สมุตเตชนา - สยามวงศ์
สมุตเตชนา การทำให้อาจหาญ
คือ เร้าใจให้แกล้วกล้า ปลุกใจให้คึกคักเกิดความกระตือรือร้น มีกำลังใจแข็งขัน
มั่น
ใจที่จะทำให้สำเร็จ ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยหรือยากลำบาก; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี
(ข้อก่อนคือสมาทป-
นา, ข้อสุดท้ายคือสัมปหังสนา)
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ได้แก่ ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่
อยากไม่เป็น
โน่นเป็นนี่ (ข้อ ๒ ในอริยสัจ ๔) ดู ตัณหา
สโมธานปริวาส ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกันคือ
ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว มีจำนวนวันปิด
ต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันจำแนก
เป็น ๓ อย่างคือ ๑. โอธานสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งแต่ปิดไว้นานเท่ากัน
เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้
คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน ๒. อัคฆสโมธาน
สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่
เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่
มากที่สุด (คือ ๗ วัน) ๓. มิสสกสโมธาน สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน
(เช่น กายสังสัคคะก็มี ทุฏฐุลลวาจาก็มี สัญจริต
ตะก็มี) มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว
สยัมภู พระผู้เป็นเอง
คือตรัสรู้ได้เอง โดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึงพระพุทธเจ้า
สยัมภูญาณ ญาณของพระสยัมภู,
ปรีชาหยั่งรู้ของพระสยัมภู
สยามนิกาย 1.
นิกายสยาม หมายถึงพวกพระไทย เรียกชื่อโดยสัญชาติ 2. ดู สยามวงศ์
สยามวงศ์ ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม
(คือพระสงฆ์ไทย) ในสมัยอยุธยา ซึ่งพระอุบาลีเป็นหัว
หน้าไปประดิษฐาน ใน พ.ศ. ๒๒๙๖