โสภณเจตสิก - ไสยาวสาน
โสภณเจตสิก
เจตสิกฝ่ายดีงามมี ๒๕ แบ่งเป็น ก. โสภณสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง)
๑๙
คือ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ
= อุเบกขา) กายปัส
สัทธิ (ความคลายสงบแห่งกองเจตสิก) จิตติปัสสัทธิ (แห่งจิต) กายลหุตา
(ความเบาแห่งกองเจตสิก) จิตตลหุตา (แห่งจิต)
กายมุทุตา (ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก) จิตตมุทุตา (แห่งจิต)
กายกัมมัญญตา (ความควรแก่งานแห่งกองเจตสิก)
จิตตกัมมัญญตา (แห่งจิต) กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)
จิตตปาคุญญตา (แห่งจิต) กายุชุกตา
(ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก) จิตตุชุกตา (แห่งจิต) ข. วีรตีเจตสิก
(เจตสิกที่เป็นตัวงดเว้น) ๓ คือ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ค. อัปปมัญญาเจตสิก (เจตสิกคืออัปปมัญญา)
๒ คือ กรุณา มุทิตา (อีก ๒ ซ้ำกับอโทสะ
และตัตรมัชฌัตตตา) ง. ปัญญินทรียเจตสิก ๑ คือ ปัญญินทรีย์ หรือ
อโมหะ
โสภิตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถีต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ศาสดา มีความเลื่อมใส ขอบวช ไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
โสมนัส ความดีใจ,
ความสุขใจ, ความปลาบปลื้ม ดู เวทนา
โสรัจจะ ความเสงี่ยม,
ความมีอัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย (ข้อ ๒ ในธรรมทำให้งาม
๒)
โสวจัสสตา ความเป็นบุคคลที่พูดด้วยง่าย,
ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รู้จักรับฟังเหตุผล (ข้อ ๔ ในนาถกรณธรรม ๑๐)
โสสานิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
คืออยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ (ข้อ ๑๑ ในธุดงค์ ๑๓)
โสโส โรคมองคร่อ
(มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด)
ไสยา การนอน
ไสยาวสาน การนอนครั้งสุดท้าย,
การนอนครั้งที่สุด