ชีวิตแต่งงานหรือชีวิตคู่
มีนัยบ่งว่า ต่อไปนี้ เจ้าจะไม่ใช่นกน้อยที่มีอิสระ บินเดี่ยวไปไหนในโลกกว้างอีกต่อไป
แต่ทุกหนทุกแห่งเจ้าจะมีขานกอีกตัวผูกติดกับขาของเจ้า บินไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด
นั่นคือ เราก็ไม่ใช่เจ้าของตัวเราแต่ผู้เดียว แต่ทั้งเราและเธอต่างเป็นหุ้นส่วนของกันและกัน
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ควรคิดถึงหุ้นส่วนชีวิตของเราก่อนและทุกครั้ง
ถ้ายังชอบทำอะไรตามใจตัวเอง
นั่นแสดงว่า เราไม่เคารพกติกา และเรากำลังเป็นคนเห็นแก่ตัว ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้มีคุณธรรมอย่างยิ่ง
มีคนเช่นนี้อยู่ในครอบครัว
ก็เห็นทีครอบครัวจะไม่เป็นสุขแน่ และมีคนเช่นนี้มากเท่าไหร่ในสังคม
ประเทศชาติก็ยิ่งทวีความเดือดร้อนมากขึ้น เหมือนที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในบ้านในเมืองขณะนี้
"ฉะนั้นคนที่ยังโสด
และอยากจะสละเสียงซึ่งความโสด ควรตรองให้จงหนัก......เพราะนอกจากเราะจเสียอิสรภาพส่วนตัวแล้ว
เรายังต้องมีคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง คือ ความเสียสละ"
ฉะนั้นคนที่ยังโสดและอยากจะสละเสียซึ่งความโสดควรตรองให้หนัก
เพราะนอกจากเราจะเสียอิสรภาพส่วนตัวแล้ว เรายังต้องมีคุณธรรมที่สำคัญ
คือ ความเสียสละ และการรู้จักเคารพกติกา ถ้ายอมรับได้อย่างนี้ก็คิดว่าอย่างน้อยชีวิตคู่ก็เป็นประโยชน์อยู่บ้าง
ในแง่ที่จะได้ฝึกปฏิบัติให้ได้คุณธรรมตัวนี้ ถ้าบางครั้งชีวิตโสดก็อาจไม่มีเวลา
ไม่มีโอกาสให้เราได้ฝึกนัก
ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชาชีวิตโสดมาก
อาจเพราะเคยเห็น รับรู้ประสบการณ์ชีวิตคู่ ที่เลวร้ายและล้มเหลวจากคนใกล้ชิดและคนรอบข้าง
ทำให้มีทัศนคติต่อชีวิตคู่ค่อนข้างลบ และมักเตือนใครต่อใครเสมอ ด้วยรักและห่วงใยจริง
ๆ แต่ครั้งหนึ่งน้องสาวที่รักมาก เธอเป็นคนสวย น่ารัก จึงเป็นที่หมายปองของบรรดาชายหนุ่มหลายคน
และในที่สุดเธอก็เลือกคนหนึ่งเป็นครู่ครอง นอกจากไม่ประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมให้เธอขึ้นมามีความสุขอยู่บนคานทองด้วยกันแล้ว
ยังคิดกังวลต่าง ๆ นานาต่อว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา จากนิสัยรักสวยรักงาม
ไม่เคยพานพบความลำบาก เป็นคุณหนูของบ้าน เธอร่าเริงแจ่มใส สุขภาพจิตดี
สุขภาพกายก็แข็งแรง เพราะชอบเล่นกีฬา ตีเทนนิสประจำ แต่ไม่เคยกรำงานหนัก
ไม่เคยต้องทนอะไรที่ยาก ๆ ไม่เคยอดหลับอดนอนหรือพักไม่พอ เธอไม่เคยแม้แต่จะเป็นหวัด
เอาละซิ แล้วคนอย่างนี้จะมีครอบครัว ไปรับผิดชอบดูแลคนอื่น ๆ ไปทำงานบ้าน
คิดแล้วก็สรุปว่าไม่รอดแน่ (ว่ะ)
ที่ไหนได้
พอมีลูกคนแรกเห็นเปิดตำราเลี้ยงดูลูกคนที่สอง มีประสบการณ์เพิ่ม เลี้ยงลูกเก่งขึ้น
ลูกเป็นเด็กดี น่ารัก แข็งแรงทั้งคู่ บ้านช่องห้องหับก็จัดเป็นระเบียบ
สะอาดเรียบร้อย ใหม่ ๆ ก็เห็นจ้างเด็กมาช่วยงานบ้าน แต่มาเธอก็ว่าทำเองดีกว่า
เป็นแม่บ้านขยันและรู้จักประหยัด อาหารการกินของลูกและสามีก็ดูแลครบทุกมื้อ
ทำเอง ถูกหลักอนามัย แถมฝีมือดี
ปัญหาต่างๆ
ในครอบครัวที่จะทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งก็มีเหมือนทุกครอบครัวนั่นแหละ
ผู้เขียนเคยเขาไปช่วยแก้ปัญหาให้เสมอ ประโยกแรกที่ผู้เขียนมักเตือนใครต่อใครที่มีปัญหาในชีวิตคู่
บางคนฟูมฟาย "เลิกกัน อยู่ด้วยไม่ไหว ๆ" ว่า จริง ๆ แล้วชีวิตคู่ให้บทเรียนล้ำค่าเพียงบทเดียว
คือ "ความอดทน" เมื่อลงเล่นในสนามนี้แล้วอย่ายอมแพ้
พยายามสู้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อดทนลูกเดียว อดทนกับนิสัยและความเคยชินที่แตกต่างจากเรา
อดทนต่อหลาย ๆ เรื่องที่ไม่ถูกใจเรา ที่สุดอดทนต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ทนจนไม่ต้องทนอีกต่อไป ซึ่งไม่ใช่เพราะเขาเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างที่เราต้องการ
แต่เป็นเพราะเราวางใจได้ด้วยความเข้าใจว่าเขาเป็นอย่างนี้ เพราะเขาเป็นเขา
และเพราะเขาคือพ่อของลูก เป็นผู้นำครอบครัวที่ทำหน้าที่ไม่ขาดตกบกพร่องให้ทุกคนในบ้านมีหลักประกันที่มั่นคง
จำได้ว่าต้องพูดเตือนซ้ำซากอยู่บ่อย
ๆ และเห็นการเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเขามีความเข้าใจเป็นพื้นอยู่ มีสำนึกรับผิดชอบและเสียสละเห็นแก่กันและกันอยู่
แม้บางครั้งก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะความไม่ยอมกัน ต่างใช้อารมณ์
ความรุนแรง แต่ละครั้งมีผลให้ทุกคนในครอบครัวทุกข์ร้อน ไม่สบายใจ สู้ยอมกันดีกว่า
เมื่อต่างยอม อยู่ที่ว่าใครจะยอมได้ก่อน สังเกตดูในครอบครัวเพียงมีคนยอมได้หนึ่งคนปัญหาต่าง
ๆ ก็เบาบางลงทันที ทำบ่อยเข้าพวกเขาก็ยอมได้เก่งขึ้น เข้าถึงสัจจะว่า
ยอมดีกว่าเอาเรื่องกัน
นี่ก็ผ่านไปแล้วเกือบ
๒๐ ปี ดูรูปการก็น่าจะคลายกังวลได้ น้องคนนี้ทำให้ผู้เขียนต้องปรับทัศนคติใหม่
ยืนยันว่ากฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น เพราะชีวิตคู่ได้พัฒนาให้เธอมีวุฒิภาวะ
รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ ปรับเปลี่ยนนิสัย ไม่เอาแต่ใจตัวเอง
มีความอดทนอดกลั้นเพื่อคนอื่นได้ โดยเริ่มจากคนในครอบครัวเป็นอันดับแรก
และก้าวต่อไป ก้าวออกไปสู่คนในสังคมกว้างขึ้น
ส่วนในแง่มุมของศาสนา
ก็ต้องยอมรับว่า จริง ๆ แล้วทุกคนในโลกต่างถูกบังคับให้ปฏิบัติธรรม
ไม่ว่าเราจะอยากหรือไม่อยาก จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่ใครที่ชอบหรือรักจะปฏิบัติธรรม
ก็ควรเรียนรู้ศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่ถูกตรงของพระพุทธเจ้า
เข้าวัดเข้าวาก่อนเลย จนเกิดปัญญาชาญฉลาด หากทำได้ก็ไม่ต้องเอาทั้งชีวิตไปเสี่ยงกับการมีชีวิตคู่
แม้ที่สุดผู้เขียนก็ยอมรับว่า ทุกก้าวย่างของชีวิต คือ ขั้นตอนการพัฒนาจิตวิญญาณของคนจากปุถุชนสู่กัลยาณชน
และสามารถก้าวสู่ความเป็นอาริยชนได้ก็ตามที
***********************
ที่มา.- วารสาร
"ดอกหญ้า" อันดับที่ ๑๓๔ ISBN ๗๕๔๗-๗๕๘๗ รพ.มูลนิธิธรรมสันติ
กทม., ก.ค.-ส.ค.๒๕๕๑.
|