให้ดีขึ้นได้
การวิจัยดังกล่าวทำขึ้นในคนเพียง
20 คน ที่เข้าร่วมการฝึกสมาธิด้วยการกำหนดจิตตามแบบพุทธศาสนา ได้ผลลัพธ์ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างสมองส่วนใหญ่ถูกพบในสมองซีกขวา
มีความสำคัญสำหรับความตั้งใจแน่วแน่ และความตั้งใจดังกล่าวเป็นเป้าหมายของการทำสมาธิ
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังคาดเดาว่าการฝึกสมาธิในรูปแบบอื่น เช่น การฝึกโยคะ
อาจมีผลต่อโครงสร้างสมองในรูปแบบเดียวกัน
ที่มา : นสพ.มติชน
13 พ.ย.48
|