สังฆอุโบสถ - สังยมะ
สังฆอุโบสถ
อุโบสถของสงฆ์คือ การทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕
รูปขึ้นไป สวดปาฏิ-
โมกข์ได้ตามปกติ (ถ้ามีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป ต้องทำคณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ
ซึ่งเป็น ปาริสุทธิอุโบสถ คืออุโบ-
สถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกั้นและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำบุคคลอุโบสถ
คือ อุโบสถของบุคคล ซึ่งเป็น
อธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่าวันนั้นเป็นวันอุโบสถ)
ดู อุโบสถ
สังฆาฏิ ผ้าทาบ,ผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร
เป็นผ้าผืนหนึ่งในสามผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร
สังฆาทิเสส ชื่อหมวดอาบัติหนักรองจากปาราชิก
ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ คือเป็นครุกาบัติ (อาบัติหนัก) แต่ยังเป็น สเต-
กิจฉา (แก้ไขหรือเยียวยาได้), ตามศัพท์ สังฆาทิเสส แปลว่า หมวดอาบัติ อันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้น
และ
กรรมที่เหลือ, หมายความว่า วิธีการที่จะออกจากอาบัตินี้ ต้องอาศัยสงฆ์ ตั้งแต่ต้นไปจนตลอด
กล่าวคือ เริ่มต้นจะอยู่
ปริวาส ก็ต้องขอปริวาสจากสงฆ์ ต่อจากนั้น จะประพฤติมานัตก็ต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้
ถ้ามีมูลายปฏิกัสสนาก็ต้อง
สำเร็จด้วยสงฆ์อีก และท้ายที่สุดก็ต้องขออัพภานจากสงฆ์, สิกขาบทที่ภิกษุละเมิดแล้ว
จะต้องอาบัติสังฆาทิเสส มี
๑๓ ข้อ คำว่าสังฆาทิเสส ใช้เป็นชื่อเรียกสิกขาบท ๑๓ ข้อนี้ด้วย
สังฆาทิเสสภัณฑ์
ตอนอันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส, ในพระวินัยปิฎก ท่านเรียกว่าเตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วยสิกขาบท
๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก
สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
(ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐ ) ดู สังฆคุณ
สังฆิกาวาส
อาวาสที่เป็นของสงฆ์,อาวาสของสงฆ์
สังยมะ ดู สัญญมะ