ความหมาย .-
คำว่า
"กรวดน้ำ" นี้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
ให้คำจำกัดความไว้ว่า "แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ" การกรวดน้ำแผ่สว่นบุญนั้น
สรุปแล้วมีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑.กรวดน้ำตัดขาดจากกัน
๒.กรวดน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้
๓.กรวดน้ำตั้งความปรารถนา
๔.กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล
๑.
การหลั่งน้ำเพื่อตัดขาดจากกัน เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ไทย
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ทรงตัดขาดไมตรีกับพม่า เพื่อประกาศอิสรภาพเมื่อเมืองแครง
เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ โดยวิธีหลั่งน้ำลง เหนือแผ่นดิน
๒.การหลั่งน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้ครอบครอง เช่น เมื่อคราวที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
พร้อมด้วยราชบริพารให้เลื่อมใสและได้ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
เพื่อเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดา เพราะทรงเห็นว่าป่าไม้ไผ่ ที่เรียกว่า
"พระราชอุทยานเวฬุวัน" เป็นที่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากชุมชนนัก
สมควรเป็นที่อยู่ของสมณะได้
๓.การหลั่งน้ำตั้งความปรารถนา
เพื่อให้สำเร็จผลที่ประสงค์ พึงเห็นตัวอย่างในมหาเวสสันดรชาดก
๔.การหลั่งน้ำแผ่กุศล
พึงเห้นอุทาหรณ์ เช่น พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้บรรดาเปรตซึ่งเป็นพระญาติในชาติก่อนปรากฏ
ในมังคลัตถทีปนีคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาว่า "เมื่อพระราชาทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก
ทรงอุทิศส่วนกุศลว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ ขอทานนี้(บุญนี้) จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
ของข้าพเจ้า" วิธีนี้เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้แก่ญาติทั้ง มิตรและสรรพสัตว์ได้
ชื่อว่าเป็นปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ
ปัญหาชวนคิด
.-
๑.ทำไมจึงต้องกรวดน้ำหลังเวลาทำบุญ
แล้วจะกรวดก่อนไม่ได้หรือ ?
ตอบ.-ปัจจุบันนิยมกรวดน้ำหลังจากทำบุญถวายทานเสร็จแล้ว
เพื่อประสงค์จะทำเจตนาของตนให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล คือ ๑.ในกาลก่อนให้
ซึ่งเรียกว่า ปุพพเจตนา เจตนาก่อนให้ ๒.ในกาลที่กำลังให้ เรียบกว่า
มุญจนเจตนา เจตนาขณะให้ ๓.อปราปรเจตนา เจตนาต่อ ๆ ไปหลังจากให้ทานแล้ว
๒.จะหลั่งน้ำกรวด เวลาไหน ? หยุดเวลาไหน ?
ตอบ.-การหลั่งน้ำกรวด
ควรหลั่งในเวลาที่พระเถระผู้เป็นประธานเริ่มอนุโมทนาว่า "ยถา
วาริวหา..." ก็เริ่ม หลั่งน้ำลงในภาชนะคือขันน้ำ หรือแก้วน้ำ
ที่เตรียมไว้ พอพระรูปที่ ๒ รับว่า "สัพพีติโย" ก็หยุดหลั่งน้ำกรวด
แล้วเทน้ำ กรวดที่ยังเหลืออยู่นั้นลงในภาชนะที่รองรับน้ำให้หมด แล้วประณมมือรับพร
๓.ทำไมจึงต้องเทน้ำกรวดให้หมดในเวลาพระว่า ยถา จบลงและเริ่มรับสัพพี
?
ตอบ.-เพราะถือว่าเมื่อน่ำไหลไปมหาสมุทรสาครเต็มแล้ว
ก็ไม่ไหลอีกต่อไป ความปรารถนาที่ตั้งไว้ก็บริบูรณ์ แล้ว ลำดับต่อไปก็ประณมมือรับพรจากพระ
๔.ทำไมจึงเทน้ำกรวดให้ไหลติดต่อกัน ไม่ให้ขาดสาย ?
ตอบ.-ความประสงค์เพื่อให้กุศลที่อุทิศไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้วได้รับไม่ขาดระยะ
ให้ติดต่อกันไป และความ ปรารถนาก็จะได้ไม่ขาดระยะ เป็นไปโดยราบรื่น
เหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุทรสาคร ย่อมไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ หากเทน้ำให้หยดติ๋ง
ๆ ขาดระยะ เปรียบเหมือนบุญกุศลที่จะได้ก็จะขาดระยะ ความปรารถนาก็จะขาดระยะ
จึงให้เทน้ำหรือหลั่งน้ำเป็นสายเหมือนสายน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุมร หรือสายน้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำน้อยใหญ่
ฉะนั้น
๕.ทำไมจึงต้องกรวดน้ำ จะไม่กรวดได้หรือไม่ ?
ตอบ.-การกรวดน้ำ
เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้
อีกทั้งเป็นการแสดงถึงความยินดีในการบำเพ็ญกุศลที่ได้ทำไว้แล้ว และเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
เพื่อแสดงเจตนา ของผู้กรวดน้ำ
๖.ทำไมจึงเทน้ำกรวดที่กลางแจ้ง ที่โคนต้นไม้ หรือในที่ไม่มีวัตถุสิ่งใดปกคลุม
?
ตอบ.-เพราะถือกันว่า
การเทน้ำที่กรวดแล้วลงที่กลางแจ้ง เป็นที่สะอาด หรือโคนต้นไม้นั้น
เพื่อต้องการ ปลูกฝังนิสัยให้รักต้นไม้
๗.ทำไมต้องใช้น้ำกรวด จะกรวดแห้งไม่ได้หรือ ?
ตอบ.-การใช้น้ำกรวด
เพราะถือตามประเพณีนิยมที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราษกาล
และให้สม กับคำอนุโมทนาของพระที่ว่า "ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนติ
สาคะรัง เหมือนห้วงน้ำที่ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉะนั้น"
จะกรวดน้ำโดยไม่ใช้น้ำหรือที่เรียกกันว่ากรวดแห้งก็ได้ เรียกว่าปัตติทานมัย
บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ ฯ
๘.ทำบุญแล้วไม่กรวดน้ำจะได้อานิสงส์หรือไม่ ?
ตอบ.-ได้
เพราะผู้ทำบุญก็ต้องได้บุญ ทำความดีก็ต้องได้ดี บุญต้องเป็นของผู้ทำบุญตลอดไป
ไม่ไปไหนเสีย
๙.เวลากรวดน้ำใช้มือขวาหรือมือซ้ายกรวดน้ำ ?
ตอบ.-ควรใช้มือขวา
เพราะมือขวาเป็นมือที่แสดงถึงความเคารพ เป็นการเคารพในทานที่ตนให้
และเคารพในปฏิคคาหกคือผู้รับทานจากเราด้วย การเคารพกันเขาใช้มือขวาแสดงความเคารพกันทั่วโลก
เป็นสากลนิยม
๑๐.เวลาหลั่งน้ำกรวด ต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำหรือไม่ ?
ตอบ.-ไม่จำเป็นต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำกรวด
เพียงแต่ใช้มือซ้ายจับภาชนะเปล่าไว้ จะจับที่ขอบปากหรือที่ตัวภาชนะ
ก็ได้ ไม่ต้องจับเลยก็ได้ ใช้แต่มือขวาจับที่กรวดน้ำ เช่น แก้วน้ำ
คณโฑน้ำ หรือถ้วยน้ำอย่างเดียวก็ได้
๑๑.การกรวดน้ำจะกรวดด้วยภาษาไทยได้หรือไม่ ?
ตอบ.-การกรวดน้ำด้วยภาษาไทยเห็นว่าใช้ได้
ไม่มีอะไรขัดข้อง หรือข้อห้ามแต่ประการใดการกรวดน้ำด้วย ภาษาอะไรนั้น
ไม่สำคัญ แต่จุดสำคัญอยู่ที่การตั้งใจ ตั้งความปรารถนาดี คนเราจะได้ดีก็เพราะการตั้งจิตไว้ให้ดีเท่านั้น
|