วิสามัญ - วิสุทธิมรรค
วิสามัญ แปลกจากสามัญ,
ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ทั่วไป, เฉพาะ
วิสารท แกล้วกล้า,
ชำนาญ, ฉลาด
วิสาสะ ดู วิสสาสะ
วิสาสิกชน
คนคุ้นเคย, ดู วิสสาสิกชน
วิสุงคาม แผนกหนึ่งจากบ้าน,
แยกต่างหากจากบ้าน
วิสุงคามสีมา แดนแผนกหนึ่งจากแดนบ้านคือ
แยกต่างหากจากเขตบ้าน, ในที่นี้หมายถึง ที่ตั้งวัดที่พระเจ้าแผ่นดิน
ประกาศพระราชทานให้แก่สงฆ์
วิสุทธิ ความบริสุทธิ์,
ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้น
ๆ ไปโดย
ลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือพระนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจด
แห่งจิตต์ ๓. ทิฏฐวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ
ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความ
สงสัย ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือ
มิใช่ทาง ๖. ปฏิปทาญาณ
ทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ
ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าว
คือมรรคญาณ
วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ได้แก่พระอรหันต์
(ข้อ ๓ ในเทพ ๓)
วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล
สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆสาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาว
อินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; พระพุทธโฆสาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์
เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้
พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ.
๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยว
ชาญมาก ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ
มี
ความสามารถมากได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา
เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ
กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์
ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้
คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ พระพุทธโฆส จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค
จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงานแปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว
ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพู
ทวีป พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด