วัตร - วัน
วัตร กิจพึงกระทำ,
หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น กิจวัตร
ว่าด้วยกิจที่ควรทำ (เช่น
อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร) ๑. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
(เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้า
ต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพงไม่จับวัตถุอนามาส) ๑ วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ
(เช่น วิธีเก็บบาตร วิธี
พับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่) ๑; วัตรส่วนมากมาในวัตตขันธกะ
วัตรบท ๗ หลักปฏิบัติ
หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ อย่าง ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ
๑. มาตาเปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา ๒. กุเลเชฏฺฐาปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
๓. สณฺหวาโจ พูดคำสุภาพอ่อนหวาน
๔. อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี
๕. ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย ชอบ
เผื่อแผ่ให้ปัน ปราศ จากความตระหนี่ ๖. สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์ ๗. อโกธโน
หรือ โกธาภิกู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้
วัตรปฏิบัติ การปฏิบัติตามหน้าที่,
การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบ-
ธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะหรือวิถีดำเนินชีวิตของตน
วัน ระยะเวลา ๑๒
ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง
หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง
เที่ยงคืน การที่เรียกว่า วัน นั้นเพราะแต่โบราณถือเอากำหนดพระอาทิตย์ซึ่งเรียกตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกเป็นกำหนด
จึงเรียกว่าวันคืนมาจากคำว่าตะวันนั่นเอง