ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธีการทำบุญ
บทนมัสการ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ฯ
---------------
บทนมัสการนี้ ประกอบด้วยบทที่เป็นคำบาลี ๕ บท มี นโม เป็นต้น นับเรียงพยางค์ได้ ๑๘ พยางค์ | |||
บท ๓ บท คือ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ประกาศพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ตามลำดับ | |||
ผู้ตั้งบทนมัสการ
|
|||
นโม | สาตาคิรายักษ์ | เป็นผู้ตั้ง | |
ตสฺส | อสุรินทราหู | เป็นผู้ตั้ง | |
ภควโต | ท้าวจาตุมหาราช | เป็นผู้ตั้ง | |
อรหโต | ท้าวสักกะ | เป็นผู้ตั้ง | |
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส | ท้าวมหาพรหม | เป็นผู้ตั้ง |
คาถาระบุผู้ตั้งนโม |
||
|
นโม
สาตาคิรายกฺโข |
ตสฺส
จ อสุรินฺทโก |
ประโยชน์ของการตั้งบทนมัสการ
๔ ประการ
|
||
๑.เพื่อดำเนินตามร่องรอยของอารยชน ๒.เพื่อขออานุภาพพระคุณคุ้มครอง ๓.เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ ๔.เพื่อทำชีวิตให้มีสาระ |
ระเบียบในการตั้งบทนมัสการ
|
|||
การเปล่งวาจาว่าบทนมัสการ ต้องว่า ๓ จบเสมอ มีเหตุผลดังนี้ | |||
จบที่
๑ เพื่อนมัสการพระวิริยาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป จบที่ ๒ เพื่อนมัสการพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๘ อสงไขย ๑ แสนกัป จบที่ ๓ เพื่อนมัสการพระปัญญาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขย ๑ แสนกัป |
|||
อีกมติหนึ่งให้เหตุผลว่า.- | |||
จบที่
๑ เป็นบริกรรม จบที่ ๒ เป็นอุปจาร จบที่ ๓ เป็นอัปปนา |
|||
วิธีตั้งบทนมัสการ มี ๔ แบบ คือ |
|||
๑.นโม
ชั้นเดียว ขึ้น นโม แล้วรับ ตสฺส ฯเปฯ หยุดตามสังโยค ใช้เป็นบทนมัสการในการสวดมาติกาบังสุกุล ๒.นโม ๓ ชั้น เป็นบทนมัสการ ใช้ในการให้ศีล ว่าทีละบท ๆ ๓.นโม ๕ ชั้น เป็นบทนมัสการใช้ในการแสดงพระธรรมเทศนา และใช้ในการสวดกรรมวาจา ๔.นโม ๙ ชั้น เป็นบทนมัสการ ใช้ในการเจริญพระพุทธมนต์ ที่ใช้ทำนองสังโยค |
|||
นโม ชั้นเดียว นโม-ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม | |||
ตสฺ//
ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส ฯ |
|||
นโม ๓ ชั้น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส// | |||
นโม
ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส// นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส// ฯ |
|||
นโม ๕ ชั้น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส// | |||
ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส// นโม ตสฺส ภควโต// อรหโต สมฺมา// สมฺพุทฺธสฺส// ฯ |
|||
นโม ๙ ชั้น (ขึ้น) นโม ตสฺส ภควโต// | |||
(รับ)
อรหโต/ สมฺมา/ สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต/ อรหโต/ สมฺมา/ สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต/ อรหโต/ สมฺมา/ สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส// ฯ |
|||
ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธีการทำบุญ
|
|||
การจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ | |||
การจัดสถานที่งานพิธีทำบุญในทางพระพุทธศาสนาทุกอย่าง ทั้งงานมงคล และงานอวมงคลนั้น เบื้องต้น | |||
เจ้าภาพ
หรือ เจ้าของงาน จะต้องคำนึงถึงสถานที่ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ และเหมาะสมจะจัดให้เป็นสถานที่บำเพ็ญ กุศลทางพระพุทธศาสนา สำหรับจัดเป็นห้องพิธี อันประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ :- |
|||
๑.สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ๒.สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์ และ ๓.สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน |
แผนผังการจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ
๑
|
๑
๒ ๓ |
๑
|
๒
|
๑
๒ ๓ |
๓
|
๔
|
๑
๒ ๓ |
๕
|
๖
|
๑
๒ ๓ |
๗
|
๘
|
๑
๒ ๓ |
๙
|
๓
|
อธิบายแผนผังการจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ | |
๑.สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ๒.สถานที่จัดตั้งเป็นอาสน์สงฆ์ สำหรับพระสงฆ์ ๙ รูป ๓.สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน เลขที่เรียงซ้อนกัน นั้น เลข ๑ คือ ที่ตั้งกระโถน เลข ๒ คือ ที่ตั้งภาชนะน้ำเย็น เลข ๓ คือ ที่ตั้งพานหมากพลู-บุหรี่ |
|
สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย |
|
-โต๊ะหมู่บูชาพระรัตรตรัยนั้น นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวาของอาสน์สงฆ์ ตั้งไว้สูงกว่าอาสน์สงฆ์พอสมควร และนิยมตั้ง | |
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เพราะเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็น
พระพุทธเจ้า
ถ้าขัดข้องเพราะสถานที่ไม่อำนวย
ก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ ทิศใดทิศหนึ่ง
แต่ไม่นิยมตั้ง
หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะถือกันว่าทิศตะวันตกเป็นทิศอัสดงคตแห่งพระอาทิตย์ เป็นทิศแห่งความเสื่อม ไม่เจริญ รุ่งเรือง |
|
-โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น โดยมาก นิยมตั้งไว้บนอาสน์สงฆ์ ทางต้นอาสน์สงฆ์ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ | |
ประการ คือ .- | |
๑.พระพุทธรูป
๑ องค์ (นิยมพระปางมารวิชัย) ๒.กระถางธูป ๑ ลูก พร้อมทั้งธูป ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย ๓.เขิงเทียน ๑ คู่ พร้อมทั้งเทียน ๒ เล่ม เป็นอย่างน้อย ๔.แจกัน ๑ คู่ พร้อมทั้งดอกไม้ประดับ และนิยมมีพานดอกไม้ตั้งบูชาด้วย ๕.โต๊ะหมู่ ๑ หมู่ |
|
เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยนั้น นิยมจัดหาสิ่งของที่ดีที่สุด ประณีตที่สุด เท่าที่จะสามารถหามาจัดได้กล่าวคือ | |
๑.
ธูป นิยมใช้ธูปหอมอย่างดี ๒.เทียน นิยมใช้เทียนเล่มใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียน ๓.ดอกไม้ นิยมใช้ดอกไม้ที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ มีสีสวย มีกลิ่นหอม และ กำลังสดชื่น |
|
สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์ |
|
อาสน์สงฆ์ คือ สถานที่สำหรับพระสงฆ์นั่งนั้น นิยมจัดตั้งไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย | |
และนิยมจัดแยกออกเป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากที่นั่งของคฤหัสถ์ชายหญิง ประกอบด้วยเครื่องรับรองพระสงฆ์ ดังนี้ | |
๑.พรหมเล็ก
สำหรับปูเป็นที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป ๒.กระโถน (ตั้งไว้ด้านในสุด) ๓.ภาชนะน้ำเย็น (ตั้งไว้ถัดออกมา) ๔.พานหมากพลู-บุหรี่ (ตั้งไว้ข้างหน้า) ๕.ภาชนะน้ำร้อน (นิยมนำมาถวาย เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว) |
|
เครื่องรับรองพระภิกษุสงฆ์นั้น
นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวามือของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป โดยจัดตั้งกระโถนไว้ด้านในสุด
จัดตั้ง ภาชนะน้ำเย็นไว้ถัดออกมา จัดตั้งพานหมากพลู-บุหรี่ ไว้ถัดออกมาข้างนอก ส่วนภาชนะน้ำร้อนนั้น นิยมจัดมาถวายภายหลัง เมื่อพระภิกษุสงฆ์มานั่งเรียบร้อยแล้ว เพราะถ้านำมาตั้งไว้ก่อน น้ำร้อนจะเย็นเสียก่อน ทำให้เสียรสน้ำชา |
|
ถ้าสถานที่ห้องประกอบพิธีสงฆ์นั้นคับแคบ หรือสิ่งของเครื่องรับรองมีไม่เพียงพอที่จะจัดถวายให้ได้ครบทั้ง ๙ ที่ | |
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๙ รูป ก็นิยมจัดคเรื่องรับรองเพียง ๕ ที่ ก็เพียงพอ คือ | |
๑.สำหรับพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์
จัดตั้งไว้ด้านขวามือของท่านหนึ่งที่ ๒.จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๒ กับพระภิกษุรูปที่ ๓ หนึ่งที่ ๓.จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๔ กับพระภิกษุรูปที่ ๕ หนึ่งที่ ๔.จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๖ กับพระภิกษุรูปที่ ๗ หนึ่งที่ ๕.จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๘ กับพระภิกษุรูปที่ ๙ หนึ่งที่ |
|
สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน |
|
สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน นั้น นิยมจัดไว้ด้านหน้าของอาสน์สงฆ์ และนิยมจัดแยกออกเป็น | |
เป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากอาสน์สงฆ์ เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอาบัติโทษ เพราะนั่งอาสนะเดียวกับสตรีเพศ | |
ถ้าสถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น ปูลาดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับอาสน์สงฆ์ โดยปูเสื่อหรือ | |
พรมเชื่อมเป็นอันเดียวกัน
นิยมปูเสื่อหรือพรมผืนที่เป็นอาสน์สงฆ์ ทับผืนที่เป็นที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
โดย ปูลาดทับกันออกมาตามลำดับ และนิยมจัดปูลาดพรมเล็กสำหรับเป็นอาสนะที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูปเพื่อให้สูงกว่าที่นั่ง ของคฤหัสถ์อีกด้วย |
|
สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น นิยมกันทั่วไปว่า จะต้องไม่ดีกว่า ไม่ประณีตกว่า และไม่อยู่ | |
ณ ที่สูงกว่าอาสน์สงฆ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพคารวะแก่พระสงฆ์ | |
การปูลาดอาสน์สงฆ์ และอาสนะที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น โดยทั่วไป นิยมจัดแยกออกจากกัน | |
คนละส่วน เพื่อความสบายใจด้วยกันทุกฝ่าย | |
การจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์
|
|
การจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์งานพิธีทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น นิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์เฉพาะพิธีทำบุญงาน | |
มงคลทุกชนิด
เช่น งานทำบุญมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญฉลองต่าง ๆ เป็นต้น และนิยมจัดตั้งภาชนะ
น้ำมนต์นี้ไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา ด้านพระเถระประธานสงฆ์นั่ง |
|
ส่วนพิธีทำบุญงานอวมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับศพ เช่น งานทำบุญสัตตมวาร (ทำบุญ ๗ วัน) งานทำบุญ | |
ปัญญาสมวาร(ทำบุญ
๕๐ วัน) งานทำบุญสตมวาร (ทำบุญ ๑๐๐ วัน) เป็นต้น ไม่นิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์
เพราะพิธีทำบุญ งานศพนั้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ไม่ใช่จัดทำเพื่อความเป็นศิริมงคลแก ่เจ้าของงาน |
|
ภาชนะน้ำมนต์ |
|
-ภาชนะสำหรับใส่น้ำมนต์นั้น นิยมใช้หม้อน้ำมนต์โดยนเฉพาะ หรือใช้บาตรพระสงฆ์แทนก็ได้ แต่ไม่นิยมใช้ | |
ขันเงินแทน เพราะเป็นวัตถุอนามาสที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ควรจับต้อง เพราะเกิดอาบัติโทษแก่พระสงฆ์ผู้จับต้อง | |
-น้ำสำหรับทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ใส่น้ำขนาดเกือบเต็มภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์นั้น | |
และมีวัตถุที่นิยมกันว่าเป็นมงคล ตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ ใส่ในภาชนะน้ำมนต์นั้นด้วย | |
|
|
-เทียนสำหรับทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ มีขนาดเล่มใหญ่พอสมควร ขนาดอย่างเล็ก นิยมมีน้ำหนัก | |
๑ บาทขึ้นไป และนิยมใช้เทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อป้องกันมิให้ไฟดับง่าย เมื่อถูกลมพัด | |
การเตรียมตัวไปงานพิธีทำบุญ |
|
-พระภิกษุสงฆ์ต้องรักษากายบริหารให้เรียบร้อย คือ ต้องโกนหนวดโกนเครา ตัดเล็บมือและเล็บเท้า ถอน | |
ขนจมูกที่ยาวออกมาข้างนอก
และต้องชำระมลทินกายให้สะอาด หมดจด เรียบร้อย เหมาะสมแก่ภาวะที่เป็นพระสมณ ศากยบุตรพุทธชิโนรส |
|
-ต้องนุ่งห่มเป็นปริมณฑล และใช้ผ้าสบง ผ้าจีวร ผ้าสังฆาฏิ ทั้ง ๓ ผืน มีสีอย่างเดียวกันในองค์เดียวกัน ผ้าเครื่อง | |
หุ่งห่มสะอาดหมดจด ไม่ด่าง ไม่ดำ ไม่สกปรก ไม่เหม็นสาบ และไม่หอมกรุ่นด้วยน้ำอบน้ำปรุง เพราะผิดวิสัยของสมณะ | |
การพาดผ้าสังฆาฏิ |
|
-ขณะเดินทางไปในกิจนิมนต์ต่าง ๆ นิยมพับผ้าสังฆาฏิกึ่งกลางเป็นสองทบ แล้ววางพาดไว้ที่ไหล่ซ้าย | |
เอาชายผ้าสังฆาฏิไว้ข้างหน้า ประมาณให้ผ้าสังฆาฏิห้อยลงเสมอกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง | |
-ขณะเข้าร่วมพิธีต่าง ๆ ถ้าห่มจีวรจีบ คาดประคดอก นิยมพาดผ้าสังฆาฏิให้ชายผ้าสังฆาฏิเท่ากับ ชายจีบ | |
ของจีวร ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าห่มจีวรม้วนลูกบวบนิยมพาดผ้าสังฆาฏิให้ชายด้านหน้าและชายด้านหลัง ห้อยลงเท่ากัน | |
-ในพิธีเสด็จพระราชดำเนิน ถ้ามีพระสงฆ์ทั้งสองนิกายมาร่วมในพิธีนั้น พระสงฆ์ที่ห่มจีวรม้วนลูกบวบ | |
นิยมต้องพาดผ้าสังฆาฏิและคาดประคดอกด้วย เพื่อความเป็นระเบียบด้วยกัน ไม่ลักลั่นกัน | |
การถือพัดและย่ามไปงานพิธีทำบุญ |
|
-กิจนิมนต์พิธีทำบุญใด เกี่ยวเนื่องด้วยเจ้าของย่ามและพัดรองที่ได้รับถวายไว้แล้ว นิยมนำย่ามและพัดรองนั้น | |
ไปใช้ในกิจนิมนต์พิธีทำบุญนั้นด้วย
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของย่ามและพัดรองนั้น และเพื่อให้เจ้าของเกิดความปลื้มใจ | ว่าสิ่งของที่เขาถวายไว้ พระสงฆ์ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สมเจตนาของเขา |
|
-ไม่นิยมนำย่ามและพัดรองที่ปักเป็นอนุสรณ์งานศพ ไปใช้ในงานมงคล เช่น งานทำบุญอายุ เป็นต้น เพราะชาว | |
บ้านเขาถือกันว่า ไม่เป็นสิริมงคลแก่งานและแก่เจ้าภาพงานด้วย | |
-ไม่นิยมใช้ย่ามซ้อนกันมากกว่า ๒ ลูกขึ้นไป เพราะเพิ่มความหนักเกินความจำเป็น ทั้งเป็นการแสดงความ | |
รุงรังมากกว่าความเรียบร้อย และเป็นการแสดงความเกินพอดีมากกว่าความพอดี | |
-ขณะเดินทางไปในละแวกบ้าน นิยมคล้องย่ามไว้ที่แขนซ้าย หันด้านหน้าของย่ามไว้ข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้ | |
และนิยมถือพัดรองด้วยมือซ้าย
จับประมาณกึ่งกลางด้ามพัด ยกมือซ้ายขึ้นอยู่ระดับอก ให้ใบพัดแนบกับหัวไหล่ซ้าย
หันหน้า |
|
-ขณะจะเดินเข้า หรือ จะเดินออกจากสถานที่พิธีงานทำบุญ นิยมพับหูย่ามกึ่งกลาง ถือด้วยมือซ้าย โดยถือ | |
ควบกับพัดรอง ส่วนมือขวาคอยจับจีวรไว้ไม่ให้แยกออกจากกัน | |
ระเบียบการขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์ |
|
-ก่อนที่จะขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์ในงานบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ซึ่งเจ้าภาพอาราธนา พระเถรานุเถระ มาจากหลายวัด | |
นิยมไต่ถามพิธีกรให้ทราบถึงลำดับการนั่งของตนเสียก่อน จึงขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์ เพื่อไม่ต้องลำบากในการเปลี่ยนที่นั่งอีก หรือนิยมรอคอยให้พระสงฆ์มาพร้อมกันก่อน ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ลักลั่นกัน | |
-ก่อนที่จะขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์ ในงานตั้งศพคฤหัสถ์บำเพ็ญกุศล นิยมยืนตรง หันหน้าไปทางที่ตั้งศพ มือทั้งสอง | |
ห้อยประสานกันข้างหน้า สำรวมจิตแผ่ส่วนกุศลให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป ชั่วขณะหนึ่ง แล้วจึงก้าวขึ้นอาสน์สงฆ์ตามลำดับของตน | |
-ก่อนที่จะขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์ ในงานตั้งศพพระเถระผู้ใหญ่บำเพ็ญกุศล พระภิกษุสงฆ์ผู้ได้รับอาราธนาไปใน | |
งานบำเพ็ญกุศลศพพระเถระผู้ใหญ่นั้น เมื่อไปถึงสถานที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลนั้น นิยมปฏิบัติดังนี้ |
-ถ้าบริเวณสถานที่นั้น ตั้งเก้าอี้ไว้เป็นสถานที่รับแขก มีพระเถระผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้อยู่ และมีคฤหัสถ์ | ||
ชายหญิงนั่งเก้าอี้อยู่
ณ ที่นั้นด้วย ในกรณีเช่นนี้ ไม่นิยมนั่งลงกับพื้นกราบพระเถระ เพราะถือกันว่าเป็นการลดตัวลงต่ำกว่า คฤหัสถ์ ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย แต่นิยมยืนน้อมตัวลงยกมือไหว้พระเถระผู้ใหญ่ซึ่งนั่งเก้าอี้อยู่ ณ ที่นั้น นิยมกันว่าเป็นการ เหมาะสมแล้ว |
||
-นิยมขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์กราบพระพุทธรูป และกราบศพพระเถระผู้ใหญ่ไม่นิยมนั่งลงกับพื้น กราบพระ | ||
พุทธรูป และกราบศพพระเถระผู้ใหญ่ เพราะเป็นการลดตัวลงต่ำกว่าคฤหัสถ์ดังกล่าวแล้ว หรือ | ||
-นิยมรอคอยพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว จึงขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์แล้วกราบพระพุทธรูป ๓ ครั้ง และ | ||
กราบศพพระเถระผู้ใหญ่อีก ๓ ครั้ง โดยกราบพร้อมกัน | ||
-ถ้าอาสน์สงฆ์ยกพื้นขึ้นสูง นิยมปฏิบัติในการขึ้นอาสน์สงฆ์ ดังนี้ เมื่อเดินไปถึงลำดับที่นั่งของตนแล้ว | ||
ก้าวเท้าขวาขึ้นคุกเข่าลงก่อน
แล้วก้าวเท้าซ้ายขึ้นคุกเข่าตาม แล้วเดินเข่าถอยหลังเข้าไปจนถึงอาสนะที่นั่งของตน
เมื่อนั่ง แล้ว จึงวางพัดรองพิงไว้ ณ ด้านขวามือ โดยหันหน้าพัดออกข้างนอก และนิยมถอดปลอกพัดออกก่อนเข้าไปในพิธีงาน ถ้า มีที่ปักพัด ก็นิยมปักพัดรองไว้ ณ ที่ปักพัดนั้น ถ้าไม่มีที่พิง และไม่มีที่ปักพัด ก็นิยมวางพัดรองไว้กับพื้นอาสน์สงฆ์ด้านขวามือ โดยหันใบพัดไปด้านหลัง ระวังอย่าให้ด้ามพัดเลยระดับหัวเข่าออกมาข้างนอก หรือถ้ามีหมอนอิง ก็นิยมวางพัดตะแคงพิงไว้ กับหมอนอิงด้านขวามือ โดยหันหน้าพัดออกด้านนอก และไม่นิยมวางย่ามไว้ข้างหน้า หรือ วางไว้บนตัก เพราะกีดขวางการ ทอดผ้าบังสุกุล เป็นต้น |
||
-ถ้าอาสน์สงฆ์ปูลาดอยู่กับพื้น โดยมีผ้าขาวปูรองอาสนะไว้ข้างล่าง และผ้าขาวนั้นกว้างออกมาจาก | ||
อาสนะที่ปูนั่งนั้น
นิยมนั่งคุกเขาลงแล้วเดินเข่าถอยหลังเข้าไป
พึงระวังอย่าให้เท้า หรือย่ามไปถูกต้องภาชนะน้ำ พานหมาก พลู-บุหรี่ หรือกระโถนหกล้มเสียหาย เมื่อถึงอาสนะนั่งแล้ว จึงวางพัดรองและย่ามดังกล่าวแล้ว ห้ามเดินเหยียบผ้าขาวที่ปูลาด ไว้นั้น เพราะผิดพระวินัย และห้ามยืนหรือเดินบนอาสน์สงฆ์อย่างเด็ดขาด เพราะถือกันว่า เป็นกิริยาอาการที่ไม่งาม ไม่ เหมาะสม นับเป็นการเสียมารยาทเป็นอย่างมาก |
||
อิริยาบถการนั่งในงานพิธีทำบุญ |
||
-อิริยาบถการนั่งในงานพิธีทำบุญนั้น นิยมนั่งพับเพียบ แบบเก็บเท้าไม่ให้ยื่นออกมาภายนอก โดยใช้ชายจีวร | ||
ปกปิดขาและเท้าทั้งสองให้มิดชิด
ไม่ปล่อยให้หัวแม่เท้าโผล่ออกมาข้างนอก นั่งตั้งตัวตรง ไม่เอนหลังไปตามหมอนอิง
จน ดูคล้ายกับนอนพักผ่อน มือทั้งสองประสานกันวางหงายไว้บนหน้าตัก หรือวางประกบกัน โดยวางมือซ้ายหงาย วางมือขวาคว่ำ ประกบกับมือซ้าย วางไว้ที่หน้าตัก หรือวางมือซ้ายคว่ำ วางมือขวาคว่ำ ประกบกับมือซ้าย สายตาทอดลงชั่วแอก (ประมาณ ๔ ศอก) ไม่เวิกจีวรขึ้นพาดบ่า หรือเปิดจีวรให้เห็นชายโครง เป็นต้น เพราะเป็นการผิดพระวินัย |
||
การเปลี่ยนอิริยาบถการนั่ง |
||
-การเปลี่ยนอิริยาบถการนั่งพับเพียบไปอีกข้างหนึ่ง นิยมใช้มือทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสอง หรือยันที่พื้นข้างหน้า | ||
(วิธีนี้เหมาะสำหรับคนเจ้าเนื้อ) กระหย่งตัวขึ้น แล้วเปลี่ยนพลิกขาพับกลับไปอีกด้านหนึ่ง โดยวิธีการสับเปลี่ยนกันอยู่ด้านหลัง ไม่นิยมยกขามาสับเปลี่ยนกันข้างหน้า เพราะเป็นอาการที่ไม่สุภาพและไม่ค่อยปลอดภัยด้วย | ||
-การเปลี่ยนอิริยาบถการนั่งพับเพียบเป็นนั่งขัดสมาธิ์ นิยมสับเปลี่ยนแบบเดียวกันกับการเปลี่ยนนั่งพับเพียบ | ||
และการนั่งขัดสมาธิ์นี้
นิยมนั่งขัดสมาธิ์ชั้นเดียว ไม่นิยมนั่งขัดสมาธิ์สองชั้น และไม่นิยมนั่งกระดิกเท้า
เพราะเป็นกิริยาอาการ ที่ไม่สุภาพ ไม่สมควรจะแสดงต่อหน้าประชาชนทั้งหลาย |
||
การมอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่ |
||
-ผู้เป็นพิธีกรทำหน้าที่มอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีงานนั้น ๆ หรือมอบให้แก่ท่านเจ้าภาพ | ||
งานทำบุญต่าง ๆ จะต้องเตรียมจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ให้มีพร้อม ดังนี้ | ||
๑.เชิงเทียนขนาดกลาง
๑ ที่ (ควรเป็นเชิงเทียนทองเหลือง เพราะติดเทียนได้มั่นคงดี) ๒.เทียนขี้ผึ้ง มีขนาดใหญ่พอสมควร ๑ เล่ม (ควรหาเทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อไฟไม่ดับง่าย) ๓.น้ำมันยาง น้ำมันก๊าซ หรือ น้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งสำลีสำหรับใช้เป็นชนวนติดไว้ที่ธูป และเทียน เพื่อสะดวกแก่การจุดไฟติดได้ง่าย |
||
วิธีการถือเชิงเทียนชนวน |
||
-การถือเชิงเทียนชนวนมอบให้แก่ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นประธานพิธีงานนั้น ๆ หรือ ให้แก่ท่านเจ้าภาพงานทำบุญนั้น ๆ | ||
นิยมถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ นิ้วมือทั้ง ๔ นิ้ว รองรับเชิงเทียน หัวแม่มือจับอยู่บนเชิงเทียน | ||
-ไม่นิยมจับกึ่งกลางเชิงเทียนเพราะจะทำให้ผู้ใหญ่รับเชิงเทียนชนวนไม่สะดวกหรือจะทำให้ผู้ใหญ่ต้องเสียภูมิ | ||
เพราะจับเชิงเทียนขนวนภายใต้มือของพิธีกรผู้ส่งให้ แสดงว่าไม่รู้ระเบียบ | ||
วิธีการมอบเชิงเทียนชนวน |
||
-เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแล้ว พิธีกรพึงจุดเทียนชนวน ถือด้วยมือขวา มือซ้ายควรถือไม้ขีดไฟติดมือไปด้วย | ||
(เมื่อเทียนชนวนดับ
จะได้จุดได้ทันท่วงที) เดินเข้าไปหา ท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือท่านเจ้าภาพงานทำบุญ
ยืนตรงโค้งคำนับ ท่าน (สำหรับพิธีกร และประธานพิธีเป็นคฤหัสถ์) ถ้าประธานพิธีเป็นพระเถระผู้ใหญ่ พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าลง กราบเรียนให้ท่าน ทราบ หรือ |
