วิปากวัฏฏ์ - วิภัชชวาที
วิปากวัฏฏ์
วนคือวิบาก, วงจรส่วนวิบาก, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาทประกอบด้วยวิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา, ชาติ ชรามรณะ ดู ไตรวัฏฏ์
วิปากสัทธา
ดู สัทธา
วิภวตัณหา
ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นอยากไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่
อยากตายเสีย
อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา, ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยวิภว
ทิฏฐิ
หรืออุจเฉททิฏฐิ (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)
วิภังค์ 1. (ในคำว่า
วิภังค์แห่งสิกขาบท) คำจำแนกความแห่งสิกขาบทเพื่ออธิบายแสดงความหมายให้ชัดขึ้น;
ท่าน
ใช้เป็นชื่อเรียกคัมภีร์ที่จำแนกความเช่นนั้นในพระวินัยปิฎกว่าคัมภีร์วิภังค์
คือคัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุปา-
ฏิโมกข์ เรียกว่ามหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุนีปาฏิโมกข์เรียกว่า
ภิกขุนีวิภังค์เป็น
หมวดต้นแห่งพระวินัยปิฎก 2. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎกที่อธิบายจำแนกความแห่งหลักธรรมสำคัญเช่น
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ปัจจยาการ เป็นต้น ให้ชัดเจนจบไปทีละเรื่องๆ
วิภัชชวาที ผู้กล่าวจำแนก,
ผู้แยกแยะพูด, เป็นคุณบทคือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมาย
ความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อย
ๆ มาประชุมกัน
เข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่
เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง การกระทำอย่างนั้นๆ
มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด
เป็นต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง
เช่นมองเห็นความเป็นอนัตตา
เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่าง ๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