ไตรเพท - ไตรวัฏฏ์, ไตรวัฏ
ไตรเพท พระเวท
๓ อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท
ประมวลบทสวด
สรรเสริญเทพเจ้า ๒. ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญ ต่าง
ๆ ๓. สามเวท ประมวลบทเพลงขับ
สำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่มอถรรพเวท หรือ
อาถรรพณเวท อันว่าด้วยคาถาอาคมทาง
ไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น ๔
ไตรมาส สามเดือน
ไตรรัตน์ แก้วสามประการ
หมายถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม
คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน (อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา)
ดู สามัญ
ลักษณะ
ไตรลิงค์ สามเพศ
หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้งสามเพศในทางไวยากรณ์กล่าวคือ ปุํลิงค์
เพศชาย อิตถีลิงค์ เพศหญิง
นปุํสกลิงค์ มิใช่เพศชายและหญิง; คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺ
พุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ เป็น ปุํลิงค์ อิตถีลิงค์ และนปุํ
สกลิงค์ ตามลำดับ
ไตรวัฏฏ์, ไตรวัฏ วัฏฏะ
๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาทซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อ ๆ กันไป
ทำให้มี
การเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก
(เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา
ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓. วิปากวัฏฏ์
ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม
เมื่อทำกรรมก็ได้
รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก
เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา
จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุขเวทนา
ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยาก
ได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง
ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิด
กิเลสคือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้
วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด