สีลมัย - สีวลี
สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล,
ทำบุญด้วยการประพฤติดีงาม (ข้อ ๒ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
สีลวิบัติ เสียศีล,
สำหรับภิกษุ คือต้องอาบัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส (ข้อ ๑ ในวิบัติ ๔)
สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตน ซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ (ข้อ
๑ ใน
วิสุทธิ ๗)
สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุก็
สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมาร ยาทดีงาม เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสัมปรายิกัตถะฯ, ข้อ
๑ ในจรณะ ๑๕)
สีลสามัญญตา ความสม่ำเสมอกันโดยศีล
คือ รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณร ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารัง
เกียจของหมู่คณะ (ข้อ ๕ ในสาราณียธรรม ๖)
สีลสิกขา ดู
อธิสีลสิกขา
สีลัพพตปรามาส
ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร (คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้
เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงามหรืออย่างงมงายก็
ตาม), ความถือศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์
ไม่เข้าใจความหมาย
และความมุ่งหมายที่แท้จริง, ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดา
วิสัย (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐)
สีลัพพตุปาทาน
ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส, ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน
โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย, คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับ
สีลัพพตปรามาส (ข้อ ๓ ในอุปา-
ทาน ๔)
สีลานุสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ประพฤติมาด้วยดี
บริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย (ข้อ ๔ ในอนุสติ ๑๐)
สีวลี พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาสา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ
ปรากฏกว่าตั้งแต่ท่านปฏิสนธิในครรภ์ เกิดลาภสักการะแก่พระมารดาเป็นอันมาก
ตามตำนานว่าอยู่ในครรภ์มารดาถึง
๗ ปี พระมารดาเจ็บพระครรภ์ถึง ๗ วัน ครั้นประสูติแล้วก็ทำกิจการต่างๆ ได้ทันที
ต่อมาท่านบวชในสำนักของพระ
สารีบุตร ในวันที่บวช พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่
๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓
ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านสมบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภและทำให้ลาภเกิดแก่ภิกษุสงฆ์
เป็นอันมาก ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีลาภมาก