๑.หลักทั่วไป
(๑)ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
(๒)ทำความดี
(๓)ชำระจิตของตนให้ผ่องแล้ว
อธิบาย:
สิ่งที่เลวทรามเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นชื่อว่าความชั่ว การไม่ทำความชั่ว
คือ งดเว้นการกระทำที่เลวทราม หรือที่ก่อความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น.
แต่เพียงเว้นความชั่วยังไม่พอ ต้องทำความดีอีกด้วย. ความดี คือ สิ่งที่ชอบธรรม
อันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตนและบุคคลอื่น. ต้นหญ้าบางชนิดและวะในแม่น้ำไม่เป็นอันตรายแก่ใคร
แต่ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร คนที่ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น ซึ่งนับว่าเว้นความชั่วแล้ว
ถ้าไม่ทำความดี คือ ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นที่ชอบธรรม ก็เหมือนต้นหญ้าบางชนิดหรือสวะนั้น
และแม้เว้นความชั่วทำความดีแล้ว ถ้าไม่ชำระจิตใจให้ผ่องแผ้ว ก็เว้นชั่วและทำความดีไม่ได้ตลอด
เพราะยังมิได้ปรับปรุงจิตใจซึ่งเป็นต้นเค้าอย่างสำคัญที่จะให้เว้นชั่ว
และทำดีได้อย่างแท้จริง การจำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วนั่น หมายความตั้งแต่อย่างต่ำจนถึงอย่างสูงที่สุด
คือทำกิเลสเครืองเศร้าหมองแห่งจิต มีความโลภ โกรธ หลงเป็นต้น ให้หมดไป.
ผู้ถึงพร้อม ด้วยความรู้และความประพฤติเป็นผู้ประเสริญในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
อธิบาย: ความรู้หรือวิชาช่วยให้คนฉลาดสามารถแต่ถ้าคนมีความรู้
อย่างเดียวไม่ปรับปรุงความประพฤติ (จรณะหรือจริยา) ให้ดี ก็ใช้ไม่ได้.
คนมีความรู้อาจเป็นคนเลวทรามหยาบคายก็ได้ อาจโกงก็ได้ และโกงเก่งกว่าคนโง่เสียด้วย.
คนมีความประพฤติดี แต่ถ้าไม่มีความรู้ยังเป็นคนโง่ ก็ยังชื่อว่าบกพร่อง,
ต้องประกอบพร้อมทั้งความรู้และความประพฤติ จึงเป็นผู้ประเสริญ. เมื่อเป็นเช่นนี้
คนที่จัดว่าประเสริฐตามหลักพระพุทธศาสนา ก็คือต้องมีทั้งความรู้ดี
ทั้งความประพฤติดี. พระพุทธเจ้าได้รับสรรเสริญว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ จึงนับว่าทรงเป็นตัวอย่างที่ดีของเราทั้งหลาย.
ในพระสูตรเดียวกันนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่า
ผู้ที่นับว่าเลิศกว่าคนเหล่านั้น (นับว่าเลิศได้) โดยธรรมไม่ใช่เลิศโดยธรรม.
ดูก่อนวาเสฎฐธทั้งหลาย! เพราะว่า ธรรมเป็นสิ่งประเสริฐในหมู่ชน ทั้งในบัดนี้และบัดหน้า
ด้วยเหตุนี้ แม้ความรู้ยังอ่อนอายู่บ้าง ด้วยเรียนยังไม่จบก็ดี เริ่มเรียนก็ดี
แต่ความประพฤติที่ดีนั้น ควรให้มีอยู่เสมอ.
๓.หลักพึ่งตนเองปฏิเสธการอ้อนวอน
(๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่ถึงเลย
จงมีธรรมเป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย.จักกวัตติสูตร
๑๑/๘๔ ขันธสังยุต ๑๗/๕๓๓๓๓. มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๐๙
(๒) ท่านทั้งหลาย จงดำเนินไปตามทางนั้น (มรรค ๘ ) ซึ่งจะทำมารให้หลงได้,
ท่านดำเนินตามทางนั้นแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้, เราบอกทางให้เพื่อให้รู้วิธีถอนลุกศร
(คือกิเลส) ความเพียรเป็นหน้าที่ที่ท่านทั้งหลายควรทำเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก.
ผู้หมั่นเพ่งพินิจปฏิบัติตามจะพ้นจากบ่องแห่งมาร.
(๓) ลำพังความปรารถนา จะทำให้จิตใจพ้นจาอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดานไม่ได้
เหมือนไก่ไม่กกไข่ ปรารถนาให้ลุกไก่ออกจากฟองอย่างเดียว ย่อมไม่สำเร็จ.(๔)
ดูก่อนตคฤหบดี เราผู้ตถาคตไม่กล่าวความได้สิ่งที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่
เจริญใจ ทั้ง ๔ นี้ คือ อายุ, ผิวพรรณ, ยศ, สุข, สวรรค์ เหตุความวิงวอนปรารถนา,
ถ้าจัดได้เพราะควาามวิงวอนปรารถนาแล้วไซร้ใครในโลกนี้จะพึงเสื่อมจากสิ่งไร.
ดูก่อนคฤหบดี! อริยสาวกผู้ใคร่สิ่งเหล่านั้น ไม่ควรจะวิงวอนและเพลิดเพลินยินดีสิ่งเหล่านั้นและไม่ควรทำความวิงวอนปรารถนาเพราะเหตุสิ่งเหล่านั้น
อริยสาวกนั้นพึงปฏิบัติข้อปฏิบัติที่จะให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น.
ใจความในอนาถปิณฑิกสูตร
ปัญจกนิบาตอังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๑.
(๕) ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
คนอื่นใครเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้, เพราะบุคคลที่ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้โดยยาก.
(๖) ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของจำเพาะตน, คนอื่นทำคนอื่นให้หมดจดไม่ได้.
อธิบาย:
พระพุทะศาสนาสอนให้ทำตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ให้เป็นนักฝันหรือสร้างวิมานบนอากาศหรืออ้อนวอนบวงสรวง
ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลอำนวยสิ่งที่ตนปรารถนา ให้รู้จักประกอบเหตุให้สมที่จะได้รับผลที่ปรารถนา
เช่นประสงค์ที่จะรู้หนังสือต้องเรียนหนังสือ ไม่ใช่รอให้ถึงวันคืนดีแล้วอ่านออกเองกิจการบางอย่าง
แม้ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ก็สอนให้รู้จักช่วยตนเอง รู้จักทำตนให้มีคุณธรรมพอที่ผู้อื่นจะมีเมตตา
กรุณา สงเคราะห์อนุเคราะห์ไว้ อันชื่อว่าอาศัยตัวเองในการทำตัวให้มีที่พึ่งอาศัยนั้นเอง,
ถ้าความอยากได้ดีลอยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาแล้ว
จะมีใครยากจน หรือขาดแคลนสิ่งที่ต้องประสงค์ ต้องการข้ามน้ำ ฝั่งโน้นก็มาหาเองโดยไม่ต้องลงเรือ.
ผู้อื่นที่จะให้ความอุปการระนั้น อาจจะมีอายุไม่ยืนเพ้อจะอุปการะได้ตลอดชีวิตเรา
และในระหว่างนั้นเขาอาจไม่ชอบเรา หรือเขาอาจตกต่ำลงจนไม่สามารถอุปการะก็ได้.
อนึ่ง ผู้อื่นจะอุปการะได้ก็แต่สมบัติภายนอก ส่วนสมบัติภายในคือคุณธรรมนั้น
ไม่มีใครปฏิบัติแทนกันได้. เพราะฉะนั้นหลักพึ่งตนเองจึงเป็นหลักทีใช้ได้ทั้งทางโลกทางธรรม.
๔.หลักความเชื่อถือ
ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย!
พวกท่านอย่าได้ถือ (๑) โดยฟังตามกันมา, (๒) โดยสืบต่อกันมา, (๓) โดยตื่นข่าวลือ,
(๔) โดยอ้างตำรา, (๕) โดยนึกเดาเอา, (๖) โดยคาดคะเน, (๗) โดยตรึกตามอาการ,
(๘) โดยชอบใจว่าต้องตามลักธิของตน, (๙) โดยเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้,
(๑๐) โดยถือว่าท่านเป็นครูของเรา. ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย! เมื่อใดท่านรู้ได้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
มีโทษนักปราชญ์เตียนเมื่อทำแล้ว ย่อมให้เกิดแต่ส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์และทุกข์
ท่านควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่.
อธิบาย: ทางพระพุทธศาสนาสอนว่า
การที่จะเชื่ออะไรลงไป ไม่ควรเชื่ออย่างงมงาย (อธิโมกขสัทธาน้อมใจเชื่อ)
ควรเชื่ออย่างมีเหตุผล (สัทธาญาณสัมปยุตเชื่อประกอบด้วยปัญญาหยั่งรู้)
ในที่ใดสอนเรื่องศรัทธาในที่นั้นก็สอนให้มีปัญญากำกับอยู่ด้วยเสมอ.
ผู้นับถือพระพุทธศาสนา จึงชื่อว่ามีเสรีภาพในการใช้ความเชื่ออย่างเต็มที
เพราะศาสนานี้ไม่นิยมการบังคับ การล่อลวงให้เชื่อในสิ่งใด ๆ พระสารีบุตรเถระ
ผู้เป็นอัครสาวกก็เคยตอบว่า ท่านไม่ได้เชื่อเพราะระพุทธเจ้าบอกให้เชื่อแต่เชื่อเพราะพิจารณาเห็นด้วยใจของตนเอง
คนที่ได้บรรลุมรรคผลทางพระพุทธศาสนา มีคำแสดงคุณลักษณะอยู่อย่างหนึ่งว่า
อปรปปัจจัย คือไม่ต้องมีคนอื่นเป็นปัจจัยหรือเป็นเครื่องสนับสนุนจงใจให้เชื่อ
เขาเชื่อตัวของเขาเอง เหมือการกินมะม่วงรู้รส ผู้กินย่อมรู้เองไม่ต้องเชื่อตามที่คนอื่น
อธิบาย. วิชาวิทยาศาสตร์ (ScienceX พยายามค้นหาความจริงด้วยการทดลองและสังเกต
และถ้าสิ่งใดสูงหรือประณีตเกินกว่าที่จะทดลองหรือสังเกตได้ วิทยาศาสตร์ก็เข้าไม่ถึง
เมื่อวิทยาศาสตร์จนก็ต้องเอาวิชาปรัชญา (Philosophy) มาช่วย วิชาปรัชญาพยายามอธิบายข้อเท็จจริง
ตามหลักวิธีหาเหตุผลหรือที่เรียกว่าตรรกวิทยา (Logix) แต่ถ้าสิ่งนั้นลึกซึ้งเกินกว่าจะแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นได้ก็ต้องใช้
การเก็งความจริง ( sPecultion) การเก็งความจริงนั้นถ้าเปรียบเทียบกับ
การเก้งกำไร ของพ่อค้าด้วยวิธีกันตุนของแล้วอาจเก็งถูกบ้างผิดบ้างเพราะฉะนั้น
การเก็งความจริงก็คือ การเดา การคาดคะเน การตรึกตามอาการ ซึ่งทางพระพุทธศาสนาห้ามไม่ให้เชื่อนั้นเอง.
พระพุทธศาสนาถือว่าการที่ต้องเดา, คาดคะเน, หรือตรึกตามอาการนั้น ก็เพราะยังไม่พบความจริง
เพราะฉะนั้นจึงวางหลักปฏิบัติเพื่อให้บรรลุความจริงไว้ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงที่สุด
และถือเอาการรูปประจักษ์ความแท้จริงขั้นสุดท้ายด้วยตนเองเป็นข้อมุ่งหมาย.
เพราะฉะนั้น วิธีการของพระพุทธศาสนาจึงลงกับวิธการของวิทยาศาสตร์ เป็นแต่ว่าวิทยาศาสตร์ยังเจริญอยู่
เพราะยังค้นความจริงได้ไม่หมดจึงยังไม่ถึงที่สุด ส่วนพระพุทธศาสนา
ค้นความจิรงได้ถึงที่สุดแล้ว เป็นความจริงที่ทำให้พ้นไปจากทุกข์ได้
จึงนิยมให้ปฏิบัติไปตามทางที่จะให้พบของจริงนั้น เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้รู้แจ้งประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเดา
หรือเก้งความจริง กาหาความจริงของวิทยาศาสตร์ ส่วนมากหนักไปทางสิ่งภายนอก
หรือทางวัตถุ ส่วนทางพระพุทธศาสนาหนักไปในทางจิตใจ เพราะมุ่งให้พ้นจากทุกข์ถึงที่สุดทุกข์เป็นเกณฑ์
และเมื่อสรุปแล้ว หลักที่ได้ค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติจนประจักษ์แล้ว ไม่
ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย หรือขู่ให้เชื่อ ถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ดังนี้เป็นต้น.
๕. หลักเรื่องฤกษ์งามยามดี
(๑)
ประโยชน์ ย่อมล่วงเลยคนเขลา ผู้มัวถือฤกษ์ยามอยู่, ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์,ดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้.
(๒) ภิกษุทั้งหลาย! สัตว์ประพฤติสิจริต คือประพฤติชอบทางกาย วาจา
ใจ ในเวลาเช้า เที่ยงหรือเย็นเช้าที่ดี เที่ยงที่ดี หรือเย็นที่ดี
ย่อมมีแก่สัตว์เหล่านั้น.
อธิบาย: การถือฤกษ์งาม
ยามดี เช่น ตัดเล็บ ตัดผมต้องดูวันนั้นวันนี้ เป้ฯการจำกัดวันที่จะพึงทำ
ประโยชน์ให้น้อยลง สมมติว่าคนไม่ถือ มีเวลาในสัปดาห์ ๑ เต็ม ๗ วัน
ที่จะประกอบการงานหรือแม้ตัดเล็บตัดผมได้ ถ้าไปถือฤกษ์ยามเข้าก็จะต้องเว้นนั้นนั้นวันนี้
ทำให้ในสัปดาห์ ๑ เหลือเพียง ๓ หรือ ๔ วันเท่านั้น เป็นการทำลายประโยชน์ตนเอง
ทางพระพุทธศาสนาถือว่า ถ้าทำความดีงามสุจริตกายวาจา ใจแล้ว ทำในเวลาเช้าก็เป็นเช้าที่ดีทำในเวลาเที่ยวหรือเย็น
ก็เป็นเที่ยงหรือเย็นที่ดี อันส่องความตรงกันข้ามว่า ถ้าทำชั่วแล้ว
ไม่ว่าทำในเวลาไหนก็เป็นฤกษ์ร้าย ยามร้ายทั้งสิ้น. หลักเช่นนี้ ก็คือ
ถือเหตุผลเป็นประมาณ และแสดงให้เห็นความที่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็น
อกาลิโก คือทันสมัยอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น บุคคลควรจัดระเบียบแห่งชีวิตของตนให้ถูกต้องตามเหตุผล
อย่าให้ฤกษ์ยามมาจัดเลย กุศลกรรมความดีงามที่ทำนั้นต่างหาก จะช่วยส่งเสริมบุคคลให้เจริญรุ่งเรืองได้.
๖. หลักเรื่องน้ำศักดิ์สิทธ์
(๑)
ข้าแต่พระโคดม ! เพราะแม่น้ำพาหุกาอันโลกนับถือ อันคนส่วนมากถือว่าเป็นบุญนทีเป็นที่ลอยบาปกรรมที่ทำแล้ว
คำของสุนทริกภารทวาชพราหมณืผู้ชวนพระพุทธเจ้าไปอาบลน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์.
คนพาล มีกรรมอันดำ (ทำความชั่ว) แม้ไปสู่แม่น้ำพาหุกา แม่น้ำอธิกา
แม่น้ำคยา แม่น้ำสุนทรกาแม่น้ำสรัสสตี ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำพาหุมตีเป็นนิตย์ก็ไม่บริสุทธิ์.
แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำยาคะและแม่น้ำพาหุกาจักทำอะไร เพราะแม่น้ำ ไม่พึงทำนรชนผู้มีเวรทำกรรมหยาบช้า
มีบาปกรรมให้หมดจดได้เลย ผัคคุ (มงคลฤกษ์ในเดือนมีนาคม) อุโบสถ (การจำศีลตามระยะกาลมีกำหนด)
และวัตร (ความประพฤติ) ย่อมสำเร็จแก่ผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาดทุกเมื่อ.
ดูก่อนพราหมณ์ ! ท่านจงอาบน้ำในธรรมวินัย จะทำความเกษมในสัตว์ทั้งหลาย
ถ้าท่านจะไม่กล่าวเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ให้
มีความเชื่อ (ตามเหตุผล) ไม่ตระหนี่, ท่านจะไปอาบน้ำคยาทำอะไร, แม่น้ำดื่มของท่าน
ก็เป็นแม่น้ำคยาแล้ว พระดำรัสตอบของพระพุทธเจ้า,
(๒) ถ้าบุคคล จะพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการรดน้ำ (ศักดิ์สิทธิ แล้ว
กบ เต่า นาก จระเข้ และสัตว์น้ำทั้งปวงก็จักไปสวรรค์ได้เป็นแน่"
(๓) ความสะอาด ย่อมไม่มีเพราะน้ำ ซึ่งคนส่วนมากพากันอาบ.ผู้ใดมีสัจจะ
มีธรรม ผู้นั้นเป็น ผู้สะอาด เป็นพราหมณ์.
อธิบาย:
ข้อนี้ก็คล้ายกับหลักเรื่องฤกษ์งามยามดีคือทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าความศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่น้ำแต่อยู่ที่ความประพฟติ
ถ้าประพฤติทำกายวาจาใจให้บริสุทธิ์แล้วแม้น้ำดื่มในถ้วยก็เป็นน้ำศักดิ์สิทธ์ไปโดยไม่ต้องไป
หาน้ำที่อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเห็นได้ว่า ความดีความงามทั้งหลาย
ไม่ได้อยู่ที่ของภายนอก หากอยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติอันดีงามของมนุษย์เรานี่เอง
เพราะถ้าแม่น้ำที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ล้างบาปได้จริงแล้ว สัตว์น้ำก็คงดีกว่ามนุษย์
คือไปสวรรค์กันหมด แม้ใครจะรดน้ำมนต์เราก็ไม่ดูหมิ่นวางมงาย เพราะเรื่องภายในเห็นได้ยาก
ก็ต้องใช้ของภายนอกแทนไปก่อน แต่ถ้ามีโอกาสเราก็ควรช่วยกันชี้แจงให้เข้าใจว่า
ถ้าเราประพฤติดีแล้ว น้ำอาบน้ำดื่มก็กลายเป็นน้ำมนต์ไปสิ้น
๗. หลักธรรม
(ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว)
(๑) หญิง,ชาย, คฤหัสถ์
บรรพชิตควรพิจารณา เนื่องๆ ว่า เรามีกรรมเป้นของตนเป็นผู้รับผลของการรมมีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย, เราทำกรรมใดไว้ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
เราจักได้รับผลของกรรมนั้น
(๒) หว่าพืชเช่นใด ย่อได้รับผลเช่นนั้น, ทำกรรมดีก็ได้ผลดี, ทำกรรมชั่วก็ได้ผลชั่ว
(๓) คนชั่วยังเห็นเป็นดีอยู่ ตราบเวลาที่ความชั่วยังไม่ผล เมื่อใดความชั่วให้ผล
เมื่อนั้นคนชั่วย่อมเห็นความชั่ว คนดียังเห็นเป็นชั่ว อยู่ตราบเวลาที่ความดียังไม่ให้ผล
เมื่อใดความดีให้ผล เมื่อนั้นคนดีย่อมเห็นความดี
(๔) กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวดี (ต่าง ๆกัน)
(๕)ทำบาปด้วยตน ก็เศร้าหมองด้วยตน ไม่ทำบาปด้วยตน ก็บริสุทธิ์ด้วยตน.
(๖)ผู้มีปัญญา ทรามย่อมเดือดร้อนเพราะการกระทำของตน ดุจถูกไฟเผาฉะนั้น.
(๗)คนพาลย่อมสำคัญความชั่วว่ามีรสหวานตราบเวลาที่ความชั่วยังไม่ให้ผล
เมื่อใดความชั่วให้ผลเมื่อนั้นเขาย่อมเข้าถึงความทุกข์.
(๘)บุคคลไม่ได้เป็นคนถ่อย คนดี เพราะชาติ หากเป็นเพราะการกระทำ (กรรม)
บุคคลเป็นชาวนา, เป็นนักศิลปะ (สิปปิกะ), เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้,
เป็นโจร, เป็นทหาร, เป็นนักบูชายัญ, เป็นพระราชา, ก็เพราะการกระทำ.
โลกเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายผูกพันอยู่ที่กรรมเหมือนลิ่มสลักเป็นเครื่องยึดรถ
ที่แล่นไปอยู่ฉะนั้น.
(๙)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะในกาลบัดนี้
ก็เป็นกัมมวาทะ (กล่าวว่ากรรมมี) กิริยวาทะ (กล่าวว่ากิริยามีปวิริยวาทะ
(กล่าวว่าความเพียรมี) (เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าในอดีตและอนาคต ตรงกันข้ามกับคติของมักขลิ
เจ้าลัทธิ ผู้กล่าวว่ากรรมคือความดีความชั่วไม่มี กิริยา คือการกระทำไม่มีวิริยะ
คือความเพียรไม่มี)
(๑๐)ถ้าท่านกลัวทุกข์ ไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำกรรมชั่วทั้งในที่ลับที่แจ้ง
ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่วความพ้นจากทุกข์จะไม่มีแก่ท่านผู้แม้โลดหนีไปอยู่.
อธิบาย:
หลักเรื่องกรรม หรือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนี้เป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งสอนให้คนเว้นจากความชั่วประพฤติความดี ให้รู้รักควบคุมความประพฤติของตน
คือเมื่อทราบว่าความเจริญรุ่งเรืองหรือความเสื่อมทรามแห่งชีวิตอยู่ที่กรรม
คือการกระทำของตนแล้ว จะได้เว้นกรรมชั่วทำแต่กรรมที่ดี คนที่เกดมาไม่เหมือนกัน
บางคนเกิดในตระกูลมั่งมีผาสุก บางคนเกิดในตระกูลยากจนข้นแค้น บางคนโง่
บางคนฉลาดบางคนมีโรคมากบางคนมีโรคน้อย ทั้งนี้ก็เพราะผลแห่งกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนไม่เหมือนกัน
ผลแห่งกรรมที่แล้วมาเราแก้ไม่ได้แต่เราควบคุมผลแห่งกรรมใหม่ ให้เกิดขึ้นตามต้องการได้ด้วยการเลือกทำแต่กรรมดี
การทำกรรมดีเพิ่มเติมไว้เสมอนั้น อาจช่วยตัดรอนผลของกรรมเก่าให้เพลาลง
เช่นเกิดมาในตระกูลยากจน แต่พากเพียรเล่าเรียนศึกษาทำความดี ก็อาจช่วยส่งฐานะให้สูงขึ้นเพราะความดีที่ทำใหม่ได้
การให้ผลของกรรมก็มีต่าง ๆ กัน บางอย่างเร็วทุนตาเห็น บางอย่างช้า
บางอย่างช้ามาก เหมือนพืชหรือผลไม้ปลูกพร้อม ๆ กัน บางอย่างให้ผลก่อนบางอย่าง
๕ ปี ถึง ๑๐ ปีจึงให้ผล เช่น มะละกอ มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น เพราะเหตุที่กรรมให้ผลเร็วบ้างช้าบ้างนี้
บางคนจึงเข้าใจผิดว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่วซึ่งท่านได้กล่าวไว้แล้วว่า
คนย่อมสำคัญผิดตราบเวลาที่กรรมนั้น ๆ ยังไม่ให้ผล เหล็กเผาไฟจนแดงแล้วเอาน้ำรด
แต่เอามือจับก็ยังร้อนอยู่ เพราะผลความร้อนยังเหลืออยู่ จะโทษว่าน้ำไม่ให้ผลคือความเย็นแก่เหล็กไม่ได้
มะม่วงผลเดียวที่นำไปปลูกอาจให้ผลเป็นมะม่วงตั้งพันตั้งหมื่นฉันใด
กรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้เต็มที่ ทั้งโดยเจตนา ทั้งโดยความพยายามก็ให้ผลฉันนั้น
ทางพระพุทธศาสนาสอนทางสายกลางคือเจตนาเป็นสำคัญเพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเจตนาหํ
ภิกขเว กมมํ วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
ดังนี้ แต่ในการบัญญัติสิกขาบทบางข้อ เช่นที่เกี่ยวด้วยกาลเวลา แม้ภิกษุล่วงโดยไม่มีเจตนาก็ปรับอาบัตินั้น
เพื่อป้องกันความเมินเฉยละเลย และการแก้ตัวของผู้ปรารถนาจะหลีกเลี่ยง
อนึ่ง ในจูฬกัมมวิภังคสูตร (ม. อุ. ๑๔/๓๗๖) พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลย่อมเป็นผู้:
(๑) มีอายุน้อย เพราะฆ่าสัตว์ มีอายุยืน เพราะไม่ฆ่าสัตว์:
(๒) มีโรคน้อยเพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ มีโรคมา เพราะเบียดเบียนสัตว์:
(๓) มีผิวพรรณทราม เพราะมักโกรธ แค้นพยาบาท มีผิดพรรณดี เพราะไม่มักโกรธ
แค้นพยาบาท:
(๔) มีศักดิ์ต่ำ เพราะมักริษยา มีศักดิ์สูง เพราะไม่มักริษยา:
(๕) มีโภคทรัพย์น้อย เพราะไม่เอื้อเฟื้อเจือจามีโภคทรัพย์มาก เพราะรู้จักเอื้อเฟื้อเจือจาน:
(๖) เกิดในตระกุลต่ำ เพราะกระด้างถือตัวไม่รู้จักอ่อนน้อม เกิดในตระกูลสูง
เพราะไม่กระด้างไม่ถือตัวรู้จักอ่อนน้อม:
(๗) มีปัญญาทราม เพราะไม่ไต่ถามหรือแสวงความรู้ มีปัญญามาก เพราะรู้จักไต่ถามและแสวงความรู้
ตามหลักนี้เป็นอันชีจริยาที่ดีงามไว้สำหรับ
ผู้มุ่งผลดีจึงพึงประพฤติปฏิบัติ แต่อาจมีบางคนผู้ใจร้อน ผู้ใจร้อนประพฤตินิดหน่อยจะให้ได้ผลทันใจหรืออ้างเหตุแย้งต่าง
ๆ เป็นต้นก็พสึงคิดหาเหตุผลในเรื่องผลของกรรมเก่าที่ค้างมาบ้างในชาตินี้ผู้เบียดเบียนสัตว์อาจไม่ขี้โรค
ก็เพราะผลแห่งความดีในชาติก่อนยังสนองอยู่ แต่ก็จะประสบความเป็นคนขี้โรคในชาติต่อไป
(๑) ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
(๒) สัตว์ทั้งปวง ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย บุคคลทำตนให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบแล้ว
ไม่พึงฆ่า ไม่พึงใช้ให้ฆ่า
(๓) บุคคลเอาใจตรวจดูทั่วทุกทิศแล้ว ไม่ได้พบใครซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเองในที่ไหน
ๆ ผู้อื่นทั้งหลายก็มีตนเป็นที่รักยิ่งฉันเดียวกัน ฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
(๔) เพราะเบียดเบียนผู้มีชีวิต บุคคลย่อมเป็นอารยะไม่ได้ เพราะไม่เบียดเบียนผู้มีชีวิตทั้งปวง
จึงเรียกว่าอารยะ (หรืออริยะ)
(๕) ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ละความชนะความแพ้เสียได้
ย่อมสงบระงับ นอนเป็นสุข
(๖) เมื่อมนุษย์มีเวรกัน เราไม่มีเวร อยู่เป็นสุขจริงหนอ เมื่อมนุษย์มีเวรกัน
เราอยู่อย่างไม่มีเวร
(๗) ในโลกนี้ เวรไม่เคยระงับด้วยการจองเวรในกาลไหน ๆ เลย เวรระงับด้วยการไม่จองเวรต่างหาก
ธรรมข้อนี้เป็นของเก่า
(๘) พวกอื่นไม่รู้ดอกว่า พวกเราก็พากันย่อยยับในพวกเรา (ที่ทะเลาะวิวาทกัน)
นี้เอง ในชนเหล่านั้นผู้ใดรู้ได้ แต่นั้นความหมายมั่นของเขาย่อมระงับไป
อธิบาย:
พระพุทธภาษิตที่ยกมาพอสังเขปเหล่านี้ย่อมแสดงให้เห็นหลักอหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนและหลักไม่จองเวรในประพุทธศาสนาอย่างแจ้งชัด
ท่านแสดง เหตุผลที่ไม่ควรเบียดเบียนกั้นด้วยให้เอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยนำตนเข้าไปเปรียบเทียบ
คือตัวเรารักตัวไม่ปรารถนาความทุกข์ร้อนฉันใด คนอื่นก็มีความรู้สึกนั้น
เมื่อเทียบเคียงอกเขาอกเราเช่นนี้ จึงไม่ควรเบียดเบียนกันการตีราคาชีวิตนั่นเจ้าของชีวิตมักตีราคาสูง
ไม่ว่าผู้นั้นจะมีรูปร่างเล็กหรือรูปชั่วตัวดำอย่างไร แม้คนที่เป็นโรคเรื้อนไม่สมประกอบก็ไม่เว้นความรักชีวิตของตน
สัตว์เหล่าอื่นก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ล้วนรักชีวิตและหาวิธีหลีกอันตรายทั้งนั้น
ด้วยเหตุนั้จึงไม่ควรตีราคาชี่วิตของผู้อื่นด่ำแล้วเบียดเบียนประหัตประหารเขา
คนบางคนฆ่าสัตว์เพียงเพื่อสนองความสนุกเพลิดเพลินหรือฆ่าเพียงเพื่อให้กระเพาะของตนอิ่มไปมื้อเดียว
แต่อีกฝ่ายหนึ่งถึงกับต้องเสียชีวิต ถ้าคิดเปรียบเทียบให้เราเป็นผู้ถูกฆ่าเพื่อความอึมท้องของคนอื่นบ้าง
เราจะต้องรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่หน้ากลัว การบูชายัญในบางศาสนามีการฆ่าสัตว์ฆ่ามนุษย์บูชาเทวดา
แต่ในพระพุทธศาสนาสอนว่าการเอื้อเฟื้อเจือจาานแก่สัตว์และมนุษย์แทนการฆ่านั้น
เป็นการบูชายัญที่ดีมาก และยังมีปัญหาอีกข้อหนึ่งคือ เรื่องที่ทางพระพุทธศาสนาถือว่าตนเป็นที่รักของตนยิ่งกว่าผู้อื่น
ซึ่งอาจมีผู้แย้งว่า มารดา บิดา หรือชาติ อายเป็นที่รักย่องกว่าตน
แต่ก็ลองไล่เลียงดูเถิด มารดาบิดาของใครชาติของใครตนจึงรัก ก็ของตนนั้นแหละ
ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับตน ไม่ใช่ของตนแล้ว ตนจะรักหรือไม่? และสมมติว่ามารดาบิดาไม่มีเจตนาดีต่อตนเลย
เคี่ยวเข็ญ ทุบตีด่าว่า ประทุษร้ายอย่างไม่ปรานี ตนก็คงไม่รู้สึกเคารพรักนับถือ
ที่รู้สึกเคารพรักนับถือ ก็เพราะท่านมีคุณต่อตนเอง ตกลงหนีตนไปไม่พ้น
ส่วนเรื่องการไม่จองเวรนั้นก็จะเห็นได้ว่า ผู้พิฆาตฆ่าฟันนั้นก็พากันป่นปี้ย่อยยับลงไปด้วยกัน
สมด้วยคำที่คนไทยเราชอบพูดว่า สาดน้ำรดกัน คือเปียกด้วยกันทั้ง ๒
ฝ่าย เมื่อเกิดจองเวรกันขึ้นก็ไม่มีความสุข มีแต่ต้องระมัดระวังตัว
หรือคิดตอบแทนประทุษร้ายกัน ยิ่งมีการแข่งขันซึ่งเอาแพ้เอาชนะกัน ไม่ว่าในการสงคราม
การเป็นความ หรือการพนัน ก็เป็นทางให้คิดหักล้างกันและกันไม่สิ้นสุด
ผู้ที่พิจารณาเห็นหลักนี้ย่อมหาความสุขในทางสงบ ไม่ต้องมทีเวรมีภัย
และปลูกศัตรู อาจมีผู้อ้างหลักการกีฬาว่า สอนให้แข่งขันกัน และมีใจหนักแน่น
รู้จักแพ้รู้จักชนะ จึงไม่ใช่น่าติเสมอไป ดังนี้ ก็น่าทำความเข้าใจกันเหมือนกันกีฬาแปลว่า
การเล่น เล่นเพื่อให้เกิดกำลังกาย และเพื่อฝึกกำลังใจให้รู้จักแพ้และชนะ
แสดงว่าความแพ้ความชนะนั้นทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรงในทางตรงกันข้ามทั้ง
๒ ฝ่าย และเป็นต้นเหตุให้จองเวรกันซึ่งเป็นการไม่ดี จึงต้องหาวิธีเอากีฬาซึ่งเป็นการเล่นมาช่วยแก้ว
กีฬาจึงไม่ใช่ตัวความแพ้ความชนะ หากเป็นเครื่องแก้ผลร้ายของความแพ้ความชนะบรรเทาความไม่ดีให้น้อยลง
กีฬาจึงไม่ใช่เรื่องที่พึงติแต่บางทีในการกีฬาซึ่งเป็นการเล่น ๆ นั้นเอง
กลายเป็นจริงเป็นจังขึ้น ถึงกับยกพวกตีกัน หรือทำให้โกรธแค้นอาฆาตกลายเป็นเรื่องส่วนตัว
กีฬาซึ่งเป็นเครื่องแก้ความไม่ดีของการแพ้การชนะ บางครั้งก็แก้ไม่ได้
ซ้ำยังเกดความขัดข้องขึ้นในเครื่องแก้นั้นอีกต่อหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องจริง
ๆ ในทางแห่งชีวิตด้วยแล้ว ไม่ว่าการสงครามการเป็นความ หรือ การต่อสู้แข่งขันเพื่อแพ้ชนะใด
ๆ ย่อมทำให้เกิดความเดือดร้อนไม่สงบ และก่อให้เกิดความรู้สึกเบียดเบียนกันทั้งสิ้น
ใครมีขันติ
ก็แสดงออกมาภายนอก เป็นความคร่ำครวญ ร้องไห้หรือกล่าววาจาหยาบคายเป็นต้น
การที่อดทนไว้ได้ไม่ใช่ความดีของความแพ้ แต่เป็นความดีของขันติเพราะฉะนั้น
หลักการไม่เบียดเบียนกัน และการไม่จองเวรมุ่งร้ายกัน จึงเป็นหลักส่งเสริมความสงบสุขในโลก
ซึ่งควรช่วยกันปลูกฝั่งให้เกิดมี.
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี่ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารี
(คือผู้ออกบวชด้วยกัน) ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ธรรมนี้ย่อมเป็นที่แห่งการให้ระลึกถึงกัน
ทำให้เกิดความรักความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กันไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(๒) พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า
ขอสัตว์ ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ยังเป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ไม่มีเหลือ ยาวใหญ่ ปานกลาง ผอมหรืออ้วน
ที่แลเห็นหรือ มิได้แลเห็น อยู่ไกลที่เกิดแล้วหรือแสวงความเกิด ขอสัตว์ทั้งปวงนั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความเกิด
สัตว์อื่นอย่าพึงข่มเหงสัตว์อื่นอย่างพึงหมิ่นอะไร ๆ กันในที่ไร ๆ
เลย ไม่ควร ปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความเคืองแคว้นหรือขัดใจ
มารดาถนอมลูกคนเดียวผู้เกิดจากตน เสมอด้วยชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตาอันเป็นไปในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง
แม้ฉันนั้น บุคคลพึงเจริญเมตตาอันเป็นไปสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น บุคคลพึงเจริญเมตตาอันเป็นไปในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร
ไม่มีศัตรู ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ตาม พึงตั้งสตินั้นไว้ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกิริยาอันนี้ว่าเป็นพรหมวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม)
ในศาสนานี้
(๓) ดูก่อนวัจฉะ ! ผู้ห้ามผู้อื่นซึ่งกำลังให้ทานชื่อว่าทำอันตรายแก่คน
๓ คน คือ ทำอันตรายแก่บุญของผู้ให้ ทำอันตรายแก่ลาภของผู้รับ และตัวของผู้นั้นก็ถูกขุด
(จากความดี) ถูกฆ่า (จากความดี) เสียก่อนแล้ว ดูก่อนวัจฉะ ! ผู้เทน้ำล้างชามลงในน้ำครำ
หรือหลุมโสโครก ด้วยเจตนาให้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในนั้นได้ยังชีพ เรายังกล่าวอะไรถึงการให้แก่มนุษย์ด้วยกันเล่า
ดูก่อนวัจฉะ ! ก็แต่ว่า เรากล่าวทานที่ให้แก่ผู้มีศีลว่ามีผลมาก หากกล่าวเช่นนั้นในผู้ทุศีลไม่
(๔) การให้ปัน ๑ การพูดไพเราะ
๑ การบำเพ็ญประโยชน์แก่กัน ๑ การงานตนให้เหมะสมตามธรรม ๑ เหล่านี้แหละเป็นธรรมเครื่องสังเคราะห์กันใสนโลกเหมือลิ่มสลักเป็นเครื่องยึดรถทีแล่นไปอยู่ฉะนั้น
(๕) ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง
ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ
อธิบาย:
หลักเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นดูเหมือนว่ามีอยู่ในทุกศาสนา แต่พระพุทธศาสนานับว่าแปลกกว่าเพื่อ
ที่สอนให้เมตตากรุณาทั่วไปหมดไม่จำกัดว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก
นอกศาสนาหรือในศาสนา ไม่ใช่สอนให้มีเมตตาพวกเดียวกัน ชาติศาสนาเดียวกัน
แล้วช่วยกันย่ำยีพวกอื่น ชาติสาสนาอื่นฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงได้รับคำยกย่องจากชาวตะวันตกว่า
All-embracing แปลว่าโอบไว้หรือครอบคลุมทั้งหมด ข้อความในพระสูตรต่าง
ๆ ที่ยกมาตั้งไว้ข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องรับรองความจริงข้อนี้ และหลักเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นี้
เป็นส่วนสนับสนุนหลักไม่เบียดเบียนจองเวรที่กล่าวมาแล้ว เท่ากับว่าหลักไม่เบียดเบียนเป็นหลักศึกหลักเมตตากรุณาเป็นหลักธรรม
ช่วยสนับสนุนศีลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเช่นคนไม่ฆ่าไม่ประทุษร้ายผู้อื่นแล้ว
ก็รู้จักเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์จึงชื่อว่า
อยู่ในข่ายแห่งเมตตากรุณาของธรรมะทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
๑๐. หลักขันติ ความอดทน
(๑) ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นตบะ(ธรรมเครื่องเผากิเลส) อย่างยิ่ง
(๒) เวรของผู้มีความอดทนเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ
(๓) คนอดทนถ้อยคำของผู้สูงกว่าได้ ก็เพราะกลัว อดทนถอยคำของคนที่เสมอกันได้
ก็เพราะสูกันได้ แต่ผู้ใดอดทนถ้อยคำของคนต่ำกว่าได้ สัตบุรุษกล่าวความอดทนของผู้นั้น
ว่าเป็นความอดทนอันสูงสุด
(๔) ก่อนผัคคุนะ เพราะเหตุนั้นแล ถ้าใคร ๆ พึงติท่านต่อหน้า ตบด้วยฝ่ามือ
ขว้างด้วยก้อนดินตีด้วยท่อไม้ หรือฟันด้วยมือ ท่านพึงละความพอใจ ความคิดนึกแบบชาวบ้านเสีย
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจะไม่ปล่อยให้จิตแปรปรวนจักไม่เปล่งวาจากหยาบคายหวังประโยชน์และความอนุเคราะห์
มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่ตกอยู่ในอำนาจของโทสะ ดังนี้เกิด
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ยังเสงี่ยมเจียมตัว
สงบระงับอยู่ได้ ตราบเวลาที่ถ้อยคำอันไม่หน้าพอใจยังไม่มากระทบ เมื่อใดถ้อยคำเช่นนั้นมากระทบ
เมื่อนั้นจะพึงรู้ได้ว่าเป็นผู้เสงี่ยมเจียมตัวสงบระงับหรือไม่
อธิบาย:หลักเรื่องความอดทนนี้ เป็นเครื่องแสดงถึงควาามมุ่งหมายในการสอนให้คนมีความเข้มแข็งทั้งทางกำลังกายกำลังจิต
การอดทนต่อความลำบากตรากตรำหนาวร้อนเป็นธรรมะข้อหนึ่งของผู้ครองเรือน
(ธีติ-ความทนทานในฆราวาสธรรม) การอดทนต่อทุกขเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดี
อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นก็ดี อดทนต่อสิ่งเย้ายวนต่าง ๆ อันจะทำให้โลภ
โกรธ หลงไปตามก็ดีเป็นคุณลักษณะที่ดีงามของมนุษย์ เพราะต้องอาศัยการยับยั้งการต่อสู้ทางาจิตใจและการไตร่ตรองหาเหตุผล
ซึ่งแสดงถึงความเข้มแข็งไม่อ่อนแอ
ผู้ใดมีขันติความอดทนผู้นั้นย่อมตัดเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท และตัดเหตุแห่งการล่วงละเมิดความผิด
เพราะมีเครื่องเร้ามาชักจูงและเหตุผลที่ท่านแสดงไว้ข้างต้นว่า การอดทนต่อคนที่ต่ำกว่าซึ่งเราสามารถรังแกหรือปราบเขาได้นั้น
เป็นความอดทนอย่างสูงสุด ก็เพราะเป็นองทำได้ยาก ไม่เหมือนความอดทนต่อคนที่สูงกว่า
ซึ่งแม้ไม่อยากอดทนก็ต้องจำทนเพราะกลัวเขา หรือคนที่เสมอดกัน ถ้าเราไม่อดทนเกิดสู้กันขึ้น
เขาก็พอสู้เราได้ จึงต้องจำใจอดทนไป แต่การอดทนต่อคนที่ต่ำกว่าทำได้ยากและมักจะทำกันไม่ได้
จึงเท่ากับสอนให้หัดทำสิ่งที่ยากที่สุดให้ได้ด้วย
การอดทนนั้นทางพระพุทธศาสนาสอนให้มีแต่ต้นมือ ไม่ใช่ให้รอเกิดเรื่องเสียก่อนจึงอดทน
แต่ให้อดทนไม่ก่อให้เรื่องเกิดขึ้น เช่นที่สอนไม่ให้ยินดีในการทะเลาะวิวาท
ไม่ให้ยินดีในการพูดขัดแย้งผู้อื่น ซึ่งจะเป็นต้นเหตุให้เกิดการโต้เถียงทำร้ายกัน
สอนให้ขุดรากแห่งความเดือดร้อน อันจะเกิดขึ้นจากต้นเหตุเพียงเล็ก ๆ
น้อย ๆ เสีย ด้วยการอดทนแต่เริ่มแรกซึ่งเข้าในลักษณะตัดต้นไฟ อีกอย่างหนึ่ง
แม้ทางพระพุทธศาสนาจะสอนให้อดทนภายหลังที่เกิดเรื่องขึ้นแล้ว เช่น
ถูกด่า ถูกทำร้ายก็ตาม แต่จะพึงสังเกตได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนที่เป็นชั้นในเข้าไปอีกคือ
สอนให้ตั้งต้นเป็นคนดีไม่เบียดเบียนใคร ไม่ยินดีในการทะเลาะวิวาท ให้มีแต่เมตตากรุณาสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้อื่น
การทำตนแบบนี้นอกจากเป็นการทำตนไม่ให้ใครคิดด่าคิดทำร้ายแล้ว ยังเป็นการทำตนให้คนคิดแต่จะกราบไหว้บูชา
หรือแสดงความสำนึกในบุญคุณเพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติถูกต้องตามพระโอวาท
ของพระพุทธเจ้า จึงไม่ต้องแสวงหาเสน่ห์ของขลังที่ให้คนอื่นรัก หรือแสวงหาเครื่องรางมาแขวนคอ
ความประพฤติปฏิบัติของตนนั้นเอง จะเป็นเป็นเครื่องรางอันวิเศษมิใช่แต่ป้องกันมิให้ใครคิดร้าย
แต่จะเรียกร้องให้คนมาเคารพนับถือเพิ่มขึ้นอีกด้วย
๑๑.หลักมักน้อยสันโดษ
(๑)
ความสันโดษ (คือยินดีด้วยของของตนไม่เพ่งเล็งก้าวล่วงของของคนอื่น)
เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
(๒) ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรม
เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสนา (คือคำสอนของพระศาสดา)
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้สันโดษด้วยผ้านุ่งห่อ
อาหาร ที่อยู่ ตามมี ตามได้ไม่ทำการแสวงหาอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งสิ่งเหล่านั้นไม่ได้สิ่งนั้น
ก็ไม่หวาดสะดุ้ง ได้แล้วก็ไม่ติด ไม่หมกมุ่นไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุนั้น
อธิบาย: คนที่พิจารณาหรือมองเผิน ๆ มักหาว่าพระพุทธศาสนาสอนให้คนเกียจคร้าน
ไม่ขยันทำมาหากินมีเท่าไรก็เท่านั้น ไม่คิดก้าวหน้า ความเข้าใจผิดเช่นนี้ควรช่วยกันชี้แจงให้แจ่มแจ้ง
การที่คนเข้าใจผิด ไม่ใช่ความผิดของความมักน้อย สันโดษเหมือนคนอ่านหนังสือไม่ออก
ซื้อแว่นตามาใส่ เพื่อจะให้อ่านหนังสือออกครั้นใส่แว่นตาแล้วยังอ่านไม่ออกก็ติแว่น
ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่ความผิดของแว่นหรือ เปรียบเหมือนคนที่พยายามจุดบุหรี่ที่หลอดไฟฟ้า
ครั้นจุดไม่ติด ก็โทษหลอดว่าใช้ไม่ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหลอดไฟฟ้าเช่นเดียวกันแว่านตาไม่ใช่เป็นเครื่องมือทำให้คนไม่รู้หนังสือให้อ่นออกหลอดไฟฟ้าไม่ใช่เครื่องใช้สำหรับจุดบุหรี่
ผู้ใช้ต้องรู้ว่าสิ่งเหล่านี้สำหรับใช้ทำอะไร มักน้อยสันโดษก็ฉันนั้นควรรู้ความหมายและประโยชน์ให้ถูกเรื่อง
จึงใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
มักน้อย ตรงข้ามกับมักมาก หมายถึงความรู้จักประมาณตน รู้จักความพอดีและรู้จักหาความสุขได้ตามสภาพ
ไม่ปล่อยให้ความมักใหญ่ใฝ่สูงมาเผาใจให้เดือนร้อน หรือจะพูดให้ชัด
ต้องพูดในทางตรงกันข้ามคือความมักมากนั้นเป็นอย่างไร น่ารังเกียจและอำนวยผลชั่วอย่างไร
ความมักน้อยก็คือที่ตรงกันข้ามนั่นเอง เช่นคนที่มักมาก แม้ไม่เป็นคนมักขโมย
แต่เข้าที่ไหนก็หวังแต่จะได้ เป็นคนเอาเปรียบเพื่อมนุษย์ ขอเล็กขอน้อยหรือขอมากสุดแต่ให้ได้มาก็แล้วกัน
จะทำอะไรก็ไม่รู้จักประมาณ มีแต่เกิดพอดีเสมอ ไว้ใจให้การสำคัญไม่ได้ความมักมากจะคอยกระซิบ
ให้โกง หรือโกยประโยชน์ใส่ตนเป็นนิตย์ ชอบให้คนเข้าใจว่าตนเป็นคนเด่นคนสำคัญ
และทำงานขึ้นนั้นชิ้นนี้สำเร็จ ทั้ง ๆ ที่บางที่ตนไม่ได้ทำเลย ชอบปล้นคุณความดีและชื่อเสียงเกียรติคุณก็ไม่ลำพองจิตติดอยู่ใสสิ่งนั้น
หรือกล่าววอวดผู้อื่น ส่วนการพากเพียร สร้างคุณงามความดีแก่ตนในทางสุจริตไม่เป็นการเสียมักน้อย
สันโดษ แปลว่ายินดีด้วยขอของตน คนที่ทำอทินนาทานคือลักขโมยของผู้อื่น
ก็เพราะขาดความยินดีเฉพาะของตน เมื่อเป็นเช่นนี้คนที่ติดคุกหรือถูกลงโทษอย่างอื่นเพราะขาดสันโดษจึงมีอยู่ไม่น้อย
คดีต่าง ๆ ในโรงในศาลนั้น เรื่องที่นับว่ามีเสมอก็คือเรื่องลักขโมยหรือปล้น
เห็นได้ที่เดียวว่า ถ้าโลกเราขาดสันโดษจะเต็มไปด้วยขโมย และชาวโลกผู้ไม่สันโดษด้วยคู่ของตนก็จะล่วงละเมิดคู่ของตนอื่น
เป็นเหตุบาดหมางฆ่าฟันแก่งแย่งกัน อันจะแผ่ความเดือดร้อนขยายไปกว้างขวาง
สันโดษเป็นธรรมจำเป็นสำหรับโลกเช่นนี้ จึงไม่ควรเข้าใจผิดว่าทำคนให้เกียจคร้าน
พระพุทธเจ้าเป็นวิริยวาที สรรเสริญคุณของความเพียรติความเกียจคร้าน
หาได้สนับสนุนให้คนงอมืองอเท้าไม่ที่สอนเรื่องสันโดษก็เพราะต้อง การให้ความสุขได้จากของของตนโดยไม่ต้องล่วงเกินของ
ๆ ผู้อื่น อนึ่ง ทรัพย์สมบัตินั้นจะถือว่า จำนวนเท่านั้นเท่านี้จึงนับว่าอย่างยิ่งหาได้ไม่
เพราะความพอใจของคนมีขนาดต่าง ๆ กัน คนหนึ่งว่ามากแล้ว อีกคนหนึ่งอาจว่ายังน้อยไปก็ได้
จึงต้องถือความยินดีของแต่ละคนเป็นเครื่องกำหนด สมด้วยคำกล่าวว่า ภิกษุผู้ยินดีด้วยผ้านุ่งห่มอันปะติดปะต่อของตน
ย่อมรู้สึกว่าเท่ากับผ้าราคาตั้งแสนกหาปณะของคฤหบดี ภิกษุผู้ยินดีด้วยกุฎีมุงด้วยหญ้า
ย่อมรู้สึกว่า เท่ากับปราสาทราชวังฉะนั้นการพากเพียรเพ่อบรรลุสิ่งที่มุ่งหมายในทางที่ชอบไม่เสียสันโดษ
เมื่อเข้าใจประโยชน์ของความมักน้อยสันโดษเช่นนี้แล้ว ก็จะไม่หลงติดด้วยความเข้าใจผิด
เหมือนคนติแว่นตาและหลอดไฟฟ้าดังกล่าวมาแล้วอีกต่อไป
๑๒. หลักความสำเร็จผล
อิทธิบาท คือ ธรรมะที่ให้ถึงความสำเร็จ ๔ ประการ คือ ๑. ฉันทะ พอใจ
๒. วิริยะ พากเพียร ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ ๔. วิมังสะ ไตรตรองหรือพิจารณาเหตุผล
อธิบาย: สิ่งที่บุคคลปรารถนา และไม่เป็นของเหลือวิสัย ย่อมสำเร็จได้เพราะธรรมะคืออิทธิบาท
ถ ประการนี้ผู้ทำอะไรไม่สำเร็จ จงลองสอบสวนเหตุดูอาจพบว่าเพราะขาดข้อปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่ง
หรือขาดหมดทั้ง ๔ ข้อนี้ก็ได้ และในที่นี้ก็จะพบอีกว่าท่านแสดงความเพียรเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งแห่งธรรมที่จะให้ถึงความสำเร็จหลักข้อนี้ใกล้ชิดกับกลักข้อที่
๓ ที่ว่าด้วยการพึ่งตนเองปฏิเสธการอ้อนวอน ผู้จะถึงความสำเร็จก็ต้องพึ่งตนเองปฏิบัติเสธการอ้อนวอน
ผู้จะถึงความสำเร็จก็ต้องพึ่งตนเป็นผู้ดำเนินการ เป็นแต่แสดงวิธีการว่าจะพึ่งตนอย่างไร
หรือทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ คำว่าอิทธิ นอกจากแปลว่าความสำเร็จแล้ว ยังแปลได้ว่าฤทธิ์
มนุษย์ที่แสดงฤทธิ์ได้ จะโดยวิธีของวิทยาศาสตร์หรือจิตศาสตร์ก็ตาม
ก็จะต้องอาศัยหลักทั้ง ๔ ข้อเหล่านี้
๑๓.หลักกตัญญูกตเวที
(๑) บุคคลที่กตัญญู
(รู้คุณที่คนอื่นทำแล้ว) กตเวที (ประกาศหรือตอบแทนคุณที่คนอื่นทำแล้ว)
เป้ฯผุ้ที่หาได้ยากในโลก
(๒) ความกตัญญูเป็นมงคลอันสูงสุด
อธิบาย:
พระพุทธภาษิตเท่าที่ยกมาเพียงเล็กน้อยนี้ ย่อมเป็นเครื่องแสดง ถึงหลักการทางพระพุทธศาสนาว่าถือความกตัญญูกตเวทีเป็นธรรมจรรยาอัน
สำคัญข้อหนึ่งที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน ความจริงธรรมะข้อนี้ก็มีสอนกันอยู่ทั่วไป
แม้ไม่ใช่ทางศาสนาแต่เพื่อให้เห็นความสมบูรณ์ในหลักธรรมที่สำคัญ ๆ
ทางพระพุทธศาสนา จึงยกมากล่าวไว้ด้วย พระสารีบุตรเถระได้ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวทีที่เป็นแบบฉบับ
ท่านทราบว่าพระอัสสซิเถระอาจารยืผู้แนะนำท่านให้รู้จักพระพุทธศาสนาอยู่
ณ ที่ใด ท่านก็นอนหันศีรษะไปทางนั้น และแม้ในเรืองเล็กน้อยที่ใครมีอุปการะคุณแก่ท่าน
ท่านก็ระลึกได้เสมอ การสอนเรื่องกตัญญูกตเวที เป็นทางทำให้มนุษย์กระชับความสัมพันธ์ในทางถ้อยทีถ้อยอาศัยกั้น
และรู้จักบุญคุณของกันและกัน
๑๔.หลักเรื่องการกลับตัว
(๑) ผู้ใดปิดกั้นกรรมชั่วที่ทำลงไปแล้วด้วยความดีผู้นั้นย่อมทำดลกนี้ให้สว่าง
เหมือนดวงจันทร์ปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น
(๒) ผู้ใดประมาทแล้ว ไม่ประมาทในภายหลักผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น
อธิบาย: เมื่อพิจารณาถึงคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาโดยทั่ว
ๆ ไป จะพบธรรมะเรื่องการกลับตัวนี้ข้อหนึ่ง ว่าเป็นธรรมดาด ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งน่าขบคิดซึ่งถ้าได้เห็นความสำคัญของธรรมะข้อนี้แล้ว
จะทำให้รู้สึกเสียดายแทนเพื่อนมนุษย์อีกเป็นอัน มากที่พากันมองข้ามธรรมะข้อนี้เสีย
ทอดตนให้จมอยู่ในความเสื่อมอย่างหมดอาลัยไยดี หรือบ้างก็ฮึดฮัดทำความชั่วยิ่งขึ้น
ด้วยคิดสั้น ๆ ว่าไหน ๆ ได้เสียแล้วก็จะเสียให้เต็มที่ คล้ายกับว่าเมื่อเปื้อนโคลนแล้วก็ตะลุยลงคลุกโคลน
อย่างไม่ต้องกลัวเปื้อนอะไรต่อไปอีก
ผู้ที่ไม่ด่วนตายเสียแต่ยังเด็ก คงจะได้เคยผ่านความผิดพลาดยกพร่องอะไรกันมาบ้าง
ไม่มากก็น้อยถึงกับบางท่านได้กล่าวเป็นภาษิตไว้ว่า คนผู้ไม่เคยทำผิด
คือ คนผู้ไม่เคยทำอะไรเลย ความผิดพลาดเป็นของมนุษย์ การให้อภัยเป็นของเทวดา
ซึ่งข้าพเจ้าอยากจะเสริมไว้อีกข้อหนึ่งในที่นี้ว่า ความผิดพลาดเป็นของมนุษย์
การให้อภัยเป็นของเทวดา ซึ่งข้าพเจ้าอยากจะเสริมไว้อีกข้อหนึ่งในที่นี้ว่า
ความผิดพลาดเป็นของมนุษย์ แต่มนุษย์ที่ดีต้องรู้จักกลับตัว
พระพุทธศาสนายอมรับว่า บุคคลในโลก มีโอกาสที่จะประพฤติชั่วหรือทำผิดพลาดเสียหายได้โดยง่าย
เพราะสิ่งแวดล้อมอันจะชักจูงให้เกิดกิเลสซึ่งเป็นสาเหตุทำชั่วมีอยู่มาก
ท่านจึงสอนให้มีสติ และให้พิจารณาโดยรอบคอบก่อนแต่จะทำไรลงไป แต่ยังมีปัญหาที่ว่า
ถ้าเป็นผู้พลั้งพลาดเสียหายแล้ว แม้จะทำคืนสิ่งที่แล้วมาไม่ได้จะคงปล่อยให้พลั้งพลาดอยู่ตลอดไปเช่นนั้นหรือ
หรือว่าจะทำให้ผิดพลาดชั่วช้ายิ่งขึ้น ด้วยถือหลักง่าย ๆว่า เมื่อได้เสียแล้วก็จะเสียให้เต็มที่
ความขอนี้พึงทราบโดยอุปมาผ้านุ่งห่มของบุคคลที่ขาดทะลุเป็นช่องไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
บุคคลควรจะปะชุนให้ดีหรือควรนุ่งห่มทั้งที่ขาดอยู่อย่างนั้น หรือว่าจะควรฉีกให้ขาดยิ่งขึ้นจนเป็นร่างแหแล้วนุ่งห่ม
ข้อนี้ต้องตอบว่า ควรปะชุนให้ดี
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลมีกายเปรอะเบื้อนของโสโครกมีกลิ่นเหม็นอันพึงรังเกียจ
จะควรล้างดีหรือปล่อยไว้ดีหรือว่าจะควรเอาของโสโครกนั้น มาเทรดตัวให้เปรอะเปื้อนมากขึ้นอีก
ข้อนี้ตอบว่า ควรล้างเสียให้สะอาด
และอีกอย่างหนึ่ง บุคคลเดินทางไปสู่ที่หมายแห่งหนึ่ง ในระหว่างทางพบทาง
๒ แพร่ง คลับคล้ายคลับคลาจำไม่ได้วาทางไหนถูก ต่อเมื่อเลือกเดินไปทางหนึ่งเป็นเวลานานแล้ว
จึงรู้ว่าเดินผิดทางดังนี้ ควรจะถอยกลับมาสู่ทางแยกเก่า แล้วเดินทางที่ถูกต่อไปใหม่หรือควรหยุดเฉยอยู่เพียงนั้น
หรือว่าควรเดินต่อไปอีกทั้งที่รู้ว่าผิดและไม่มีโอกาสถึงที่หมายได้เลยเป็นอันขาดแม้ข้อนี้ก็ต้องตอบว่า
ควรถอยกลับมาเดินทางที่ถูกต่อไปใหม่
การงานหรือความประพฤติก็เช่นเดียวกัน ผู้ใดเคยผิดพลาดมาแล้ว ไม่ควรปล่อยอยู่อย่างนั้น
หรือจงใจทำผิดพลาดยิ่งขึ้น ควรจะคิดแก้ไขกลับตัว ทำแต่ในทางที่ดีที่ถูกถึงจะชอบ
ผู้ที่ผิดพลาดแล้วทอดอาลัยในชีวิต หรือเกิดความฮึดฮัดจะทำความผิดพลาดยิ่งขึ้น
เชื่อว่ามอบตัวเองให้แก่ความชั่วความผิดพลาด มิได้เป็นเจ้าของของ ๆ
ตัวเองทั้งชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา ที่สอนให้ควบคุมชีวิตของตนให้เป็นไปในทางที่ดี
ด้วยการทำความดีอีกด้วย ถ้าถือเสียว่าที่ล่วงแล้วมาเป็นพียงความฝัน
ซึ่งทำได้อย่างมากเพียงนึกย้อนไปสาวเอามาคิดทบทวนเล่นเท่านั้น ก็อาจทำลืม
ๆ เสียได้โดยง่าย แล้วหันมาเอาใจใส่กับความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคต
คิดปรับปรุงแก้ไขทางดำเนินชีวิตของตนต่อไปใหม่ ให้อยู่ในทำนองคลองธรรม
ประกอบเหตุแห่งความเจริญ ตามควรแก่ทางโลกหรือทางธรรม ก็จะช่วยตัวเองให้รุ่งเรืองขึ้นได้
เป็น ตโมโชติปรายโน ผู้มืดมาแล้วสว่างไป เปรียบเหมือนดอกบัวเกิดในกองขยะ
แต่ส่งตัวเองให้สูงขึ้นไปได้ และมีกลิ่นหอมฟุ้งต่างจากขยะฉะนั้น ทางพระพุทธศาสนาชื่นชมต่อบุคคลเช่นนี้
ผู้ไม่ยอมทอดตนให้อยู่ในอำนาจของความชั่วความผิด และเมื่อย้อนไปกล่าวถึงคำว่า
ความผิดพลาดเป็นของมนุษย์ แต่มนุษย์ที่ดีต้องรู้จักกลับตัว แล้วก็น่าพิจารณาถึงหลักฐานทางพระพุทธศาสนา
ที่สอนถึงการกลับตัวนี้ต่อไปอีก
๑.ในพระไตรปิฎก มีเรื่องปรากฏว่า ภิกษุบ้าง พราหมณ์บ้าง ล่วงเกินเพราะความเข้าใจผิดในพระพุทธเจ้า
เมื่อสำนึกตนได้จึงทูลขอขมา พระองค์ตรัสประทานอภัยแล้ว ได้ตรัสสรุปในที่สุดว่า
การที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกิดแล้วทำคืนเสียให้ถูกธรรม สำรวมระวังต่อไปนั้น
เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ นี้แสดงว่า ในอริยวินัยไม่นิยมความดื้อรั้นหรือเมินเฉยในเมื่อสำนึกได้ว่า
ตนประพฤติผิดล่วงเกินผู้อื่น
๒.ในทางวินัย ภิกษุใดประพฤติผิด เป็นเหตุให้สงฆ์ลงโทษ เช่นไม่ให้มีใครคบหาพูดจาด้วย
หรือคฤัสถ์ใดประพฤติตนในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภิกษุและศาสนา
จึงถูกสงฆ์ประกาศคว่ำบาตรไม่รับไทยธรรมของผู้นั้นเมื่อภิกษุก็ดี คฤหัสถ์ก็ดี
เหล่านั้นกลับตัวได้ สงฆ์ก็ประกาศเลิกข้อลงโทษนั้น ๆ ให้เป็นผู้มีสิทธิต่าง
ๆ เท่าเทียมกับหมู่ต่อไปตามเดิม เป็นการแสดงว่าข้อลงโทษนั้น ๆ แท้จริงก็มุ่งความกลับตัวได้ของผู้ประพฤติผิดเป็นที่ตั้ง
๓.ในการสอนเรื่องความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าได้สอนให้ไม่ประมาท ในการละความเห็นผิดทำความเห็นให้ถูก
และเรื่องทิฎฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นบุญกิริยาวัตถุ
ที่ตั้งแห่งการทำบุญประการหนึ่ง ความเห็นนั้น จะให้เห็นถูกตลอดสายทุกเรื่องเป็นการยาก
ในเรื่องที่ตนยังไม่เคยศึกษาค้นคว้าหรือเรื่องที่ตนไม่รู้จริง ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีความเห็นผิดเข้าใจผิดบ้าง
โดยเฉพาะในทางธรรมปฏิบัติ ได้มีคณาจารย์เจ้าลัทธิสั่งสอนอยู่เป็นอันมาก
ซึ่งปรากฏว่าแม้พระพุทธเจ้าของเราก็เคยศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของคณาจารย์เหล่านั้น
แต่เมื่อศึกษาถี่ถ้วนแล้ว เห็นว่ายังไม่ใช่ทางที่ถูกแท้ จึงทรงค้นคว้าด้วยพระองค์เองต่อไปใหม่
นี้แสดงว่าพระองค์ทรงถือเหตุผลที่ถูกที่ชอบ บางคนเคยมีความเห็นอย่างใด
ก็ยืนยันอยู่อย่างนั้นไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทั้งที่รู้ว่าความเห็นของตนผิด
ซึ่งท่านพระกุมารกัสสปเคยเปรียบบุคคลเช่นนี้กับผู้ไม่ยอมทิ้งอุจจาระที่นำไป
ด้วยประสงค์จะทำประโยชน์บางอย่างเพื่อรายได้ ทั้ง ๆ ที่พบวัตถุมีค่าต่าง
ๆ ในระหว่างทาง เช่น ปอ ป่าน เงิน ทอง ด้วยเสียดายว่าตนได้แบกมานานแล้ว
แม้ในการสนทนาธรรมหรือสนทนาเรื่องอื่นใด ถ้ามุ่งประโยชน์ก็ควรจะยอมรับผิดหรือรับรองผู้อื่น
ในเมื่อเห็นว่าคำพูดของตนไม่ถูกและเหตุผลขอบผู้อื่นถูกต้องดีกว่า แม้พระนาคเสนเถระเมื่อจะสนทนากับพระเจ้ามิลินท์
ก็ได้ทูลซ้อมความเข้าใจก่อนว่า จะสนทนากันอย่างบัณฑิต คือถือเหตุผลที่ถูกต้องเป็นประมาณอันแสดงว่า
ในการกลับตัวจากความเป็นผู้เห็นผิดนั้น นอกจากต้องพยายามศึกษาค้นคว้าให้รู้จริงในสิ่งนั้น
ๆ ด้วยตนเองแล้ว แม้เมื่อสนทนาปราศรัยกับผู้อื่นก็ควรยอมรับรองความเห็นที่ถูกที่ชอบด้วยเหตุผลไม่ถือผิดยืนยันมติของตนทั้งที่รู้ว่าผิด
ความกลัวตัวเช่นนี้ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเป็นอย่างมาก
๔.ผู้ใดก็ตาม แม้จะเคยเป็นคนโหดร้าย ประพฤติชั่วช้ามาก่อน ด้วยสิ่งแวดล้อมชักจูงก็ดี
ด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาหรือเหตุใด ๆ ก็ดี เมื่อทราบว่าตนผิดแล้วควรละเลิกความประพฤตินั้นเสีย
กลับตัวให้เป็นคนดี เริ่มประพฤติความดีต่อไป ทำได้เช่นนี้ทางพระพุทธศาสนาย่อมสรรเสริญ
มีตัวอย่างเช่นพระองคุลิมาล เคยเป็นโจรฆ่าฟันคนมามากต่อมาก แต่กลับตัวได้
กลับตั้งอยู่ในศีลธรรมจนได้สำเร็จพระอรหัตผล แล้วเปล่งอุทานแสดงความเห็นในเรื่องการกลับตัวนี้ด้วยน้ำใสใจจริง
ตามพระพุทธภาษิตซึ่งตั้งไว้เป็นหลักข้างต้นนั้น
๕.เมื่อพิจารณาจากพุทธประวัติ และสาวกประวัติแล้ว จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าก็ดี
พระสาวกทั้งหลายก็ดี ได้ผ้านความกลับตัวมาด้วยกันทั้งสิ้น ในอุปทานแสงดบุพกรรมของพระองค์
พระพุทธเจ้ายอมรับวาพระองค์เคยเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ เที่ยวอาละวาดกล่าวตู่พรปัจเจกพุทธเจ้าในชาติล่วงมาแล้ว
ชาติใดชาติหนึ่ง และเคยเป็นอะไรต่ออะไรอีกที่ไม่ดี ซึ่งในที่สุดก็พยายามกลับตัวติดต่อกันในชาติหลัง
จนได้เป็นพระพุทธเจ้าในทีสุด พระสาวกทั้งหลาย เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ
ก็นับถือศาสนาอื่นมาก่อน แต่เมื่อได้ฟังหลักธรรม อันประกอบด้วยเหตุผล
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาค ก็กลับตัว กลับใจ กลับความเห็น มาประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา
ชฎิลพันรูปอันมีท่านอุรุเวลกัสสป นทีกัสสปและคยากัสสป ๓ พี่น้องเป็นประธานก็ถือเคร่งในลัทธิอื่นมาก่อน
เมื่อได้สดับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็พิจารณาเห็นด้วยใจของตนเองว่าลักธิของตนไม่มีสาระ
จึงทูลของอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และโดยเฉพาะท่านอุรุเวลกัสสป ได้กล่าวประกาศเหตุผลในการที่ตนเลิกลักธิเดิมมานัมถือพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนชาวมคธผู้มาประชุมกัน
ณสวนตาลหนุ่ม
เพราะฉะนั้น
จึงสมควรที่จะปรารถนาการกลับตัวของพระผู้มีพระภาค และพระสงฆ์ปุราณชฎิลเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์แล้วตรวจสอบดูความเป็นไปในชีวิติของตนว่า
ควรแก้ไขกลับตัวอย่างไรบ้าง ถ้าอัธยาศัยยังร้ายกาจก็ควรแก้ไขเสียให้อ่อนโยน
ถ้ายังเป็นผู้เกียจคร้าน ก็จงเริ่มตั้งความเพียรเสียแต่วันนี้ ความชั่วใด
ๆ ที่เคยทำมาแล้วนั้น อย่ากลับทำซ้ำอีก ความเห็นใด ๆ อันตนเคยยืนยันถือมา
เมื่อทราบว่าผิดแล้ว จงบกลับความเห็นที่ผิดนั้นเสีย ทำให้ถูกตรงต่อไปใหม่ดังนี้
วันที่ทำได้เช่นนั้นจะเป็นวันแห่งความสดชื่นพวกเราเหล่าพุทธบริษัท
ในการที่จะได้แก้ไขความพลั้งพลาดในหนหลังเสีย ด้วยการกลับ ตัวให้เป็นคนต่อไปใหม่
ผู้ที่ได้ลิ้มรสปีติอันเกิดแต่การทำความดีมีศีลเป็นต้นแล้ว จะรู้สึกว่าปีติอันเกิดแต่การทำความดีนี้
ทำชีวิตให้สดชื่น และน่าชวนเพื่อมนุษย์อื่น ๆ มาร่วมได้รับอย่างยิ่งทีเดียว
๑๕.หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน
(ธรรมะสำหรับฆราวาส)
(๑) ดูก่อนพราหมณ์
! ธรรมะ ๔ อย่างเหล่านั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่กุลบุตรในปัจจุบัน คือ
๑.
ความถึงพร้อมด้วยความหมั่นขยัน
๒.
ความถึงพร้อมด้วยการรู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้
๓.
การคบเพื่อที่ดีงาม
๔.
การดำรงชีพโดยเหมาะสมไม่ให้ฟุ้มเฟือย หรือฝืดเคืองจนเกิดไป
(๒) ดูก่อนคฤหบดี ! ความสุข ๔ อย่างที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคตาม พึงได้รับตามกาลตามสมัย
คือ
๑.
สุขเกิดแต่การมีทรัพย์
๒.
สุขเกิดแต่การได้ใช้จ่ายทรัพย์นั้น
๓.
สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้
๔.สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตระกูลที่ถึงความสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย
จะตั้งอยู่ไม่ได้นานเพราะฐานะ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ
๑.
ไม่แสวงหาสิ่งที่หาย
๒.
ไม่ซ่อมแซมสิ่งที่คร่ำคร่า
๓.
ไม่รู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์สมบัติ
๔.
ตั้งหญิงหรือชายผู้ทุศึล(ไม่มีศีล)ให้เป็นใหญ่ คือเป็นแม่เรือน พ่อเรือน
(๔) ธรรมของผู้ครองเรือน ๔ อย่างคือ
๑.สัจจะความซื่อสัตย์ต่อกัน
๒.
ทมะ ความรู้จักข่มจิตของตน
๓.ขันติความรู้จักอดทน
๔.จาคะ
ความรู้จักให้ปันเผื่อแผ่
(๕) ดูก่อนบุตรแห่งคฤหบดี ! สาวกของพระอริยเจ้าย่อมไม่เสพอบายมุข
(ปากทางแห่งความเสื่อม) ๖ อย่าง คือ
๑.ดื่มน้ำเมา
๒.เที่ยวกลางคืน
๓.เที่ยวดูการเล่น
๔.เล่นการพนัน
๕.
คบคนชั่วเป็นมิตร
๖.
เกียจคร้านทำการงาน
(๖) ดูก่อนพราหมณ์ ! ปากทางแห่งความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้วมี
๔ อย่าง คือ
๑.ความเป็นนักเลงหญิง
๒.
ความเป็นนักเลงสุรา
๓.
ความเป็นนักเลงการพนัน
๔.
ความคบคนชั่วเป็นมิตร
อธิบาย: ธรรมะเหล่านี้มีคำอธิบายชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว
เมื่อพิจารณาดูจะเห็นได้ว่า ถาผุ้ครอบเรือนศึกษาธรรมเหล่านี้และปฏิบัติตามโดยมากแล้ว
ก็เป็นอันหวังความสุขทางโลกได้ นี่แสดงถึงคำสอนทุกแง่ทุกมุมของพระพุทธเจ้า
ซึ่งแบ่งเป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูง คนปฏิบัติได้เพียงโลก ๆ ก็ได้รับความสุขอย่างโลก
ๆ เป็นอันยอมรับว่าคนเราไม่เหมือนกัน ปฎิบัติได้สูงบ้างต่ำบ้างจึงทรงสั่งสอนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่คนทุกชั้น
๑๖.หลักปฏิบัติ ๓ ชั้น (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
(๑) ดังได้สดับมา
พระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ ณ เขาคิดชฌกูฎ ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ อัมพลักฎฐิการาชอุทบาน,
ณ ปาวาทิกัมพงั่นเมืองมาลัทา ทรางสั่งสอนธรรมมีกถาส่วนมากแก่ภิกษุทั้งหลาย
คือ ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย) สมาธิ (การทำจิตให้ตั้งมั่น)
ปัญญา (ความรอบรู้ตามเป็นจริง)
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอศึกษาทั้งอธิศีลสิกาขา ทั้งอธิจิตตสิกขา
ทั้งอธิปัญญาสิกขา เธอก็จักละราคะ โทสะ โมหะ ได้ เพราะละราคะ โทสะ
โมหะได้ ก็จั้กไม่ทำอกุศลกรรม จักไม่เสพบาปธรรม
(๓) นรชนผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญสมาธิและปัญญา เป็นผู้มีความเพียร
มีความรู้สึกตัวเห็นภัยในกิเลส ผู้นั้นจะพึงสารรกชัฎ (ทั้งภายในภายนอก)
ได้.
อธิบาย: สิกขา คือข้อควรศึกษา ๓ ชั้นอันได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา
นี้เรียกว่า อนุพุพปฏิปทา (ข้อปฏิบัติตามลำดับ) บ้าง เรียกว่าไตรสิกขาบ้าง
และศีล สมาธิ ปัญญา) นี้เรียกว่าอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา บ้างมีคำว่า
อธิ อยู่หน้าหมายถึงศีลสมาธิปัญญาอย่างสูง หลักทั้ง ๓ ข้อนี้ขัดเกลาข้านอกเข้าไปหาข้างใน
คือ ศีลขัดเกลาความประพฤติทางกายวาจา สมาธิขัดเกลาจิตให้สงบระงับตั้งมั่น
ปัญญาขัดเกลาความเห็นให้ถูกต้องตามเหตุผลที่เป็นจริง มรรคมีองค์ ๘
ที่เป็นทางสายกลางเมื่อย่อกล่าวก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้เอง ท่านแสดงความเกี่ยวเนื่องกันเป็นต่อ
ๆ ว่าศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญาโดยลำดับ จิตซึ่งปัญญาอบรมแล้วก็จะพ้นจากอาสวะ
คือกิเลสที่ดองหมักหมมอยู่ในสันดาน หนังสือวิสุทธิมรรค อันเป้ฯดำรงทางพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักฐานมิผู้นิยมนั้น
ก็แต่ขึ้นตามหลัก ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ ศีล สมาธิ ปัญญา
ที่อบรมให้เต็มที่สัมพันธ์กันดุจเกลียวเชือก ๓ เกลียว คือ นอกจากเมื่อเอามือจับย่อมกระทบ
๓ เกลียวแล้ว ยังอำนวยผลคือความดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้ ถ้าเทียบอำนวยด้วยบันได
๓ ขั้นก็เป็นบันไดที่จะส่งผู้ปฏิบัติให้ประสบความหลุดพ้น อันเป้นข้อมุ่งหมายอย่างสูงทางพระพุทธศาสนท่านจึงเปรียบไว้ว่าน้ำทะเลมีรสเดียว
คือรสเค็มฉันใดธรรมวินัยนี้ก็มีรสเดียวคือความหลุดพ้นฉันนั้น เมื่อปรารถนาความหลุดพ้นจึงควรอาศัยบันได
๓ ขั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เป็นเครื่องก้าวขึ้นไป (สู่ความบริสุทธ์
ทางกาย วาจา และใจ)
๑๗.หลักเรื่องอนัตตา
(๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
! รูป (ร่างกาย) เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ ไม่สุข) สัญญา
(ความจำ) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทาง ตา หู เป็นต้น)
ไม่ใช่ตนถ้าเป็นตนก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ใสสิ่งเหล่านี้ว่า
จงเป็นอย่างนี้เถิดอย่างเป็นอย่างนั้นเลย สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
! เพราะเหตุนั้นแล รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณ ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เวลาหรือดี ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
.
(๒) เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
(คือไม่ใช่ตัวตน) เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
อธิบาย:
หลักพระพุทธศาสนา แย้งกับศาสนาพราหมณ์อย่างสำคัญ ตรงที่ศาสนาพราหมณ์สอน
อัตตา หรือ อาตมัน ส่วนพระพุทธศาสนาสอนอนัตตา อัตตา หรือ อาตมัน แปลว่าตัวหรือตน
ทางศาสนาพราหมณ์ ถือ มี ตนใหญ่ หรือ ปรมาตมัน เป็นตนสากล และมีตนย่อยคือชีวิตเฉพาะคนที่แยกมาจากตนใหญ่
เรียกว่า ชีวิตมัน ส่วนทางพระพุทธศาสนายอมรับว่าตนมีเพียงที่สมมติ
หรือร้อยเรียกกัน คือร่างกายจิตใจของแต่ละคน ก็สมมติเรียกว่าตนของผู้นั้น
เช่นคำว่าตนเป็นที่พึ่งของตน แต่ไม่ให้ยึดถือเป็นจริงเป็นจัง สอนให้เห็นว่าที่สมมติเรียกกันนั้น
ๆ ในที่สดก็สลายแยกไปตามธาตุเดิมของมัน ถ้าเป็นตนจริงแล้ว ก็ควรจะจะบังคับบัญชาไม่ให้ปรวนแปร
แก่เฒ่า หรือแตกสลายไปได้ดังปรารถนาแต่ก็บังคับบัญชาไม่ได้ มันคงปรวนแปรไปตามธรรมชาติของมัน
เมื่องเป็นเช่นนี้จึงไม่ควรยึดถือว่าเป็นนั่นเป็นนี่หรือเป็นตัวตนของเรา
เพื่อจะได้ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจ ในเมื่อสิ่งนั้นเสื่อมสลายไป ในทางธรรมจรรยา
การยึดถือว่าตนมีอยู่ถาวรไม่รู้จักสิ้น เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกว่าฆ่าคน
ประทุษร้ายคน ก็ไม่เป็นอันฆ่า เพราะตนไม่รู้จักตาย เป็นการผ่านไประหว่างธาตุต่อธาตุ
เช่น มีดเป็นธาตุดิน ตัดศีรษะคนผ่านไประหว่างธาตุดินธาตุน้ำเป็นต้นเลยเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียนกันและมุมานะในทางผิดนอกจากนั้นยังเป็นเหตุให้ยึดถือติดอยู่ในตนเป็นคนถือตนเห็นแก่ตน
(ผู้ใคร่ศึกษามติทางพระพุทธศาสนาเรื่องอนัตตานี้พึงดูอนัตตลักขณสูตร
(๑๗/๘๒) ท้ายโปฎฐปาทสูตร (๙/๒๔๘) จูฬสัจจกสูตร (๑๒/๔๒๒) และสังยุตตนิกาย
เล่ม ๑๖,๑๗,๑๘) ในอนัตตลักขณสูตรทรงแสดงว่า คำว่า ตนนี้เป็นเพียงโลกสมัญญา
ดลกนิรุติดลกโวหาร โลกบัญญัติตถาคตย่อมเรียกไปตาม แต่หาได้ยึดถือไม่
ในจูฬสัจจกสูตรคแสดงการโต้ตอบอย่างละเอียดระหว่างสัจจกนิครนถ์ผู้ยืนยันมติเรื่ออัตตากับพระพุทธเจ้าผู้ตรัสสั่งสอนเรื่องอนัตตา
ข้อที่กล่าวว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตานั้น แสดงว่าไม่แต่ขันธ์ ๕ คือร่างกายและจิตใจเท่านั้นเป็นอนัตตา
แม้สิ่งทั้งปวงที่เป็นสังขารมีปัจจัยปรุงแต่ก็ตาม เป็นวิสังขารไม่มีปัจจัยปรุงแต่ก็ตามล้วนเป็นอนัตตาไม่ใช่ตนทั้งสิ้น
ก่อนจะแนะให้เห็นว่าไม่ใช่คนท่านแสดงเป็นลำดับมาว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตน
ในกายจิตตสูตรสังยุตตนิกาย (๑๖/๑๑๔) พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนถือว่ากายเป็นตนยังดีกว่าเพราะกายยังตั้งอยู่ได้ปีหนึ่งบ้าง
๒ ปี ถึง ๑๐ ปี ๒๐ ปีเป็นต้นบ้าง แต่ถือจิตเป็นตนไม่ควรแท้ เพราะจิตเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่เสอม
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงชื่อว่าสอนให้ปล่อยวางไม่ยึดถืออะไรเป็นตนทั้งสิ้น
เมื่อปล่อยวางได้ ก็เป็นเหตุให้ใจเป็นอิสระจากความยึดถือในหนังสือ
Sacred Books of the East เล่ม ๔๙ หน้า ๑๓๑ ตอนที่แสดงคำโต้ตอบระหว่างพระพุทะเจ้ากับพระอาฬารดาบส
(แปลมาจากเรื่องพุทธจริตของอัศวโฆษ) แสดงคำค้านของพระพุทธเจ้าต่อเหตุผลของอาฬารดาบส
(ผู้ถือลัทธิสางขยะ) ว่า เขตกตัญญูหรือผู้รู้กาย คืออาตมัน ซึ่งไม่มีกายนั้นจะต้องเป็นผู้รู้หรือผู้ไม่รู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผู้รู้ก็จะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ถ้ายังมีสิ่งที่ถูกรู้ก็ยังไม่หลุดพ้นหรือถ้าอาตมันนั้นถือว่าเป็นผู้ไม่รู้
เมื่อเป็นเช่นนั้นอาตมันที่นึกวาดภาพขึ้นนี้จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน
แม้ไม่มีอาตมันเช่นนั้น ความไม่รู้ก็มีอยู่แล้ว เช่นในท่อนไม้หรือกำแพง
ตราบที่ยังไม่พ้นจากจำนวนเป็นต้น อาตมันก็ยังไม่เป็นอิสระจากลักษณะ
เพราะฉะนั้นเมื่อยังไม่พ้นจากลักษณะ ก็ยังกล่าวถือความหลุดพ้นไม่ได้
ลักษณะกับเจ้าของลักษณะแยกจากกันออกจริง ๆ ไม่ได้ เหมือเราไม่สามารสังเกตเห็นไฟที่แยกออกจากรูปและความร้อนได้
นี้แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงค้านมติอัตตาหรืออาตมัน ที่ถือกันว่าเป็นที่สุดแห่งสิ่งทั้งปวงแล้วเป็นผู้รู้อยู่
ถ้ารู้ได้ก็ ต้องมี อะไร ที่ถูกรู้ ถ้ายังมี อะไร ผูกพันอยู่ก็จะชื่อว่าพ้นไม่ได้
หรือถ้ากล่าวว่าอาตมันนั้นไม่รู้อาตมัตตาจะต่างอะไรกับท่อนไม้หรือกำแพงเล่า
ตามลักธิสางขยะ เขตกตัญญู หรืออาตมันมีอยู่ก่อนลักษณะ มาถูกผูกพันด้วยลักษณะในภายหลัง
เมื่ออาตมันมีความหลุดพ้นอยู่ก่อนแล้วมาถูกขัะงได้อีกจะนับว่าเป็นความหลุดพ้นจริงจังอะไรได้ความเข้าใจนี้ยากหน่อย
แต่ก็พอค่อย ๆ คิดพิจารณาได้ ตกลงว่าหลักอนัตตาของ พระพุธศาสนาเป็นหลักสำหรับถอนความยึดมั่น
ถือมั่นในตัวตน อันเป็นเหตุให้เกิดอหังการ (ความถือว่าเรา) มมังการ
(ความถือว่าของเรา) อนึ่งตามโวหารของดลก ใครจะเรียกว่าตนหรืออะไรก็ตามใจเราก็พูดกับเขารู้เรื่อง
คือยอมพูดตามสมมติบัญญัติ เป็นแต่ในการพิจารณาเหตุผลสอนใจ เราไม่ยึดถือตามสมมตินั้น
๑๘.หลักอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
! นี้คือทุกขอริยสัจ ได้แก่ ความเกิด แก่ ตาย ความเศร้าโศกคร่ำครวญ
ทุกข์กาย ทุกข์ใจ คับแค้นใจ เป็นทุกข์แต่ละอย่าง ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ประจวบกับอารมณือันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
พลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ โดยย่อขันธ์ ๕ ที่ยังยึดถืออยู่เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นี้คือทุกขสมุทัย อริยสัจ (เหตุให้ทุกข์เกิด) ได้แก่ตัณหาอันทำให้เกิดอีก
ประกอบด้วยความติดด้วยอำนาจความเพลิน ยินดียิ่งในอารมณ์นั้น ๆ กล่าวคือ
ความทะยายอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ๑ ความทะยานอยากมีอยากเป็น ๑ ความทะยายอยากไม่มีไม่เป็น
๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือทุกขนิโรธอริยสัจ (ความดับทุกข์) ได้แก่ความดับโดยสิ้นความติดไม่มีเหลือ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้นและ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้คิดทุกขนิโรธคามินีปฏิปาทาอริยสัจ (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
ได้แก่ทางมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล กล่าวคือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ
๑ เจรจาชอบ ๑ ทำกางงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ
๑ ตั้งใจมั่นชอบ ๑"
----
---- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เมื่อใดแลปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริง
ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ดังกล่าวมานี้ของเราหมดจนแล้ว
เมื่อนั้นเราจึงยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม---
---"
อธิบาย: เรื่องอริยสัจนี้ผู้เรียบเรียงได้เขียนคำอธิบายไว้ละเอียดแล้วในหนังสือเรื่อง
อริยสัจ คืออะไร? ฉะนั้น ในการนี้จะกล่าวเฉพาะที่เป็นปัญหาอริยสัจข้อต้นกล่าวถึงทุกข์
มองอะไรเป็นทุกข์ไปหมด แล้วก็แสดงเหตุให้ทุกข์เกิด แสดงความดับทุกข์
แสดงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์โดยลำดับ ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ศึกษาพุทธปรัชญาที่เป็นฝรั่งบางคน
หรือหลายคนลงความเห็นว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย (Pesgimistic) มีคำกล่าวถึงนักมองในแง่ร้ายหรือหรือที่ตั้งศัพท์ขึ้นว่า
นักทุนิยม (Pesgimist) ไว้ว่า เขาไม่สามารถช่วยตัวเองให้มองแง่ที่ดีงามของโลกได้
เราจะแก้เขาว่ากระไร ? ตามความเห็นของผู้เขียนนักมองในแง่ร้ายนั้นได้แต่ติโน่นตินี่
หาได้ชี้แง่ดีหรือวิธีแก้ไขไว้ไม่. แต่ถ้าเราอ่านเรื่องอริยสัจดูให้ดีจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ชี้เพียงทุกข์เท่านั้น
หากขี้ให้รู้จักเหตุแล้วชี้ให้หาหนทางดับทุกข์พร้อมกันไป เป็นอันแสดงแง่ดีไว้ในชั้นที่สุด
ผู้ศึกษาเรื่องอริยสัจจะไม่ต้องมใจฝ่อหรือหดหู่เพราะเรื่องทุกข์แต่จะรู้จักวิธีหาความสุขด้วยการศึกษาให้รู้ทุกข์พร้อมทั้งเหตุของมัน
แล้วแก้ไขดับทุกข์นั้นด้วยข้อปฏิบัติอันมีเหตุผล คือ มรรคมีองค์ ๘
ประการ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่มองในแง่ร้ายเลย
หากสอนให้รู้จักแง่ดีโดยกำจัดแง่ร้ายต่างหาก และเรื่องอริยสัจนี้ก็คือะรรมะอันประกอบด้วยเะหตุผลพร้อมทั้งชี้ข้อปฏิบัติไว้อย่างสมบูรณ์นั่นเอ
ง ทั้งนับว่าเป็นหลักสำคัญยิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จึงกล้าปฏิญญาพระองค์ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
๑๙. หลักนิพพาน
(๑) พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่ายอดยิ่ง.
(๒) พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
อธิบาย: ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าไม่รู้เรื่องอริยสัจ ๔ ไม่รู้เรื่องนิพพาน
ก็ควรเรียกได้ว่า ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา, อริยสัจ คือ เหตุและผล ส่วนพระนิพพาน
คือ ธรรมที่พ้นไปจากเหตุผล. ถ้าจะเทียบด้วยการเดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง
การเดินทางคือเหตุ การถึงคือผล แต่สถานที่ถึงนั้นไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล
คราวนี้จึงมาถือปัญหาเรื่องความหมายของพระนิพพาน คำว่านิพพานแปลว่า
ธรรมชาติที่ดับ ก็ได้คือเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ดับหมดไม่มีในนิพพานนั้น.
แปลว่าธรรมชาติที่ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัดก็ได้ คือไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัดในนิพพานนั้น.
ถ้าจะพูดให้เจ้าใจง่ายเมื่อแปลนิพพานว่าดับ ก็หมายได้ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูที่สุด
คนปฏิบัติตามหลักศีลธรรมย่อมดับความเดือดร้อนได้ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
คือปฏิบัติได้น้อยก็ดับได้น้อย ปฏิบัติได้มากก็ดับได้มาก ปฏิบัติได้ถึงที่สุดก็ดับได้เด็ดขาด
กล่าวตามหลักอนัตตาแล้ว พระนิพพานเป็นอนัตตาคือไม่เป็นตัวตน เหมือนอย่างว่าไฟดับ
ต้องไม่มีตัวตนของไฟ ถ้ายังมีตัวตนของไฟเราก็เห็นได้ และไม่เรียกว่าไฟดับ
ตั้งปัญหาต่อไปว่า ถ้าพระนิพพานหมายถึงธรรมชาติที่ดับแล้ว พระนิพพานก็ไม่มีนั่นเอง
แก้ว่า พระนิพพานไม่ได้หมายถึงดับตัวเอง หากหมายถึงว่าเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ดับไป
เปรียบเหมือนไฟดับไฟ แต่สภาพที่ดับยังมีอยู่ หรือโรคหายแล้ว ความไม่มีโรคมีอยู่
ถามว่า พระนิพพานเป็นสภาพที่เข้าใจยาก เป็นสภาพที่ดับ จะว่าเป็นสุขอย่างไรกัน
จะเอาอะไรมารู้ว่าเป็นสุข ตอบว่าเราเคยชินอยู่แต่ความสุขโลก ๆ ที่ต้องอาศัย
ตา หู เป็นต้น เป็นสื่อให้รู้จึงเข้าใจว่าความสุขนั้นมีได้ด้วยความรู้สึกอย่างเดียว
แท้จริงพระนิพพานไม่มีสุขชนิดโลก
ๆ เพราะสุขอย่างโลกยังเกิดได้ดับได้ แต่สุขอย่างนิพพานหมายถึงว่าไม่มีทุกข์
คือพ้นเขตของทุกข์นั่นเอง และที่เรียกว่าสุขนั้นก็ขอยืมคำพูดในทางโลกไปเรียกเท่านั้น
ความข้อนี้เป็นของรู้ได้จำเพาะตนผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติไปให้ถึงที่สุดแล้วจะไม่เถียงกันเลย
ถ้าต้องการพิสูจน์ว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่างไรก็ปฏิบัติตามมรรค มีองค์
๘ หรือตาม ศีล สมาธิ ปัญญาเถิดเปรียบเหมือนการอ่านหนังสือออก มีสภาพเป็นอย่างไร
ถ้าหัดอ่านจนออกแล้วจะรู้เอง หรือเปรียบเหมือนการพูดกันถึงเมือง ๆ
หนึ่ง ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างไรก็ไม่ชัดเจนเหมือนไปให้ถึงเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง
ยิ่งพระนิพพานเป็นโลกุตระพ้นจากโลก เรายืมถ้อยคำในทางโลกมาบัญญัติก็คงไม่ตรงแท้เหมือนคนที่พยายามอธิบายว่าสีขาวเป็นอย่างไรให้คนจักษุบอดแต่กำเนิดฟัง
คนจักษุบอดไม่เคยเห็นสีใด ๆ เลย แม้จะอธิบายให้ฟังอย่างไรก็เข้าใจไม่ได้
เช่นอธิบายว่าสีขาวนั้นเหมือนกระดาษ เขาก็คงเข้าใจว่าสีขาวนั้นคือสิ่งที่เป็นแผ่น
ๆ หรือสีขาวนั้นคือที่ไม่ดี เขาก็ไม่รู้อีกว่าไม่ดำนั้นเป็นอย่างไร
เพราะแม้สีดำเขาก็ไม่รู้จัก แต่ถ้ามีหมอที่ดีรักษาตาเขาหายสามารถแลเห็นได้
พอชี้ให้ดูว่านี่คือสีขาวก็ไม่ต้องอธิบายกันต่อไปอีก เขาเข้าใจได้ทันที.
แย้งต่อไปว่าพระนิพพานถ้าไม่มีความสุขอย่างโลก ๆ ไม่มีหนัง ไม่มีละคร
หรือความสนุกสนานอะไรแล้ว ก็ดูไม่น่าปฏิบัติเพื่อบรรลุเลย แก้ว่า ถ้าเราเอาความรู้สึกอันเคยชินมาตัดสินแล้วก็เป็นเช่นนั้น
แต่ถ้าถอยใจออกไปมองห่าง ๆ ดูบ้างก็พอจะเห็นได้ เช่นหนอนกินอุจจาระเอร็ดอร่อย
ถ้าเอาความชินขจองหนอนมาวัด มันก็จะเห็นเป็นว่า ในที่ใดไม่มีอุจจาระให้กิน
ในที่นั้นไม่มีความสุข หรือสุนัขชอบกินซากศพ ชอบคลุกเกลือกน้ำเหลือง
หรือสิ่งของที่เน่า ๆ ถ้าเอาความเคยชินของสุนัขมาวัดแล้ว มันกลับเห็นว่าการที่มนุษย์มาหลงดมน้ำอบนั้นเป็นการโง่
เราลองเอาสำลีชุบน้ำอบให้มันดมมันจะเบนจมูกหนี แต่ถ้ามันถอยใจให้สูงมากขึ้นกว่านั้นได้
มันก็จะเห็นได้ว่าความสุขที่มันหลงติดอยู่นั้นเป็นของต่ำช้าและน่ารังเกียจสำหรับมนุษย์
คราวนี้ในหมู่มนุษย์เรา เราเอาความเคยชินของเราวัด เราก็จะเกณฑ์ให้พระนิพพานดี
ต่อเมื่อมีสุขอย่างที่เราเคยประสบในมนุษย์ ถ้าเราถอยใจให้สูงกว่าเดิม
มองดูอย่างที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายของพระองค์มองบ้าง เราก็จะรู้จักตัวเองดีขึ้น
เหมือนเมื่อเรามีอายุมากแล้วหัวเราะเยาะเด็ก ๆ ที่เล่นตุ๊กตา เล่นขายของ
เล่นร่อนรูปว่าไม่สนุกอะไรเลยฉะนั้น. ในชั่วชีวิตของเราเองนี้ ความรู้สึกเป็นสุขต่าง
ๆ กันตามวัยตามอายุ เพราะฉะนั้น จึงควรศึกษาเรื่องพระนิพพานด้วยใจอันสูง
เพื่อยกระดับของเราให้ขึ้นสู่ระดับของพระพุทธเจ้า.
๒๐. หลักความไม่ประมาท, ปัจฉิมโอวาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลายสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.
อธิบาย: พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องความไม่ประมาทเป็นพระโอวาทสุดท้านในที่อื่นทรงสั่งสอนว่า
กุศลธรรมทั้งหมดรวมลงในความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าสัตว์เดินดินต่าง
ๆ รวมลงในรอยเท้าช้างฉะนั้น ความไม่ประมาทจะเป็นเหตุให้เราเตือนใจ
ตามคำสอนทีทรงเตือนไว้ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เราจะได้หมั่นพิจารณาดูตน
และหาโอกาสเพิ่มพูนคุณงามความดี ละความชั่วให้ลดน้อยลง ความไม่ประมาทจะเตือนไม่ให้เราลืมตนเห็นเป็นจริงเป็นจังกับชีวิตโลก
ประหนึ่งว่าจะดำรงอยู่ได้ชั่วกัปกัลป์ ในที่สุดทุกคนจะต้องจบลงด้วยความตายทรัพย์สมบัติต่าง
ๆ ก็จะเปลี่ยนมือไปเป็นของคนอื่น ที่ดินที่เรานึกว่าเป็นของเรา แต่ถ้าเราจะกลายเป็นเถ้าถ่านฝังเรี่ยรายอยู่บนพื้นดินนั้น
หรือบางที่เขาก็จะเก็บไว้ในโกศเล็ก ๆ เหมือนของเด็กเล่นแต่ไม่มีใครอยากจับต้องแลชะเป็นที่หวาดกลัวของเด็ก
ๆ เมื่อทุกคนจะต้องถึงที่สุดเหมือน ๆ กันเช่นนี้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่จึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ถือเอาสาระจาจชนีวิตที่เน่าเปื่อยไม่มีสาระนี้ไว้ให้ได้ด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดี
บำเพ็ญประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ให้สมบูรณ์เถิด.
********************
|