สันยาสี - สัปปุริสบัญญัติ
สันยาสี ผู้สละโลกแล้วตามธรรมเนียมของศาสนาฮินดู
ดู อาศรม
สันสกฤต ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง
ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
สัปดาห์ ๗ วัน,
ระยะ ๗ วัน
สัปบุรุษ ดู สัปปุรุษ
สัปปาณกวรรค
ตอนที่ว่าด้วยเรื่องสัตว์มีชีวิตเป็นต้น, เป็นวรรคที่ ๗ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก
สัปปายะ สิ่ง สถาน
หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การ
บำเพ็ญและประดับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่)
โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่ง
อาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง)
โภชนะ
(อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ
ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
สัปปิโสณฑิกา ชื่อเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวัน
ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระ
อานนท์
สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ,
ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑. ธัมมัญญุตา
รู้หลักหรือรู้
จักเหตุ ๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา
รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕. กาลัญ-
ญุตารู้จักกาล ๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗. ปุคคลัญญุตา
รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่าง คือ ๑. ประกอบด้วย
สัทธรรม ๗ ประการ ๒. ภักดีสัตบุรุษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓. คิดอย่างสัตบุรุษ
๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕. พูด
อย่างสัตบุรุษ ๖. ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น)
๗. มีความเห็น
อย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ
(คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อแก่
ของและผู้รับทาน เป็นต้น)
สัปปุริสบัญญัติ
ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้, บัญญัติของคนดี มี ๓ คือ ๑. ทาน ปันสละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวช เว้นจากการเบียดเบียนกัน ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน
บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข