นิสัยมุตตกะ - เนา
นิสัยมุตตกะ ภิกษุผู้พ้นการถือนิสัยหมายถึงภิกษุมีพรรษาพ้น
๕ แล้ว มีความรู้ธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว ไม่ต้อง
ถือนิสัยในอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ต่อไป; เรียกง่ายว่า นิสัยมุตก์
นิสัยสีมา คามสีมาเป็นที่อาศัยของพัทธสีมา
นิสิต ศิษย์ผู้เล่าเรียนอยู่ในสำนัก,
ผู้อาศัย, ผู้ถือนิสัย
นิสิตสีมา พัทธสีมาอาศัยคามสีมา
นิสีทนะ ผ้าปูนั่งสำหรับภิกษุ
เนกขัมมะ การออกจากกาม,
การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน (พจนานุกรม เขียน เนกขัม)
เนกขัมมวิตก ความตรึกที่จะออกจากกาม
หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ
๓ ในกุศลวิตก ๓)
เนตติ แบบแผน,
เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม (พจนานุกรม เขียน เนติ)
เนตร ตา, ดวงตา
เนปาล ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน
รวมทั้งลุมพินีอันเป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้ง
อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน มีเนื้อที่ ๑๔๐,๗๙๗
ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองประมาณ
๑๓,๔๒๐,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๒๑); หนังสือเก่าเขียน เนปอล
เนยยะ ผู้พอแนะนำได้
คือพอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ต่อไป (ข้อ ๓ ในบุคคล ๔ เหล่า)
เนรเทศ ขับไล่ออกจากถิ่นเดิม,
ให้ออกไปเสียจากประเทศ
เนรัญชรา ชื่อแม่น้ำสำคัญ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ภายใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสาย
นี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายในแม่น้ำสายนี้
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔
เนวสัญญีนาสัญญี มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน (ข้อ ๑๓ ในธุดงค์ ๑๓)
เนา เอาผ้าทาบกันเข้า
เอาเข็มเย็บเป็นช่วงยาว ๆ พอกันผ้าเคลื่อนจากกันครั้นเย็บแล้วก็เลาะเนานั้นออกเสีย