โปรดมารดา
|
|||
"โปรดมารดา" เป็นคำพูดติดปากของชายชาวไทยที่เหยียบย่างเข้าสู่พระบรมพุทธศาสนาในเพศ | |||
ของบรรชิต
ต่างก็เกิดความภาคภูมิใจอยู่ในที เหมือนคนที่ทำอะไรอันแสนจะยากเย็นได้สำเร็จ
ผู้เป็นมารดา ก็มีความสุข ที่ลูกได้บวชให้ตามความต้องการของตัวเอง |
|||
คนเหล่านี้เข้าใจการบวชว่าเป็นเป้าหมายปลายทางแห่งชีวิต แต่ในความเป็นจริง ยังมีแง่มุมที่น่า | |||
พิจารณาอยู่อีกมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับตัวผู้บวช การบวชควรจะเป็นการผึกหัดดัดนิสัย เลิกละสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรของตัวเอง การบวชจะมีผลดีแก่ตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบวช ก็ต่อเมื่อคนเหล่านั้นได้เลิกละสิ่งที่ไม่ดี ตามตัวผู้บวชด้วย ถ้าทั้งผู้บวชและผู้เกี่ยวข้อง ต่างไม่เลิกละสิ่งที่ไม่ดี ยังปฏิบัติตัวเองเหมือนไม่บวช คำว่า "โปรดมารดา" ก็ดูจะไม่เกิดผลทางด้านการปฏิบัติมากมายนัก |
|||
ตามคติทางพระพุทธศาสนาถือว่าการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ให้สมกับที่ท่านเป็นผู้มีพระคุณนั้น | |||
เพียงแค่ให้วัตถุสิ่งของหรือปรนนิบัติวัตรฐากถึงขนาดยกพ่อแม่ขึ้นไว้บนบ่าขวา
ให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด อยู่ถึง 100 ปี ก็ยังไม่ขื่อว่าตอบแทนบุญคุณ ให้ถึงที่สุดได้ เพราะอย่างไรเสียการทำอย่างนั้น ก็ยังไม่ช่วยให้พ่อ แม่พ้นจากทุกข์ได้อยู่นั้นเอง การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่จึงอยู่ที่สามารถช่วยให้ท่านพ้นจากทุกข์ ถ้าจะว่ากัน ในระดับชาวบ้านธรรมดาก็ต้องว่าท่านตกอยู่ในอำนาจของอบายมุข ประเภทสุรายาเมา เล่นหวย เล่นการพนัน ก็ช่วยให้ท่านเลิกละสิ่งเหล่านี้ได้เพราะมันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ต่อจากนั้นก็ช่วยให้ท่านรู้จักบริจาคทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาบำเพ็ญคุณงามความดีขึ้นไป การทำดังนี้ได้ ชื่อว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณได้อย่าง สูงสุดแล้ว |
คุณแม่หนาหนักเพี้ยง |
พสุธา | ||
คุณบิดรดุจอา- | กาสกว้าง | ||
คุณพี่พ้างศิขรา | เมรุมาสน์ | ||
คุณพระอาจารย์อ้าง | อาจสู้สาคร |
คำโคลงโลกนิติว่าไว้ดังนี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าบุญคุณของแม่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน พสุธา คือ | |||
แผ่นดิน
ธรรมชาติของแผ่นดิน คือมั่นคง หนักแน่น สามารถรองรับต่อการแปรปรวนวิปริตของสิ่งแวดล้อมได้
ทุกสถานการณ์คนผู้อาศัยแผ่นดินมีก็ไม่ค่อยคำนึงถึงแผ่นดินมากนัก เพราะถือว่า ไม่สะเทือนอยู่แล้ว รูปการณ์ จึงออกมาเป็นว่าทับถมทำลาย มากกว่าบำรุงรักษา การที่เปรียบเทียบบุญคุณของแม่ เหมือนกับแผ่นดิน ก็คงจะ สื่อความหมายเพียงแค่หนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ขุดหรือเอาหน้าดินไปใช้อย่างอื่นจนแผ่นดินไม่เหลือรูปรอยเดิม เอาไว้ |
|||
นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบพระคุณของแม่เหมือนน้ำ จึงเรียกว่า "แม่น้ำ" ธรรมชาติของน้ำ จะมี | |||
คุณสมบัติอยู่ 3 ประการ คือ |
1.
เรียบเสมอ 2. เย็นชื่นใจ 3. ตัดแยกจากกันไม่ขาด |
ความเสมอต้นเสมอปลายที่มีต่อลูกตลอดเวลา ไม่ว่ายามเป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว หรือยามมีเหย้ามีเรือน | |||
แม่มีความเมตตาห่วงหาอาทร
ไม่ว่าลูกจะเลวสักแค่ไหน พิกลพิการ ตาบอด หูหนวก จะให้แม่ตัดรักตัดใจจากลูก
นั้นสุดแสนจะฝืนได้ แม่จึงมีน้ำให้ลูกได้ดื่มกินถึง 4 ชนิดด้วยกันคือ |
1.
น้ำนม 2. น้ำคำ 3. น้ำมือ 4. น้ำพักน้ำแรง |
|||
1.น้ำนม คือเลือดจากอกของแม่ก็ไม่ปาน ทันทีที่ลูกลืมตามาดูโลก น้ำนมสีเหลืองอ่อน ๆ ก็หลั่งออกมา | |||
รอการดูดดื่มของลูก
ซึ่งเป็นอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่อยู่พร้อมสรรพ และสะอาดที่สุดเท่าที่มนุษย์ยัง สามารถปรุงแต่งได้ ลูกดูดดื่มเข้าไป จะถูกย่อยหมดภายใน 1 ชั่วโมง ลูกจึงต้องดื่มบ่อย ๆ เพื่อร่างกายจะได้โต เร็ว ๆ แต่ลูกจะไม่ท้องเสีย เหมือนกับอาหารอื่น ๆ ที่ตกค้างอยู่อย่างน้อยก็ 4 ชั่วโมง ตกค้างอยู่นานไม่เท่าไร ก็บูดเสียเน่าเท่านั้น น้ำนมจึงเป็นเหมือนอาหารทิพย์ ซึ่งมีเฉพาะแต่บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นแม่เท่านั้น และผู้ที่ สามารถดื่มกินได้ก็มีแต่ลูกเท่านั้นเหมือนกัน จะไม่ถูกปากสำหรับคนอื่น จะเอร็ดอร่อยสำหรับลูกเท่านั้น พ่อห้าม ดื่มเด็ดขาด เพราะจะทำให้พ่อตายก่อนกำหนดก็ได้ เพราะจะขาดสารอาหารที่เหมาะต่อผู้ใหญ่ และลูกก็จะไม ่ค่อยเติบโตแข็งแรง ไม่มีภูมิต้านทานโรคได้ดี จึงไม่ควรให้ลูกขาดน้ำนมแม่ แม้จะไม่ได้ดื่มถึง 6 เดือนแต่ควร จะได้สักเดือนหนึ่งก็ยังดี |
|||
น้ำนมของแม่นอกจากเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายให้เจริญเติบโต แข็งแรงดีแล้ว ยังจะเป็นอาหารใจ | |||
อีกด้วย
ว่ากันว่า ลูกที่ได้ดื่มนมแม่จะเป็นผู้ที่เติบใหญ่ขึ้นเป็นคนมีอารมณ์มั่นคง
ไม่อ่อนไหวง่าย ๆ ด้วยอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ไออุ่นจากอกของแม่ จะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ลูกจึงมักไม่ค่อยร้องงอแงเมื่ออยู่ในอ้อมอกของ แม่ การอยู่ใกล้แม่จึงเป็นเวลาที่ลูกมีความสุขที่สุด ลูกจึงมักไม่ค่อยต้องการอยู่กับคนอื่น ลูกบางคนจะไม่ยอมกิน ยอมนอนเมื่อแม่ไม่อยู่ ได้กลิ่นเนื้อตัวของแม่จึงจะยอมกิน ยอมนอน แม่บางคนทิ้งเสื้อผ้าไว้ แม้แค่กลิ่นที่ติดอยู่ ที่เสื้อผ้า ก็ทำให้ลูกมั่นใจว่าแม่อยู่ใกล้แค่นี้เอง ลูกจะรู้สึกไม่กลัวสิ่งใด ๆ ในโลกนี้เลย |
|||
กิริยาที่ลูกดื่มกินนมแม่ เป็นภาพที่สวยงามที่สุด ลูกจะเนป็สุขใบหน้าอิ่มเอิบ แม่ลูกต่างประสานสาย | |||
ตาด้วยกัน
เชื่อมโยงด้วยอุ่นไอแห่งความรัก
เป็นสายสัมพันธ์ที่ยากจะตัดขาดจากกันได้ ลูกจะรักและผูกพันกับ แม่อย่างเหนียวแน่น ต่อให้ลูกเติบโต ตราบเท่าแผ่นดินกลบหน้า ยามมีภัยคุกคาม ลูกก็ยังจะตะโกนเรียกให้แม่ ช่วย แม่จ๋าช่วยลูกด้วย ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่า แม่เหลืออยู่เพียงแค่ชื่อเท่านั้น แต่การตะโกนให้แม่ช่วยนั้นทำให้ จิตใจของลูกอบอุ่นสดชื่น และมีกำลังใจ ลูกที่ได้ดื่มนมแม่ จึงมีความรู้สึกว่าแม่ติดตามไปทุกหนทุกแห่ง ยามลูก ต้องการแม่ แม่ก็จะปรากฏให้ลูกได้รู้เห็น |
|||
นั้นคือวิญญานของแม่ที่ได้สิ่งสถิตย์อยู่ในใจของลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เกิด ลูกจะมีอายุสักเท่าไร | |||
ก็ไม่เป็นประมาณ
ลูกจะเป็นลูกน้อยสำหรับแม่เสมอ นี้หมายถึงลูกที่แม่เลี้ยงมากับมือ แม่ตั้งใจให้เกิด
และแม่ ่จงใจให้เติบโตเท่านั้น |
|||
2.น้ำคำ คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานที่สุดคือคำพูดที่แม่พูดกับลูก แม่จะพยายามดัดเสียงให้นิ่มนวล | |||
ทอดเสียงให้อ่อนโยน
เปล่งเสียงออกให้กังวาน ทอดสายตาที่ส่อแววแห่งความเมตตารักใคร่ทะนุถนอม แม่จะ
หยาบคายกระด้างสำหรับคนอื่นบ้าง แต่จะพยายามอ่อนโยนกับลูกเสมอ แม่เสือจะน่ากลัวสำหรับสัตว์อื่น แต่จะ อ่อนโยนสำหรับลูกของมัน ฉันใดก็ฉันนั้น ช้างตกมันจะปรี่เข้าทำร้ายสัตว์อื่นแม้โตกว่า แต่จะไม่ทำร้ายแม่ของ มัน ก็เพราะความอ่อนโยนของแม่นั้นเอง ด้วยเหตุนี้แม่จึงมักจะเป็นผู้ประสานรอยร้าวระหว่างพ่อกับลูก แม่จะ เป็นคนกลาง แม่จะเป็นผู้อดทน และใจเย็นคอยปลอบโยน ยามลูกผิดหวังแม่จะให้อภัยต่อความผิดพลาดที่ลูก ได้กระทำขึ้น แม้ว่าจะใหญ่หลวงสักปานใดก็ตาม เพราะถ้าไม่มีลูกแล้วแม่จะอยู่มีชีวิตเพื่อใคร ลูกจึงทราบโดย สัญชาตญาณว่า ใครอื่นจะประนามว่าลูกเลวร้ายสักเพียงไหน แต่แม่จะมีคำพูดให้ลูกได้ชื่นใจในยามตกอับได้ เสมอ |
|||
3. น้ำมือ ลูกทุกคนล้วนผ่านการได้ลิ้มรสแห่งน้ำมือของแม่มาแล้ว แม่มักจะทราบว่าลูกชอบอาหาร | |||
ชนิดไหน
รสชาดเป็นอย่างไร แม่จะฉลาดในการรักษาฝีมือการปรุงอาหาร ให้เป็นที่ถูกปากถูกใจลูก
อาหารบาง อย่างแม้แม่เองจะไม่ชอบ แต่แม่จะปรุงไว้ให้ลูก จะเก็บอาหารที่ลูกชอบไว้รอท่าลูก แม่จะชื่นใจที่เห็นลูกได้กิน อาหารอย่างเอร็ดอร่อย ลูกบางคนเวลาไม่สบาย จะกินอาการไม่ค่อยได้ พอฟื้นจากไข้ ก็อยากจะกินอาหารที่แม่ ปรุงไว้ให้ แม่จะบอกลูกว่า กินให้มาก ๆ นี้เป็นอาหารที่ลูกชอบจะได้ฟื้นจากพิษไข้เร็ว ๆ |
|||
4.น้ำพักน้ำแรง แม่นอกจากจะเลี้ยงดูลูกด้วยการป้อนข้าวป้อนน้ำแล้ว ยังต้องออกไปทำงานนอกบ้าน | |||
เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว
แม่จะเก็บหอมรอบริบเงินทุกบาททุกสตางค์ไว้ เพื่อให้ลูกได้ใช้จ่ายอย่างสบาย
ตัวเองจะลำบากแค่ไหนก็ต้องอดทน ไม่อยากเห็นลูกลำบากเหมือนตัวเอง บางครั้งกว่าจะได้หลับได้นอน
ก็ตก ดึก พวกลูก ๆ นอนหลับสบาย แต่แม่ยังนอนคิดอยู่ว่าจะหาเงินมาจุนเจือครอบครัวได้อย่างไร ล้มตัวลงนอนได้ไม่ กี่อึดใจก็ต้องตื่น เพื่อหาเงินมาได้มาก ๆ แม่บางคนต้องเหน็ดเหนื่อยปานประหนึ่งสายตัวแทบขาด กลับมาบ้าน เห็นหน้าลูก ความเหนื่อยนั้นหายเป็นปลิดทิ้ง |
|||
อนิจจามีลูกหลายต่อหลายคนยามทุกข์ยาก ก็คิดถึงร้องขอให้แม่ช่วย เรียกหาแม่ปานประหนึ่งว่า ถ้า | |||
ไม่ได้พบแม่จะต้องมีอันเป็นไป
เหตุการณ์ผ่านพ้นไปเพียงชั่วครู่ยาม ลูกออกแสวงหาความสุขนอกบ้านกับเพื่อน ๆ สนุกกันสุดเหวี่ยง แม่ห่วงก็แสนจะห่วง แต่ไม่กล้าขัดใจลูก กลัวว่าลูกจะน้อยใจ เก็บความขมขื่นใจไว้แต่เพียง ผู้เดียว กังวลกลัวลูกไปลำบาก เพื่อนจะชักนำไปในทางไม่ดี รอคอยการกลับมาของลูกอย่างกระวนกระวายใจ ดึกดื่นแค่ไหนแม่ก็ไม่อาจข่มตาให้หลับลงได้ ตราบใดที่ยังไม่เห็นลูกกลับมาถึงบ้าน และที่น่าสังเวชก็คือ วันเกิด ของลูก ลูกขอร้องว่าจะจัดงานวันเกิด เชิญเพื่อนมากินเลี้ยง แล้วร้องรำทำเพลงกับเพื่อนอย่างสนุกสนานรื่นเริง แม่ทำกับข้าวเลี้ยงเพื่อนฝูงของลูก ลูกกับเพื่อน ๆ กินกันอย่างเอร็ดอร่อยจนเกลี้ยงจาน แม่เก็บจานไปล้าง แม่เป็นเพียงแค่คนล้างจานในงานวันเกิดลูก หาได้รับเกียรติให้เข้าร่วมโต๊ะอาหารกับเพื่อน ๆ ของลูกไม่ |
|||
ท่านผู้ใดเขียนกลอนบทนี้ไว้ก็ไม่ทราบ แต่สะเทือนพอสมควร | |||
งานวันเกิดที่ยิ่งใหญ่ใครคนนั้น | ฉลองกันในกลุ่มผู้ลุ่มหลง | ||
หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินกมล | วันเกิดตนชีพสั้นเร่งวันตาย | ||
ณ มุมหนี่งซึ่งเหงาน่าเศร้าแท้ | หญิงแก่แก่ซึ่งหงอยและคอยหาย | ||
โอ้วันนี้ในวันนั้นอันตราย | แม่คลอดสายโลหิตแทบปลิดชนม์ | ||
วันเกิดลูกนั้นคล้ายวันตายแม่ | เจ็บท้องแท้สักเท่าไรก็ไม่บ่น | ||
กว่าอุ้มครรภ์จะคลอดรอดเป็นคน | เติบโตจนมาบัดนี้นี่เพราะใคร | ||
แม่เจ็บเจียรขาดใจในวันนั้น | กลับเป็นวันลูกฉลองกันผ่องใส | ||
ได้ชีพแล้วก็หลงระเริงใจ | ลืมผู้ให้ชีวิตอนิจจา | ||
ไฉนหนอเขาเรียกกันว่าวันเกิด | วันผู้ให้กำเนิดจะถูกกว่า | ||
คำอวยพรที่เขียนควรเปลี่ยนมา | ให้มารดาเป็นสุขจึงถูกแท้ | ||
เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดหนา | แล้วหันมาคุกเข่ากราบเท้าแม่ | ||
ควรคิดถึงพระคุณอบอุ่นแท้ | อย่ามัวแต่จัดงานประจานตัว | ||
อย่างไรก็ตาม การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่โดยขั้นสุงสุดคือการให้พ่อแม่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง คือ | |||
หมดกิเลสนั้นเป็นอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนา
ปุถุชนธรรมดาเอาแค่เพียงมีเงินทองแจกจ่ายให้ท่านได้ใช้บ้าง ก็พอสมควรแล้ว ท่านเจ็บไข้ได้ป่วยก็รักษาพยาบาล อย่าให้ท่านเหงาโดดเดี่ยวเดียวดาย ให้ความรักความอบอุ่น อย่าแสดงความรังเกียจ ทอดทิ้งไม่แยแส คงไม่มีพ่อแม่คนใดคิดว่า "ลูกที่ตัวเองเลี้ยงมากับมือจะทอดทิ้งท่าน ได้ลงคอ" |
|||
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า | จำจากเจ้าไม่อยู่นาน | ||
จะพบจะพ้องพาน | เพียงเสี้ยววานของคืนวัน | ||
ใจจริงไม่อยากจาก | เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน | ||
แต่ชีพไม่ทนทาน | ย่อมร้าวรานสลายไป | ||
ขอเถิดถ้าสงสาร | อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ | ||
คนแก่ชะแรวัย | คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน | ||
ไม่รักก็ไม่ว่า | เพียงเมตตาช่วยอาทร | ||
ให้กินและให้นอน | คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ | ||
เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง | ให้นึกถึงเมื่อเยาวัย | ||
ร้องไห้ยามป่วยไข้ | ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน | ||
เฝ้าเลี้ยงจนเติบใหญ่ | แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน | ||
ขอเพียงจะได้ยล | เติบโตจนสง่างาม | ||
ขอโทษถ้าทำผิด | ขอให้คิดทุกทุกยาม | ||
ใจแท้มีแต่ความ | เฝ้าติดตามช่วยอวยชัย | ||
ต้นไม้ที่ใกล้ฝั่ง | มีหรือหวังอยู่นานได้ | ||
วันหนึ่งคงล้มไป | ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง. |
********************* |
|||
กลับไปหน้าแรก กลับไปหน้า Web วัดท่าไทร ไป Web สำนักงานเจ้าคณะภาค ๑๖ ไป Web ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์วัดท่าไทร ไป Web สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|||