พฤติกรรมมนุษย์
(HUMAN BEHAVIOUR)
|
พฤติกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว
อาจจะจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. พฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้เรียกว่า
เป็นปฏิกิริยาสะท้อน เช่น
การสะดุ้งเมื่อถูกเข็มแทง การกระพริบตา เมื่อมีสิ่งมากระทบกับสายตา
ฯลฯ
2. พฤติกรรมที่สามารถควบคุมและจัดระเบียบได้เนื่องจากมนุษย์มีสติ
ปัญญาและอารมณ์ (EMOTION) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ
สติปัญญาหรือารมณ์ จะเป็นตัวตัดสินว่า ควรจะปล่อยกิริยาใดออกไป
ถ้าสติปัญญาควบคุมการปล่อยกิริยา เราเรียกว่าเป็นการกระทำตามความคิดหรือ
ทำด้วยสมอง แต่ถ้าอารมณ์ควบคุมเรียกว่า เป็นการทำตามอารมณ์ หรือปล่อยตามใจ
นักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า อารมณ์มอิทธิพลหรือพลังมากกว่าสติปัญญา
ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้พฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นไปตามความรู้สึกและอารมณ์เป็นพื้นฐาน
ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์
นักจิตวิทยาแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด
ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้มาก่อน
ได้แก่ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (REFLECT ACTION) เช่นการกระพริบตา
และสัญชาตญาณ (INSTINCT) เช่นความกลัว การเอาตัวรอดเป็นต้น
2. พฤติกรรมที่เกิดจากอิทธิพลของกลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดจากการ
ที่บุคคลติดต่อสังสรรค์และมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมแบ่งออกได้เป็น
4 ลักษณะคือ
1. การปรับเปลี่ยนทางด้านของสรีระร่างกาย
เช่น การปรับปรุง
บุคลิกภาพ การแต่งกาย การพูด
2. การปรับเปลี่ยนทางด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ให้มีความ
สัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ปรับอารมณ์ความรู้สึก ให้สอดคล้องกับบุคคอื่น
รู้จักการยอมรับผิด
3. การปรับเปลี่ยนทางด้านสติปัญญา เช่น การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้มี
ความรู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ การมีความคิดเห็นคล้อยตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่
4. การปรับเปลี่ยนอุดมคติ หมายถึง การสามารถปรับเปลี่ยนหลักการ
แนวทางบางส่วนบางตอนเพื่อให้เข้ากับสังคมส่วนใหญ่ได้ โดยพิจารณาจากความจำเป็น
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
เพื่อสวัสดิภาพของตนเองและของกลุ่ม
พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจิตวิทยา
|
นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ส่วนใหญ่จะประพฤติปฏิบัติตามแบบแผนของกฏระเบียบหรือวิธีการ
ที่มีอยู่ในสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ ซึ่งมนุษย์ย่อมเข้าใจในสถานภาพ
และบทบาทตามที่กลุ่มสังคมคาดหวังดังนั้นพฤติกรรมมนุษย์ อาจจะเกิดขึ้นได้ในรูปแบบต่าง
ๆ ดังนี้
1. การติดต่อสื่อสาร (COMMUNICATION)
2. การขัดแย้ง (CONFLICT)
3. การแข่งขัน (COMPETITION)
4. การประนีประนอมผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน (ACCOMODATION)
5. การผสมผสานกลมกลืนเข้าหากัน (ASSIMILATION)
6. การร่วมมือสนับสนุนซึ่งกันและกัน (COOPERATION)
พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจิตวิทยา
|
นักสังคมวิทยา เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะภายนอกทั้งปวง
(ETERNAL CONDITIONS) ที่อยู่รอบตัวของมนุษย์ ทั้งสิ่งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างตลอดจนพลังงาน
ต่าง ๆ ที่จับต้อง รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ได้แก่ อากาศ แสงแดด ความร้อน ความเย็น แร่ธาตุ กระแสไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสาร
เป้นต้น สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ทั้งในแง่ที่อำนวยให้เกิดผลดี
และผลร้าย โดยที่มนุษย์ไม่มีทางหลีกหนี เราอาจจะแบ่งประเภทของสิ่งแวดล้อม
ออกเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม
3. สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
เหล่านี้ ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่จะหาทางต่อสู้และเอาชนะทำให้เกิดวัฒนธรรม
รูปแบบต่าง ๆ ขึ้น เช่น การคิดประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ การเพาะปลูก การสร้างถนนหนทาง
การสร้างเครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น
พฤติกรรมมนุษย์ทางวิทยาศาสตร์
|
การใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์
จำแนกได้ดังนี้
1. ความสมบูรณ์ หรือความปกติของสมอง
จะมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมมนุษย์ในด้านความรู้สึกนึกคิด
ตลอดจนด้านจิตใจ หากสมองผิดปกติย่อมมีผลให้พฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนแปลงไปด้วยการผิดปกติของสมอง
อาจเนื่องมาจากโรคหลายอย่าง เช่น ไข้มาเลเรียขึ้นสมอง สมองได้รับความกระทบกระเทือนหรือเนื้องอกในสมอง
เป็นต้น
2. ความพิการทางร่างกาย หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
3. โรคจิตและ โรคประสาท
นอกจากนี้ยังมีส่วนของสมองที่เรียกว่า
ต่อมไร้ท่อ (DUCTLESS GLAND) ต่อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก
อาจกล่าวโดยย่อ ๆ ถึงความสำคัญได้ดังนี้
1. ต่อมไทรอยด์ (THYROID
GLAND) ต่อมนี้มี 2 ต่อม ติดอยู่ข้างหลอดลมข้างละต่อม ถ้าชำรุดสติปัญญาของคนจะเสื่อมถอย
มีอาการซึมเซาเหงาหงอย ฯลฯ
2. ต่อมพาราไทรอยด์ (PARATYROID GLAND) ต่อมนี้อยู่เหนือต่อมไทรอยด์
ถ้าต่อมนี้มีฮอร์โมนน้อยเกินไป คนจะเป็นโรคตื่นเต้นง่าย โกรธง่าย
มีจิตใจหดหู่อยู่เสมอ
3. ต่อมพิทูอิทารี่ (PITUITARY GLAND) ต่อมนี้ฝังอยู่กลางศรีษะ
ถ้าต่อมทำงานไม่ปกติจะเป็นคนแคระแกร็น จะขาดความเจริญทางเพศ
4. ต่อมแอดรีนาล (ADRENAL GLAND) อยู่บนไตทั้งสองข้าง ถ้าต่อมนี้มีฮอร์โมนมากเกินไปความเจริญทางเพศจะรวดเร็วผิดปกติ
5. ต่อมทางเพศ (SEX GLAND) ต่อมนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์หากต่อมนี้ผิดปกติก็จะทำให้อาการทางเพศผิดปกติด้วย
ลักษณะความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์
|
ความแตกต่างดังกล่าวอาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่
ๆ ได้ดังนี้
1. ความแตกต่างทางอารมณ์
(EMOTION)
2. ความแตกต่างทางความถนัด (APTITUDE)
3. ความแตกต่างของความประพฤติ (BEHAVIOUR)
4. ความแตกต่างของความสามารถ (ABILITY)
5. ความแตกต่างของทัศนคติ (ATTITUDE)
6. ความแตกต่างของความต้องการ (NEEDS)
7. ความแตกต่างของรสนิยม (TESTS)
8. ความแตกต่างทางสังคม (SOCAIL)
9. ความแตกต่างของลักษณะนิสัย (HABIT)
ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้บุคคลมีลักษณะเฉพาะของตนเองซึ่งเรียกว่า
เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล (INDIVIDUAL DIFFERENCES) นักจิตวิทยา
ยอมรับว่า ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้แต่ฝาแฝดก็ไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน
คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์
|
การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญด้านต่าง
ๆ 6 ประการ คือ
1. การเรียนรู้ (LEARNING)
2. ค่านิยม (VALUE)
3. บรรทัดฐานของสังคม (NORMS)
4. ทัศนคติ (ATTITUDE)
5. ความเชื่อ (BELIEF)
6. การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (SOCIAL INTERSACTION)
การศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์
|
พฤติกรรม (BEHAVIOUR) ในความหมายทางจิตวิทยาสังคม
ย่อมหมายรวมทั้งพฤติกรรมภายใน (COVERT BEHAVIOUR) และพฤติกรรมภายนอก
(OVERT BEHAVIOUR) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์กระทำพฤติกรรมต่าง
ๆ หรือแม้แต่ตัวมนุษย์เอง ก็เป็นตัวกระตุ้นทางสังคมได้ทั้งสิ้น
การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ นักจิตวิทยาสังคม
มองสังคมมนุษย์
ทั่วไปประกอบขึ้นด้วยตัวบุคคลจึงใช้ตัวบุคคลเป็นหน่วยวิเคราะห์หลักในการศึกษาถึงลักษณะพฤติกรรมของบุคคลในรูปของกลุ่ม
ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญของการศึกษาทางจิตวิทยาสังคมมี
2 ประการคือ
1. ตับบุคคลและภาวะจิตของเขาที่นำเข้ามาในสถานการณ์ที่จะเกิดมี
พฤติกรรมขึ้น
2. "กระบวนการอิทธพลทางสังคม" ซึ่งมาจากสิ่งแวดล้อมที่จะมีอิทธิพล
ต่อพฤติกรรมสังคมของบุคคล
พฤติกรรมของคนเราแสดงออกมามากมายหลายลักษณะ
ในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลจะต้องนำพฤติกรรมมาจัดหมวดหมู่ เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการแยกแยะ
และสะดวกต่อการศึกษาหมวดหมู่ของพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมการเรียนรู้
พฤติกรรมแรงจูงใจ ฯลฯ ในการศึกษา พฤติกรรมกลุ่มคน ก็จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่ของพฤติกรรมกลุ่มคนเช่นเดียวกัน
พฤติกรรมของบุคคลอยู่ภายใต้อิทธิพลของสังคม
อิทธิพลของสังคมอาจจัดอยู่ในรูปต่อไปนี้
1. SANTION หรือการบังคับเพื่อให้คนทำหน้าที่
หรือแสดงพฤติกรรม ตามที่สังคมกำหนดการ SANTION มีทั้งการลงโทษ
การให้รางวัล
2. NORMS หรือบรรทัดฐาน เช่น ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และกฏหมาย
3. VALUE OREINTATION แนวอบรมทางคุณค่า ซึ่งจะกำหนดมา
จากฐานของการแสดงออกได้แก่สาระข้อเท็จจริง
ความพอใจต่าง ๆ พฤติกรรมของบุคคลเป็นระบบการกระทำของมนุษย์ (ACTION
SYSTEM) ถ้าจะวิเคราะห์ ACTION SYSTEM อาจจะจำแนกตัวแปร ออกเป็น 5
ระดับ คือ
1. วัฒนธรรม
2. สังคม
3. บุคลิกภาพ
4. ชีวภาพ
5. กายภาพ
ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์กโคลเบอร์ก
เจ้าของทฤษฏีได้สนใจในการพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจท์ โดยทำการศึกษาวิจัย
ทั้งวัยเด็ก และผู้ใหญ่ และได้ขยายขั้นตอนการพัฒนาออกเป็น 6 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึง
7 ขวบ ขั้นนี้จัดอยู่ในขั้นที่เชื่อฟัง หรือยอมรับปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ที่มีอิทธิพลเหนือกว่า
การเลือกปฏิบัติจะเลือกในสิ่งที่เกิดประโยชน์แก่ตน หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
เพราะคิดว่าการลงโทษเป็นสิ่งที่ใช้ตัดสินว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี
2.. ขั้นหลักการแสวงหารางวัล เริ่มตั้งแต่อายุ 7 - 10 ปีขั้นนี้เด็กจะให้
ความสำคัญกับการได้รับรางวัล และคำชมเชยมากกว่าการถูกลงโทษ
3. ขั้นหลักกระทำตามเพื่อน เริ่มตั้งแต่อายุ 10 - 13 ปีขั้นนี้เป็นขั้นย่างเข้าสู่วัยรุ่น
ดังนั้นกลุ่มเพื่อนเริ่มมอิทธิพล เด็กจะกระทำตามการยอมรับของกลุ่มเพื่อนมากกว่าจะกระทำตามความคิดของตนเอง
4. ขั้นหลักกระทำตามหน้าที่เริ่มตั้งแต่อายุ 13 - 16 ปี ขั้นนี้เป็นขั้นที่
ปฏิบัติ โดยมุ่งหมายที่จะกระทำตามหน้าที่ ตามระเบียบที่กำหนดเอาไว้
ไม่ใช่เพราะต้องการรางวัล หรือกลัวถูกลงโทษ
5. ขั้นนี้เป็นขั้นบุคคลอื่น ไม่ก้าวก่ายในเรื่องของคนอื่น ยึดมั่นในสัจวาจา
กระทำโดยเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
6. คนไทยไว้วางใจครูมาก เมื่อเขาส่งลูกหลานเขามาโรงเรียนเขารู้ว่าลูกหลานของเขาปลอดภัย
เขามอบความไว้วางใจให้ครูเต็มที่ โดยที่เขาไม่ระแวงสงสัยว่าครูนั่นแหละ
จะเป็นผู้ลอบทำร้ายลูกหลานของเขาเสียเองเพราะเหตุอะไร ? เพราะไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กเด็กโต
เขาต่างมี ชีวิตจิตใจ เติบโต เคลื่อนไหวแสดงออกร่าเริงแจ่มใสช่างคิด
บางครั้งจะเจ็บป่วย ขมขื่น อดอยาก หิวโหย แต่เขาก็ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ครูจะป้อนข้อมูลลงไปวันแล้ววันเล่าโดยลืมนึกถึงจิตใจของเด็ก
ครูนั่นแหละ คือ เพชรฆาต เพราะทำให้เด็กตายทั้งเป็น ครูยิ่งสอนไป
เด็กยิ่งนิ่งเฉย ไม่สงสัย ไม่รู้ร้อน ไม่รู้หนาว ไม่อยากรู้ ไม่อยากลองจะตอบก็ต่อเมื่อคาดคั้นให้ตอย
เหมือนจะเอาความรู้แลกเปลี่ยน คืนครูเพื่อเอาคะแนน
ครูจึงไม่มี ราคา แต่มีค่า ครูจึงขายความเป็นครูไม่ได้ และไม่ตกเป็นทาสของใคร
เป็นครูมีไฟในการทำงาน
จงลุกขึ้นเถิด เพื่อต่อสู้ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็น
ครู ให้สมกับครูผู้มีอุดมการณ์ ด้วยพลังแห่งความคิด
และสติปัญญา อย่างผู้มี "ธรรมในหัวใจ" ครูเก่า ๆ ที่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
มีอยู่มาก เขาไม่มีวันตาย
เพียงแต่หลบมุมไปอยู่ในมุมหนึ่งอย่างสงบเสงี่ยม เจียมตัว เพียงเพื่อเปิดทางให้ครูรุ่นใหม่ที่มีไฟ
ทำงานต่อไป เพื่อชาติไทยของเรา
|