นิมิตขาด - นิโรธ

นิมิตขาด (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน; ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิตไม่
ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริ่มต้น

นิมิตต์ ดู นิมิต

นิมิตต์โอภาส ตรัสข้อความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้อาราธนาเพื่อดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป

นิยม กำหนด, ชอบ, นับถือ

นิยยานิกะ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์

นิยสกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ ได้แก่การถอดยศ, เป็นชื่อนิคหกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีอาบัติมาก
หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร โดยปรับให้ถือนิสัยใหม่อีก ดู นิคหกรรม

นิยาย เรื่องที่เล่ากันมา นิทานที่เล่าเปรียบเทียบเพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต

นิรยะ นรก, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ
ปิตติวิสัย อสุรกาย ดู นรก

นิรยบาล ผู้คุมนรก, ผู้ลงโทษสัตว์นรก

นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง

นิรันดร ติดต่อกัน, เสมอมา, ไม่มีระหว่างคั่น, ไม่เว้นว่าง

นิรันตราย ปราศจากอันตราย

นิรามิษ, นิรามิส หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษคือเหยื่อที่เป็นเครื่องล่อใจ, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ

นิรามิสสุข สุขไม่เจืออามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่สุขที่อิงเนกขัมมะ ดู สุข

นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
(ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)

นิโรธ ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน