ติตถิยปักกันตกะ - ตู่, กล่าวตู่
ติตถิยปักกันตกะ
ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้ (เป็นวัตถุวิบัติ)
ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน,
เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการ
พิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรมอันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม
เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้
โจรกถา
สนทนาเรื่องโจรว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้น ๆ ปล้นที่นี่ได้เท่า
นี้ ๆ เป็นต้น (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยก
ย่อยได้ ๓๓ อย่าง)
ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
ติรัจฉานวิชา ดู
ดิรัจฉานวิชา
ติสรณคมนูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวช
กุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว
ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วย
ไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา
ติสสเถระ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา
เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภาย
หลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
ติสสเมตเตยยมาณพ
ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์
ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา
คือ กำหนดรู้สังขารด้วยการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งนั้นๆ มีลักษณะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ข้อ ๒ ในปริญญา ๓)
ตุมพสตูป พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง
ตุลาการ ผู้วินิจฉัยอรรถคดี,
ผู้ตัดสินคดี
ตู่, กล่าวตู่
กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง
ผิดเรื่อง, ในคำว่า กล่าวตู่พระพุทธ
เจ้า หรือตู่พุทธพจน์ หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส
กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้
เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่นคัดค้านให้เห็นว่าไม่จริงหรือไม่สำคัญ