สัตตสติกขันธกะ - สัตติกำลัง

สัตตสติกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๒ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ ๒

สัตตักขัตตุปรมะ พระโสดาบัน ซึ่งจะไปเกิดในภพอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมากจึงจะได้บรรลุพระอรหัต (ข้อ ๓ ใน
โสดาบัน ๓)

สัตตังคะ เก้าอี้มีพนักสามด้าน, เก้าอี้มีแขน

สัตตัพภันตรสีมา อพัทธสีมาชนิดที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีขึ้นในป่า อันหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ โดยวัดจากที่สุดแนว
แห่งสงฆ์ออกไปด้านละ ๗ อัพภันดรโดยรอบ

สัตตัมพเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งที่นครเวสาลี แคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

สัตติบัญชร เรือนระเบียบหอก, ซี่กรงทำด้วยหอก

สัตตาวาส ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์มี ๙ เหมือนกับ วิญญาณัฏฐิติ ๗ ต่างแต่เพิ่มข้อ ๕ เข้ามาเป็น ๕. สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มี
สัญญา ไม่มีการเสวยเวทนา เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์, เลื่อนข้อ ๕-๖-๗ ออกไปเป็นข้อ ๖-๗-๘ แล้วเติมข้อ ๙.
สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

สัตตาหะ สัปดาห์, เจ็ดวัน; มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ

สัตตาหกรณียะ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่ ๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือ
มารดาบิดาผู้เจ็บไข้ ๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก ๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อม
วิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น ๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่น
จากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

สัตตาหกาลิก ของที่รับประเคนเก็บไว้ฉันได้ชั่ว ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ดู กาลิก

สัตติกำลัง ในคำว่า “ตามสัตติกำลัง” แปลว่า ตามความสามรถ และตามกำลัง หรือตามกำลังความสามารถ (สัตติ =
ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ; พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี