สังวาสนาสนา - สังสารสุทธิ
สังวาสนาสนา
ให้ฉิบหายจากสังวาส หมายถึงการทำอุกเขปนียกรรมยกเสียจากสังวาส คือทำให้หมดสิทธ์ที่จะอยู่ร่วม
กับสงฆ์
สังเวคกถา ถ้อยคำแสดงความสลดใจให้เกิดความสังเวชคือเร้าเตือนสำนึก
สังเวควัตถุ เรื่องที่น่าสลดใจ,
เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช คือเร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาในทาง
กุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป เช่น
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความ
ตาย และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน เป็นต้น
สังเวช ความสลดใจ,
ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ในทางธรรมความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้
ทำให้
จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป
จึงจะเรียกว่า สังเวช ความสลด
ใจ แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช
สังเวชนียสถาน
สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ที่ที่ให้เกิดความสังเวช มี ๔ คือ ๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ
คือ อุทยาน
ลุมพินี ปัจจุบันเรียกลุมพินีหรือรุมมินเด (Lumbini หรือ Rummindei)
๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบล
พุทธคยา (Buddha Gaya หรือ Bodh-Gaya) ๓. ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวง
เมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียก สารนาถ ๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือที่สาลวโนทยาน
เมืองกุสินารา หรือกุสินคร
บัดนี้เรียกกาเซีย (Kasia หรือ Kusinara ) ดู สังเวช ด้วย
สังเวย บวงสรวง,
เซ่นสรวง (ใช้กับผีและเทวดา)
สังสารวัฏ ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย,
การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก; สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน
สังสารสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด
คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวเวียน
ว่าตายเกิดไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรม
ไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้