สัมพันธภาพสังคมพุทธ
โดย... ส.สร้อยดาว ******************************* |
|
ความยิ่งใหญ่ในธรรม
ไม่มีอยู่แด่ผู้ไม่รักอุทิศ ชีวิตที่ต่ำต้อยด้วยเห็นแก่ตัว เป็นความชั่วแก่ตนโดยตรง กระจายเชื้อชั่วแก่โลกโดยรอบ อุทิศเถิด เพื่อมวลมนุษย์ชาติ ด้วยธรรม แล้วเราจะไม่เสื่อมต่ำ ทั้งดีแก่ตนโดยตรง กระจายเชื้อดีแก่โลกโดยรอบ ในความเป็นนักศึกษาโลกุตตระ ปัญญาภาษิตดังกล่าวต้องฝังหัวให้ยิ่งไว้ มิเช่นนั้นจะกลายเป็นเดียรถีย์ |
|
หลุดทางพระศาสดาได้ง่าย
และพึงทราบ ในสังคมแนวพุทธนั้น มีการเกื้อกูลกัน มิใช่ต่างคนต่างเตร็ดเตร่ตามประสงค์
แล้วเข้าใจว่าตนคือนักศึกษาผู้ลุถึงซึ่งเสรี |
|
เสรีภาพในการสนองภพ
นั่นยังไม่ใช่อิสระเสรี ผู้ทำดีในหมู่มนุษย์ยังสงบเย็นเป็นที่สุด นี่จึงเป็นอิสระเสรีที่แท้จริง ศาสนาพุทธเป็นศาสนาสังคม เรียกว่าสังคมพุทธบริษัท ฉะนั้นจึงมิใช่แหล่งรวมนักท่องเที่ยวซึ่งหากผู้ใด |
|
ยังติดเตร็ดเตร่
นั่นก็สัมภเวสี หรือวิญญาณเก่ายังครอบงำนำเที่ยวได้อยู่ สังเกตดูย่อมเห็นได้
พวกเสือ สิงห์ กระทิง แรด ก็ชอบไปเขาไปป่า พวกกุ้ง หอย ปู ปลาก็ชอบหาดทรายชายทะเล ซึ่งนี่ไม่ใช่วิญญาณเสรี ยิ่งไม่ใช่พุทธวิถี |
|
พระพุทธองค์ตรัส มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ หมายความว่า | |
สังคมพุทธต้องอยู่ร่วมเป็นหลัก
ดูได้ในนักบวช หากยังถูกอารมณ์หรือถิ่นเก่าทางวิญญาณเร้าให้ต้องเตร็ดเตร่สัมภเวสี ไป แต่ช่วงเข้าพรรษาต้องมาอยู่ร่วมกันตามพุทธบัญญัติ เพราะอยู่ร่วมย่อมทำให้บริบูรณ์ ตามโอวาทปาติโมกข์ที่ว่า |
|
"สพฺพปาปสฺส
อกรณํ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, กุสลสฺสูปสมฺปทา การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมบริบูรณ์, สจิตฺต ปริโยทปนํ การยังจิตใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ เอตํพุทฺธานสาสนํ นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์" |
|
ได้โดยง่าย
ซึ่งนักศึกษาเข้าใจดี สองตาของตัวมองทั่วเรือนร่างไม่ได้ ฉะนั้นอยู่ร่วมนี่แหละ
จะมีผู้สะท้อนให้เราเห็น ตนเองชัดขึ้น ซึ่งเป็นเบื้องต้นการละบาปหรือความหลงติดทั้งปวง |
|
สองมือของตนทำกุศลถ้วนทั่วไม่ได้ ฉะนั้นอยู่ร่วมอย่างเอามือมาให้ เอาใจมาร่วมนี่แหละ จะเอื้อเราบำ | |
เพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมได้
และเพียงหนึ่งสมองกับสองมือตน บุคคลจะรู้ซึ้งถึงความใจดำไม่ง่าย เปลืองกล่าวไปใยถึงชำระ ให้ขาวสะอาด ฉะนั้นอยู่ร่วมมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีนี่แหละ ที่จะทำให้เรารู้ซึ่งถึงความใจดำ มีเรื่องมาเร้า มโนธรรมให้รักอุทิศ และมีช่องทางชำระจิตให้ขาวรอบได้ |
|
แน่นอน ต้องอดทน ซึ่งต่างกับความอดทนบนเส้นทางเดียรถีย์ผู้ยินดีในการสนองภพแน่นอน เพราะความ | |
อดทนบนเส้นทางของพุทธ คืออยู่ในหมู่มนุษย์อย่างเกื้อกูล และตั้งมั่นไม่หวั่นไหวด้วยนิวรณ์ธรรมใด ๆ | |
เชื่อมิใช่หรือที่พระพุทธองค์ตรัส เหตุแห่งการณ์หาทรัพย์ได้เสมอด้วยความอดทนมิได้มี และพึงเข้าใจให้ | |
ดีได้ว่า
ทรัพย์แท้มิได้มีอยู่นอกหมู่มนุษย์ และในหมู่มนุษย์ที่เราร่วมอยู่อย่างเป็นผู้เกื้อกูล
ย่อมเป็นเบ้าหลอมบ่มเคี่ยวสติ ปัญญา เมตตา สัปปุริสธรรมให้เติบโตในตน กล่าวให้ง่ายว่า จะเก่ง ดี มีประโยชน์คุณค่า ต้องดำเนินรอยทางเดียวกับ พระศาสดา คือ แสวงหาการเกื้อกูล |
|
อาจไม่ง่าย เพราะอยู่กับคนไม่เหมือนต้นไม้ แต่วิถีนักศึกษาโลกุตระเป็นเช่นนี้ ซึ่งจะทำให้เราได้ทำใน | |
สิ่งที่คนอื่นทำได้ยาก
ได้ทนในสิ่งที่คนอื่นทนได้ยาก ได้สละในสิ่งที่คนอื่นสละได้ยาก เยี่ยงนี้แล้วเราจึงจะได้สิ่งที่คนอื่น ได้โดยยาก กล่าวคือ ความรู้อันลึกซึ้ง ความสงบอันลึกซึ้ง และความรักอันลึกซึ้งหรือภาษาศาสนาเรียกว่า "นิพพาน" |
|
ดังนั้นแม้ไม่ง่าย แต่หากเป็นผู้ใฝ่ศึกษาโลกุตระวิทยาจริงแล้ว ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ และบทเรียนในโลก | |
บอกสอนให้เรารู้ว่า
หากประสงค์อยู่ร่วมกันอย่างสมานสามัคคี เราต้องมีศัตรูร่วมกัน
ไม่ ไม่ใช่ใครคนนั้น
แต่เราหมาย ตามพระบรมครูโดยนัยที่ว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ในหมู่มนุษย์ อวิชชาเป็นศัตรูร้ายที่สุด |
|
เชื่อว่าหากผองเราเห็นความทุกข์เป็นภัย เห็นอวิชชาเป็นข้าศึกที่ยิ่งใหญ่ร่วมกันเช่นนี้ การวิวาทบาด | |
หมางย่อมลดลง ความรัก ความปรารถนาดีจะมีให้กันมากขึ้น | |
ที่สำคัญเราจะไม่หักนิ้วครูบาอาจารย์ผู้ช่วยเหลือเพื่อนนักศึกษาที่ชี้บอกหรือสะท้อนให้เห็น | |
อวิชชาหรือกิเลสตัณหาในตน
ทั้งยังจะขอบคุณและเข้าข้างผู้ช่วยชี้บอก เพื่อร่วมมือกันกำจัดข้าศึกศัตรู ที่สิงสู่อยู่ในตัวด้วยซ้ำ เป็นประโยชน์ใหญ่ในการอยู่ร่วมตัณหา หรืออัตตาเป็นตน แล้วคอยปกปักพิทักษ์ มันไว้ ซึ่งหากเช่นนี้ แม้ศึกษาปฏิบัติไปนานปานใด ไม่รุ่ง |
|
เมื่อเลือกแล้วที่จะเป็นนักศึกษาสังคมพุทธ การอยู่ร่วมเป็นเรื่องไม่ควรเลี่ยง และเพื่อนอยู่ร่วม จะมีความ | |
หมาย
นักศึกษาทั้งหลายควรตระหนักงามวลีนี้ไว้
เพียงบุปผาคลี่บาน จักรวาลก็สั่นไหว
หมายความว่า ทุกบทบาท พฤติกรรมที่แสดงออก มีผลกระทบทั้งสิ้น เราสมควรตระหนักสร้างสรร กำนัลกุศลแด่ผู้คนเป็นอาจิณ ซึ่งความที่กล่าว แล้วมีวาทะพระศาสดารับรองที่ว่า ชีวิตเราเนื่องด้วยผู้อื่น ควรทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย และกายกรรม วจีกรรมที่ดี กว่านี้ยังมีอยู่อีก ฯลฯ |
|
คำความเหล่านี้หากไม่เห็นสำคัญ ไม่จัดสรรตนตาม เชื่อเลยว่าเราเลี่ยงการเป็นแบบอย่างสร้างบาป | |
มิได้แล้ว ยิ่งอยู่ในหมู่คน บาปอกุศลยิ่งแพร่เชื้อได้ไกล และเราต้องแบกรับวิบากบากปสักเท่าไร? | |
จริงอยู่ การทำดีหรือกุศลไม่ง่าย แต่อย่างไรชีวิตต้องผ่านการกระทำ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม | |
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรมิใช่หรือที่ทุกกิจกรรม ทุกคำกล่าว ทุกเรื่องราวที่เราคิด แม้ที่สุดทุกขณะจิตแห่งชีวิต | |
เราควรทำดี
ให้ดีที่สุด เก่งที่สุด เป็นประโยชน์คุณค่ามากที่สุด เราควรพูดดี ให้ดีที่สุด เก่งที่สุด เป็นประโยชน์คุณค่ามากที่สุด เราควรคิดดี ให้ดีที่สุด เก่งที่สุด เป็นประโยชน์คุณค่ามากที่สุด ซึ่งเป็นทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านโดยแท้ และธรรมดา อยู่ร่วมกับผู้คนย่อมส่งผลเป็นสอง คือเป็นที่ชื่นชอบหรือชิงชัง ยังอารมณ์ชื่นหรืออารมณ์ซ้ำ |
|
ให้เกิด
จริง
นักศึกษาควรเป็นที่ชื่นชม มีอารมณ์แช่มชื่น แต่ไม่ง่าย เพราะในบางกรรมที่ทำแม้นักศึกษาไม่ผิดจริงก็ อาจเป็นที่ผิดใจได้ แม้ดีจริงก็ยังเป็นที่หมั่นไส้ได้ ที่สำคัญตนเองนั่นแหละ กว่าจะเข้าตากรรมการ ประมาณสัปปุริสธรรม ได้ดี นี่สิยาก ต้องฝ่าฟัน และเหล่านี้คือโจทย์เพื่อทำใจ แม้จัดจ้านปานใดก็สมควรอารมณ์ดีให้มากไว้ |
|
โบราณยังเคยปลอบ "คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ" ซึ่งจริงแท้แค่ใดควรตรวจสอบภาษิตนั้นดูและ | |
รู้ไว้ด้วยว่า
แม้พระพุทธองค์ทรงทศพลก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับ เราควรดับธุลีหมองแห่งใจเรียกร้องการยอมรับให้สิ้น
พร้อมเพียรพัฒนาปรีชาญาณอยู่เป็นอาจิณ ซึ่งหากเขาไม่ยอมรับ เราก็สบายใจ เขายอมรับ ประโยชน์ท่านของเราก็ ยิ่งใหญ่ รู้ไม่ใช่หรือ ผู้มากบารมีใช่เพียงอยู่เฉย ๆ ก็ได้มา แต่วิริยะและปัญญานำมาซึ่งบารมีโดยจริงก็มีส่วนดีที่มี คนยอมรับบ้าง ปฏิเสธบ้าง กับคนยอมรับก็ไม่ควรเหลิงใจไปลุ่มหลง |
|
กับผู้ปฏิเสธก็ไม่ควรแหนงหน่ายคลายปรารถดี ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ หากถือสาผู้เยาว์ เมตตาและปัญญาบารมี | |
จะเพิ่มได้แต่ไหน | |
ดังนั้นควรยิ่งที่เราจะตอกย้ำเตือนตนให้รู้จักวางใจกับผู้ไม่เข้าใจ และอภัยกับทุกผุ้ทุกคน | |
ฝากปัญญาภาษิตบทนี้ไว้เป็นเครื่องนำทางสร้างสุขในการอยู่ร่วมอีกหนึ่งบท | |
ไม่มีความเจริญในธรรมหรืออรหัตผลแด่คนผู้ไม่รู้จักอภัย เพียงใจรู้แจ้งไฟโทสะ การละก็สมควรยิ่งแล้ว เพราะอภัยจึงอบอุ่น เพราะอภัยจึงยิ่งใหญ๋ เพราะอภัยจึงหนักแน่นสุขุมภายใน เพราะอภัยปัญญาญาณจึงพัฒนาการยิ่ง ๆ ขึ้นไป อภัยเถิด อภัยทุกวินาที อภัยทุกชีวิต อภัยไปตลอดโลก แล้วเราจะเป็นอโศกอย่างแท้จริง |
|
จริงเท็จแค่ไหน
เชิญพิสูจน์ทดสอบไป และเพื่อง่ายต่อความสบายใจ รู้ไว้เถอะว่า โลกนี้มีความถูกแค่สองเท่านั้น
คือ ถูกจริงกับถูกใจ เช่นกัน ความผิดก็สองนัยคล้ายนั้นคือผิดจริงกับผิดใจ ถูกใจใคร หากไม่ใช่สัจจะ คุณค่าความหมาย ย่อมไม่มากและอาจไม่มี กับที่มีแม้ให้ความรู้สึกเหมือนดี แต่โดยคุณค่าความหมายที่แท้ ไม่ดีแน่ |
|
ส่วนผิดในใคร หากเป็นไปด้วยสัจจะ แม้โลกยังไม่นอบน้อมยอมรับ แต่ใจผู้ดำเนินไปด้วยสัจจะก็ได้ลิ้ม | |
ลองรสชาติแห่งสัจจะหรือความถูกจริง
แล้วจริง
แต่แม้เข้าใจตนถูกต้องตรงจริงแล้ว ก็อย่าด่วนเหลิงใจไป ในฐานะ นักศึกษา หากยังไม่จบกิจรับโลกุตระปริญญา ควรตอกย้ำเตือนตนไว้เสมอ ๆ เถอะว่า |
|
ตราบยังไม่พ้นปลักแห่งความหลง
บุคคลไม่พึงอวดทระนง การบรรลุความดีไม่ง่ายเหมือนล้างก้น แม้ความเก่งก็ประหนึ่งร้านเช่าที่เรายังซื้อไม่ได้ มีเพียงความเป็นอเสขะบุคคลเท่านั้น ที่บรรลุความดีอย่างคงมั่น เป็นคนเก่งไม่กลับแพ้ จงนอบน้อม หนักแน่น และเอาจริงในสิ่งประสงค์เถิด |
|
สุขในการสร้างสรรสวรรค์ นิพพาน และวิญญาณเสรี จงเกิดมีแด่นักศึกษาทุกผู้ที่อยู่ร่วมสังคมพุทธ | |
ด้วยความปรารถนาดีจาก ส.สร้อยดาว | |
************************************* |
|
กลับหน้าหลัก |