สุนทรพจน์ - สุรสิงหนาท
สุนทรพจน์
คำพูดที่ไพเราะ, คำพูดที่ดี; คำพูดอันเป็นพิธีการ, คำกล่าวแสดงความรู้สึกที่ดีอย่างเป็นพิธีการในที่
ประชุม
สุนาปรันตะ ดู
ปุณณสุนาปรันตะ
สุเนตตะ นามของพระศาสดาองค์หนึ่งในอดีต
มีคุณสมบัติคือ กาเมสุ วีตราโค (มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย)
มีศิษย์จำนวนมาก ได้เจริญเมตตาจิตถึง ๗ ปี แต่ก็ไม่อาจพ้นจากชาติ ชรามรณะ
เพราะไม่รู้อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา
และอริยวิมุตติ
สุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี
คือปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติสอดคล้องกับคำ
สอนของพระพุทธเจ้า ดำรงอยู่ในธรรมวินัย (ข้อ ๑ ในสังฆคุณ ๙)
สุปปพุทธะ กษัตริย์โกลิยวงศ์
เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและพระ
นางยโสธราพิมพา
สุพาหุ บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี
เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วย
สหายอีก ๓ คน คือ วิมละ ปุณณชิ และควัมปติ ได้เป็นสาวกรุ่นแรกที่พระพุทธเจ้าส่งไปประกาศพระศาสนา
สุภัททะ ปัจฉิมสักขิสาวก
(สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้าเรียกสั้น ๆ ว่า ปัจฉิมสาวก เดิมเป็น
พราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ
ปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้วคิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์
แจ้งความประสงค์
ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว
จะเป็นการรบกวนให้
ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้ พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง
๓ วาระ จนพระผู้มีพระ
ภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่าสุภัททะมุ่งหาความรู้
มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์
ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้วทูลถามว่า สมณพรามหณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย
คือ
เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย
พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง
แล้วตรัสว่า อริยมรรค
มีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใดสมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น
อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้
ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้
สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรม
วินัยนี้ ลัทธิอื่น ๆ ว่างจากสมณะ และตรัสสรุปว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ
โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้ง
หลาย เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้
บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส
ท่านสุภัททะบวช
แล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก
สุภัททะ วุฒบรรพชิต
พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่
๑ ก่อนบวช
เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมามีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่
จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้งสองเอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง
แลกเอา
เครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำ
เอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะ ได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว
ไม่ทรงรับ
และทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อคือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ
และภิกษุผู้เคย
เป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจในเหตุ
การณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้
๗ วัน พระสุภัท-
ทะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา
ระหว่างทางนั้น คณะได้
ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถุชน
โสดาบัน และสกทาคามี)
พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเองพระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า
อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ
พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่
เธอสิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด
ก็จักไม่กระทำสิ่งนั้น
พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง
๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้น
แล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย
ดังนั้น หลังจาก
เสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำสุภัททะวุฒบรรพชิตนี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ
ชักชวนพระ
เถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
สุภาพ เรียบร้อย,
อ่อนโยน, ละมุนละม่อม
สุภาษิต ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว,
คำพูดที่ถือเป็นคติได้
สุภูติ พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรสุมนเศรษฐี
ในพระนครสาวัตถี ได้ไปร่วมงานฉลองวัดเชตวันของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีความเลื่อมใสบวชในพระพุทธศาสนา
ต่อมาเจริญวิปัสสนา
ทำเมตตาฌานให้เป็นบาทได้สำเร็จพระอรหัต พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ
๒ ทาง คือในทางอรณวิหาร
(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) และเป็นทักขิไณยบุคคล
สุมนะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์
ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒
สุมังคลวิลาสินี
ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น
โดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
สุเมรุ ชื่อหนึ่งของภูเขาเมรุ
ดู เมรุ
สุรนาทโวหาร
ถ้อยคำที่ฮึกห้าว
สุรสิงหนาท การเปล่งเสียงพูดอย่างองอาจกล้าหาญ
หรือพระดำรัสที่เร้าใจ ปลุกให้ตื่นฟื้นสติขึ้น เหมือนดั่งเสียง
บันลือของราชสีห์ เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กิจอย่างใด อันพระศาสดาผู้เอ็นดู
แสวงประโยชน์ เพื่อสาวกทั้งหลาย
จะพึงทำ กิจนั้นอันเราทำแล้วแก่พวกเธอทุก อย่าง