สัปปุริสูปัสสยะ - สัมปชานมุสาวาท
สัปปุริสูปัสสยะ
คบสัตบุรุษ, คบคนดี, ได้คนดีเป็นที่พึ่งอาศัย (ข้อ ๒ ในจักร ๔)
สัปปุริสูปสังเสวะ
คบสัตบุรุษ, คบคนดี, คบท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, เสวนาท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ
(ข้อ ๑ ใน
วุฑฒิ ๔)
สัปปุรุษ เป็นคำเลือนปะปนระหว่างสัปปุริสที่เขียนอย่างบาลี
กับสัตบุรุษที่เขียนอย่างสันสกฤต มีความหมายอย่าง
เดียวกัน (ดู สัตบุรุษ) แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า
คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา
เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่ง
บางทีเรียกตามความ
ผูกพันกับวัดว่า สัปปุรุษวัดนั้น สัปปุรุษวัดนี้
สัพพกามี ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์
ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นผู้มีพรรษาสูงสุด และทำหน้าที่วิสัชนา
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)
สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา
กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)
สัพพัญญุตญาณ ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู,
พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
สัพพัญญู ผู้รู้หมด,
ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, พระนามของพระพุทธเจ้า
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
(ข้อ ๓ ใน
ทศพลญาณ)
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม,
ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับสติ (ข้อ
๒ ในธรรม
มีอุปการะมาก ๒)
สัมปชานมุสาวาท
รู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ, การพูดเท็จทั้งที่รู้ คือ รู้ความจริง แต่จงใจพูดให้คลาดจากความจริง
เพื่อให้ผู้ฟัง
เข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง (สิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรคปาจิตติยกัณฑ์)