สามัญญผลสูตร - สามุกกังสิกา
สามัญญผลสูตร
สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะคือ
ประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม
สามัญญลักษณะ ดู
สามัญลักษณะ
สามัญญสโมธาน
ดู โอธานสโมธาน
สามัญผล ผลแห่งความเป็นสมณะ;
ดู สามัญญผลสูตร
สามัญลักษณะ
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็น
ทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้
๑. สพฺเพ -
สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์,
ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏ
ธรรมดา จึงเรียกว่าธรรมนิยาม
สามันตราช
พระราชาแคว้นใกล้เคียง
สามิษ, สามิส เจือด้วยอามิษคือ
เครื่องล่อ, ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก
สามิสสุข สุขเจืออามิส,สุขที่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ
ได้แก่สุขที่เกิดจากกามคุณ (ข้อ ๑ ในสุข ๒)
สามีจิกรรม การชอบ,
กิจชอบ, การกระทำที่สมควร,การแสดงความเคารพ
สามีจิปฏิปนฺโน
พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ, ปฏิบัติสมควรได้รับสามีจิกรรม คือ ปฏิบัติน่าเคารพนับถือ
(ข้อ ๔ ใน
สังฆคุณ ๙)
สามุกกังสิกา แปลตามอรรถกถาว่าพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง
คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ
(ตรัสรู้เอง) ได้แก่อริยสัจจเทศนา, ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง
คือ ไม่ต้อง
ปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจ