น้ำอมฤต - นิครนถนาฏบุตร
น้ำอมฤต ดู
อมฤต
นิกร หมู่
พวก
นิกรสัตว์ หมู่สัตว์
นิกาย พวก, หมวด,
หมู่, ชุมนุม, กอง; 1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็น
ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ดู ไตรปิฎก
2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนา
เดียวกันนี้แยกเป็นพวกๆ; ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน
๒ นิกาย คือ
มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และเถรวาท
หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีน-
ยาน พวกหนึ่ง; ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน
แยกออกเป็น ๒ นิกาย
แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช)
ได้แก่ มหานิกาย และ
ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียง เป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต
นิคคหะ ดู
นิคหะ
นิคคหกรรม ดู
นิคหกรรม
นิคคหวิธี วิธีข่ม,
วิธีทำนิคหะ, วิธีลงโทษ ดู นิคหกรรม
นิคคหิต อักขระที่ว่ากดเสียง,
อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย มีรูปเป็นพินทุ เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ;
บัดนี้นิยม
เขียน นิคหิต
นิคม 1. หมู่บ้านใหญ่,
เมืองขนาดเล็ก, ย่านการค้า 2. คำลงท้ายของเรื่อง
นิคมสีมา แดนนิคม,
อพัทธสีมาที่สงฆ์กำหนดด้วยเขตนิคมที่ตนอาศัยอยู่
นิครนถ์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร,
นักบวชในศาสนาเชน
นิครนถนาฏบุตร คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง
๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมาน
บ้าง พระมหาวีระบ้าง เป็นต้น ศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย