สาเกต - สาเถยยะ

สาเกต ชื่อมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศล ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์ ธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขา ได้
รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้เข้าตั้งถิ่นฐานและสร้างขึ้น เมื่อคราวที่ท่านเศรษฐีอพยพจากเมือง
ราชคฤห์มาอยู่ในแคว้นโกศลตามคำเชิญชวนของพระองค์

สาขนคร เมืองกิ่ง, เมืองเล็ก

สาคตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครสาวัตถีได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดามี
ความเลื่อมใส ขอบวชแล้วทำความเพียรเจริญสมาบัติ ๘ ประการ จนมีความชำนาญในสมาบัติ ท่านเป็นต้นบัญญัติ
สุราปานสิกขาบท และเพราะเกิดความสังเวชในเหตุการณ์ที่เกิดกับตนครั้งนี้ จึงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จ
พระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเตโชธาตุสมาบัติ

สาคร ทะเล

สาคละ ชื่อนครหลวงของแคว้น มัททะ และต่อมาภายหลังพุทธกาลได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์นัก
ปราชญ์ที่ได้โต้วาทะกับพระนาคเสน, ปัจจุบัน อยู่ในแคว้นปัญจาบ; แคว้นมัททะนั้นบางคราวถูกเข้าใจสับสนกับ
แคว้น มัจฉะ ทำให้สาคละพลอยถูกเรียกเป็นเมืองหลวงหลวงของแคว้นมัจฉะไปก็มี

สาชีพ แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้มีชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน ได้แก่สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรง
บัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่างๆ กัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน; มาคู่กับสิกขา

สาณะ ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน, ผ้าป่าน

สาณัตติกะ อาบัติที่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งผู้อื่นทำ ตัวเองไม่ได้ทำ ก็ต้องอาบัติ เช่น สั่งให้ผู้อื่นลักทรัพย์ เป็นต้น

สาฎก ผ้า, ผ้าห่ม, ผ้าคลุม

สาตรูป รูปเป็นที่ชื่นใจ; ดู ปิยรูป

สาเถยยะ โอ้อวด, ความโอ้อวดหลอกเขา, เขียน สาไถย ก็ได้ (ข้อ ๖ ในมละ ๙, ข้อ ๑๐ ในอุปกิเลส ๑๖)