วิวาทมูลทุกข์ - วิสสาสะ
วิวาทมูลทุกข์
ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล, ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ
วิวาทาธิกรณ์ วิวาทที่จัดเป็นอธิกรณ์,
การวิวาทซึ่งเป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องเอาธุระดำเนินการพิจารณาระงับ ได้แก่การ
เถียงกันปรารภพระธรรมวินัย เช่นเถียงกันว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย
ข้อนี้พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ ข้อนี้ไม่ได้ตรัสไว้ ดังนี้เป็นต้น
วิวาหะ การแต่งงาน,
การสมรส
วิเวก ความสงัด
มี ๓ คือ อยู่ในที่สงัด เป็น กายวิเวก จิตสงบเป็น จิตวิเวก
หมดกิเลสเป็น อุปธิวิเวก
วิศวามิตร
ครูผู้สอนศิลปวิทยาแก่พระราชกุมารสิทธัตถะ
วิศาขนักษัตร หมู่ดาวฤกษ์ชื่อวิศาขะ
(ดาวคันฉัตร) เป็นหมู่ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง ดู ดาวนักษัตร
วิศาขบูชา
การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ เพื่อรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเนื่องในวันประสูติ
ตรัสรู้ และปรินิพพานของ
พระองค์; วิสาขบูชา ก็เขียน
วิศาขปุรณมี วันเพ็ญเดือน
๖, วันกลางเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖, ดิถีมีพระจันทร์เต็มดวง ประกอบด้วยวิศาข-
ฤกษ์ (วิศาขนักษัตร)
วิศาล กว้างขวาง,
แผ่ไป
วิสภาค มีส่วนไม่เสมอกัน
คือขัดกัน เข้ากันไม่ได้ ไม่ถูกกัน หรือไม่กลมกลืนกัน, ไม่เหมาะกัน
วิสมปริหารชา อาพาธา
ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี
วิสสาสะ 1.
ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง, ในทางพระวินัย การถือเอาของของผู้อื่นที่จัดว่าเป็น
การถือวิสสาสะ มีองค์ ๓ คือ ๑. เคยเห็นกันมา เคยคบกันมาหรือได้พูดกันไว้ ๒.
เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ๓. รู้ว่าของนั้น
เราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ, บัดนี้นิยมเขียน วิสาสะ 2. ความนอนใจ
ดังพุทธดำรัสว่า ภิกษุเธอยังไม่ถึงความสิ้นอา
สวะแล้วอย่าได้ถึง วิสสาสะ (ความนอนใจ)