สาธก - สามัญ

สาธก อ้างตัวอย่างให้เห็นสม, ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น

สาธยาย การท่อง, การสวด

สาธารณ์ ทั่วไป, ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ

สาธารณสถาน สถานที่สำหรับคนทั่วไป

สาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ทั่วไป,สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือนกัน หมายถึง สิกขาบทสำหรับภิกษุณี
ที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เช่น ปาราชิก ๔ ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ
เทียบ อสาธารณสิกขาบท

สาธุการ การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่าดีแล้ว ชอบแล้ว) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

สาธุชน คนดี, คนมีศีลธรรม, คนมีสัมมาทิฏฐิ

สานต์ สงบ

สามเณร เหล่ากอแห่งสมณะ, บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้ยังมิได้อุปสมบท เพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์
ถือสิกขาบท ๑๐ และกิจวัตรบางอย่างตามปกติ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกใน
พระพุทธศาสนา

สามเณรเปสกะ ภิกษุผู้ใด้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สามเณร (เป็นเจ้าอธิการแห่งอาราม
ประเภทหนึ่ง)

สามเณรี สามเณรผู้หญิง, หญิงรับบรรพชาในสำนักภิกษุณี ถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร

สามเพท ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวท; ดูไตรเพท

สามัคคีปวารณา กรณีอย่างสามัคคี อุโบสถนั่นเอง เมื่อทำปวารณา เรียกว่า สามัคคีปวารณา และวันที่ทำนั้นก็เรียก วัน
สามัคคี

สามัคคีอุโบสถ อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษเมื่อสงฆ์สองฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้สามัคคี
อุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี

สามัญ 1. ปรกติ, ธรรมดา, ทั่วๆ ไป 2. ความเป็นสมณะ, มักเขียนสามัญญะ