สมจารี - สมถขันธกะ
สมจารี ผู้ประพฤติสม่ำเสมอ,
ประพฤติถูกต้องเหมาะสม (มาคู่กับธรรมจารี)
สมโจร เป็นใจกับโจร
สมชีวิตา มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดีคือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้
ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก
(ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ ๔)
สมณะ ผู้สงบ หมายถึงนักบวชทั่วไป
แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาปได้แก่
พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล
สมณคุณ คุณธรรมของสมณะ,
ความดีที่สมณะควรมี
สมณโคดม คำที่คนทั่วไปหรือคนภายนอกพระศาสนา
นิยมใช้เรียกพระพุทธเจ้า
สมณพราหมณ์ สมณะและพราหมณ์
(เคยมีการสันนิษฐานว่าอาจแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า พราหมณ์ผู้เป็นสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ถือบวช แต่หลักฐานไม่เอื้อ)
สมณวัตต์ ดู สมณวัตร
สมณวัตร หน้าที่ของสมณะ,
กิจที่พึงทำของสมณะ, ข้อปฏิบัติของสมณะ
สมณวิสัย วิสัยของสมณะ,
ลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้สงบ
สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะ,
ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน
สมณสารูป ความประพฤติอันสมควรของสมณะ
สมณุทเทส, สมณุเทศ
สามเณร
สมเด็จ เป็นคำยกย่อง
หมายความว่ายิ่งใหญ่ หรือประเสริฐ
สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต,
ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑
ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ,
งานฝึกจิตให้สงบ ดู สมถะ
สมถขันธกะ
ชื่อขันธกะที่ ๔ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์