วุฒิ - เวภารบรรพต
วุฒิ ความเจริญ,
ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่; ธรรมให้ถึงความเจริญ ดู วุฑฒิ
วุฒิ คือ ความเป็นผู้ใหญ่ ๓ อย่างที่นิยมพูดกันในภาษาไทยนั้นมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกา
ได้แก่
๑. ชาติวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ คือ เกิดในชาติกำเนิดฐานะอันสูง
๒. วัยวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยวัย คือเกิดก่อน
๓. คุณวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยคุณความดีหรือโดยคุณพิเศษที่ได้บรรลุ
(ผลสำเร็จที่ดีงาม) (อนึ่งในคัมภีร์ท่านมิได้
กล่าวถึงภาวะแต่กล่าวถึงบุคคล คือไม่กล่าวถึงวุฒิ แต่กล่าวถึงวุฑฒคือวุฒ เป็น
ชาติวุฒ วัยวุฒ คุณวุฒ; นอกจากนั้น
ในอรรถกถาแห่งสุตตนิบาต ท่านแบ่งเป็น ๔, โดยเพิ่มปัญญาวุฒ ผู้ใหญ่โดยปัญญาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง
และเรียงลำดับ
ตามความสำคัญในทางธรรม เมื่อเปลี่ยนวุฒ เป็นวุฒิ จะได้ดังนี้ ๑. ปัญญาวุฒิ
๓. คุณวุฒิ ๓. ชาติวุฒิ ๔. วัยวุฒิ)
เวท, พระเวท
ดู ไตรเพท
เวทนา ความเสวยอารมณ์,
ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา
ความรู้สึกสุขสบาย ๒. ทุกขเวทนา
ความรู้สึกไม่สบาย ๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ คือ
เฉย ๆ เรียกอีกอย่างว่าอุเบกขาเวทนา; อีกหมวด
หนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑. สุข สบายกาย ๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย
๓. โสมนัส สบายใจ ๔. โทมนัส ไม่สบายใจ ๕. อุเบก-
ขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่า เจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี
เวทนาขันธ์ กองเวทนา
(ข้อ ๒ ในขันธ์ ๕)
เวทนานุปัสสนา
สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า
เวทนานี้ก็สักว่า
เวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)
เวทมนตร์ คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์
เวเนยยสัตว์ ดู
เวไนยสัตว์
เวไนยสัตว์
สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน, สัตว์ที่พึงแนะนำได้, สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้
เวปุลละ ความไพบูลย์,
ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ อย่าง คือ ๑. อามิสเวปุลละ
อามิสไพบูลย์ หรือความ
ไพบูลย์แห่งอามิส หมายถึง ความมากมายพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย ๔ ตลอดจนวัตถุอำนวยความสุขความสะดวกสบาย
ต่าง ๆ ๒. ธัมมเวปุลละ ธรรมไพบูลย์หรือความไพบูลย์แห่งธรรม หมายถึง
ความเจริญเต็มเปี่ยมเพียบพร้อมแห่งธรรม
ด้วยการฝึกอบรมปลูกฝังให้มีในตนจนเต็มบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด
เวภารบรรพต ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในภูเขาห้าลูก
ที่เรียก เบญจคีรี อยู่ที่กรุงราชคฤห์