||
-เมื่อพิธีกรเริ่มจุดเทียนชนวน ท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือท่านเจ้าภาพงานเห็นแล้ว ลุกจากที่นั่ง เดินไปที่โต๊ะ | ||
หมู่บูชาพระรัตนตรัยเอง พิธีกรพึงเดินตามหลังท่านไป โดยเดินตามไปทางด้านซ้ายมือของท่าน | ||
-ถ้าประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน หยุดยืนที่ข้างหน้าที่บูชา พิธีกรพึงนั่งชันเข่า ถ้าท่านนั่งคุกเข่า พิธีกรพึง | ||
นั่งคุกเข่าทางด้านซ้ายมือของท่าน ยื่นมือขวาส่งเชิงเทียนชนวนมอบให้ท่าน ส่วนมือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว | ||
-เมื่อมอบเชิงเทียนชนวนให้ท่านแล้ว พิธีกรพึงถอยหลังออกมาให้ห่างจากท่านพอสมควร เพื่อไม่ให้ขัดขวาง | ||
การถ่ายรูปของช่างภาพ
โดยถอยห่างออกมานั่งชันเข่า หรือนั่งคุกเข่า ตามควรแก่กรณีพร้อมกับคอยสังเกตดู
ถ้าเทียนขนวน ดับพึงรีบเข้าไปจุดได้ทันที |
||
วิธีการรับเชิงเทียนชนวนจากผู้ใหญ่
|
||
-เมื่อท่านผู้ใหญ่จุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว พิธีกรพึงเข้าไปทางด้านซ้ายมือของท่าน | ||
ถ้าท่านยืนจุด พิธีกรพึงนั่งชันเข่ารับ ถ้าท่านนั่งคุกเข่าจุด พิธีกรพึงนั่งคุกเข่ารับเชิงเทียนชนวน | ||
-การรับเชิงเทียนชนวนจากผู้ใหญ่นั้น นิยมยื่นมือขวาแบมือเข้าไปรองรับเชิงเทียนชนวนจากท่าน | ||
เมื่อรับเชิงเทียนชนวนแล้ว นิยมถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อยแล้วเดินกลับไปได้ | ||
ข้อควรสังวรระวัง |
||
-พิธีกรอย่าจับเชิงเทียนชนวนเหนือมือท่านผู้ใหญ่ที่ท่านจับอยู่ ถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพท่าน | ||
ทั้งเป็นการแสดงว่า ตนเป็นคนไม่รู้ระเบียบอีกด้วย | ||
-ขณะส่งเชิงเทียนชนวนมอบให้ท่านผู้ใหญ่ อย่าถือกึ่งกลางเชิงเทียนส่งมอบให้ท่าน เพราะจะทำให้ท่าน | ||
รับเชิงเทียนไม่สะดวก | ||
-ต้องเตรียมไม้ขีดไฟ เป็นต้น ติดมือไปด้วย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะจุดได้ทันที เมื่อไฟเทียนชนวนดับลง | ||
และต้องกำหนดดูทิศทางของลมที่พัดมา
โดยเฉพาะ คือ ทิศทางลมที่เกิดจากพัดลม จะทำให้ไฟเทียนชนวนดับ หรือจะทำ ให้การจุดไฟเครื่องสักการะบูชาไม่ติด หรือ จุดไฟติดได้ยาก |
||
-ถ้าเป็นงานมงคลที่มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทมงคลสูตรว่า | ||
อะเสวะนา
จะ พาลานัง พิธีกรพึงจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือ ท่านเจ้าภาพงานทำบุญ
ให้ท่าน มาจุดเทียนน้ำมนต์ อีกครั้งหนึ่ง โดยมีวิธีการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั้น |
||
การจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย |
||
-เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแล้ว และพิธีกรถือเชิงเทียนชนวนเข้ามาเชิญไปจุดเครื่องสักการะบูชา | ||
พระรัตนตรัย ผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงาน นิยมปฏิบัติดังนี้ | ||
-ลุกขึ้นจากที่นั่ง เดินไปที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ถ้าโต๊ะหมู่บูชาตั้งอยู่ที่สูง นิยมยืน ถ้าโต๊ะหมู่บูชา | ||
ตั้งอยู่ที่ไม่สูงนัก
พอนั่งคุกเข่าจุดถึง
ก็นิยมนั่งคุกเข่าลงแล้วรับเชิงเทียนชนวนมาจากพิธีกร แต่ไม่นิยมรับเขิงเทียนชนวน จากพิธีกรมาก่อนที่ยังไม่ถึงหน้าโต๊ะหมู่บูชา |
||
-นิยมจุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเทียนเล่มซ้ายต่อไป ถ้ามีเทียนตั้งอยู่หลายคู่ นิยมจุดเทียน | ||
คู่บนก่อน แล้วจึงจุดเทียนคู่ล่าง ๆ ลงมาตามลำดับจนครบทุกคู่ แล้วจึงจุดธูป | ||
-ถ้ามีสายชนวนเชื่อมโยงจากธูปไปยังเทียนทุกคู่แล้ว ก็นิยมจุดธูปเป็นอันดับแรก ถ้าธูปมิได้จุ่มน้ำมันเตรียมไว้ | ||
นิยมถอนธูปมาจุดกับเทียนชนวน ถ้าธูปจุ่มน้ำมันเตรียมไว้แล้ว ก็จุดโดยไม่ต้องถอนธูปมาจุดกับเทียนชนวน | ||
-เมื่อจุดธูปเสร็จแล้ว ก็ส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร แล้วปักธูปไว้ตามเดิม วิธีการปักธูปนั้น นิยมปักเรียงหนึ่ง | ||
เป็นแถวเดียวกัน โดยเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน ให้ธูปแต่ละดอกสูงต่ำพอ ๆ กัน หรือ | ||
-นิยมปักธูปเป็นสามเส้าก็ได้ และนิยปักธูปไว้กึ่งกลางกระถางธูป โดยปักธูปทุกดอกให้ตั้งตรง อันเป็นการ | ||
แสดงถึงนิสัยอัธยาศัยของผู้นั้นว่า เป็นคนซื่อตรง เป็นคนมีระเบียบเรียบร้อย ไม่ใช่คนมักง่าย | ||
คำบูชาพระรัตนตรัย |
||
-เมื่อปักธูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว นิยมตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย โดยนังคุกเข่าประนมมือกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย | ||
(เพียงแต่นึกในใจ) ว่า | ||
นโม
ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ |
||
การกราบพระรัตนตรัย
|
||
-เมื่อกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยจบแล้ว นิยมกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ (คือการตั้งหน้าผาก | ||
ฝ่ามือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ลงจรดพื้น) ๓ ครั้ง และในชณะที่หมอบกราบแต่ละครั้งนั้น นิยมระลึกถึงพระรัตนตรัย ดังนี้ | ||
กราบครั้งที่
๑ ระลึกว่า พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า/ กราบครั้งที่ ๒ ระลึกว่า ธัมโม เม นาโถ พระธรรม เป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า/ กราบครั้งที่ ๓ ระลึกว่า สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า// |
||
-กิริยาอาการที่กราบนั้น นิยมไม่เร็ว หรือ ช้าเกินไป และนิยมกราบให้ถูกต้อง ตามแบบเบญจางคประดิษฐ์ | ||
จริง
ๆ ทุกครั้งที่กราบพระรัตนตรัย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นทิฏฐานุคติ แก่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ถือเป็นแบบอย่างปฏิบัติตามได้ ถูกต้องสืบไป |
||
การอาราธนาศีล
|
||
-ในพิธีทำบุญงานมงคลทุกชนิด นิยมกล่าวคำอาราธนาศีลก่อน แล้วจึงกล่าวคำอาราธนาพระปริตร | ||
ในภายหลังจากรับศีลเสร็จแล้ว | ||
-เมื่อประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน จุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว พิธีกรพึงกล่าวคำ | ||
อาราธนาศีลเป็นอันดับแรก | ||
วิธีปฏิบัติในการอาราธนาศีล
|
||
พิธีกรผู้ทำหน้าที่อาราธนาศีลและพระปริตรนั้น นิยมปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานที่ของงานพิธีนั้น ๆ ดังนี้ | ||
-ถ้าเขาจัดปูลาดอาสน์สงฆ์อยู่กับพื้น และผู้มาร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทั้งหมดก็นั่งกับพื้น ในกรณีเช่นนี้ | ||
พิธีกรก็นิยมนั่งคุกเข่าประนมมือกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล | ||
-ถ้าเขาจัดอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่เจ้าภาพ หรือประธานพิธีและผู้มาร่วมงานทั้งหลายนั่งอยู่กับพื้น | ||
ในกรณีเช่นนี้ พิธีกรก็นิยมนั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำอาราธนาศีลเหมือนกัน | ||
-ถ้าเขาจัดอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น เจ้าภาพ หรือประธานพิธีและผู้มาร่วมงานทั้งหลายนั่งเก้าอี้ ในกรณีเช่นนี้ |
||
พิธีกรนิยมยืนทางท้ายอาสน์สงฆ์ประมาณข้างหน้า พระสงฆ์รูปที่ ๔-๕ ท้ายแถว หันหน้าไปทางพระเถระประธานสงฆ์ ประนมมือกล่าวคำอาราธนาศีล | ||
-ลักษณะการกล่าวคำอาราธนาศีลนั้น นิยมกล่าวคำอาราธนาอย่างชัดถ้อยชัดคำ จังหวะที่กล่าวไม่เร็ว หรือ | ||
ช้าเกินไป นิยมหยุดทอดเสียงเป็นระยะ ๆ ดังนี้ | ||
มะยัง
ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ// ติสะระเณนะ สะหะ// ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ// ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ// ติสะระเณนะ สะหะ// ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ// ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ// ติสะระเณนะ สะหะ// ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ// ฯ |
||
|
||
-การรับศีลนี้ คือ วิธีการประกาศสมาทานศีลว่า ตนจะเป็นผู้ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติทุจริตทางกาย | ||
และทางวาจาตามสิกขาบทนั้น
ๆ ด้วยความสมัครใจ ของตนเอง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่พระสงฆ์ท่านสั่งห้ามไม่ให้ประพฤติทุจริต เช่นนั้น |
||
-เพราะการสมาทานศีลนี้ เป็นเรื่องของความสมัครใจงดเว้นจากความชั่วของคฤหัสถ์แต่ละบุคคลโดยตรง | ||
ดังจะพิจารณารู้ได้จากคำสมาทานศีลแต่ละสิกขาบท ตัวอย่างเช่น ศีล ๕ สิกขาบทที่ ๑ ว่า |
||
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลความว่า ข้าพเจ้าขอสมาทาน ซึ่งสิกขาบท |
||
คือเจตนางดเว้นจากการยังสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป
คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ดังนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านสมัครใจ ตั้งใจงดเว้นเอง ไม่ใช่เป็นคำสั่งห้ามของพระสงฆ์ ทั้งไม่ใช่วิสัยของพระสงฆ์ที่จะบังคับให้ชาวบ้านประพฤติเช่นนั้นได้ ถ้าเขา ไม่สมัครใจที่จะประพฤติเช่นนั้น |
||
-แต่เพราะชาวบ้านไม่สามารถจะทรงจำคำประกาศสมาทานศีลได้ด้วยตนเอง จึงต้องขอร้องให้พระสงฆ์ท่าน | ||
ช่วยกล่าวนำให้ด้วย
เช่นเดียวกับคำกล่าวถวายสังฆทาน โดยมากชาวบ้านผู้ถวายมักจำคำถวายไม่ได้ จึงต้องขอร้องให้
|
||
-เพราะเหตุนี้ บุคคลผู้รับศีล คือ บุคคลผู้สมาทานศีลทุกคน จึงนิยมต้องกล่าวคำประกาศสมาทานรับศีล |
||
ให้พระสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
เพื่อพระสงฆ์จะได้เป็นสักขีพยาน ในการที่ตนตั้งใจจะงดเว้นจากความชั่ว และตั้งใจจะประ
กอบความดีต่อไป |
||
การให้ศีล
๕
|
||
เมื่อพิธิกรกล่าวคำอาราธนาศีล เริ่มครั้งที่ ๒ ว่า ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ฯเปฯ พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ | ||
พึงเริ่มจับพัดรองตั้งเตรียมให้ศีล เมื่อพิธิกรกล่าวคำอาราธนาศีลจบลงแล้ว พึงเริ่มตั้ง นะโม ทันทีโดยไม่ชักช้า | ||
การให้ศีลนั้น นิยมกล่าวนำตั้ง นะโม ๓ ชั้น ดังนี้:- | ||
นะโม
ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ// นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ// นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ// |
||
การให้ศีล ๕ นั้น เมื่อกล่าวนำไตรสรณคมน์จบแล้ว ไม่นิยมบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง (แปลว่า | ||
การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกจบแล้ว) | ||
การกล่าวนำให้ศีลแต่ละสิกขาบทนั้น นิยมทอดเสียง ในระหว่างกลางทุกสิขาบท ตัวอย่าง เช่น สิกขาบทที่ ๑ ว่า | ||
ปาณาติปาตา
ทอดเสียงหน่อยหนึ่งแล้วจึงกล่าวต่อไป เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แม้สิกขาบทต่อ
ๆ ไป ก็นิยม
ทอดเสียงหน่อยหนึ่ง อย่างนี้เหมือนกัน |
||
-การกล่าวสรุปท้ายบอกอานิสงส์ศีลนั้น นิยมหยุดเป็นตอน ๆ ดังนี้:-
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ//
สีเลนะ สุคะติง ยันติ// สีเลนะ โภคะสัมปะทา//
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ// ตัสมา สีลัง วิโสธะเย// ฯ
การอาราธนาพระปริตร
-เมื่อพระเถระประธานสงฆ์ให้ศีลจบแล้ว พิธีกรพึงกล่าวคำอาราธนาพระปริตรสืบต่อไป โดยการกล่าวหยุดทอดเสียงเป็นตอน ๆ ไป ดังนี้:-
วิปัตติปะฏิพาหายะ/ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา/
สัพพะทุกขะวินาสายะ/ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง//
วิปัตติปะฏิพาหายะ/ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา/
สัพพะภะยะวินาสายะ/ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง//
วิปัตติปะฏิพาหายะ/ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา/
สัพพะโรคะวินาสายะ/ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง// ฯ
การกล่าวชุมนุมเทวดา
-การกล่าวชุมนุมเทวดา คือ การกล่าวอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมงานมงคลนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพงานมงคลนั้น ๆ จะต้องเป็นผู้กล่าวอัญเชิญด้วยตนเอง หาใช่เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ไม่ แต่เนื่องจากเจ้าภาพงานนั้น ๆ ไม่สามารถจะกล่าวคำอัญเชิญได้ด้วยตนเอง จึงขอร้องให้พระสงฆ์ช่วยกล่าวอัญเชิญแทนตน ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันนี้ การกล่าวชุมนุมเทวดานี้ จึงกลายเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์โดยตรงทีเดียว
-การกล่าวชุมนุมเทวดา และการขัดตำนาน ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีทำบุญทุกชนิด นิยมเป็นหน้าที่ของพระภิกษุรูปที่ ๓ เป็นผู้กล่าวชุมนุมเทวดาและกล่าวขัดตำนาน ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากพระเถระรูปที่ ๒ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ชราภาพมีเสียงเครือ หรือ อาจเนื่องมาจากพระเถระรูปที่ ๒ จะต้องคอยรับช่วงบทเจริญพระพุทธมนต์ต่อจากพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ ถ้าพระเถระรูปที่ ๒ ทำหน้าที่กล่าวชุมนุมเทวดา และกล่าวขัดตำนานเอง เมื่อกล่าวขุมนุมเทวดา หรือกล่าวขัดตำนานจบแลัวกว่าจะเก็บพัดรองไว้ที่เดิมเสร็จ มักจะรับช่วงบทเจริญพระพุทธมนต์จากพระเถระประธานสงฆ์ไม่ทัน ทำให้เสียระเบียบการเจริญพระพุทธมนต์ได้ จึงนิยมมอบหน้าที่การกล่าวชุมนุมเทวดาและกล่าวขัดตำนาน ให้เป็นภาระหน้าที่ของพระภิกษุรูปที่ ๓ สืบต่อกันมาจนปัจจุบันนี้
-ถ้าพระภิกษุรูปที่ ๓ มีความขัดข้อง ก็อาจมอบให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุรูปที่ ๔-๕ ทำหน้าที่แทนตนก็ได้ หรือ อาจขอร้องให้พระเถระรูปที่ ๒ ขัดแทนก็ได้ ในเมื่อพิจารณาเห็นว่า พระเถระรูปที่ ๒ เป็นผู้มีเสียงดี และขัดได้ไพเราะดีซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่โดยทั่วไป
-เมื่อพิธิกรกล่าวคำอาราธนาพระปริตร เริ่มครั้งที่ ๒ ว่า วิปัตติปะฏิพาหายะ พระภิกษุรูปที่ ๓ พึงเริ่มจับพัดตั้งเตรียมกล่าวชุมนุมเทวดา เมื่องพิธีกรกล่าวคำอาราธนาพระปริตรจบลงแล้ว นิยมเริ่มกล่าวชุมนุมเทวดาทันที โดยไม่ชักช้า
การกล่าวชุมนุมเทวดางานพิธีมงคลทั่วไป
-การกล่าวชุมนุมเทวดา ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีมงคลทั้งหลายทั่วไป เช่น งานมงคลสมรส งานพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานพิธีทำบุญอายุ งานพิธีฉลองยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น นิยมกล่าวชุมนุมเทวดา ดังนี้:-
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา//
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ//
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ/ จันตะลิกเข วิมาเน//
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน/ เคหะวัตถุมหิ เขตเต//
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม/ ยักขะคันธัพพะนาคา//
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง/ สาธะโว เม สะณันตุ//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา// ฯ
การกล่าวชุมนุมเทวดางานพิธีมงคลส่วนรวม
-การกล่าวชุมนุมเทวดา ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีมงคลส่วนรวม เช่น งานรัฐพิธีขึ้นปีใหม่ งานรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ งานรัฐพิธีสาบานธง งานพิธีฉลองวัด งานทำบุญกลางบ้าน เป็นต้น นิยมกล่าวชุมนุมเทวดา ดังนี้.
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา//
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง//
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ/ จันตะลิกเข วิมาเน//
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน/ เคหะวัตถุมหิ เขตเต//
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม/ ยักขะคันธัพพะนาคา/
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง/ สาธะโว เม สุณันตุ//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา// ฯ
การกล่าวชุมนุมเทวดางานพระราชพิธี
-การกล่าวชุมนุมเทวดา ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพระราชพิธีมงคลทุกประเภท เช่น งานพระราชพิธีมงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น นิยมกล่าวชุมนุมเทวดา ดังนี้.
สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง//
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ//
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา//
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ//
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ/ จันตะลิกเข วิมาเน//
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน/ เคหะวัตถุมหิ เขตเต/
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม/ ยักขะคันธัพพะนาคา//
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง/ สาธะโว เม สุณันตุ//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
ธัมมัสสะวะนะกาโล/ อะยัมภะทันตา//
การประนมมือในศาสนพิธีการทำบุญ
-การประนมมือในการเจริญพระพุทธมนต์ หรือในการสวดพระพุทธมนต์นั้น เป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธมนต์ที่กำลังกล่าวสวดอยู่นั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องกระทำด้วยความประณีตเรียบร้อย อันแสดงออกถึงกิริยาอาการที่ทำด้วยความเคารพ เอื้อเฟื้อเป็นอย่างดี ทั้งเป็นการแสดงตัวอย่างให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ยึดถือเป็นทิฏฐานุคติ ดำเนินรอยตามอีกด้วย
-นิยมประนมมือ โดยยกมือทั้งสองขึ้นบรรจบกันระหว่างอก ให้นิ้วมือทั้งสิบแนบขิดสนิทกัน ตั้งปลายนิ้วมือขึ้นข้างบน ศอกทั้งสองข้างวางแนบชิดกับชายโครง
-ไม่นิยมประนมมือแบบไม้ค้างถั่ว คือ เอานิ้วมือทั้งสองข้างวางประสานไขว้กัน ไม่นิยมประนมมือแบบแง่งขิงแง่งข่า คือ เอานิ้วมืองอเข้าหากัน ทำมือหงิกมืองอ ไม่นิยมประนมมือแบบฝ่ามือโก่งออกจากกันเป็นกระโปรง
-ไม่นิยมยกกระพุ่มมือประนมขึ้นยันคาง หรือ ยกขึ้นปิดปาก หรือ ลดกระพุ่มมือประนมลงวางไว้ที่พุง หรือ ปล่อยให้กระพุ่มมือประนมหันปลายนิ้วลงเบื้องล่างซึ่งเป็นกิริยาอาการที่ไม่น่าเลื่อมใส
การเจริญพระพุทธมนต์
-การเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีการทำบุญเพื่อความเป็นศิริมงคลต่างชนิดนั้น นิยมใช้บทพระพุทธมนต์เหมาะแก่งาน พอเหมาะแก่กาลเวลา และใช้จังหวะการสวดเหมาะแก่บุคคลผู้ฟัง คือ.
-ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ใหญ่ หรือ เป็นคนสูงอายุ นิยมสวดจังหวะช้าลง ไม่กระชั้นนัก
-ถ้าผู้ฟังเป็นข้าราชการ นิยมใช้จังหวะปานกลาง ไม่เร็วนักและไม่ช้านัก
-ถ้าผู้ฟังเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา นิยมสวดเร่งให้เร็วขึ้นหน่อย
-เมื่อประธานพิธี หรือ เจ้าภาพ เริ่มจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ พึงเริ่มหยิบกลุ่มด้ายสายสิญจน์คลี่ส่งให้พระภิกษุรูปที่ ๒ คลี่ส่งต่อ ๆ กันไปตามลำดับ
-พระภิกษุรูปสุดท้าย พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพานสำหรับรองรับ ถ้าไม่มีพานตั้งไว้สำหรับรองรับ ก็นิยมวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพานหมากพลู-บุหรี่ ถ้าไม่มีพานหมากพลู-บุหรี่ ก็นิยมวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้ในย่ามของตน
-เมื่อเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทสุดท้าย คือ ภะวุตุ สัพพะมังคะลัง พระภิกษุรูปสุดท้ายพึงเริ่มม้วนเก็บด้ายสายสิญจน์ส่งกลับตืน
-ด้ายสายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูปนั้น นิยมกันว่า ห้ามข้ามกราย ถ้ามีความจำเป็นจะต้องรับประเคนสิ่งของ ในขณะที่กำลังถือด้ายสายสิญจน์อยู่นั้น นิยมใช้มือสอดลอดใต้ด้ายสายสิญจน์รับประเคน
การจุดเทียนน้ำมนต์
-ผู้เป็นประธานพิธี หรือ ผู้เป็นเจ้าภาพงานทำบุญนั้น นิยมรอคอยเวลาจุดเทียนน้ำมนต์ถวายพระสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง แม้จะมีธุระอย่างใด ก็ควรงดไว้ก่อน
-เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบทมงคลสูตรว่า อะเสวนา จะ พาลานัง พิธีกรพึงจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญประธานพิธี หรือเจ้าภาพงานไปจุดเทียนน้ำมนต์ ซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้าของพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์
-เมื่อจะจุดเทียนน้ำมนต์นั้น นิยมหยดน้ำตาเทียนชนวนลงที่ไส้ของเทียนน้ำมนต์นั้นก่อน เพื่อจะทำให้การจุดไฟติดได้ง่าย และไส้เทียนน้ำมนต์นั้นจะไม่ถูกไฟไหม้หมดไปเสียก่อน
-เมื่อจุดเทียนน้ำมนต์แล้ว ก็ส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร แล้วยกภาชนะน้ำมนต์นั้น ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ เมื่อยกภาชนะน้ำมนต์ถวายแล้ว นิยมยกมือไหว้พระเถระประธานสงฆ์นั้น แล้วกลับไปนั่งที่เดิม
-ต่อจากนั้น ถ้ามีธุระจำเป็น ก็พอปลีกตัวไปได้บ้าง แต่ตามความนิยมแล้วผู้เป็นประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน ไม่นิยมปลีกตัวไปไหนในชณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ประธานพิธี หรือ แก่เจ้าภาพงานนั้น นิยมนั่งอยู่เป็นประธานจนกว่าจะเสร็จพิธี จึงจะเป็นการถูกต้องและเหมาะสมทุกประการ