ตู่กรรมสิทธิ์ - ไตรทวาร
ตู่กรรมสิทธิ์
กล่าวอ้างเอากรรมสิทธิ์ของผู้อื่นว่าเป็นของตัว
เตจีวริกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร
คือถือเพียงผ้าสามผืนได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิอย่างละผืนเท่านั้น ไม่
ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น (ข้อ ๒ ในธุดงค์ ๑๓)
เตโชธาตุ ธาตุไฟ,
ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน; ในร่างกาย ได้แก่ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม
ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารให้ย่อย
เตรสกัณฑ์ กัณฑ์สิบสาม
ตอนที่ว่าด้วยสิกขาบท ๑๓ หมายถึง หมวดความในพระวินัยปิฎก ส่วนที่ว่าด้วยบท
บัญญัติเกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งมี ๑๓ สิกขาบท
เตวาจิก มีวาจาครบสาม
หมายถึงผู้กล่าววาจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
บิดา
พระยสเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต (เทียบ เทฺววาจิก)
เตียง ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง
พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น
ถ้าฝ่าฝืน
ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์
รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)
โตเทยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน
๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูล ถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์
ไตรจีวร จีวรสาม,
ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ ๑. สังฆาฏิ
ผ้าทาบ ๒. อุตราสงค์ ผ้าห่ม
เรียกสามัญในภาษาไทยว่าจีวร ๓. อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่าสบง
ไตรทวาร ทวารสาม,
ทางทำกรรม ๓ ทาง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร